(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์www.atimes.com)
Dalai Lama gets his moment
By Eli Clifton and Charles Fromm
19/02/2010
ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ แสดงท่าทีปลอบอกปลอบใจจีนเล็กๆ น้อยๆ ด้วยการพบปะหารือกับ ทะไลลามะ เมื่อวันพฤหัสบดี(18)ที่ผ่านมา ในห้องแผนที่ของทำเนียบขาว แทนที่จะเป็นในห้องทำงานรูปไข่ แต่ถึงอย่างไรก็เป็นเรื่องแน่นอนที่ว่า การที่ผู้นำอเมริกันพบปะกับผู้นำด้านจิตวิญญาณชาวทิเบตที่ต้องลี้ภัยอยู่นอกประเทศผู้นี้ จะต้องถูกปักกิ่งแสดงการตอบโต้แก้เผ็ดในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ซึ่งจีนก็ดูจะมีทางเลือกจำนวนมากในเรื่องนี้เสียด้วย
วอชิงตัน – ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ พบปะหารือกับ ทะไลลามะ ผู้นำด้านจิตวิญญาณชาวทิเบตที่กำลังลี้ภัยอยู่นอกประเทศ ณ ทำเนียบขาว เมื่อวันพฤหัสบดี(18)ที่ผ่านมา ท่ามกลางการคัดค้านของจีน และก็เป็นการเพิ่มความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-จีนซึ่งปะทุระอุอยู่แล้วในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขายอาวุธให้ไต้หวัน, การเซ็นเซอร์และการแอบเจาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ต, การขึ้นภาษีศุลกากรยางรถจากจีน, และการเรียกร้องให้ปักกิ่งปรับเพิ่มค่าเงินตรา
ภายหลังการพบปะหารือแบบค่อนข้างเงียบๆ โดยน่าสังเกตว่ามีขึ้นในห้องแผนที่ (Map Room) ของทำเนียบขาว แทนที่จะเป็นในห้องทำงานรูปไข่ (Oval Office) ทะไลลามะได้บอกกับผู้สื่อข่าวถึงสิ่งที่พูดจากันว่า หัวข้อของการหารือกันมีทั้งเรื่องเกี่ยวกับประชาธิปไตย, เสรีภาพ, และสิทธิมนุษยชน
ขณะที่ในคำแถลงซึ่งออกโดยทำเนียบขาวกล่าวว่า “ประธานาธิบดีโอบามาได้เน้นย้ำความสนับสนุนอันแรงกล้าของตน ต่อการสงวนรักษาอัตลักษณ์อันโดดเด่นเฉพาะตัวของทิเบตทั้งทางด้านศาสนา, วัฒนธรรม, และภาษา และการพิทักษ์คุ้มครองสิทธิมนุษยชนของชาวทิเบตในสาธารณรัฐประชาชนจีน”
อันที่จริงทำเนียบขาวได้แสดงการอ่อนข้อให้แก่ปักกิ่งอยู่บ้าง ด้วยการเลื่อนการพบปะหารือคราวนี้จากเมื่อปีที่แล้ว เพื่อไม่ให้สร้างความเสียหายต่อความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ ก่อนที่โอบามาจะไปเยือนจีนในเดือนพฤศจิกายนปี 2009 ทว่าพวกสื่อของรัฐในจีน ตลอดจนกระทรวงการต่างประเทศของจีน ก็ยังคงออกมาแสดงความไม่พอใจอยู่ดี
“เราเรียกร้องให้สหรัฐฯตระหนักอย่างเต็มที่ถึงความอ่อนไหวอย่างยิ่งของประเด็นปัญหาอันเกี่ยวเนื่องกับทิเบต, ปฏิบัติอย่างเข้มงวดตามคำมั่นสัญญาของตนที่ให้การรับรองว่าทิเบตเป็นส่วนหนึ่งของจีน และคัดค้าน ‘ความเป็นเอกราชของทิเบต’, ยกเลิกการตัดสินใจอันผิดพลาดในการจัดการพบปะหารือระหว่างประธานาธิบดีโอบามากับทะไล(ลามะ)ในทันที, ไม่ให้เวทีหรือความสะดวกใดๆ แก่ทะไล(ลามะ) ในการเข้าเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของพวกนักสร้างความแตกแยกที่มุ่งต่อต้านจีน, ไม่บ่อนทำลายเสถียรภาพของทิเบตและแทรกแซงกิจการภายในของจีน ทั้งนี้เพื่อที่จะพิทักษ์ปกป้องความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯเอาไว้ไม่ให้เกิดความเสียหายไปมากกว่านี้” เนื้อความของคำแถลงที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศจีนเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ระบุไว้เช่นนี้
ขณะที่ฝ่ายจีนแสดงการคัดค้านอย่างแรงกล้า แต่การพบปะหารือในห้องแผนที่คราวนี้ ก็ไม่ได้มีความเอิกเกริกโด่งดัง (และสร้างปัญหาในเชิงการทูต) ใกล้เคียงกับการตัดสินใจเมื่อปี 2007 ของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ของสหรัฐฯในเวลานั้น ที่มอบรางวัลเหรียญเชิดชูเกียรติแห่งรัฐสภา (Congressional Medal of Honor) ให้แก่ทะไลลามะ
ในครั้งนั้นฝ่ายจีนได้ตอบโต้ด้วยการใช้ความพยายามกดดันบรรดารัฐบาลต่างประเทศไม่ให้เป็นเจ้าภาพต้อนรับการไปเยือนของทะไลลามะ ซึ่งนำไปสู่เหตุการณ์ประท้วงต่อต้านปักกิ่งเป็นระลอกในพื้นที่ต่างๆ ของชนชาติทิเบตในประเทศจีน และตามมาด้วยการที่พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในทิเบตทำการปราบปรามผู้ประท้วงด้วยความรุนแรง จีนยังเดินหน้าระบุว่าทิเบตเป็นหนึ่งใน “ผลประโยชน์ที่เป็นหัวใจ” (core interests) ของตน อันเป็นการเตือนสหรัฐฯและประเทศอื่นๆ อย่างสุดแรงว่า อย่าได้เข้ามายุ่มย่ามในประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอธิปไตยของทิเบตเป็นอันขาด
“โดยทั่วๆ ไปแล้ว และแม้กระทั่งเมื่อทางทำเนียบขาวทั้งในอดีตและปัจจุบัน มีความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนเรื่องเวลาและสถานที่ของการพบปะหารือแบบนี้ให้เห็นแล้วก็ตามที ปฏิกิริยาของฝ่ายจีนในทางสาธารณะก็แทบไม่เคยอยู่ในลักษณะการตอบโต้เพียงแค่พอประมาณเลย” ชาร์ลส์ ฟรีแมน (Charles Freeman) ผู้เชี่ยวชาญเรื่องจีน ณ ศูนย์กลางเพื่อยุทธศาสตร์และการระหว่างประเทศศึกษา (Center for Strategic and International Studies หรือ CSIS) กล่าวในการให้สัมภาษณ์ซึ่งเผยแพร่อยู่ในเว็บไซต์ของ CSIS
ความตึงเครียดจากการเยือนทำเนียบขาวของทะไลลามะคราวนี้ เป็นเพียงสงครามน้ำลายระลอกล่าสุดที่ปะทุขึ้นมาในรอบไม่กี่เดือนมานี้ระหว่างวอชิงตันกับปักกิ่ง โดยที่ประเทศทั้งสองก็ต้องจัดการรับมือกับความตึงเครียดทั้งทางการเมือง, การทหาร, และทางเศรษฐกิจที่บังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว
เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว โอบามาอนุมัติให้ขึ้นภาษีศุลกากรฉุกเฉินในอัตรา 35% สำหรับสินค้ายางรถนำเข้าของจีน ด้วยเหตุผลที่ว่าเพื่อสกัดกั้น “การพุ่งพรวด” เข้ามาของยางรถจีน ซึ่งตามคำร้องเรียนของพวกสหภาพแรงงานสหรัฐฯนั้น ได้ทำให้คนงานโรงงานยางรถของสหรัฐฯต้องสูญเสียงานเป็นจำนวนราว 7,000 ตำแหน่ง ทางฝ่ายปักกิ่งก็ได้ตอบโต้อย่างรวดเร็วด้วยการประณามการขึ้นภาษีของสหรัฐฯในคราวนี้ พร้อมกับขู่ที่จะเรียกเก็บภาษีเอาจากผลิตภัณฑ์ของสหรัฐฯที่ส่งไปขายในจีนบ้าง
ในเดือนมกราคมปีนี้ บริษัทกูเกิลแถลงว่า แอคเคาต์อีเมล์ที่เป็นของพวกนักการทูต, นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน, ตลอดจนนักหนังสือพิมพ์จำนวนหนึ่ง ได้ถูกพวกแฮกเกอร์จีนแอบเจาะเข้าไปล้วงความลับ เรื่องนี้ทำให้รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ฮิลลารี คลินตัน ออกมากล่าวสุนทรพจน์พูดสรุปถึงจุดยืนของคณะรัฐบาลสหรัฐฯในประเด็นเรื่องการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา, ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์, และการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตของจีน
ทางจีนได้ตอบโต้กลับด้วยการกล่าวหาสหรัฐฯว่ากำลังทำตัวเป็น “จักรวรรดินิยมทางข้อมูลข่าวสาร” (information imperialism) พร้อมกับปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ว่ารัฐบาลจีนมีส่วนร่วมในการโจมตีทางไซเบอร์
ก่อนหน้านี้ในเดือนนี้เอง ความสัมพันธ์ปักกิ่ง-วอชิงตันต้องเข้าสู่ช่วงตอนอันขรุขระอีกครั้งหนึ่ง เมื่อจีนขู่ที่จะใช้มาตรการลงโทษคว่ำบาตรต่อพวกบริษัทสหรัฐฯที่กำลังเข้าร่วมในข้อตกลงขายอาวุธมูลค่า 6,400 ล้านดอลลาร์ให้แก่ไต้หวัน
ในขณะที่วิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลกกำลังสร้างความเครียดเค้นทั้งต่อจีนและต่อสหรัฐฯ ทางฝายจีนได้หาทางปรับเปลี่ยนการนำเอาส่วนเกินดุลชำระเงินของตนไปลงทุน โดยจากที่เคยมุ่งแต่ลงทุนในสินทรัพย์สกุลดอลลาร์อเมริกัน ก็หันมาลงทุนในหลักทรัพย์และสินค้าโภคภัณฑ์มากขึ้น ขณะที่โอบามาก็ตกอยู่ใต้แรงบีบคั้นให้ต้องหาทางแก้ปัญหาการขาดดุลการค้ากับจีนที่เพิ่มสูงขึ้นทุกที
เมื่อผสมกับการมาเยือนของทะไลลามะ ที่ถือเป็นระลอกล่าสุดของสงครามน้ำลายระหว่างวอชิงตันกับปักกิ่ง จึงทำให้พวกนักวิเคราะห์พยายามที่จะปะติดปะต่อว่า ความตึงเครียดทั้งทางการเมือง, เศรษฐกิจ, และการทหารที่กำลังทวีขึ้นนี้ ใช่หรือไม่ว่าเป็นส่วนหนึ่งของแนวโน้มใหญ่หรือของอาการแห่งแรงกดดันภายในประเทศ ต่อคณะผู้นำทั้งฝ่ายจีนและฝ่ายสหรัฐฯ
พวกผู้เชี่ยวชาญเรื่องจีนเตือนว่า ประธานาธิบดีหูจิ่นเทาของจีนอาจจะตอบโต้แก้เผ็ดการพบปะหารือที่เกิดขึ้นในทำเนียบขาวเมื่อวันพฤหัสบดี ด้วยการประกาศยกเลิกการเยือนกรุงวอชิงตันของเขาในเดือนเมษายน ซึ่งเขามีกำหนดการที่จะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดว่าด้วยความมั่นคงปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ (Nuclear Security Summit)
ความตึงเครียดระหว่างจีนกับสหรัฐนั้น กำลังมีความสำคัญในระดับโลกมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการร่วมมือกันระหว่างสองประเทศนี้ กำลังมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับประเด็นปัญหาที่มีลักษณะพหุภาคีจำนวนหนึ่ง เป็นต้นว่า การต่อสู้เอาชนะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ, การหาทางทำให้โลกฟื้นตัวขึ้นมาจากวิกฤตทางการเงิน, และการรับมือกับโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ตลอดจนของอิหร่าน –ถึงแม้กรุงเตหะรานปฏิเสธเรื่อยมาว่าตนไม่ได้กำลังเสาะแสวงหาสมรรถนะทางนิวเคลียร์ในทางทหารก็ตามที
การบริหารจัดการความสัมพันธ์อันสำคัญและยุ่งยากซับซ้อนยิ่งขึ้นทุกทีนี้ จำเป็นต้องอาศัยความเปลี่ยนแปลงทั้งจากฝ่ายปักกิ่งและฝ่ายวอชิงตัน ในเรื่องวิธีดำเนินการทางการทูตของพวกเขาในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสอง
“สำหรับทางผู้นำจีนแล้ว นี่ย่อมจะหมายถึงการขีดเส้นอันละเอียดอ่อนระหว่างถ้อยคำโวหารกับความเป็นจริงขึ้นมา ควรต้องจำกัดการประท้วงให้เป็นการแสดงท่าทีสำหรับผู้ชมภายในประเทศของพวกเขา ขณะที่พวกเขายังคงทำงานร่วมกับสหรัฐฯในด้านต่างๆ จำนวนหนึ่ง” ดักลาส เอช พาล (Douglas H Paal) รองประธานฝ่ายการศึกษา ณ กองทุนคาร์เนกีเพื่อสันติภาพระหว่างประเทศ (Carnegie Endowment for International Peace) เขียนเสนอแนะเอาไว้ในหนังสือพิมพ์เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ (South China Morning Post) ที่ออกในฮ่องกง
ส่วนสำหรับสหรัฐฯนั้น เขาแนะนำว่า “จะต้องรักษาคำมั่นสัญญาในเชิงหลักการที่มีต่อเรื่องสิทธิมนุษยชนเอาไว้ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องสาธิตให้เห็นความผ่อนปรนบางระดับเมื่อเป็นประเด็นที่จีนพิจารณาเห็นว่าเป็น ‘ผลประโยชน์ที่เป็นหัวใจ’ของตน”
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)
Dalai Lama gets his moment
By Eli Clifton and Charles Fromm
19/02/2010
ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ แสดงท่าทีปลอบอกปลอบใจจีนเล็กๆ น้อยๆ ด้วยการพบปะหารือกับ ทะไลลามะ เมื่อวันพฤหัสบดี(18)ที่ผ่านมา ในห้องแผนที่ของทำเนียบขาว แทนที่จะเป็นในห้องทำงานรูปไข่ แต่ถึงอย่างไรก็เป็นเรื่องแน่นอนที่ว่า การที่ผู้นำอเมริกันพบปะกับผู้นำด้านจิตวิญญาณชาวทิเบตที่ต้องลี้ภัยอยู่นอกประเทศผู้นี้ จะต้องถูกปักกิ่งแสดงการตอบโต้แก้เผ็ดในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ซึ่งจีนก็ดูจะมีทางเลือกจำนวนมากในเรื่องนี้เสียด้วย
วอชิงตัน – ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ พบปะหารือกับ ทะไลลามะ ผู้นำด้านจิตวิญญาณชาวทิเบตที่กำลังลี้ภัยอยู่นอกประเทศ ณ ทำเนียบขาว เมื่อวันพฤหัสบดี(18)ที่ผ่านมา ท่ามกลางการคัดค้านของจีน และก็เป็นการเพิ่มความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-จีนซึ่งปะทุระอุอยู่แล้วในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขายอาวุธให้ไต้หวัน, การเซ็นเซอร์และการแอบเจาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ต, การขึ้นภาษีศุลกากรยางรถจากจีน, และการเรียกร้องให้ปักกิ่งปรับเพิ่มค่าเงินตรา
ภายหลังการพบปะหารือแบบค่อนข้างเงียบๆ โดยน่าสังเกตว่ามีขึ้นในห้องแผนที่ (Map Room) ของทำเนียบขาว แทนที่จะเป็นในห้องทำงานรูปไข่ (Oval Office) ทะไลลามะได้บอกกับผู้สื่อข่าวถึงสิ่งที่พูดจากันว่า หัวข้อของการหารือกันมีทั้งเรื่องเกี่ยวกับประชาธิปไตย, เสรีภาพ, และสิทธิมนุษยชน
ขณะที่ในคำแถลงซึ่งออกโดยทำเนียบขาวกล่าวว่า “ประธานาธิบดีโอบามาได้เน้นย้ำความสนับสนุนอันแรงกล้าของตน ต่อการสงวนรักษาอัตลักษณ์อันโดดเด่นเฉพาะตัวของทิเบตทั้งทางด้านศาสนา, วัฒนธรรม, และภาษา และการพิทักษ์คุ้มครองสิทธิมนุษยชนของชาวทิเบตในสาธารณรัฐประชาชนจีน”
อันที่จริงทำเนียบขาวได้แสดงการอ่อนข้อให้แก่ปักกิ่งอยู่บ้าง ด้วยการเลื่อนการพบปะหารือคราวนี้จากเมื่อปีที่แล้ว เพื่อไม่ให้สร้างความเสียหายต่อความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ ก่อนที่โอบามาจะไปเยือนจีนในเดือนพฤศจิกายนปี 2009 ทว่าพวกสื่อของรัฐในจีน ตลอดจนกระทรวงการต่างประเทศของจีน ก็ยังคงออกมาแสดงความไม่พอใจอยู่ดี
“เราเรียกร้องให้สหรัฐฯตระหนักอย่างเต็มที่ถึงความอ่อนไหวอย่างยิ่งของประเด็นปัญหาอันเกี่ยวเนื่องกับทิเบต, ปฏิบัติอย่างเข้มงวดตามคำมั่นสัญญาของตนที่ให้การรับรองว่าทิเบตเป็นส่วนหนึ่งของจีน และคัดค้าน ‘ความเป็นเอกราชของทิเบต’, ยกเลิกการตัดสินใจอันผิดพลาดในการจัดการพบปะหารือระหว่างประธานาธิบดีโอบามากับทะไล(ลามะ)ในทันที, ไม่ให้เวทีหรือความสะดวกใดๆ แก่ทะไล(ลามะ) ในการเข้าเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของพวกนักสร้างความแตกแยกที่มุ่งต่อต้านจีน, ไม่บ่อนทำลายเสถียรภาพของทิเบตและแทรกแซงกิจการภายในของจีน ทั้งนี้เพื่อที่จะพิทักษ์ปกป้องความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯเอาไว้ไม่ให้เกิดความเสียหายไปมากกว่านี้” เนื้อความของคำแถลงที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศจีนเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ระบุไว้เช่นนี้
ขณะที่ฝ่ายจีนแสดงการคัดค้านอย่างแรงกล้า แต่การพบปะหารือในห้องแผนที่คราวนี้ ก็ไม่ได้มีความเอิกเกริกโด่งดัง (และสร้างปัญหาในเชิงการทูต) ใกล้เคียงกับการตัดสินใจเมื่อปี 2007 ของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ของสหรัฐฯในเวลานั้น ที่มอบรางวัลเหรียญเชิดชูเกียรติแห่งรัฐสภา (Congressional Medal of Honor) ให้แก่ทะไลลามะ
ในครั้งนั้นฝ่ายจีนได้ตอบโต้ด้วยการใช้ความพยายามกดดันบรรดารัฐบาลต่างประเทศไม่ให้เป็นเจ้าภาพต้อนรับการไปเยือนของทะไลลามะ ซึ่งนำไปสู่เหตุการณ์ประท้วงต่อต้านปักกิ่งเป็นระลอกในพื้นที่ต่างๆ ของชนชาติทิเบตในประเทศจีน และตามมาด้วยการที่พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในทิเบตทำการปราบปรามผู้ประท้วงด้วยความรุนแรง จีนยังเดินหน้าระบุว่าทิเบตเป็นหนึ่งใน “ผลประโยชน์ที่เป็นหัวใจ” (core interests) ของตน อันเป็นการเตือนสหรัฐฯและประเทศอื่นๆ อย่างสุดแรงว่า อย่าได้เข้ามายุ่มย่ามในประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอธิปไตยของทิเบตเป็นอันขาด
“โดยทั่วๆ ไปแล้ว และแม้กระทั่งเมื่อทางทำเนียบขาวทั้งในอดีตและปัจจุบัน มีความพยายามที่จะปรับเปลี่ยนเรื่องเวลาและสถานที่ของการพบปะหารือแบบนี้ให้เห็นแล้วก็ตามที ปฏิกิริยาของฝ่ายจีนในทางสาธารณะก็แทบไม่เคยอยู่ในลักษณะการตอบโต้เพียงแค่พอประมาณเลย” ชาร์ลส์ ฟรีแมน (Charles Freeman) ผู้เชี่ยวชาญเรื่องจีน ณ ศูนย์กลางเพื่อยุทธศาสตร์และการระหว่างประเทศศึกษา (Center for Strategic and International Studies หรือ CSIS) กล่าวในการให้สัมภาษณ์ซึ่งเผยแพร่อยู่ในเว็บไซต์ของ CSIS
ความตึงเครียดจากการเยือนทำเนียบขาวของทะไลลามะคราวนี้ เป็นเพียงสงครามน้ำลายระลอกล่าสุดที่ปะทุขึ้นมาในรอบไม่กี่เดือนมานี้ระหว่างวอชิงตันกับปักกิ่ง โดยที่ประเทศทั้งสองก็ต้องจัดการรับมือกับความตึงเครียดทั้งทางการเมือง, การทหาร, และทางเศรษฐกิจที่บังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว
เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว โอบามาอนุมัติให้ขึ้นภาษีศุลกากรฉุกเฉินในอัตรา 35% สำหรับสินค้ายางรถนำเข้าของจีน ด้วยเหตุผลที่ว่าเพื่อสกัดกั้น “การพุ่งพรวด” เข้ามาของยางรถจีน ซึ่งตามคำร้องเรียนของพวกสหภาพแรงงานสหรัฐฯนั้น ได้ทำให้คนงานโรงงานยางรถของสหรัฐฯต้องสูญเสียงานเป็นจำนวนราว 7,000 ตำแหน่ง ทางฝ่ายปักกิ่งก็ได้ตอบโต้อย่างรวดเร็วด้วยการประณามการขึ้นภาษีของสหรัฐฯในคราวนี้ พร้อมกับขู่ที่จะเรียกเก็บภาษีเอาจากผลิตภัณฑ์ของสหรัฐฯที่ส่งไปขายในจีนบ้าง
ในเดือนมกราคมปีนี้ บริษัทกูเกิลแถลงว่า แอคเคาต์อีเมล์ที่เป็นของพวกนักการทูต, นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน, ตลอดจนนักหนังสือพิมพ์จำนวนหนึ่ง ได้ถูกพวกแฮกเกอร์จีนแอบเจาะเข้าไปล้วงความลับ เรื่องนี้ทำให้รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ฮิลลารี คลินตัน ออกมากล่าวสุนทรพจน์พูดสรุปถึงจุดยืนของคณะรัฐบาลสหรัฐฯในประเด็นเรื่องการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา, ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์, และการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตของจีน
ทางจีนได้ตอบโต้กลับด้วยการกล่าวหาสหรัฐฯว่ากำลังทำตัวเป็น “จักรวรรดินิยมทางข้อมูลข่าวสาร” (information imperialism) พร้อมกับปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ว่ารัฐบาลจีนมีส่วนร่วมในการโจมตีทางไซเบอร์
ก่อนหน้านี้ในเดือนนี้เอง ความสัมพันธ์ปักกิ่ง-วอชิงตันต้องเข้าสู่ช่วงตอนอันขรุขระอีกครั้งหนึ่ง เมื่อจีนขู่ที่จะใช้มาตรการลงโทษคว่ำบาตรต่อพวกบริษัทสหรัฐฯที่กำลังเข้าร่วมในข้อตกลงขายอาวุธมูลค่า 6,400 ล้านดอลลาร์ให้แก่ไต้หวัน
ในขณะที่วิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลกกำลังสร้างความเครียดเค้นทั้งต่อจีนและต่อสหรัฐฯ ทางฝายจีนได้หาทางปรับเปลี่ยนการนำเอาส่วนเกินดุลชำระเงินของตนไปลงทุน โดยจากที่เคยมุ่งแต่ลงทุนในสินทรัพย์สกุลดอลลาร์อเมริกัน ก็หันมาลงทุนในหลักทรัพย์และสินค้าโภคภัณฑ์มากขึ้น ขณะที่โอบามาก็ตกอยู่ใต้แรงบีบคั้นให้ต้องหาทางแก้ปัญหาการขาดดุลการค้ากับจีนที่เพิ่มสูงขึ้นทุกที
เมื่อผสมกับการมาเยือนของทะไลลามะ ที่ถือเป็นระลอกล่าสุดของสงครามน้ำลายระหว่างวอชิงตันกับปักกิ่ง จึงทำให้พวกนักวิเคราะห์พยายามที่จะปะติดปะต่อว่า ความตึงเครียดทั้งทางการเมือง, เศรษฐกิจ, และการทหารที่กำลังทวีขึ้นนี้ ใช่หรือไม่ว่าเป็นส่วนหนึ่งของแนวโน้มใหญ่หรือของอาการแห่งแรงกดดันภายในประเทศ ต่อคณะผู้นำทั้งฝ่ายจีนและฝ่ายสหรัฐฯ
พวกผู้เชี่ยวชาญเรื่องจีนเตือนว่า ประธานาธิบดีหูจิ่นเทาของจีนอาจจะตอบโต้แก้เผ็ดการพบปะหารือที่เกิดขึ้นในทำเนียบขาวเมื่อวันพฤหัสบดี ด้วยการประกาศยกเลิกการเยือนกรุงวอชิงตันของเขาในเดือนเมษายน ซึ่งเขามีกำหนดการที่จะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดว่าด้วยความมั่นคงปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ (Nuclear Security Summit)
ความตึงเครียดระหว่างจีนกับสหรัฐนั้น กำลังมีความสำคัญในระดับโลกมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการร่วมมือกันระหว่างสองประเทศนี้ กำลังมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับประเด็นปัญหาที่มีลักษณะพหุภาคีจำนวนหนึ่ง เป็นต้นว่า การต่อสู้เอาชนะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ, การหาทางทำให้โลกฟื้นตัวขึ้นมาจากวิกฤตทางการเงิน, และการรับมือกับโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ตลอดจนของอิหร่าน –ถึงแม้กรุงเตหะรานปฏิเสธเรื่อยมาว่าตนไม่ได้กำลังเสาะแสวงหาสมรรถนะทางนิวเคลียร์ในทางทหารก็ตามที
การบริหารจัดการความสัมพันธ์อันสำคัญและยุ่งยากซับซ้อนยิ่งขึ้นทุกทีนี้ จำเป็นต้องอาศัยความเปลี่ยนแปลงทั้งจากฝ่ายปักกิ่งและฝ่ายวอชิงตัน ในเรื่องวิธีดำเนินการทางการทูตของพวกเขาในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสอง
“สำหรับทางผู้นำจีนแล้ว นี่ย่อมจะหมายถึงการขีดเส้นอันละเอียดอ่อนระหว่างถ้อยคำโวหารกับความเป็นจริงขึ้นมา ควรต้องจำกัดการประท้วงให้เป็นการแสดงท่าทีสำหรับผู้ชมภายในประเทศของพวกเขา ขณะที่พวกเขายังคงทำงานร่วมกับสหรัฐฯในด้านต่างๆ จำนวนหนึ่ง” ดักลาส เอช พาล (Douglas H Paal) รองประธานฝ่ายการศึกษา ณ กองทุนคาร์เนกีเพื่อสันติภาพระหว่างประเทศ (Carnegie Endowment for International Peace) เขียนเสนอแนะเอาไว้ในหนังสือพิมพ์เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ (South China Morning Post) ที่ออกในฮ่องกง
ส่วนสำหรับสหรัฐฯนั้น เขาแนะนำว่า “จะต้องรักษาคำมั่นสัญญาในเชิงหลักการที่มีต่อเรื่องสิทธิมนุษยชนเอาไว้ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องสาธิตให้เห็นความผ่อนปรนบางระดับเมื่อเป็นประเด็นที่จีนพิจารณาเห็นว่าเป็น ‘ผลประโยชน์ที่เป็นหัวใจ’ของตน”
(สำนักข่าวอินเตอร์เพรสเซอร์วิส)