เอเจนซี -ประธานธนาคารโลก รอเบิร์ต เซลลิก ระบุในวันจันทร์ (6) ว่า ขณะนี้การรวมตัวของ กลุ่ม 7 ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (จี7) ไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกต่อไป จึงควรเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นกลุ่มนำร่องแบบพหุภาคี ที่ดึงเอาประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจรายใหม่คือ จีน อินเดีย และบราซิลเข้ามาร่วมด้วย
ในการกล่าวสุนทรพจน์ก่อนการประชุมระดับรัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของกลุ่มจี 7 ช่วงสุดสัปดาห์นี้ที่กรุงวอชิงตัน เซลลิก บอกว่า วิกฤตการณ์การเงินโลกที่กำลังปะทุขึ้นมาเวลานี้ ถือเป็น "สัญญาณปลุก" ให้ต้องมีการร่วมมือกับประเทศอื่นๆ อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น
เขาบอกว่า "กลุ่มจี 7" ซึ่งประกอบด้วยสหรัฐฯ,ญี่ปุ่น,เยอรมนี,ฝรั่งเศส,อังกฤษ,อิตาลี และแคนาดา นั้น ทำงานไม่ได้ผลเสียแล้ว และ "เราต้องการการรวมกลุ่มแบบใหม่ที่ดีขึ้นกว่าเก่าในสถานการณ์ที่ต่างไปจากเดิม"
เซลลิก เสริมด้วยว่า "การรวมกลุ่มประเทศพหุภาคีแบบใหม่ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของเราในตอนนี้ จะต้องเป็นเครือข่ายที่มีความยืดหยุ่น ไม่ใช่ระบบตายตัวหรือระบบเชิงเดี่ยว" และ "จะต้องดึงเอาความแข็งแกร่งอย่างสูงสุดจากผู้เล่นและสถาบัน ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งมีการติดต่อเชื่อมโยงระหว่างกัน และก็มีการเหลื่อมซ้อนกันอยู่"
เขาเห็นว่ากลุ่มนำร่องใหม่นี้ควรรวมเอารัฐมนตรีคลังของจีน อินเดีย บราซิล แอฟริกาใต้ ซาอุดีอาระเบีย และรัสเซียเข้ามาด้วย แต่ไม่ควรจำกัดจำนวนประเทศเอาไว้อย่างแน่นอน หากควรต้องให้มีความคล่องตัวและปรับเปลี่ยนไปได้ตามเหตุการณ์ด้วย
คำกล่าวของเซลลิกยังสะท้อนให้เห็นถึงความเห็นของเขาก่อนหน้านี้ ที่ต้องการปฏิรูปธนาคารโลกให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป โดยที่เวลานี้มีประเทศรุ่งเรืองมั่งคั่งขึ้นใหม่หลายประเทศ เข้ามามีส่วนได้ส่วนเสียกับเศรษฐกิจโลกเพิ่มขึ้นมาก
นอกจากนี้ เซลลิกประกาศว่าเขาจะตั้งคณะกรรมการ โดยมีเออร์เนสโต เซดิลโย อดีตประธานาธิบดีของเม็กซิโกเป็นผู้นำ เพื่อช่วยดูแลเรื่องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการกำกับดูแลของธนาคารโลกให้ทันสมัยขึ้น หลังจากที่ถูกสหรัฐฯ และยุโรปครอบงำมาเป็นเวลานาน
ส่วนการรวมกลุ่มพหุภาคีใหม่ ที่เซลลิกวาดภาพว่าน่าจะขึ้นมาทดแทนกลุ่ม จี 7 นั้น หากจัดตั้งขึ้นได้สำเร็จ ก็จะเป็นกลุ่มที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) คิดเป็นสัดส่วนถึงกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีทั่วโลก,56 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลก,62 เปอร์เซ็นต์ของการผลิตพลังงานทั่วโลก อีกทั้งยังเป็นกลุ่มที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนรายใหญ่ของโลก และเป็นกลุ่มประเทศผู้บริจาคความช่วยเหลือรายใหญ่ ตลอดจนเป็นผู้เล่นสำคัญทั้งในตลาดทุน ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ และตลาดอัตราแลกเปลี่ยนของโลกด้วย
เขาบอกว่า "กลุ่มใหม่นี้จะเคารพในบูรณภาพเหนือดินแดนของแต่ละประเทศ แต่เรียกร้องให้มี "ความสำนึกรับผิดชอบร่วมกัน" โดยจะจัดประชุมกันอย่างสม่ำเสมอ ทั้งแบบพบปะกันและประชุมทางไกล
เซลลิกซึ่งเคยทำงานในตำแหน่งสำคัญๆ ทั้งด้านนโยบายการต่างประเทศ และด้านเศรษฐกิจ ภายใต้ประธานาธิบดีอเมริกันสังกัดพรรครีพับลิกันถึง 3 คน เสนอด้วยว่า ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่ ควรต้องก้าวไปให้ไกลกว่าแค่การแก้ปัญหาเสถียรภาพทางการเงิน และกระชับเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่พลังอำนาจแห่งการเชื่อมต่อของอเมริกากับโลก เพราะตอนนี้ไม่ใช่ปัญหาของสหรัฐฯ โดยลำพังเท่านั้น
นอกจากนั้น เขายังได้กล่าวเตือนถึง "อันตรายสองชั้น" จากปัญหาราคาอาหารและเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูง กับวิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ซึ่งอาจรุนแรงสูงสุดจนทำให้ประชากรโลกถึง 100 ล้านคนยากจนลงไปอีก
เซลลิก กล่าวเตือนว่า ประเทศกำลังพัฒนาจะต้องเตรียมพร้อม เพื่อรับมือกับสภาพที่ทั้งการค้า,การไหลเข้าของเงินทุน,การส่งเงินกลับบ้านของคนที่ไปทำงานต่างประเทศ และการลงทุนภายในประเทศ ตลอดจนอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจ ล้วนแต่จะชะลอตัวลง
เขาชี้ว่า เมื่อการส่งออกและเงินทุนไหลเข้าต่างก็ลดต่ำลง ย่อมจะส่งผลกระทบต่อการลงทุน ขณะที่อัตราเติบโตซึ่งย่ำแย่ลง และเงื่อนไขสินเชื่อที่เลวร้ายลง เมื่อบวกกับการใช้นโยบายการเงินอย่างเข้มงวดยิ่งขึ้นด้วยแล้ว ก็จะกลายเป็นชนวนทำให้ธุรกิจล้มครืน อีกทั้งเป็นไปได้ที่จะเกิดภาวะฉุกเฉินในภาคธนาคาร
"บางประเทศจะเซถลาเข้าสู่ภาวะวิกฤตด้านดุลชำระเงิน โดยที่ผู้ยากจนที่สุดจะเป็นพวกที่ป้องกันตัวเองได้น้อยที่สุด เหมือนดังที่เคยเป็นมาอยู่เสมอ" เขากล่าวต่อ
เซลลิก ชี้ว่า ในช่วงเวลาอันเต็มไปด้วยปัญหาเช่นนี้ จำเป็นที่ธนาคารโลกและไอเอ็มเอฟจะต้องก้าวเข้าไปและปฏิบัติการอย่างเร่งด่วน
"สำหรับประเทศที่ค่อนข้างใหญ่ขึ้นมาบางประเทศ ซึ่งตกอยู่ใต้ภัยคุกคามนั้น กลุ่มนำร่องและประเทศที่เป็นเพื่อนมิตร ควรต้องปฏิบัติการโดยประสานสอดคล้องไปกับไอเอ็มเอฟและธนาคารโลก เพื่อเสนอการสนับสนุนที่เชื่อมโยงกับมาตรการปฏิรูปทางนโยบาย ซึ่งจะทำให้ประเทศนั้นๆ กลับคืนสู่อัตราเติบโตอันยั่งยืน"
ในการกล่าวสุนทรพจน์ก่อนการประชุมระดับรัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของกลุ่มจี 7 ช่วงสุดสัปดาห์นี้ที่กรุงวอชิงตัน เซลลิก บอกว่า วิกฤตการณ์การเงินโลกที่กำลังปะทุขึ้นมาเวลานี้ ถือเป็น "สัญญาณปลุก" ให้ต้องมีการร่วมมือกับประเทศอื่นๆ อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น
เขาบอกว่า "กลุ่มจี 7" ซึ่งประกอบด้วยสหรัฐฯ,ญี่ปุ่น,เยอรมนี,ฝรั่งเศส,อังกฤษ,อิตาลี และแคนาดา นั้น ทำงานไม่ได้ผลเสียแล้ว และ "เราต้องการการรวมกลุ่มแบบใหม่ที่ดีขึ้นกว่าเก่าในสถานการณ์ที่ต่างไปจากเดิม"
เซลลิก เสริมด้วยว่า "การรวมกลุ่มประเทศพหุภาคีแบบใหม่ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของเราในตอนนี้ จะต้องเป็นเครือข่ายที่มีความยืดหยุ่น ไม่ใช่ระบบตายตัวหรือระบบเชิงเดี่ยว" และ "จะต้องดึงเอาความแข็งแกร่งอย่างสูงสุดจากผู้เล่นและสถาบัน ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งมีการติดต่อเชื่อมโยงระหว่างกัน และก็มีการเหลื่อมซ้อนกันอยู่"
เขาเห็นว่ากลุ่มนำร่องใหม่นี้ควรรวมเอารัฐมนตรีคลังของจีน อินเดีย บราซิล แอฟริกาใต้ ซาอุดีอาระเบีย และรัสเซียเข้ามาด้วย แต่ไม่ควรจำกัดจำนวนประเทศเอาไว้อย่างแน่นอน หากควรต้องให้มีความคล่องตัวและปรับเปลี่ยนไปได้ตามเหตุการณ์ด้วย
คำกล่าวของเซลลิกยังสะท้อนให้เห็นถึงความเห็นของเขาก่อนหน้านี้ ที่ต้องการปฏิรูปธนาคารโลกให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป โดยที่เวลานี้มีประเทศรุ่งเรืองมั่งคั่งขึ้นใหม่หลายประเทศ เข้ามามีส่วนได้ส่วนเสียกับเศรษฐกิจโลกเพิ่มขึ้นมาก
นอกจากนี้ เซลลิกประกาศว่าเขาจะตั้งคณะกรรมการ โดยมีเออร์เนสโต เซดิลโย อดีตประธานาธิบดีของเม็กซิโกเป็นผู้นำ เพื่อช่วยดูแลเรื่องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการกำกับดูแลของธนาคารโลกให้ทันสมัยขึ้น หลังจากที่ถูกสหรัฐฯ และยุโรปครอบงำมาเป็นเวลานาน
ส่วนการรวมกลุ่มพหุภาคีใหม่ ที่เซลลิกวาดภาพว่าน่าจะขึ้นมาทดแทนกลุ่ม จี 7 นั้น หากจัดตั้งขึ้นได้สำเร็จ ก็จะเป็นกลุ่มที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) คิดเป็นสัดส่วนถึงกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีทั่วโลก,56 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลก,62 เปอร์เซ็นต์ของการผลิตพลังงานทั่วโลก อีกทั้งยังเป็นกลุ่มที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนรายใหญ่ของโลก และเป็นกลุ่มประเทศผู้บริจาคความช่วยเหลือรายใหญ่ ตลอดจนเป็นผู้เล่นสำคัญทั้งในตลาดทุน ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ และตลาดอัตราแลกเปลี่ยนของโลกด้วย
เขาบอกว่า "กลุ่มใหม่นี้จะเคารพในบูรณภาพเหนือดินแดนของแต่ละประเทศ แต่เรียกร้องให้มี "ความสำนึกรับผิดชอบร่วมกัน" โดยจะจัดประชุมกันอย่างสม่ำเสมอ ทั้งแบบพบปะกันและประชุมทางไกล
เซลลิกซึ่งเคยทำงานในตำแหน่งสำคัญๆ ทั้งด้านนโยบายการต่างประเทศ และด้านเศรษฐกิจ ภายใต้ประธานาธิบดีอเมริกันสังกัดพรรครีพับลิกันถึง 3 คน เสนอด้วยว่า ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่ ควรต้องก้าวไปให้ไกลกว่าแค่การแก้ปัญหาเสถียรภาพทางการเงิน และกระชับเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่พลังอำนาจแห่งการเชื่อมต่อของอเมริกากับโลก เพราะตอนนี้ไม่ใช่ปัญหาของสหรัฐฯ โดยลำพังเท่านั้น
นอกจากนั้น เขายังได้กล่าวเตือนถึง "อันตรายสองชั้น" จากปัญหาราคาอาหารและเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูง กับวิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ซึ่งอาจรุนแรงสูงสุดจนทำให้ประชากรโลกถึง 100 ล้านคนยากจนลงไปอีก
เซลลิก กล่าวเตือนว่า ประเทศกำลังพัฒนาจะต้องเตรียมพร้อม เพื่อรับมือกับสภาพที่ทั้งการค้า,การไหลเข้าของเงินทุน,การส่งเงินกลับบ้านของคนที่ไปทำงานต่างประเทศ และการลงทุนภายในประเทศ ตลอดจนอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจ ล้วนแต่จะชะลอตัวลง
เขาชี้ว่า เมื่อการส่งออกและเงินทุนไหลเข้าต่างก็ลดต่ำลง ย่อมจะส่งผลกระทบต่อการลงทุน ขณะที่อัตราเติบโตซึ่งย่ำแย่ลง และเงื่อนไขสินเชื่อที่เลวร้ายลง เมื่อบวกกับการใช้นโยบายการเงินอย่างเข้มงวดยิ่งขึ้นด้วยแล้ว ก็จะกลายเป็นชนวนทำให้ธุรกิจล้มครืน อีกทั้งเป็นไปได้ที่จะเกิดภาวะฉุกเฉินในภาคธนาคาร
"บางประเทศจะเซถลาเข้าสู่ภาวะวิกฤตด้านดุลชำระเงิน โดยที่ผู้ยากจนที่สุดจะเป็นพวกที่ป้องกันตัวเองได้น้อยที่สุด เหมือนดังที่เคยเป็นมาอยู่เสมอ" เขากล่าวต่อ
เซลลิก ชี้ว่า ในช่วงเวลาอันเต็มไปด้วยปัญหาเช่นนี้ จำเป็นที่ธนาคารโลกและไอเอ็มเอฟจะต้องก้าวเข้าไปและปฏิบัติการอย่างเร่งด่วน
"สำหรับประเทศที่ค่อนข้างใหญ่ขึ้นมาบางประเทศ ซึ่งตกอยู่ใต้ภัยคุกคามนั้น กลุ่มนำร่องและประเทศที่เป็นเพื่อนมิตร ควรต้องปฏิบัติการโดยประสานสอดคล้องไปกับไอเอ็มเอฟและธนาคารโลก เพื่อเสนอการสนับสนุนที่เชื่อมโยงกับมาตรการปฏิรูปทางนโยบาย ซึ่งจะทำให้ประเทศนั้นๆ กลับคืนสู่อัตราเติบโตอันยั่งยืน"