เอเจนซี - การเจรจาระหว่างชาติมหาอำนาจกับรัฐบาลเตหะรานเรื่องโครงการนิวเคลียร์อิหร่านในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ เป็นไปได้มากที่สุดว่าจะจัดขึ้นที่ตุรกี หัวหน้าคณะผู้แทนจากชาติตะวันตกกล่าววันนี้ (15)
"ยังไม่ได้ตัดสินใจขั้นสุดท้าย แต่ผมคิดว่า น่าจะจัดขึ้นที่ตุรกี" กาเบียร์ โซลานา หัวหน้าด้านนโยบายต่างประเทศของสหภาพยุโรป (อียู) ซึ่งทำหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนการเจรจากับอิหร่าน บอกกับผู้สื่อข่าวในกรุงบรัสเซลส์ ต่อข้อถามที่ว่า การเจรจาดังกล่าวจะจัดขึ้นที่ใด
โซลานาบอกว่า นโยบายของตะวันตกยังคงเปิดกว้าง "ทั้ง 2 ด้าน" กล่าวคือยื่นข้อเสนอต่าง ๆ เพื่อให้อิหร่านล้มเลิกโครงการนิวเคลียร์ ตามที่ชาติตะวันตกเคลือบแคลงสงสัยว่า มีเป้าหมายเพื่อผลิตอาวุธนิวเคลียร์ ขณะเดียวกันก็ยืนยันคำขู่ลงโทษเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม โซลานากล่าวเสริมว่า ตอนนี้ไม่ใช่เวลาที่จะมาพูดเรื่องการลงโทษเพิ่มเติม
ทั้งนี้ทางการอิหร่านยอมเจรจากับ 6 ชาติมหาอำนาจ แต่ปฏิเสธจะถกเถียงเรื่องกิจกรรมนิวเคลียร์ ซึ่งกรุงเตหะรานยืนกรานมาตลอดว่า ดำเนินการด้วยความสันติเพื่อนำมาผลิตพลังงานไฟฟ้า
โซลานา ซึ่งเป็นผู้แทน 6 ชาติมหาอำนาจ อันประกอบด้วย สหรัฐฯ, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อังกฤษ, จีนและรัสเซีย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อคลี่คลายความขัดแย้งกับอิหร่าน กล่าวอย่างสงวนท่าทีต่อข้อซักถามที่ว่า เขาคิดว่าการเจรจาครั้งใหม่จะประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด
"ผมมุ่งมั่นมาตลอดที่จะผลักดันและทำให้การเจรจาดังกล่าวประสบผลสำเร็จให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้"
"ยังไม่ได้ตัดสินใจขั้นสุดท้าย แต่ผมคิดว่า น่าจะจัดขึ้นที่ตุรกี" กาเบียร์ โซลานา หัวหน้าด้านนโยบายต่างประเทศของสหภาพยุโรป (อียู) ซึ่งทำหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนการเจรจากับอิหร่าน บอกกับผู้สื่อข่าวในกรุงบรัสเซลส์ ต่อข้อถามที่ว่า การเจรจาดังกล่าวจะจัดขึ้นที่ใด
โซลานาบอกว่า นโยบายของตะวันตกยังคงเปิดกว้าง "ทั้ง 2 ด้าน" กล่าวคือยื่นข้อเสนอต่าง ๆ เพื่อให้อิหร่านล้มเลิกโครงการนิวเคลียร์ ตามที่ชาติตะวันตกเคลือบแคลงสงสัยว่า มีเป้าหมายเพื่อผลิตอาวุธนิวเคลียร์ ขณะเดียวกันก็ยืนยันคำขู่ลงโทษเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม โซลานากล่าวเสริมว่า ตอนนี้ไม่ใช่เวลาที่จะมาพูดเรื่องการลงโทษเพิ่มเติม
ทั้งนี้ทางการอิหร่านยอมเจรจากับ 6 ชาติมหาอำนาจ แต่ปฏิเสธจะถกเถียงเรื่องกิจกรรมนิวเคลียร์ ซึ่งกรุงเตหะรานยืนกรานมาตลอดว่า ดำเนินการด้วยความสันติเพื่อนำมาผลิตพลังงานไฟฟ้า
โซลานา ซึ่งเป็นผู้แทน 6 ชาติมหาอำนาจ อันประกอบด้วย สหรัฐฯ, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อังกฤษ, จีนและรัสเซีย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อคลี่คลายความขัดแย้งกับอิหร่าน กล่าวอย่างสงวนท่าทีต่อข้อซักถามที่ว่า เขาคิดว่าการเจรจาครั้งใหม่จะประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด
"ผมมุ่งมั่นมาตลอดที่จะผลักดันและทำให้การเจรจาดังกล่าวประสบผลสำเร็จให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้"