เอเอฟพี - ญี่ปุ่น และ ออสเตรเลีย ประกาศมาตรการใหม่ๆ เมื่อวันจันทร์ (2) เพื่อคลี่คลายวิกฤตการณ์สินเชื่อทั่วโลก ภายหลังสหรัฐฯประกาศอย่างเป็นทางการ ว่า เศรษฐกิจได้เข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว ซึ่งยังผลให้มีการเทขายหุ้นอย่างขนานใหญ่ทั่วโลก
ราคาหุ้นแถบเอเชียตอนปิดเมื่อวานนี้ ในกรุงโตเกียวดิ่งลง 6.35 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ตลาดหุ้นนครซิดนีย์ทรุด 4.2 เปอร์เซ็นต์ หลังดัชนีดาวโจนส์ของสหรัฐฯวูบไป 7.7 เปอร์เซ็นต์ ในวันจันทร์ (1) ซึ่งถือว่ารุนแรงที่สุดเป็นอันดับ 4 ในประวัติศาสตร์
นักวิเคราะห์กล่าวว่า แม้ตลาดจะรับรู้ถึงการเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่การประกาศยืนยันอย่างเป็นทางการ ทำให้นักลงทุนรู้สึกหดหู่มากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อตกอยู่ในภาวะที่ต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ยุคเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
พวกนักเศรษฐศาสตร์ทั่วไป มักให้คำจำกัดความของภาวะเศรษฐกิจถดถอยว่า คือ การที่ผลิตมวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ลดต่ำกันต่อเนื่อง 2 ไตรมาส ทว่า ในสหรัฐฯนั้นกลับใช้กฎเกณฑ์ที่ละเอียดซับซ้อนยิ่งกว่านี้ อีกทั้งมีสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติ (เอ็นบีอีอาร์) เป็นผู้ทำหน้าที่ศึกษาและแถลงเรื่องนี้ออกมาอย่างเป็นทางการ
เอ็นบีอีอาร์ เพิ่งแถลงในวันจันทร์ที่ผ่านมา ว่า สมาชิกคณะกรรมการศึกษาช่วงเวลาของวงจรเศรษฐกิจของทางสำนักงานได้ประชุมกันเมื่อวันศุกร์ (30 พ.ย.) และมีข้อสรุปว่าสหรัฐฯเริ่มเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว
สำหรับความเคลื่อนไหวของประเทศแถบเอเชียแปซิฟิกเมื่อวานนี้ ธนาคารกลางของออสเตรเลีย ได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงถึง 1 เปอร์เซ็นต์เต็ม สู่ระดับ 4.25 เปอร์เซ็นต์ ต่ำสุดในรอบกว่า 6 ปี เพื่อคลี่คลายปัญหาสินเชื่อตึงตัว
เกล็นน์ สตีเวนส์ ผู้ว่าการธนาคารกลางออสเตรเลีย กล่าวว่า ตลาดเงินยังอยู่ในภาวะอ่อนไหวเปราะบางเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในประเทศอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ของโลกอ่อนแอลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ระบบเศรษฐกิจเกิดใหม่หลายประเทศก็ชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด
ในวันเดียวกัน ธนาคารกลางญี่ปุ่น ก็ได้ประกาศใช้มาตรการใหม่ๆ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ธนาคารพาณิชย์ อาทิ การใช้บัญชีสินเชื่อทางธุรกิจเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้เงินได้ โดยหวังว่ามาตรการนี้จะช่วยคลี่คลายปัญหาสินเชื่อตึงตัวได้ในระดับหนึ่ง
ธนาคารกลางญี่ปุ่น แถลงว่า ภาพรวมของตลาดเงินในญี่ปุ่นมีความตึงเครียดมากขึ้น เนื่องจากสถานะทางการเงินของบริษัทธุรกิจขนาดเล็กอ่อนแอลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่บริษัทธุรกิจขนาดใหญ่ก็ประสบปัญหาสภาพคล่องตึงตัวเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับเช่นเดียวกัน
ธนาคารกลางญี่ปุ่นเคยดำเนินมาตรการลักษณะเดียวกันนี้มาแล้วในเดือนพฤศจิกายน 1998 หลังจากธนาคารพาณิชย์หลายแห่งประสบปัญหาล้มละลายเพราะมีหนี้เสียสะสมจำนวนมหาศาล
วิกฤตการณ์การเงินโลกในปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากปัญหาสินเชื่อด้อยมาตรฐาน หรือ สินเชื่อซับไพรม์ในสหรัฐฯ ทำให้ธนาคารยักษ์ใหญ่หลายแห่งถึงกับล้มละลายหรือไม่ก็ต้องถูกควบรวมกิจการเพราะสถานะทางการเงินอ่อนแอลงมาก
สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ต้องเพิ่มความเข้มงวด หรือไม่ก็ไม่สามารถปล่อยสินเชื่อได้ในวงกว้างเหมือนก่อนหน้านี้ ส่งผลให้เกิดความตึงตัวในตลาดสินเชื่อ ธนาคารกลางและรัฐบาลของหลายประเทศจึงเร่งดำเนินมาตรการแก้ไขเพื่อให้สภาพคล่องทางการเงินกลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว
นอกจากตลาดหุ้นโตเกียวและซิดนีย์แล้ว ราคาหุ้นในตลาดหุ้นฮ่องกงก็ดิ่งลงอย่างแรง 5.0 เปอร์เซ็นต์
นักวิเคราะห์ในตลาดออสเตรเลีย กล่าวว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ในตลาดหุ้นกระเตื้องขึ้นแต่อย่างใด
ปีนี้ดัชนีนิกเกอิของญี่ปุ่นลดต่ำลงไปแล้ว 48 เปอร์เซ็นต์ ตลาดซิดนีย์ลดลง 44 เปอร์เซ็นต์ ตลาดฮ่องกงลดลง 52 เปอร์เซ็นต์ และดัชนีดาวโจนส์ของสหรัฐฯลดต่ำลงเกือบ 39 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่สถานการณ์ในยุโรปก็ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก ตลาดแฟรงก์เฟิร์ต และปารีส ลดลง 45 เปอร์เซ็นต์ ส่วนตลาดลอนดอนทรุดลง 37 เปอร์เซ็นต์
ราคาหุ้นแถบเอเชียตอนปิดเมื่อวานนี้ ในกรุงโตเกียวดิ่งลง 6.35 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ตลาดหุ้นนครซิดนีย์ทรุด 4.2 เปอร์เซ็นต์ หลังดัชนีดาวโจนส์ของสหรัฐฯวูบไป 7.7 เปอร์เซ็นต์ ในวันจันทร์ (1) ซึ่งถือว่ารุนแรงที่สุดเป็นอันดับ 4 ในประวัติศาสตร์
นักวิเคราะห์กล่าวว่า แม้ตลาดจะรับรู้ถึงการเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่การประกาศยืนยันอย่างเป็นทางการ ทำให้นักลงทุนรู้สึกหดหู่มากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อตกอยู่ในภาวะที่ต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ยุคเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
พวกนักเศรษฐศาสตร์ทั่วไป มักให้คำจำกัดความของภาวะเศรษฐกิจถดถอยว่า คือ การที่ผลิตมวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ลดต่ำกันต่อเนื่อง 2 ไตรมาส ทว่า ในสหรัฐฯนั้นกลับใช้กฎเกณฑ์ที่ละเอียดซับซ้อนยิ่งกว่านี้ อีกทั้งมีสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติ (เอ็นบีอีอาร์) เป็นผู้ทำหน้าที่ศึกษาและแถลงเรื่องนี้ออกมาอย่างเป็นทางการ
เอ็นบีอีอาร์ เพิ่งแถลงในวันจันทร์ที่ผ่านมา ว่า สมาชิกคณะกรรมการศึกษาช่วงเวลาของวงจรเศรษฐกิจของทางสำนักงานได้ประชุมกันเมื่อวันศุกร์ (30 พ.ย.) และมีข้อสรุปว่าสหรัฐฯเริ่มเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว
สำหรับความเคลื่อนไหวของประเทศแถบเอเชียแปซิฟิกเมื่อวานนี้ ธนาคารกลางของออสเตรเลีย ได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงถึง 1 เปอร์เซ็นต์เต็ม สู่ระดับ 4.25 เปอร์เซ็นต์ ต่ำสุดในรอบกว่า 6 ปี เพื่อคลี่คลายปัญหาสินเชื่อตึงตัว
เกล็นน์ สตีเวนส์ ผู้ว่าการธนาคารกลางออสเตรเลีย กล่าวว่า ตลาดเงินยังอยู่ในภาวะอ่อนไหวเปราะบางเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในประเทศอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ของโลกอ่อนแอลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ระบบเศรษฐกิจเกิดใหม่หลายประเทศก็ชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด
ในวันเดียวกัน ธนาคารกลางญี่ปุ่น ก็ได้ประกาศใช้มาตรการใหม่ๆ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ธนาคารพาณิชย์ อาทิ การใช้บัญชีสินเชื่อทางธุรกิจเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้เงินได้ โดยหวังว่ามาตรการนี้จะช่วยคลี่คลายปัญหาสินเชื่อตึงตัวได้ในระดับหนึ่ง
ธนาคารกลางญี่ปุ่น แถลงว่า ภาพรวมของตลาดเงินในญี่ปุ่นมีความตึงเครียดมากขึ้น เนื่องจากสถานะทางการเงินของบริษัทธุรกิจขนาดเล็กอ่อนแอลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่บริษัทธุรกิจขนาดใหญ่ก็ประสบปัญหาสภาพคล่องตึงตัวเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับเช่นเดียวกัน
ธนาคารกลางญี่ปุ่นเคยดำเนินมาตรการลักษณะเดียวกันนี้มาแล้วในเดือนพฤศจิกายน 1998 หลังจากธนาคารพาณิชย์หลายแห่งประสบปัญหาล้มละลายเพราะมีหนี้เสียสะสมจำนวนมหาศาล
วิกฤตการณ์การเงินโลกในปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากปัญหาสินเชื่อด้อยมาตรฐาน หรือ สินเชื่อซับไพรม์ในสหรัฐฯ ทำให้ธนาคารยักษ์ใหญ่หลายแห่งถึงกับล้มละลายหรือไม่ก็ต้องถูกควบรวมกิจการเพราะสถานะทางการเงินอ่อนแอลงมาก
สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ต้องเพิ่มความเข้มงวด หรือไม่ก็ไม่สามารถปล่อยสินเชื่อได้ในวงกว้างเหมือนก่อนหน้านี้ ส่งผลให้เกิดความตึงตัวในตลาดสินเชื่อ ธนาคารกลางและรัฐบาลของหลายประเทศจึงเร่งดำเนินมาตรการแก้ไขเพื่อให้สภาพคล่องทางการเงินกลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว
นอกจากตลาดหุ้นโตเกียวและซิดนีย์แล้ว ราคาหุ้นในตลาดหุ้นฮ่องกงก็ดิ่งลงอย่างแรง 5.0 เปอร์เซ็นต์
นักวิเคราะห์ในตลาดออสเตรเลีย กล่าวว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ในตลาดหุ้นกระเตื้องขึ้นแต่อย่างใด
ปีนี้ดัชนีนิกเกอิของญี่ปุ่นลดต่ำลงไปแล้ว 48 เปอร์เซ็นต์ ตลาดซิดนีย์ลดลง 44 เปอร์เซ็นต์ ตลาดฮ่องกงลดลง 52 เปอร์เซ็นต์ และดัชนีดาวโจนส์ของสหรัฐฯลดต่ำลงเกือบ 39 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่สถานการณ์ในยุโรปก็ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก ตลาดแฟรงก์เฟิร์ต และปารีส ลดลง 45 เปอร์เซ็นต์ ส่วนตลาดลอนดอนทรุดลง 37 เปอร์เซ็นต์