เอเอฟพี – ผู้เชี่ยวชาญระดับแนวหน้าของภูมิภาค ชี้ เหตุความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ไม่ใช่ญีฮัด หรือสงครามต่อต้านก่อการร้ายทั่วโลก แต่เป็นเพียงรากเหง้าของความปรารถนาของชาวมุสลิมในภาคใต้ ที่จะควบคุมดินแดนของตัวเอง
นักวิเคราะห์หลายคน กล่าวว่า การสังหารโหดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย มาถึงระดับที่ไม่สามารถคาดเดาได้แล้ว ขณะที่กลุ่มหัวรุนแรงได้ดำเนินการเพื่อเรียกร้องแบ่งแยกดินแดนมุสลิมเข้าสู่ปีที่ 5 แล้ว
“สำหรับผม มันลงมาถึงจุดวิกฤตของสิทธิตามกฎหมายแล้ว” ดันแคน แมคคาร์โก ผู้เขียนหนังสือ “Tearing Apart the Land: Islam and Legitimacy in Southern Thailand” ซึ่งกำลังจะออกวางแผงกล่าวในการประชุม ที่สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาในสิงคโปร์ เรื่องอนาคตของภูมิภาค
“แรงกระตุ้นทางการเมืองอยู่ภายใต้สิ่งที่กำลังดำเนินไป คือ แรงปรารถนาที่จะควบคุมดูแลดินแดนของพวกเขาเอง และความเชื่อที่ว่าประเทศไทยไม่ยอมให้เป็นไปตามกฎหมาย” เขาเสริม
แมคคาร์โก อาจารย์วิชาการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แห่งมหาวิทยาลัยลีดส์ ประเทศอังกฤษ ระบุว่า เหตุความไม่สงบในปัจจุบันสามารถมองเป็นเรื่องที่ปรับปรุงใหม่ของวิธีแบบเก่าในการต่อสู้ของชนเชื้อชาติมาเลย์ ที่พำนักพักพิงอยู่ในประเทศไทยได้ด้วย
เขาได้ชี้ว่า ความขัดแย้งเป็นเรื่องราวที่ยุ่งเหยิง และซับซ้อน ซึ่งไม่สามารถอธิบายอย่างง่ายได้ว่าเป็นเพียงความรุนแรงของศาสนาอิสลาม หรือเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้ต่อต้านการก่อการร้ายทั่วโลก
“มันไม่ใช่ความทุกข์ทางด้านสังคม-เศรษฐกิจที่ฝังรากลึก ส่วนใหญ่ก็ไม่เกี่ยวกับอุดมการณ์ของญีฮัด แม้ว่าจะมีวิธีการแบบญีฮัดปรากฏให้เห็นก็ตาม จริงๆ แล้ว จนถึงตอนนี้ จุดเน้นหลักของความขัดแย้งค่อนข้างเป็นเรื่องในท้องถิ่น และค่อนข้างแคบกว่าระดับภูมิภาค” เขาชี้แจง
ยิ่งไปกว่านั้น ลีกวนยู ผู้ก่อตั้งประเทศสิงคโปร์ ยังได้กล่าวในที่ประชุมเดียวกันเมื่อวันจันทร์ (7) ที่ผ่านมานี้ โดยเห็นด้วยว่า สถานการณ์ในประเทศไทยยังไม่ใช่ปัญหาประเภทเดียวกับกลุ่มอัลกออิดะห์
อย่างไรก็ดี แมคเคน ระบุว่า กองกำลังรักษาความมั่นคงของไทยประสบความล้มเหลวในการจัดการกับความรุนแรงนี้ให้เหมาะสม ซึ่งในความเป็นจริง ก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญหานี้ด้วยเช่นกัน