เอเอฟพี - คนใกล้ชิดเผย อดีตผู้นำเกาหลีใต้กระโดดลงเขา และทิ้งจดหมายลาตายไว้ ขณะที่อดีตผู้นำเพื่อนสนิทระบุ เพื่อนรักอาจทดแรงกดดันจากกรณีคดีคอร์รัปชั่นอื้อฉาวไม่ได้ ท่ามความความตกตะลึงของประชาชนทั่วประเทศกับการจากไปที่ไม่มีใครคาดคิดถึง
ตำรวจระบุว่า พวกเขากำลังสอบสวนว่า อดีตประธานาธิบดีโนห์มูเฮียนวัย 62 ปี ฆ่าตัวตายหรือไม่ ขณะที่ผู้ช่วยคนสนิทของเขาเผยว่า เขากระโดดจากหน้าผา หลังจากที่เขียนจดหมายลาตายไว้
"เขากระโดดลงไปในหุบเขา เมื่อเวลา 6.40น.(ตามเวลาท้องถิ่นวันนี้) หรือเวลา 04.40 ตามเวลาประเทศไทย" ทุนแจอิน อดีตหัวหน้าเลขาธิการประธานาธิบดีโรกล่าว "เขาได้ทิ้งบันทึกสั้นๆ เกี่ยวกับการฆ่าตัวตายไว้กับครอบครัว"
การเสียชีวิตของอดีตผู้นำเกาหลีใต้ ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นการฆ่าตัวตาย เกิดขึ้นในขณะที่เขาถูกกล่าวหาคอร์รัปชั่นระหว่างดำรงตำแหน่งในปี2003-2008 และภรรยาของเขากำลังถูกอัยการเรียกไปให้ปากคำจากข้อกล่าวหาว่ารับเงินจากนักธุรกิจระหว่างที่สามีอยู่ในตำแหน่ง กลายเป็นเรื่องอื้อฉาวในช่วงบั้นปลายชีวิต ขณะที่เขาอาศัยที่หมู่บ้านบองฮา บ้านเกิดใกล้บนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากเษียณ
ทั้งนี้ ตำรวจในเมืองเเจียงซางนัมยืนยันว่า พบจดหมาลาตายของโรในคอมพิวเตอร์ที่บ้าน ซึ่งสื่อมวลชนท้องถิ่นรายงานว่า ในจดหมายนั้น เขาบอกว่า เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากมาก และเขาก็ได้สร้างปัญหาให้แก่คนจำนวนมาก
"โปรดเผาศพของผม และสร้างสุสานเล็กๆให้ผมในหมู่บ้านแห่งนี้" จดหมายระบุ
ด้านอดีตประธานาธิบลีเมียงบัก ผู้นำคนปัจจุบัน แสดงอาการตกตะลึงหลังจากทราบข่าวดังกล่าว "มันยากที่จะเชื่อว่าได้เกิดอะไรขึ้น มันน่าเศร้า มันเป็นเหตุการณ์อันน่าสลด" โฆษกของเขาระบุ
ด้านอดีตประธานาธิบดีคิมแดจุง ผู้นำคนก่อนหน้าอดีตประธานาธิบดีโร ได้ออกมาแสดงความตกตะลึงและเสียใจอย่างสุดซึ้ง
"ผมได้สูญเสียเพื่อนเก่าแก่คนที่ผมได้ร่วมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และผู้ที่ผมได้ใช้เวลาร่วมรัฐบาลประชาธิปไตยมาถึง 10 ปี" "คำกล่าวหาเกี่ยวข้องกับครอบครัวของเขารั่วไหลออกมาทางสู่สื่อทุกวัน บางทีเขาอาจจะไม่สามารถทนรับแรงกดดันนี้ได้อีกต่อไปแล้ว" คิมกล่าว
โนห์ อดีตนักกฏหมายด้านสิทธิมนุษยชนได้รับเลือกไปผู้นำประเทศอย่างไม่มีใครคาดคิดเมื่อปี 2002 สมัยของเขามีการระบุว่า เกาหลีใต้มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น แต่ก็ถูกวิจารณ์เช่นเดียวกันว่า ให้ความช่วยเหลือแก่เกาหลีเหนือมากเกินไปและได้ผลดีตอบสนองน้อยมาก
เขาประกาศตัวว่าเป็นผู้ต่อสู้เพื่อคนด้อยโอกาสและพยายามเรียกร้องการกระจายความมั่งคั่ง กระนั้น ความเห็นที่แข็งกร้าวและยั่วยุของเขา รวมทั้งการขาดทักษะในการเชื่อมสัมพันธ์ทางการเมืองก่อให้เกิดการเผชิญหน้าทางการเมือง และเขาต้องก้าวลงจากอำนาจในปี 2008 ซึ่งเขาระบุว่า "ต่อไปผมจะได้ดูข่าวทางทีวีได้อย่างสบายในบ้าน"
จากนั้นในเวลาต่อมา เขาก็เผชิญกับข้อกล่าวหาอื้อฉาวในการรับสินบน
เขาได้ออกมาขอโทษสาธารณชนเรื่องคอร์รัปชั่นนี้ โดยระบุว่า เขาละอายต่อเพื่อนร่วมชาติมาก และก็ขอโทษที่ทำให้ทุกคนผิดหวัง อย่างไรก็ตาม เขาปฏิเสธว่าไม่ได้ทำอะไรผิด
อิม ซุน ออก ประชาชนวัย 61 ปี บอกกับเอเอฟพีว่า เขารู้สึกเสียใจ "สิ่งนี้นำความน่าละอายมาสู่ประเทศชาติทั้งหมด เจ้าหน้าที่รอัยการแข็งกร้าวกับอดีตประธานาธิบดีมากเกินไป"