เอเอฟพี – นาวิกโยธินอเมริกัน ซึ่งขึ้นศาลเพื่อรับฟังการพิจารณาคดีสังหารหมู่ชาวบ้านฮาดิตา 24 คนในอิรัก เมื่อปี 2005 ถูกตัดสินให้พ้นผิดทุกข้อกล่าวหา
โฆษกแคมป์เพนเดิลตัน ฐานทัพทหาร ทางใต้ของนครลอสแองเจลิส เผยว่า เรือเอกแอนดริว เกรย์สัน วัย 27 ปี ได้รับการประกาศให้พ้นผิดทุกข้อกล่าวหา โดยคณะลูกขุนในศาลทหาร ซึ่งเริ่มพิจารณาคดีในวันที่ 28 พฤษภาคมที่ผ่านมา
เกรย์สัน ถูกตั้งข้อหาขัดขวางกระบวนการยุติธรรม แจ้งความเท็จ และพยายามฉ้อโกงแยกตัวออกจากกองทัพเรือ
เขาเป็นนายทหารคนแรกจากเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 8 นาย ที่ถูกตั้งข้อหาก่ออาชญากรรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในเดือนพฤศจิกายน 2005 ซึ่งมีชาวบ้าน ทั้งชาย หญิง และเด็กถูกนาวิกโยธินยิงตาย หลังจากเกิดเหตุระเบิดโจมตีข้างทาง
ขณะที่ ทหาร 4 นายเผชิญข้อหาฆาตกรรม และเจ้าหน้าที่อีก 4 คน รวมถึงเกรย์สัน ถูกกล่าวหาว่าปกปิด และทำให้การสืบสวนเหตุฆาตกรรมล้มเหลว
อย่างไรก็ตาม หลังจากประกาศข้อกล่าวครั้งแรกในเดือนธันวาคม ปี 2006 อัยการของคดีพยายามดิ้นรนให้ข้อกล่าวหาเหล่านั้นยังดำเนินต่อไป
ทั้งนี้ทั้งนั้น นายทหาร 6 จาก 8 คน ถูกยกฟ้องในข้อกล่าวหาทั้งหมด ขณะที่นายทหารอีก 2 นายคือแฟรงก์ วูเตอริช และพันเอกเจฟฟรีย์ เชสซานี ซึ่งเผชิญข้อหาฆาตกรรม แต่ถูกเปลี่ยนเป็นการตั้งหาข้อหาฆ่าคนโดยประมาท ซึ่งจะได้รับโทษที่เบาลงแทน
สำหรับการสังหารหมู่ในฮาดิตาเป็นข้อกล่าวหาอาชญากรรมสงครามที่ร้ายแรงที่สุดของกองกำลังสหรัฐฯ นับตั้งแต่การบุกอิรัก เพื่อโค่นซัดดัม ฮุสเซน ในปี 2003
โฆษกแคมป์เพนเดิลตัน ฐานทัพทหาร ทางใต้ของนครลอสแองเจลิส เผยว่า เรือเอกแอนดริว เกรย์สัน วัย 27 ปี ได้รับการประกาศให้พ้นผิดทุกข้อกล่าวหา โดยคณะลูกขุนในศาลทหาร ซึ่งเริ่มพิจารณาคดีในวันที่ 28 พฤษภาคมที่ผ่านมา
เกรย์สัน ถูกตั้งข้อหาขัดขวางกระบวนการยุติธรรม แจ้งความเท็จ และพยายามฉ้อโกงแยกตัวออกจากกองทัพเรือ
เขาเป็นนายทหารคนแรกจากเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 8 นาย ที่ถูกตั้งข้อหาก่ออาชญากรรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในเดือนพฤศจิกายน 2005 ซึ่งมีชาวบ้าน ทั้งชาย หญิง และเด็กถูกนาวิกโยธินยิงตาย หลังจากเกิดเหตุระเบิดโจมตีข้างทาง
ขณะที่ ทหาร 4 นายเผชิญข้อหาฆาตกรรม และเจ้าหน้าที่อีก 4 คน รวมถึงเกรย์สัน ถูกกล่าวหาว่าปกปิด และทำให้การสืบสวนเหตุฆาตกรรมล้มเหลว
อย่างไรก็ตาม หลังจากประกาศข้อกล่าวครั้งแรกในเดือนธันวาคม ปี 2006 อัยการของคดีพยายามดิ้นรนให้ข้อกล่าวหาเหล่านั้นยังดำเนินต่อไป
ทั้งนี้ทั้งนั้น นายทหาร 6 จาก 8 คน ถูกยกฟ้องในข้อกล่าวหาทั้งหมด ขณะที่นายทหารอีก 2 นายคือแฟรงก์ วูเตอริช และพันเอกเจฟฟรีย์ เชสซานี ซึ่งเผชิญข้อหาฆาตกรรม แต่ถูกเปลี่ยนเป็นการตั้งหาข้อหาฆ่าคนโดยประมาท ซึ่งจะได้รับโทษที่เบาลงแทน
สำหรับการสังหารหมู่ในฮาดิตาเป็นข้อกล่าวหาอาชญากรรมสงครามที่ร้ายแรงที่สุดของกองกำลังสหรัฐฯ นับตั้งแต่การบุกอิรัก เพื่อโค่นซัดดัม ฮุสเซน ในปี 2003