(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
China takes no chances
By Willy Lam
04/02/2011
หากพิจารณาจากการที่อัตราเงินเฟ้อในประเทศจีนกำลังทำท่าจะพุ่งแรงตลอดปี 2011 ขณะที่ช่องว่างระหว่างคนรวย-คนจนก็ทำท่าจะถ่างกว้างมากยิ่งขึ้น จึงไม่สามารถที่จะตัดลดความเป็นไปได้ของการเกิดการลุกฮือสไตล์พลังประชาชนขึ้นมา อย่างไรก็ตาม ปักกิ่งเองกำลังระมัดระวังตัวเต็มที่อย่างชนิดไม่ยอมเปิดโอกาสแม้แต่น้อยนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น จากการปฏิวัติ “สี” ที่กำลังโหมฮืออยู่ในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง
ปักกิ่งกำลังระมัดระวังตัวเต็มที่อย่างชนิดไม่ยอมเสี่ยงเปิดโอกาสใดๆ เลย ในเรื่องเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจมาถึงประเทศจีน จากการปฏิวัติ “สี” ที่กำลังโหมกระพืออยู่ในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง
ขณะที่ข่าวคราวเกี่ยวกับเหตุการณ์อันน่าตื่นตาตื่นใจในอียิปต์, ตูนิเซีย, จอร์แดน, และภูมิภาคต่างๆ รอบๆ ข้าง ยังคงสามารถค้นหาติดตามได้จากสื่อมวลชนภาครัฐของจีน ทว่าบรรณาธิการชาวจีนทุกผู้ทุกคน ต่างได้รับแจ้งจากทบวงการโฆษณา ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ว่าข่าวคราวเกี่ยวกับการประท้วงเหล่านี้ พวกเขาต้องใช้แต่เฉพาะข่าวที่ออกมาจากสำนักข่าวซินหวา ของทางการจีนเท่านั้น
ยิ่งกว่านั้น พลเมืองชาวเน็ตและนักเขียนบล็อกทั้งหลาย ก็ไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดการอภิปรายถกเถียงเรื่องของอียิปต์ ในเว็บไซต์ของจีนที่อยู่ในลักษณะเดียวกันกับ เฟซบุ๊ก และ ทวีตเตอร์ ของโลกตะวันตก หรือถ้าเราทดลองค้นหาเรื่องที่เกี่ยวกับอียิปต์ ตามเว็บไมโคร-บล็อกต่างๆ เป็นต้นว่า ซินาดอตคอม (Sina.com), เน็ตอีสดอตคอม (Netease.com) แลเ เว่ยโป (Weibo) ก็จะไม่ปรากฏผลลัพธ์ใดๆ หรือได้มาแต่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องตรงกับที่ต้องการค้นหา
คณะบริหารของหู จิ่นเทานั้น กำลังใช้ความพยายามเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของสาธารณชน โดยโหมกระพือป่าวร้องเรื่องความรวดเร็วและความมีประสิทธิภาพจากการที่ปักกิ่งส่งเครื่องบินเช่าเหมาลำไปรับชาวจีนหลายร้อยคน (รวมทั้งนักท่องเที่ยวจากฮ่องกง) ที่ติดค้างอยู่ตามเมืองต่างๆ ในอียิปต์
บทบรรณาธิการชิ้นหนึ่งของหนังสือพิมพ์โกลบอล ไทมส์ (Global Times) ของทางการจีน ชี้ออกมาว่า พวกสถาบันและบรรทัดฐาน “สไตล์ตะวันตก” นั้น ไม่เหมาะสมสอดคล้องกับประชาชนในแอฟริกาและตะวันออกกลาง “การปฏิวัติสีที่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ เหล่านี้ จะไม่ก่อเกิดประชาธิปไตยที่แท้จริงขึ้นมา” โกลบอล ไทมส์ ซึ่งอยู่ในเครือของ เหรินหมินรึเป้า หนังสือพิมพ์กระบอกเสียงของพรรคคอมมิวนิสต์จีน พยายามแจกแจง
พวกนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆ เพ่งความสนใจไปยังข้อเท็จจริงที่ว่า เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างอียิปต์กับสหรัฐฯอยู่ในสภาพกึ่งๆ เป็นพันธมิตรกัน ดังนั้นการลุกฮือแข็งข้อที่เกิดขึ้นในอียิปต์จึงมีแต่จะสร้างความยุ่งยากให้แก่ผลประโยชน์ในตะวันออกกลางของวอชิงตันเท่านั้น
ตัวอย่างเช่น หลี่ ซือโม่ (Li Shimo) ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่พำนักอยู่ในนครเซี่ยงไฮ้ ตั้งข้อสังเกตว่าถ้าหากอียิปต์และพวกประเทศเพื่อนบ้านจัดการเลือกตั้งชนิดวัดผลแท้ๆ กันจริงๆ แล้ว ผลการลงคะแนนน่าจะทำให้ได้ผู้นำมุสลิมที่มีแต่รังเกียจไม่ยอมรับประชาธิปไตยสไตล์อเมริกา แถมยังจะคุกคามสร้างอันตรายให้ซัปพลายน้ำมันที่จะส่งไปยังสหรัฐฯอีกด้วย
ในเรื่องการระวังป้องกันไม่ให้เกิดการจลาจลต่อต้านรัฐบาลขึ้นในจีนนั้น ในระยะหลายๆ สัปดาห์ที่ผ่านมา คณะผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ย้ำเน้นให้เห็นว่าพวกผู้ปฏิบัติงานอาวุโสของพรรคกำลัง “ใกล้ชิดมวลชน” ด้วยตัวเอง เป็นต้นว่า นายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า ได้ไปเยี่ยมสำนักงานรับหนังสือและเรื่องร้องทุกข์ (Bureau of Letters and Complaints) เพื่อพูดสนทนากับพวกผู้ยื่นหนังสือ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับความทุกข์ยากเดือดร้อนจากการกระทำของรัฐบาลในระดับต่างๆ
นับเป็นครั้งแรกเลยที่เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสไปพูดจาสนทนากับพวกยื่นเรื่องร้องทุกข์ ตามปกติแล้วคนเหล่านี้มักถูกข่มขู่รังควาน และกระทั่งถูกตำรวจและบุคลากรด้านความมั่นคงแห่งรัฐจับตัวไปคุมขัง
พวกหนังสือพิมพ์ของทางการก็เน้นย้ำเรื่องที่แผนห้าปีฉบับที่ 12 (ปี 2011-2015) ของรัฐบาล ซึ่งเพิ่งนำออกมาเผยแพร่ใหม่ๆ หมาดๆ มีการเพิ่มรายจ่ายด้านสวัสดิการสังคมขึ้นอย่างเป็นกอบเป็นกำ โดยนอกจากการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศจีน 22.8% ที่ประกาศในปีที่แล้ว นครต่างๆ ก็ได้แถลงเพิ่มเงินเดือนขึ้นไปประมาณ 15% เป็นการช่วยเหลือคนงานรับมือกับค่าครองชีพที่ทะยานสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคอย่างเป็นทางการพุ่งขึ้นไป 4.6% ในเดือนธันวาคม 2010 นักเศรษฐศาสตร์ของจีนส่วนใหญ่กลับยอมรับว่า เฉพาะราคาอาหารเพียงอย่างเดียว ได้ทะยานขึ้นไปอย่างน้อยที่สุด 10% ในปีที่แล้ว สาเหตุของเรื่องนี้ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากอากาศเลวร้ายในทั่วประเทศ ทำให้ผลผลิตด้านอาหารออกมาน้อย รัฐบาลจะต้องประสบปัญหาหนักหน่วงแน่ๆ ในการรับมือกับราคาข้าวและข้าวสาลี, ผัก, และเนื้อสัตว์ ซึ่งจะขยับขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่ยอมหยุด
หากพิจารณาจากการที่อัตราเงินเฟ้อในประเทศจีนกำลังทำท่าจะพุ่งแรงตลอดปี 2011 ขณะที่ช่องว่างระหว่างคนรวย-คนจนก็ทำท่าจะถ่างกว้างมากยิ่งขึ้น จึงไม่สามารถที่จะตัดลดความเป็นไปได้ของการเกิดการลุกฮือสไตล์พลังประชาชนขึ้นมา และนี่ก็เป็นเหตุผลอธิบายว่าทำไมคณะผู้นำของหู ซึ่งกำลังเตรียมการสำหรับการส่งมอบอำนาจครั้งสำคัญในการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์สมัยที่ 18 ในปีหน้า จึงพร้อมใช้ความพยายามอย่างไม่มีการยับยั้งทัดทาน เพื่อกวาดล้างพวกที่ก่อให้เกิดความไร้เสถียรภาพ และก่อให้เกิด “การไม่ประสานกลมกลืน” ขึ้นในสังคมจีน
เมื่อคำนึงถึงการที่ปักกิ่งเชื่อว่า การปฏิวัติสีต่างๆ นั้นเป็นฝีมือของพวกรัฐบาลฝ่ายตะวันตก ดังนั้น ตำรวจและบุคลาการด้านความมั่นคงแห่งรัฐของจีน จึงน่าที่จะเพิ่มแรงกดดันต่อพวกคนจีนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล ตลอดจนองค์การนอกภาครัฐบาลทั้งหลาย ที่มีสายสัมพันธ์กับองค์กรในอเมริกาและยุโรป
ดร.วิลลี โว-ลัป ลัม (Dr Willy Wo-Lap Lam) เป็นนักวิจัยอาวุโส ณ มูลนิธิเจมส์ทาวน์ (The Jamestown Foundation) และเคยทำงานในระดับบรรณาธิการอาวุโสของสื่อระหว่างประเทศหลายเจ้า เช่น นิตยสารเอเชียวีก, หนังสือพิมพ์เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์, และในสำนักงานใหญ่ภาคเอเชีย-แปซิฟิก ของ ซีเอ็นเอ็น เขาเขียนหนังสือเกี่ยวกับประเทศจีนมาแล้ว 5 เล่ม โดยเล่มที่เพิ่งตีพิมพ์จำหน่ายเมื่อเร็วๆ นี้คือ “Chinese Politics in the Hu Jintao Era: New Leaders, New Challenges” เขายังเป็นศาสตราจารย์สมทบในด้านจีนศึกษา ณ มหาวิทยาลัยนานาชาติอะคิตะ (Akita International University) ประเทศญี่ปุ่น และที่ มหาวิทยาลัยจีนแห่งฮ่องกง (Chinese University of Hong Kong)
China takes no chances
By Willy Lam
04/02/2011
หากพิจารณาจากการที่อัตราเงินเฟ้อในประเทศจีนกำลังทำท่าจะพุ่งแรงตลอดปี 2011 ขณะที่ช่องว่างระหว่างคนรวย-คนจนก็ทำท่าจะถ่างกว้างมากยิ่งขึ้น จึงไม่สามารถที่จะตัดลดความเป็นไปได้ของการเกิดการลุกฮือสไตล์พลังประชาชนขึ้นมา อย่างไรก็ตาม ปักกิ่งเองกำลังระมัดระวังตัวเต็มที่อย่างชนิดไม่ยอมเปิดโอกาสแม้แต่น้อยนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น จากการปฏิวัติ “สี” ที่กำลังโหมฮืออยู่ในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง
ปักกิ่งกำลังระมัดระวังตัวเต็มที่อย่างชนิดไม่ยอมเสี่ยงเปิดโอกาสใดๆ เลย ในเรื่องเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจมาถึงประเทศจีน จากการปฏิวัติ “สี” ที่กำลังโหมกระพืออยู่ในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง
ขณะที่ข่าวคราวเกี่ยวกับเหตุการณ์อันน่าตื่นตาตื่นใจในอียิปต์, ตูนิเซีย, จอร์แดน, และภูมิภาคต่างๆ รอบๆ ข้าง ยังคงสามารถค้นหาติดตามได้จากสื่อมวลชนภาครัฐของจีน ทว่าบรรณาธิการชาวจีนทุกผู้ทุกคน ต่างได้รับแจ้งจากทบวงการโฆษณา ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ว่าข่าวคราวเกี่ยวกับการประท้วงเหล่านี้ พวกเขาต้องใช้แต่เฉพาะข่าวที่ออกมาจากสำนักข่าวซินหวา ของทางการจีนเท่านั้น
ยิ่งกว่านั้น พลเมืองชาวเน็ตและนักเขียนบล็อกทั้งหลาย ก็ไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดการอภิปรายถกเถียงเรื่องของอียิปต์ ในเว็บไซต์ของจีนที่อยู่ในลักษณะเดียวกันกับ เฟซบุ๊ก และ ทวีตเตอร์ ของโลกตะวันตก หรือถ้าเราทดลองค้นหาเรื่องที่เกี่ยวกับอียิปต์ ตามเว็บไมโคร-บล็อกต่างๆ เป็นต้นว่า ซินาดอตคอม (Sina.com), เน็ตอีสดอตคอม (Netease.com) แลเ เว่ยโป (Weibo) ก็จะไม่ปรากฏผลลัพธ์ใดๆ หรือได้มาแต่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องตรงกับที่ต้องการค้นหา
คณะบริหารของหู จิ่นเทานั้น กำลังใช้ความพยายามเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของสาธารณชน โดยโหมกระพือป่าวร้องเรื่องความรวดเร็วและความมีประสิทธิภาพจากการที่ปักกิ่งส่งเครื่องบินเช่าเหมาลำไปรับชาวจีนหลายร้อยคน (รวมทั้งนักท่องเที่ยวจากฮ่องกง) ที่ติดค้างอยู่ตามเมืองต่างๆ ในอียิปต์
บทบรรณาธิการชิ้นหนึ่งของหนังสือพิมพ์โกลบอล ไทมส์ (Global Times) ของทางการจีน ชี้ออกมาว่า พวกสถาบันและบรรทัดฐาน “สไตล์ตะวันตก” นั้น ไม่เหมาะสมสอดคล้องกับประชาชนในแอฟริกาและตะวันออกกลาง “การปฏิวัติสีที่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ เหล่านี้ จะไม่ก่อเกิดประชาธิปไตยที่แท้จริงขึ้นมา” โกลบอล ไทมส์ ซึ่งอยู่ในเครือของ เหรินหมินรึเป้า หนังสือพิมพ์กระบอกเสียงของพรรคคอมมิวนิสต์จีน พยายามแจกแจง
พวกนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆ เพ่งความสนใจไปยังข้อเท็จจริงที่ว่า เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างอียิปต์กับสหรัฐฯอยู่ในสภาพกึ่งๆ เป็นพันธมิตรกัน ดังนั้นการลุกฮือแข็งข้อที่เกิดขึ้นในอียิปต์จึงมีแต่จะสร้างความยุ่งยากให้แก่ผลประโยชน์ในตะวันออกกลางของวอชิงตันเท่านั้น
ตัวอย่างเช่น หลี่ ซือโม่ (Li Shimo) ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่พำนักอยู่ในนครเซี่ยงไฮ้ ตั้งข้อสังเกตว่าถ้าหากอียิปต์และพวกประเทศเพื่อนบ้านจัดการเลือกตั้งชนิดวัดผลแท้ๆ กันจริงๆ แล้ว ผลการลงคะแนนน่าจะทำให้ได้ผู้นำมุสลิมที่มีแต่รังเกียจไม่ยอมรับประชาธิปไตยสไตล์อเมริกา แถมยังจะคุกคามสร้างอันตรายให้ซัปพลายน้ำมันที่จะส่งไปยังสหรัฐฯอีกด้วย
ในเรื่องการระวังป้องกันไม่ให้เกิดการจลาจลต่อต้านรัฐบาลขึ้นในจีนนั้น ในระยะหลายๆ สัปดาห์ที่ผ่านมา คณะผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ย้ำเน้นให้เห็นว่าพวกผู้ปฏิบัติงานอาวุโสของพรรคกำลัง “ใกล้ชิดมวลชน” ด้วยตัวเอง เป็นต้นว่า นายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า ได้ไปเยี่ยมสำนักงานรับหนังสือและเรื่องร้องทุกข์ (Bureau of Letters and Complaints) เพื่อพูดสนทนากับพวกผู้ยื่นหนังสือ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับความทุกข์ยากเดือดร้อนจากการกระทำของรัฐบาลในระดับต่างๆ
นับเป็นครั้งแรกเลยที่เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสไปพูดจาสนทนากับพวกยื่นเรื่องร้องทุกข์ ตามปกติแล้วคนเหล่านี้มักถูกข่มขู่รังควาน และกระทั่งถูกตำรวจและบุคลากรด้านความมั่นคงแห่งรัฐจับตัวไปคุมขัง
พวกหนังสือพิมพ์ของทางการก็เน้นย้ำเรื่องที่แผนห้าปีฉบับที่ 12 (ปี 2011-2015) ของรัฐบาล ซึ่งเพิ่งนำออกมาเผยแพร่ใหม่ๆ หมาดๆ มีการเพิ่มรายจ่ายด้านสวัสดิการสังคมขึ้นอย่างเป็นกอบเป็นกำ โดยนอกจากการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศจีน 22.8% ที่ประกาศในปีที่แล้ว นครต่างๆ ก็ได้แถลงเพิ่มเงินเดือนขึ้นไปประมาณ 15% เป็นการช่วยเหลือคนงานรับมือกับค่าครองชีพที่ทะยานสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคอย่างเป็นทางการพุ่งขึ้นไป 4.6% ในเดือนธันวาคม 2010 นักเศรษฐศาสตร์ของจีนส่วนใหญ่กลับยอมรับว่า เฉพาะราคาอาหารเพียงอย่างเดียว ได้ทะยานขึ้นไปอย่างน้อยที่สุด 10% ในปีที่แล้ว สาเหตุของเรื่องนี้ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากอากาศเลวร้ายในทั่วประเทศ ทำให้ผลผลิตด้านอาหารออกมาน้อย รัฐบาลจะต้องประสบปัญหาหนักหน่วงแน่ๆ ในการรับมือกับราคาข้าวและข้าวสาลี, ผัก, และเนื้อสัตว์ ซึ่งจะขยับขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่ยอมหยุด
หากพิจารณาจากการที่อัตราเงินเฟ้อในประเทศจีนกำลังทำท่าจะพุ่งแรงตลอดปี 2011 ขณะที่ช่องว่างระหว่างคนรวย-คนจนก็ทำท่าจะถ่างกว้างมากยิ่งขึ้น จึงไม่สามารถที่จะตัดลดความเป็นไปได้ของการเกิดการลุกฮือสไตล์พลังประชาชนขึ้นมา และนี่ก็เป็นเหตุผลอธิบายว่าทำไมคณะผู้นำของหู ซึ่งกำลังเตรียมการสำหรับการส่งมอบอำนาจครั้งสำคัญในการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์สมัยที่ 18 ในปีหน้า จึงพร้อมใช้ความพยายามอย่างไม่มีการยับยั้งทัดทาน เพื่อกวาดล้างพวกที่ก่อให้เกิดความไร้เสถียรภาพ และก่อให้เกิด “การไม่ประสานกลมกลืน” ขึ้นในสังคมจีน
เมื่อคำนึงถึงการที่ปักกิ่งเชื่อว่า การปฏิวัติสีต่างๆ นั้นเป็นฝีมือของพวกรัฐบาลฝ่ายตะวันตก ดังนั้น ตำรวจและบุคลาการด้านความมั่นคงแห่งรัฐของจีน จึงน่าที่จะเพิ่มแรงกดดันต่อพวกคนจีนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล ตลอดจนองค์การนอกภาครัฐบาลทั้งหลาย ที่มีสายสัมพันธ์กับองค์กรในอเมริกาและยุโรป
ดร.วิลลี โว-ลัป ลัม (Dr Willy Wo-Lap Lam) เป็นนักวิจัยอาวุโส ณ มูลนิธิเจมส์ทาวน์ (The Jamestown Foundation) และเคยทำงานในระดับบรรณาธิการอาวุโสของสื่อระหว่างประเทศหลายเจ้า เช่น นิตยสารเอเชียวีก, หนังสือพิมพ์เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์, และในสำนักงานใหญ่ภาคเอเชีย-แปซิฟิก ของ ซีเอ็นเอ็น เขาเขียนหนังสือเกี่ยวกับประเทศจีนมาแล้ว 5 เล่ม โดยเล่มที่เพิ่งตีพิมพ์จำหน่ายเมื่อเร็วๆ นี้คือ “Chinese Politics in the Hu Jintao Era: New Leaders, New Challenges” เขายังเป็นศาสตราจารย์สมทบในด้านจีนศึกษา ณ มหาวิทยาลัยนานาชาติอะคิตะ (Akita International University) ประเทศญี่ปุ่น และที่ มหาวิทยาลัยจีนแห่งฮ่องกง (Chinese University of Hong Kong)