เอเจนซี/เอเอฟพี - สหรัฐฯ กวาดจับฟ้องร้องคดีทุจริตที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตซับไพรม์ ซึ่งลุกลามทำให้เกิดวิกฤตสินเชื่อทั่วโลก โดยมีอดีตผู้บริหารกองทุนเฮดจ์ฟันด์ของแบร์สเติร์น 2 คน ถูกจับกุมดำเนินคดีในข้อหาฉ้อโกงนักลงทุน ในขณะที่กระทรวงยุติธรรมก็แจ้งว่า สามารถตั้งข้อหาฟ้องร้องผู้ต้องหาเป็นจำนวนมากกว่า 400 คน จากการสอบสวนคดีอันเกี่ยวข้องกับการทุจริตสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์อีกคดีหนึ่ง
เมื่อคืนวันพฤหัสบดี (19) ที่ผ่านมา ตำรวจของนิวยอร์กได้เข้าจับกุม 2 อดีตผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์ของแบร์สเติร์นส์ วาณิชธนกิจวอลล์สตรีทที่เวลานี้ถูกเทคโอเวอร์ไปแล้ว โดยทั้งสองคนถูกกล่าวหาว่าหลอกลวงนักลงทุนด้วยการปิดบังปัญหาหลายประการที่นำไปสู่การล้มครืนของกองทุนเฮดจ์ฟันด์ 2 แห่งซึ่งลงทุนในตราสารสินเชื่อซับไพรม์ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายมูลค่าถึง 1,400 ล้านดอลลาร์
ทั้งนี้ทางการเชื่อว่าคดีฉ้อฉลนี้และที่คล้ายคลึงกันอีกมากมาย เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อุตสาหกรรมสินเชื่อซับไพรม์ของสหรัฐฯ หายนะ และลุกลามไปทำให้ภาคการเงินของสหรัฐฯและทั่วโลกขาดทุนนับแสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และดึงเอาเศรษฐกิจโลกให้ชะลอตัวลงมาด้วย
ราล์ฟ ชิออฟฟี วัย 52 ปี และแมทธิว แทนนิน วัย 46 ปีต่างก็ปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำความผิดหลังจากยินยอมให้จับกุม ทั้งสองถูกใส่กุญแจมือและมีตำรวจกลุ่มใหญ่พาประกบพาเดินออกมานอกอาคารท่ามกลางสายตาของผู้สื่อข่าวและประชาชนที่รอดูเหตุการณ์เป็นจำนวนมาก การยุบกองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่ทั้งสองคนบริหารเมื่อปีที่แล้วเป็นตัวจุดชนวนให้เกิดวิกฤตสินเชื่อ เนื่องจากก่อให้เกิดความตระหนกรุนแรงในหมู่นักลงทุนที่ถือตราสารสินเชื่อซับไพรม์อยู่
จากนั้นเหตุการณ์ก็ลุกลามไปเหมือนไฟไหม้ป่า ตราสารซับไรพม์มีราคาดิ่งลงเหวและดึงเอาสถาบันการเงินขนาดใหญ่ทั้งในสหรัฐฯ ยุโรปและเอเชียให้ซวดเซไปตาม ๆกัน เพราะต้องขาดทุนมหาศาล ซึ่งก็รวมทั้งแบร์สเติร์นสที่ทั้งชิออฟฟีและแทนนินสังกัดอยู่ด้วย ในที่สุดแบร์สเติร์นสก็ล้มคว่ำลงจากปัญหาการขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง และถูกควบรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเจพีมอร์แกนเชสไปแล้ว
หลายฝ่าย คาดว่า การที่รัฐบาลประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุชสั่งให้กวาดล้างผู้กระทำผิดทางการเงินครั้งใหญ่ เป็นเพราะเกรงว่าวิกฤตตลาดสินเชื่อที่ทำให้เกิดการชะลอตัวอย่างรุนแรงในเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะส่งผลต่อคะแนนนิยมของพรรครีพับลิกันอย่างรุนแรงในการเลือกตั้งที่จะมาถึงในปลายปีนี้ และตอนนี้ประเด็นการเศรษฐกิจก็ถูกทั้งวุฒิสมาชิกบารัค โอบามา ว่าที่ตัวแทนลงชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรคเดโมแครตและวุฒิสมาชิกจอห์น แมคเคน ของรีพับลิกันนำมาใช้เป็นนโยบายหลักในการหาเสียง
ทางด้านกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ แถลงในวันเดียวกันว่า ในการสอบสวนขยายผลในระดับชาติซึ่งมีหลายหน่วยงานเข้าร่วม ได้มีการกล่าวหาผู้ต้องสงสัยจำนวนมากกว่า 400 คนว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการฉ้อโกงทางการเงินซึ่งนำไปสู่การขาดทุนถึง 1,000 ล้านดอลลาร์ โดยในช่วงวันพุธและพฤหัสบดีที่ผ่านมา ทางการก็ได้จับกุมผู้ต้องสงสัยในคดีฉ้อโกงซับไพรม์เพิ่มเติมอีก 60 ราย
"กระทรวงยุติธรรมมีนโยบายชัดเจนที่จะสอบสวนและลงโทษผู้ที่ฉ้อโกงในคดีสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ เพื่อช่วยฟื้นฟูเสถียรภาพและความเชื่อมั่นในตลาดสินเชื่อและอสังหาริมทรัพย์ของเราให้กลับคืนมาอีกครั้ง" รัฐมนตรีช่วยกระทรวงยุติธรรม มาร์ค ฟิลิปกล่าวในระหว่างการแถลงข่าวที่กรุงวอชิงตัน
เจ้าหน้าที่ เปิดเผยว่า การกวาดล้างครั้งนี้มีชื่อว่า "ปฏิบัติการปราบปรามการฉ้อฉลสินเชื่อบ้าน" ซึ่งดำเนินต่อเนื่องกันมาราว 3 เดือนครึ่งแล้ว และยังแจงว่าคดีส่วนใหญ่นั้นเป็นคดีฉ้อโกงในการให้สินเชื่อ,แผนหลอกลวงเจ้าของบ้านว่าสามารถช่วยเหลือไม่ให้ถูกยึดบ้าน และคดีล้มละลายอันเกี่ยวเนื่องกับการกู้ยืมเพื่อซื้อบ้าน
เมื่อคืนวันพฤหัสบดี (19) ที่ผ่านมา ตำรวจของนิวยอร์กได้เข้าจับกุม 2 อดีตผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์ของแบร์สเติร์นส์ วาณิชธนกิจวอลล์สตรีทที่เวลานี้ถูกเทคโอเวอร์ไปแล้ว โดยทั้งสองคนถูกกล่าวหาว่าหลอกลวงนักลงทุนด้วยการปิดบังปัญหาหลายประการที่นำไปสู่การล้มครืนของกองทุนเฮดจ์ฟันด์ 2 แห่งซึ่งลงทุนในตราสารสินเชื่อซับไพรม์ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายมูลค่าถึง 1,400 ล้านดอลลาร์
ทั้งนี้ทางการเชื่อว่าคดีฉ้อฉลนี้และที่คล้ายคลึงกันอีกมากมาย เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อุตสาหกรรมสินเชื่อซับไพรม์ของสหรัฐฯ หายนะ และลุกลามไปทำให้ภาคการเงินของสหรัฐฯและทั่วโลกขาดทุนนับแสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และดึงเอาเศรษฐกิจโลกให้ชะลอตัวลงมาด้วย
ราล์ฟ ชิออฟฟี วัย 52 ปี และแมทธิว แทนนิน วัย 46 ปีต่างก็ปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำความผิดหลังจากยินยอมให้จับกุม ทั้งสองถูกใส่กุญแจมือและมีตำรวจกลุ่มใหญ่พาประกบพาเดินออกมานอกอาคารท่ามกลางสายตาของผู้สื่อข่าวและประชาชนที่รอดูเหตุการณ์เป็นจำนวนมาก การยุบกองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่ทั้งสองคนบริหารเมื่อปีที่แล้วเป็นตัวจุดชนวนให้เกิดวิกฤตสินเชื่อ เนื่องจากก่อให้เกิดความตระหนกรุนแรงในหมู่นักลงทุนที่ถือตราสารสินเชื่อซับไพรม์อยู่
จากนั้นเหตุการณ์ก็ลุกลามไปเหมือนไฟไหม้ป่า ตราสารซับไรพม์มีราคาดิ่งลงเหวและดึงเอาสถาบันการเงินขนาดใหญ่ทั้งในสหรัฐฯ ยุโรปและเอเชียให้ซวดเซไปตาม ๆกัน เพราะต้องขาดทุนมหาศาล ซึ่งก็รวมทั้งแบร์สเติร์นสที่ทั้งชิออฟฟีและแทนนินสังกัดอยู่ด้วย ในที่สุดแบร์สเติร์นสก็ล้มคว่ำลงจากปัญหาการขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง และถูกควบรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเจพีมอร์แกนเชสไปแล้ว
หลายฝ่าย คาดว่า การที่รัฐบาลประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุชสั่งให้กวาดล้างผู้กระทำผิดทางการเงินครั้งใหญ่ เป็นเพราะเกรงว่าวิกฤตตลาดสินเชื่อที่ทำให้เกิดการชะลอตัวอย่างรุนแรงในเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะส่งผลต่อคะแนนนิยมของพรรครีพับลิกันอย่างรุนแรงในการเลือกตั้งที่จะมาถึงในปลายปีนี้ และตอนนี้ประเด็นการเศรษฐกิจก็ถูกทั้งวุฒิสมาชิกบารัค โอบามา ว่าที่ตัวแทนลงชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรคเดโมแครตและวุฒิสมาชิกจอห์น แมคเคน ของรีพับลิกันนำมาใช้เป็นนโยบายหลักในการหาเสียง
ทางด้านกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ แถลงในวันเดียวกันว่า ในการสอบสวนขยายผลในระดับชาติซึ่งมีหลายหน่วยงานเข้าร่วม ได้มีการกล่าวหาผู้ต้องสงสัยจำนวนมากกว่า 400 คนว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการฉ้อโกงทางการเงินซึ่งนำไปสู่การขาดทุนถึง 1,000 ล้านดอลลาร์ โดยในช่วงวันพุธและพฤหัสบดีที่ผ่านมา ทางการก็ได้จับกุมผู้ต้องสงสัยในคดีฉ้อโกงซับไพรม์เพิ่มเติมอีก 60 ราย
"กระทรวงยุติธรรมมีนโยบายชัดเจนที่จะสอบสวนและลงโทษผู้ที่ฉ้อโกงในคดีสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ เพื่อช่วยฟื้นฟูเสถียรภาพและความเชื่อมั่นในตลาดสินเชื่อและอสังหาริมทรัพย์ของเราให้กลับคืนมาอีกครั้ง" รัฐมนตรีช่วยกระทรวงยุติธรรม มาร์ค ฟิลิปกล่าวในระหว่างการแถลงข่าวที่กรุงวอชิงตัน
เจ้าหน้าที่ เปิดเผยว่า การกวาดล้างครั้งนี้มีชื่อว่า "ปฏิบัติการปราบปรามการฉ้อฉลสินเชื่อบ้าน" ซึ่งดำเนินต่อเนื่องกันมาราว 3 เดือนครึ่งแล้ว และยังแจงว่าคดีส่วนใหญ่นั้นเป็นคดีฉ้อโกงในการให้สินเชื่อ,แผนหลอกลวงเจ้าของบ้านว่าสามารถช่วยเหลือไม่ให้ถูกยึดบ้าน และคดีล้มละลายอันเกี่ยวเนื่องกับการกู้ยืมเพื่อซื้อบ้าน