เอเอฟพี - มือระเบิดฆ่าตัวตายจุดชนวนระเบิดสังหารตัวเองกลางกลุ่มตำรวจอิรักฝึกหัดในเมืองติกรีต บ้านเกิดของซัดดัม ฮุสเซน วันนี้ (18) ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 50 ราย บาดเจ็บอีกกว่า 150 ราย เจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยอิรักให้ข้อมูล
เหตุระเบิดหนนี้เป็นครั้งรุนแรงที่สุดในอิรัก ตั้งแต่กลุ่มอัลกออิดะห์บุกยึดโบสถ์คริสต์เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ซึ่งสังหารผู้บริสุทธิ์ไปทั้งสิ้น 53 ราย และเป็นการโจมตีใหญ่ครั้งแรกตั้งแต่การตั้งรัฐบาลชุดใหม่ของอิรัก เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม
“มือระเบิดฆ่าตัวตายสังหารชีวิตผู้คนที่ศูนย์ฝึกตำรวจในเมืองติกรีตไป 50 คน และมีผู้บาดเจ็บอีก 150 คน” เจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยให้ข้อมูล ทางด้านตำรวจเมืองติกรีตก็ระบุถึงจำนวนผู้เสียชีวิต ว่า ประกอบไปด้วยตำรวจฝึกหัด และเจ้าหน้าที่ตำรวจ
นักข่าวเอเอฟพี รายงานว่า ในศูนย์ฝึกตำรวจกลางเมืองติกรีต พื้นเต็มไปด้วยเศษเนื้อและกองเลือดเปรอะเปื้อนไปทั่ว อีกทั้งเศษซากรองเท้า เสื้อผ้ากระจัดกระจายเต็มพื้นที่ อนึ่งเมืองติกรีตเป็นบ้านเกิดของจอมเผด็จการ ซัดดัม ฮุสเซน
เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารเข้าปิดล้อมสถานที่เกิดเหตุ รถพยาบาลวิ่งวุ่นนำผู้ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาลใกล้เคียง
พยานผู้เห็นเหตุการณ์ เล่าว่า ตำรวจฝึกหัดกำลังจัดแถวเข้าไปในศูนย์ฝึกดังกล่าวตั้งแต่ 06.00 น.(ตามเวลาท้องถิ่น) ต่อมาคนร้ายจุดชนวนระเบิดฆ่าตัวตายบริเวณทางเข้าเมื่อเวลาประมาณ 10.15 น.(ตามเวลาท้องถิ่น)
เหตุความไม่สงบครั้งนี้มียอดผู้เสียชีวิตมากที่สุด ตั้งแต่กลุ่มหัวรุนแรงฝ่ายอัลกออิดะห์บุกยึดโบสถ์คริสต์ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ซึ่งสังหารผู้แสวงบุญไป 44 ราย บาทหลวง 2 ราย และเจ้าหน้าที่ความมั่นคงอีก 7 ราย
ทั้งนี้ การก่อเหตุระเบิดฆ่าตัวตายดังกล่าวเป็นครั้งแรก ตั้งแต่นายกรัฐมนตรีนูริ อัลมาลิกี จัดตั้งรัฐบาลสำเร็จเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม หลังจากการเลือกตั้งเมื่อ 7 มีนาคม
ก่อนหน้านี้ กลุ่มหัวรุนแรงเคยโจมตีศูนย์ฝึกกองกำลังความมั่นคงในอิรักหลายหน ครั้งหนึ่งคนร้ายระเบิดฆ่าตัวตายท่ามกลางเจ้าหน้าที่ในกรุงแบกแดดเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม ซึ่งสังหารผู้คนไป 59 ราย และมีผู้บาดเจ็บอีก 125 ราย
ปัจจุบันกองกำลังความมั่นคงอิรัก รับผิดชอบต่อความอยู่รอดของประเทศเพียงลำพัง หลังสหรัฐฯ ได้ประกาศยุติปฏิบัติการทหารอย่างเป็นทางการ เมื่อปลายเดือนสิงหาคมปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ยังมีเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ประจำอยู่อีกประมาณ 50,000 คน เพื่อฝึกฝน และให้คำแนะนำกับกองกำลังของอิรัก โดยตั้งเป้าจะถอนกำลังทั้งหมดออกจากประเทศตะวันออกกลางแห่งนี้ภายในสิ้นปีนี้
ความรุนแรงทั่วอิรักลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังแตะจุดสูงสุดเมื่อปี 2006-2007 แต่การโจมตียังเกิดขึ้นทุกเมื่อเชื่อวัน อนึ่งยอดผู้เสียชีวิตเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 และเป็นตัวเลขต่ำสุดตั้งแต่พฤศจิกายน 2009
เหตุระเบิดหนนี้เป็นครั้งรุนแรงที่สุดในอิรัก ตั้งแต่กลุ่มอัลกออิดะห์บุกยึดโบสถ์คริสต์เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ซึ่งสังหารผู้บริสุทธิ์ไปทั้งสิ้น 53 ราย และเป็นการโจมตีใหญ่ครั้งแรกตั้งแต่การตั้งรัฐบาลชุดใหม่ของอิรัก เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม
“มือระเบิดฆ่าตัวตายสังหารชีวิตผู้คนที่ศูนย์ฝึกตำรวจในเมืองติกรีตไป 50 คน และมีผู้บาดเจ็บอีก 150 คน” เจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยให้ข้อมูล ทางด้านตำรวจเมืองติกรีตก็ระบุถึงจำนวนผู้เสียชีวิต ว่า ประกอบไปด้วยตำรวจฝึกหัด และเจ้าหน้าที่ตำรวจ
นักข่าวเอเอฟพี รายงานว่า ในศูนย์ฝึกตำรวจกลางเมืองติกรีต พื้นเต็มไปด้วยเศษเนื้อและกองเลือดเปรอะเปื้อนไปทั่ว อีกทั้งเศษซากรองเท้า เสื้อผ้ากระจัดกระจายเต็มพื้นที่ อนึ่งเมืองติกรีตเป็นบ้านเกิดของจอมเผด็จการ ซัดดัม ฮุสเซน
เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารเข้าปิดล้อมสถานที่เกิดเหตุ รถพยาบาลวิ่งวุ่นนำผู้ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาลใกล้เคียง
พยานผู้เห็นเหตุการณ์ เล่าว่า ตำรวจฝึกหัดกำลังจัดแถวเข้าไปในศูนย์ฝึกดังกล่าวตั้งแต่ 06.00 น.(ตามเวลาท้องถิ่น) ต่อมาคนร้ายจุดชนวนระเบิดฆ่าตัวตายบริเวณทางเข้าเมื่อเวลาประมาณ 10.15 น.(ตามเวลาท้องถิ่น)
เหตุความไม่สงบครั้งนี้มียอดผู้เสียชีวิตมากที่สุด ตั้งแต่กลุ่มหัวรุนแรงฝ่ายอัลกออิดะห์บุกยึดโบสถ์คริสต์ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ซึ่งสังหารผู้แสวงบุญไป 44 ราย บาทหลวง 2 ราย และเจ้าหน้าที่ความมั่นคงอีก 7 ราย
ทั้งนี้ การก่อเหตุระเบิดฆ่าตัวตายดังกล่าวเป็นครั้งแรก ตั้งแต่นายกรัฐมนตรีนูริ อัลมาลิกี จัดตั้งรัฐบาลสำเร็จเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม หลังจากการเลือกตั้งเมื่อ 7 มีนาคม
ก่อนหน้านี้ กลุ่มหัวรุนแรงเคยโจมตีศูนย์ฝึกกองกำลังความมั่นคงในอิรักหลายหน ครั้งหนึ่งคนร้ายระเบิดฆ่าตัวตายท่ามกลางเจ้าหน้าที่ในกรุงแบกแดดเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม ซึ่งสังหารผู้คนไป 59 ราย และมีผู้บาดเจ็บอีก 125 ราย
ปัจจุบันกองกำลังความมั่นคงอิรัก รับผิดชอบต่อความอยู่รอดของประเทศเพียงลำพัง หลังสหรัฐฯ ได้ประกาศยุติปฏิบัติการทหารอย่างเป็นทางการ เมื่อปลายเดือนสิงหาคมปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ยังมีเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ประจำอยู่อีกประมาณ 50,000 คน เพื่อฝึกฝน และให้คำแนะนำกับกองกำลังของอิรัก โดยตั้งเป้าจะถอนกำลังทั้งหมดออกจากประเทศตะวันออกกลางแห่งนี้ภายในสิ้นปีนี้
ความรุนแรงทั่วอิรักลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังแตะจุดสูงสุดเมื่อปี 2006-2007 แต่การโจมตียังเกิดขึ้นทุกเมื่อเชื่อวัน อนึ่งยอดผู้เสียชีวิตเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 และเป็นตัวเลขต่ำสุดตั้งแต่พฤศจิกายน 2009