เอเอฟพี - องค์การการค้าโลก (WTO) ออกมาคาดการณ์ว่าการขยายตัวของการค้าของทั่วโลกในปีนี้อาจจะชะลอตัวลงไปอยู่ที่ 4.5 เปอร์เซ็นต์จากปัญหาเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้ว ขณะที่การค้าซึ่งกำลังขยายตัวในหมู่ประเทศกำลังพัฒนา ก็ไม่สามารถขึ้นมาชดเชยแทนที่ได้ทั้งหมด
WTO เตือนไว้ในรายงานสถานการณ์การค้าโลกฉบับล่าสุดที่เผยแพร่ในวันพฤหัสบดี (17) ด้วยว่า หากความปั่นป่วนในตลาดการเงินยังคงดำเนินต่อไป และเศรษฐกิจของพวกประเทศพัฒนาแล้วประสบภาวะชะลอตัวอย่างชัดเจนยิ่งขึ้นไปอีก อัตราการเติบโตของการค้าระหว่างประเทศก็ "คงจะน้อยกว่า 4.5 เปอร์เซ็นต์ที่คาดไว้ในครั้งนี้อย่างมีนัยสำคัญ"
เมื่อปี 2006 การค้าโลกขยายตัวถึง 8.5 เปอร์เซ็นต์ ปีต่อมาลดลงเหลือ 5.5 เปอร์เซ็นต์ และอัตราของปีนี้จะเป็นไปตามที่ WTO คาดไว้หรือไม่ก็ต้องพึ่งพาประเทศที่พัฒนาแล้วว่าสามารถจะสลัดหลุดอาการทรงสลับทรุดในตลาดต่าง ๆของพวกเขาได้เร็วเพียงใด
WTO บอกว่า หากสามารถควบคุมปัญหาได้ในเร็ววัน ผลผลิตของโลกจะขยายตัวในอัตรา 2.6 เปอร์เซ็นต์ต่อไป และการค้าโลกก็จะโตขึ้นในระดับสูงกว่า 4 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้โดยมาจากประมาณการที่ว่า ตลาดประเทศพัฒนาแล้วจะขยายตัว 1.1 เปอร์เซ็นต์ ส่วนประเทศกำลังพัฒนาจะขยายตัว 5 เปอร์เซ็นต์
แพตทริก โลว์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ WTO กล่าวในการแถลงเปิดตัวรายงานฉบับนี้ โดยยอมรับว่า การคำนวณตัวเลขการค้าโลกปีนี้เป็นเรื่องที่ยากลำบากมาก เพราะมีความไม่แน่นอนในเศรษฐกิจโลกเกิดขึ้นมากมาย และอาจจะต้องประเมินใหม่ในช่วงไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปีนี้ เขาเสริมด้วยว่า 4.5 เปอร์เซ็นต์นี้ คือการประเมินโดยวาดภาพสถานการณ์ในเชิงบวกที่สุด
ไมเคิล ฟิงเกอร์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของ WTOอีกคนหนึ่ง ชี้ว่า การคำนวณนี้วางอยู่บนพื้นฐานประมาณจีดีพีรวมของโลก ซึ่งใช้ราคาน้ำมันที่ 95 ดอลลาร์ต่อหนึ่งบาร์เรล แต่ตอนนี้ราคาน้ำมันพุ่งทะลุระดับ 115 ดอลลาร์ไปแล้วเมื่อวันพุธ (16) ซึ่งอาจทำให้การค้าโลกเผชิญกับแรงกดดันมากขึ้น
ในขณะเดียวกัน เขา บอกว่า การชะลอตัวรุนแรงทางเศรษฐกิจหรือแม้แต่เข้าสู่ภาวะถดถอย อาจทำให้ราคาน้ำมันดิ่งลงก็เป็นได้ เพราะความต้องการใช้จะลดลงไปมาก
ขณะที่ ปาสกาล ลามี ผู้อำนวยการ WTO ชี้ว่า "นี่คือเวลาแห่งความไม่แน่นอนและยากลำบากของเศรษฐกิจโลก" เขากล่าวต่อไปว่า "แม้ว่าตอนนี้ความปั่นป่วนในตลาดการเงินและการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้ว ยังไม่สงผลถึงการค้า แต่แรงกดดันของพวกลัทธิกีดกันการค้าก็กำลังเพิ่มขึ้น ขณะที่รัฐบาลต่างๆ กำลังหาคำตอบที่จะแก้ไขต่างๆ ซึ่งกำลังเผชิญหน้าเราอยู่"
ในรายงานของ WTO ยังระบุด้วยว่า แม้การลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ลงอย่างมากทำให้สถานการณ์ของตลาดการเงินโลกดีขึ้น แต่กลับสร้างความยุ่งเหยิงขึ้นในตลาดปริวรรตเงินตราและตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ตลอดช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เพราะว่าผู้ที่ถือหลักทรัพย์ในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ต้องเปลี่ยนมาถือเป็นเงินสกุลอื่นๆ ที่มีค่าแข็งกว่า
ผลด้านกลับของความผันผวนในตลาดการเงินเช่นนี้ ไม่ได้ส่งผลต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เท่านั้น หากแต่ยังมีผลต่อการขยายตัวของญี่ปุ่น และยุโรปอีกด้วย รายงาน WTO บอก
WTO เตือนไว้ในรายงานสถานการณ์การค้าโลกฉบับล่าสุดที่เผยแพร่ในวันพฤหัสบดี (17) ด้วยว่า หากความปั่นป่วนในตลาดการเงินยังคงดำเนินต่อไป และเศรษฐกิจของพวกประเทศพัฒนาแล้วประสบภาวะชะลอตัวอย่างชัดเจนยิ่งขึ้นไปอีก อัตราการเติบโตของการค้าระหว่างประเทศก็ "คงจะน้อยกว่า 4.5 เปอร์เซ็นต์ที่คาดไว้ในครั้งนี้อย่างมีนัยสำคัญ"
เมื่อปี 2006 การค้าโลกขยายตัวถึง 8.5 เปอร์เซ็นต์ ปีต่อมาลดลงเหลือ 5.5 เปอร์เซ็นต์ และอัตราของปีนี้จะเป็นไปตามที่ WTO คาดไว้หรือไม่ก็ต้องพึ่งพาประเทศที่พัฒนาแล้วว่าสามารถจะสลัดหลุดอาการทรงสลับทรุดในตลาดต่าง ๆของพวกเขาได้เร็วเพียงใด
WTO บอกว่า หากสามารถควบคุมปัญหาได้ในเร็ววัน ผลผลิตของโลกจะขยายตัวในอัตรา 2.6 เปอร์เซ็นต์ต่อไป และการค้าโลกก็จะโตขึ้นในระดับสูงกว่า 4 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้โดยมาจากประมาณการที่ว่า ตลาดประเทศพัฒนาแล้วจะขยายตัว 1.1 เปอร์เซ็นต์ ส่วนประเทศกำลังพัฒนาจะขยายตัว 5 เปอร์เซ็นต์
แพตทริก โลว์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ WTO กล่าวในการแถลงเปิดตัวรายงานฉบับนี้ โดยยอมรับว่า การคำนวณตัวเลขการค้าโลกปีนี้เป็นเรื่องที่ยากลำบากมาก เพราะมีความไม่แน่นอนในเศรษฐกิจโลกเกิดขึ้นมากมาย และอาจจะต้องประเมินใหม่ในช่วงไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปีนี้ เขาเสริมด้วยว่า 4.5 เปอร์เซ็นต์นี้ คือการประเมินโดยวาดภาพสถานการณ์ในเชิงบวกที่สุด
ไมเคิล ฟิงเกอร์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของ WTOอีกคนหนึ่ง ชี้ว่า การคำนวณนี้วางอยู่บนพื้นฐานประมาณจีดีพีรวมของโลก ซึ่งใช้ราคาน้ำมันที่ 95 ดอลลาร์ต่อหนึ่งบาร์เรล แต่ตอนนี้ราคาน้ำมันพุ่งทะลุระดับ 115 ดอลลาร์ไปแล้วเมื่อวันพุธ (16) ซึ่งอาจทำให้การค้าโลกเผชิญกับแรงกดดันมากขึ้น
ในขณะเดียวกัน เขา บอกว่า การชะลอตัวรุนแรงทางเศรษฐกิจหรือแม้แต่เข้าสู่ภาวะถดถอย อาจทำให้ราคาน้ำมันดิ่งลงก็เป็นได้ เพราะความต้องการใช้จะลดลงไปมาก
ขณะที่ ปาสกาล ลามี ผู้อำนวยการ WTO ชี้ว่า "นี่คือเวลาแห่งความไม่แน่นอนและยากลำบากของเศรษฐกิจโลก" เขากล่าวต่อไปว่า "แม้ว่าตอนนี้ความปั่นป่วนในตลาดการเงินและการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้ว ยังไม่สงผลถึงการค้า แต่แรงกดดันของพวกลัทธิกีดกันการค้าก็กำลังเพิ่มขึ้น ขณะที่รัฐบาลต่างๆ กำลังหาคำตอบที่จะแก้ไขต่างๆ ซึ่งกำลังเผชิญหน้าเราอยู่"
ในรายงานของ WTO ยังระบุด้วยว่า แม้การลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ลงอย่างมากทำให้สถานการณ์ของตลาดการเงินโลกดีขึ้น แต่กลับสร้างความยุ่งเหยิงขึ้นในตลาดปริวรรตเงินตราและตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ตลอดช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เพราะว่าผู้ที่ถือหลักทรัพย์ในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ต้องเปลี่ยนมาถือเป็นเงินสกุลอื่นๆ ที่มีค่าแข็งกว่า
ผลด้านกลับของความผันผวนในตลาดการเงินเช่นนี้ ไม่ได้ส่งผลต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เท่านั้น หากแต่ยังมีผลต่อการขยายตัวของญี่ปุ่น และยุโรปอีกด้วย รายงาน WTO บอก