หากสังคมสมัยใหม่ในศตวรรษที่ 20 เกิดมีคนต้องเสียชีวิตจากเหตุสงคราม ในอัตราเดียวกับสงครามที่เกิดขึ้นในหมู่ชุมชนบุพกาลของเราแล้ว สงครามในศตวรรษที่ 20 ก็จะทำให้มีคนตาย มากถึง 2 พันล้านคน ทั้งนี้จากการคำนวณของลอว์เรนซ์ เอช คีลี่ ที่ระบุว่า บรรพบุรุษของเรา 2 ใน 3 รบราฆ่าฟันกันอยู่เสมอ และต้องสูญเสียประชากรของพวกตนไป ทุก ๆ ปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5*
(* Lawrence H Keeley, War Before Civilization, Oxford University Press, 1996.)
เรื่องนี้ และข้อเท็จจริงจำลองเหตุการณ์ยุคก่อนประวัตศาสตร์ (prehistoric factoids) ที่น่าสนใจอื่น ๆ ก็มีปรากฏอยู่ในหนังสือเรื่อง Before the Dawn ของนิโคลัส เวด ซึ่งเป็นเรื่องราวการสืบค้นชาติพันธุ์ ภาษาเช่นกัน ในหนังสือเหล่านี้ งานโบราณคดีของคนในยุคต้น ๆ* ดูจะชี้ไปในทางที่ว่า คนในยุคบุพกาลมีความเป็นอยู่ที่สกปรก ป่าเถื่อน และต่ำช้า ไม่ได้นุ่มนวล อบอุ่น น่าดึงดูดใจเหมือนคนในยุคปัจจุบัน ที่มีวัฒนธรรมแบบประชานิยม (popular culture) และมีการศึกษาในแบบสถาบันหลังยุคอาณานิคม เช่นในปัจจุบันนี้ คุณคีลี่เขียนเรื่องวิทยาการให้นิตยสาร New York Times และก็มักจะบุกตะลุยเข้าใส่ประเด็น ที่แม้แต่เทพบุตร-นางฟ้าก็ยังไม่กล้าบินไปแตะ**เสมอ ๆ การที่จะให้ไปประเมินเรื่องที่เขาเขียน มันเกินความสามารถของคนอย่างผมครับ แต่ (พูดก็พูดเถอะ) กลับไม่เห็นมีใครออกมาปฏิเสธ สิ่งที่เขาบอกว่ายุคก่อนประวัติศาสตร์เต็มไปด้วยความป่าเถื่อนรุนแรง
(* Before the Dawn, by Nicholas Wade. Penguin: New York 2006.
**สิ่งที่น่ารำคาญที่สุดคือ การที่เวดชอบยืมปากนักมานุษยวิทยา ที่พยายามบอกว่าศาสนาเป็นปรากฏการณ์ของธรรมชาติ มาพูดซ้ำแล้วซ้ำเล่า)
เพราะสิ่งนั้นนำมาซึ่งข้อกังขาที่ว่า ก็แล้วทำไม ทั้ง ๆ ที่ออกขัดกันถึงขนาดนั้น วัฒนธรรมพื้น ๆ ของสามัญชน (popular culture) จึงมักวาดภาพว่าบรรพชนของเรา เป็นชาวบ้านผู้รักสันติ อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างน้อมนำ ทั้ง ๆ ที่จริง พวกท่านมีอารยะธรรมที่แสนจะโหดร้ายป่าเถื่อน ออกเช่นนั้น ? หนังสือเรื่อง Guns, Germs and Steel ของจาเรด ไดม่อมด์ ที่ระบุว่าวัฒนธรรมเป็นเพียงอุบัติเหตุทางภูมิศาสตร์ ทำให้คำแก้ต่างให้ความล้มเหลวของสังคมบรรพกาล ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า แต่ทว่าหนังสือของเวด ที่ออกมาพิสูจน์ว่า ข้อเขียนของไดม่อนด์ไม่จริง หลายสิบประเด็น คงขายดีสู้วิทยาศาสตร์แบบสามานย์ของไดม่อนด์ไม่ได้
ก็แล้วเมื่อรู้ว่าถูกหลอกเห็น ๆ สาธารณชน (แปลว่าคนสาธารณ์) ทำไมจึงยังแพร่ภาพผิด ๆ ของชนบุพกาลอยู่อย่างนั่น ที่ฮอลลีวู๊ดบรรจงวาดภาพคนพื้นเมืองอเมริกัน ชนเผ่าแอฟริกัน คนป่าบราซิลในเขตมรสุม และชาวอะบอริจิ้นของทวีปออสเตรเลีย ให้เป็นคนแสนดี เฉลียวฉลาดนั้น ไม่ใช่เพราะบรรดาเจ้าของสตูดิโอในฮอลลีวู๊ด ไปเที่ยวจ้างนักมานุษยวิทยาแบบผิด ๆ มาเป็นที่ปรึกษานะครับ แต่เป็นเพราะสาธารณชนที่ชอบอ่านงานของไดม่อมด์เชื่อแบบนี้ จึงไปซื้อหามาดู
กระนั้นก็ตาม ความเห็นส่วนใหญ่ (consensus) ของวัฒนธรรมพื้น ๆ เห็นว่า คนบุพกาลมีคุณลักษณะ ที่เรียกว่า ‘ของแท้ดั่งเดิม’ ที่คนสมัยใหม่ไม่มี และเมื่อเข้าไปคลุกคลีตีโมง ‘ของแท้ดั่งเดิม’ เหล่านั้นบางอย่างก็จะติดเรามา ตัวอย่างเช่นความผิดบาป อันเกิดจากการที่ลัทธิล่าอาณานิคมได้ไปทำลายชุมชนของพวกเขา เป็นข้ออธิบายได้ดี แม้ว่าชาวตะวันตกที่อยู่ใกล้ชิดพอจะทำลายล้างพวกเขา กลับไม่เคยรู้สึกเสียใจเลยแม้แต่น้อย แต่ก็อย่างว่าแหละครับ ความกระหายใคร่จะได้ ‘ของแท้ดั่งเดิม’ ผุดขึ้นมาจากสาเหตุหลายประการ
การที่อารยธรรมยุโรปผงาดขึ้นมาได้ ก็เพราะไปบดขยี้ของแท้ดั่งเดิม อันเป็นคุณลักษณะของคนบุพกาลลง นี่ไม่ใช่เป็นพัฒนาการ ‘ของธรรมชาติ’ นะครับ มนุษย์สร้างขึ้นล้วน ๆ สิ่งที่น่าตื่นใจในยุคก่อนประวัติศาสตร์อย่างหนึ่งก็คือภาษา ที่มีอยู่อย่างแพร่หลายมากมาย นักนิรุกติศาสตร์เชื่อว่า (ด้วยเหตุผลที่สลับซับซ้อน เกินจะกล่าวในบทความชิ้นนี้ได้หมด)* ภาษาในสมัยปัจจุบันนี้ สืบเค้ามาจากต้นแบบเพียงไม่กี่แบบ แต่ต่อมากลายมาเป็นพันเป็นหมื่น เวดกล่าวว่า (น 204) ความหลายหลาก มากมายขนาดนี้ เป็นเรื่องแปลก เพราะมันขัดกับหลักการที่ว่า ประโยชน์ของการใช้ภาษา คือการสื่อสารเพื่อให้เกิดเข้าใจกันได้กว้างที่สุด ดังนั้นหากคิดตามหลักนี้ ภาษาต้องเป็นสากล และต้องไม่เปลี่ยนแปลง แต่การที่ต่อมา ภาษาพัฒนามาเป็นเฉพาะหมู่พวก ไม่เป็นสากล จึงไม่ใช่เรื่องอุบัติเหตุ สำหรับสังคมมนุษย์ระยะต้น ๆ แล้ว ความปลอดภัยย่อมมีความสำคัญเหนือกว่าการสื่อสารกับภายนอกมากนัก ยิ่งมีสงครามกันเองไม่รู้จักหยุดจักหย่อนเช่นนั้น ก็ยิ่งมีความจำเป็นต้องมีภาษา ที่จะกีดกันคนนอกออกไปให้มากขึ้น คือพอขยับปาก ก็รู้ว่าเป็นคนแปลกหน้า (อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่)
(* หนังสือของเวด มีบทสรุปและเชิงอรรถในเรื่องภาษาศาสตร์อย่างเอกอุดม)
แล้วอย่างไหนหรือครับที่เป็นต้นกำเนิดของอารยะธรรม จะเป็นการสื่อสารอย่างกว้างขวาง หรือการจัดตั้งทางการเมือง ? หากจะบอกว่าการพิชิตนั้นก็ได้ แต่ว่าง่ายไปหน่อย จากย่านลาติน เรามี 5 ภาษาระดับชาติ และมีสำเนียงอีกกว่า 10 แต่ไม่มีเลย ที่จะพัฒนามาจากภาษากรีกแห่งอาณาจักรอเลกซานเดรียโบราณ ที่ภาษาลาตินและแขนงต่าง ๆ ของมันครอบงำยุโรป ก็เพราะภาษาลาตินเป็นภาษาของศาสนจักร บรรดาผู้รุกรานที่หลั่งไหลกันเข้ามาในดินแดนที่ว่างเปล่า เพราะการล่มสลายของอาณาจักรโรมัน พวกโกธ พวกแวนดัล และพวกเคลท์ ต้องเรียนพูดภาษาลาตินและสำเนียงเหล่านี้ ศาสนาคริสต์ทำให้พวกเขาเป็นชาวยุโรป
แม้ในยามที่คริสต์ศาสนาตกอยู่ในภาวะมืดมนที่สุด ตอนที่อาณาจักรไรช์ที่ 3 กักบริเวณพระสันตะปาปา เอาไว้เฉพาะในสำนักวาติกัน ขณะที่ชาวยุโรปเข็นเทคโนโลยีแห่งความสยดสะยอง ออกมาประเคนเข้าใส่กัน ลูกแล้วลูกเล่า พวกเขาก็ยังฆ่ากันเอง เป็นจำนวนน้อยกว่าที่การสงครามในยุคบรรพกาลทำกัน
บรรดาชาวอเมริกันอินเดียน พวกเอสกิโม ชาวเขาในนิวกีนี และพวกชนเผ่าในแอฟริกา ใช้วิทยายุทธและความกล้าหาญ เข็นฆ่ากันและกัน และก็มักจะประสบชัยชนะในการเผชิญหน้ากับพวกยุโรปที่มีอาวุธทันสมัย ก็เฉพาะในการรบครั้งแรก ๆ เวดสังเกตว่า “แม้แต่ในสภาพการณ์ที่รุนแรงที่สุด (เช่นทางตะวันตกเฉียงเหนือของอลาสก้า) สังคมบุพกาลก็ยังสืบทอดเป้าหมาย แห่งการเข่นฆ่ากันเพื่อความอยู่รอดของตนเองอยู่ดี”
เฉพาะในศตวรรษที่ล่วงผ่านไปนี้ เวดคำนวณว่า 1 ใน 4 ของภาษาในนิวกีนี ที่มีมากถึง 1,200 ภาษาของโลก ที่ตอนนี้มีอยู่ราว 6,000 ภาษา ได้สูญหายไปเพราะการสงคราม ในการสงครามของยุคบุพกาล “อัตราการตายมหาศาลมาก ไม่เพียงเฉพาะพวกเขาไม่ต้องการเชลยเป็น ๆ เท่านั้น นโยบายนี้ขึ้นอยู่กับยุทธศาสตร์ของพวกเขา คือทำลายล้างชุมชนที่เป็นคู่แข่ง พวกนักรบที่ถูกจับได้จะถูกฆ่าทิ้งตรงจุดนั้น เว้นแต่เฉพาะพวกอิโรควอย ที่จับเชลยกลับบ้านเอาไว้ทรมานเล่นก่อนฆ่าทิ้ง และบางชนเผ่าในโคลัมเบีย ที่ชอบขุนเชลยให้อ้วน ก่อนกิน”
และไม่ว่าคนสมัยใหม่จะปฏิบัติต่อกันเลวแค่ไหน เช่นพวกคอมมิวนิสต์ฆ่าคนไปราว 100 ล้านคน พวกสังคมชาตินิยม (นาซี-ฟาสซิสต์) ฆ่าไปราว 50 ล้านคน แต่หากไปเปรียบเทียบกับตัวเลข 2 พันล้านคน หากมีการใช้สงครามบุพกาลในยุโรป ก็เป็นคนละเรื่อง
การที่คนบุพกาลชอบทำสงคราม เกิดมาจากความเกี่ยวพันด้านพันธุกรรม (genetic kinship) กับวัฒนธรรมย่อยที่พวกเขาสังกัด (เช่นสำเนียง) คริสตศาสนาดึงปัจเจกชนออกจากชาติ มาจุ่มศีลให้เป็นคนใหม่ เพื่อที่จะได้ธุดงค์ขึ้นไปยังอาณาจักรแห่งสรวงสวรรค์ ดังนั้น ศาสนาคริสต์จึงมาจากความชิงชังรังเกียจร่างเดิม ที่ชั่วช้าสามานย์ของตน พวกคริสเตียนยุคหลังกลับอิจฉา ‘ของแท้ดั่งเดิม’ ของผู้คนที่ยังไม่ได้ถูกเรียกขึ้นมาจุ่มน้ำศีลมหาสนิท ศาสนจักรยังไม่ได้ดึงตัวออกมาจากชาติ เพราะพวกเขาไม่รู้ว่าจะธุดงค์ไปไหน ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวอยู่ที่ไหน
การเป็นคริสเตียนนั้นยาก เพราะความเชื่อมั่นศรัทธาที่จะบืนขึ้นไปให้ถึงสวรรค์นั้น ขัดกับเลือดเนื้อร่างกายที่ตนได้รับมา แต่การเป็นอดีตคริสเตียนก็รับไม่ได้ยิ่งกว่า เพราะเขาเหล่านั้น ไม่รู้ว่าจะย้อนกลับลงมาได้อย่างไร พวกยุโรปมีปัญหาเรื่องนี้น้อยกว่า เพราะพวกอิตาเลี่ยนไม่เคยละทิ้งเทพปะกัน* ของพวกเขา ศาสนาคริสต์รับเทพปะกันพวกนี้มาเป็นนักบุญของตน ส่วนพวกเยอรมันก็ไม่เคยละทิ้งศาสนา ตั้งแต่ครั้งยังนั่งรอบกองไฟในกระโจมของตน ที่ยังคงสืบต่อลงมาในรูปของนิทานปรัมปรา ลึกลับดำมืด และอิทธิปาฏิหาริย์ ที่มีคริสต์ศาสนาเคลือบอยู่
(*pagan gods คือเทพเจ้าในวัฒนธรรมดั่งเดิมของพวกเขา ก่อนที่จะมาเป็นคริสเตียน)
หากสหรัฐแห่งอเมริกาเป็นประเทศคริสเตียนแบบสุด ๆ (ผมเคยแหย่เรื่องนี้ไม่รู้กี่ครั้งกี่หน) แล้ว ผมก็คิดว่าการเป็นอดีตคริสเตียน จะต้องทุกข์ระทมแบบสุด ๆ เช่นกัน เพราะพวกเขาจะไม่มีวันนักบุญ ให้เฉลิมฉลองกันในหมู่บ้านอิตาเลี่ยน ที่เคยทำกันมาตั้งแต่ยังนั่งรอบกองไฟในอาณาจักรโรมัน หรือไม่มีป่าในเยอรมันตอนเหนือ ที่เต็มไปด้วยพวกเอฟ*ให้แต่งโศลกสรรเสริญเยินยอ พวกเขามีหมด ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือนโอ่อ่า ร้านค้าให้เดินซื้อหาข้าวของทั้งถนน ป่าในเมืองที่เต็มไปด้วยกระจกและเหล็กกล้า มีทั้งฮอลลีวู๊ดและเกรซแลนด์** แต่ไม่มี ‘ของแท้ดั่งเดิม’ แม้แต่ชิ้นเดียว
(*Elf คือดวงวิญญาณชนิดหนึ่ง มีรูปร่างหน้าตาอย่างคนตัวเล็ก ๆ ที่สิงสถิตอยู่ในป่า เชื่อกันว่ามักมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ สามารถดลบันดาลให้เกิดอะไรต่อมิอะไรได้
**บ้านเกิดของเอลวิส ราชาวัฒนธรรมป๊อปและร๊อคแอนด์โรล)
สำหรับชาวอเมริกันที่เป้าหมายของประเทศชาติ ไม่ใช่เส้นทางธุดงค์ของตน ความโหยหาอดีตของพวกเขา (ชาวอเมริกันคริสเตียนยุคหลัง) มีอำนาจอิทธิพลเหลือกำลัง พวกเขาเสาะแสวงหาของแท้ดั่งเดิมเอาจากธรรมชาติ และจากประเพณีวัฒนธรรมที่ตายไปแล้วของผู้คน ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นข้าของธรรมชาติ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือคนที่ไม่เคยอ่าน พระคัมภีร์เจนนิซิส* ที่ว่าสรวงสวรรค์เป็นแสงสว่างและนาฬิกา ที่แขวนอยู่บนฟ้าเพื่อประโยชน์สุขของปวงชน ยิ่งกว่านั้น การที่ชาวอเมริกันรู้สึกถึงความไม่เป็นอมตะของเขา และหากพวกเขาไม่ยึดอาณาจักรของพระเจ้าเป็นเป้าหมาย ชีวิตของพวกเขาก็ได้แต่เสพสิ่งเสพติด ที่มีความกังวลใจที่หนักขึ้น ๆ เข้ามาขัดจังหวะเป็นพัก ๆ
(*Genesis คัมภีร์คริสตศาสนา ว่าด้วยการกำเนิดโลกและมนุษยชาติ)
ในอีกร้อยปีข้างหน้า ร้อยละ 90 ของภาษาคน 6,000 ภาษา ที่เหลืออยู่จะหมดไป การเสาะแสวงหา ‘ของแท้ดั่งเดิม’ จะค่อย ๆ เปลี่ยนจากความคับข้องใจธรรมดา ๆ ไปเป็นความสยดสะยองของแท้ สำหรับผู้คนที่ให้ค่าสูงต่อความไม่เป็นอมตะของตน บทเรียนของความสูญพันธุ์ของมนุษย์ เป็นลิขิตที่น่าประหวั่นพรั่นพรึงทีเดียว
(* Lawrence H Keeley, War Before Civilization, Oxford University Press, 1996.)
เรื่องนี้ และข้อเท็จจริงจำลองเหตุการณ์ยุคก่อนประวัตศาสตร์ (prehistoric factoids) ที่น่าสนใจอื่น ๆ ก็มีปรากฏอยู่ในหนังสือเรื่อง Before the Dawn ของนิโคลัส เวด ซึ่งเป็นเรื่องราวการสืบค้นชาติพันธุ์ ภาษาเช่นกัน ในหนังสือเหล่านี้ งานโบราณคดีของคนในยุคต้น ๆ* ดูจะชี้ไปในทางที่ว่า คนในยุคบุพกาลมีความเป็นอยู่ที่สกปรก ป่าเถื่อน และต่ำช้า ไม่ได้นุ่มนวล อบอุ่น น่าดึงดูดใจเหมือนคนในยุคปัจจุบัน ที่มีวัฒนธรรมแบบประชานิยม (popular culture) และมีการศึกษาในแบบสถาบันหลังยุคอาณานิคม เช่นในปัจจุบันนี้ คุณคีลี่เขียนเรื่องวิทยาการให้นิตยสาร New York Times และก็มักจะบุกตะลุยเข้าใส่ประเด็น ที่แม้แต่เทพบุตร-นางฟ้าก็ยังไม่กล้าบินไปแตะ**เสมอ ๆ การที่จะให้ไปประเมินเรื่องที่เขาเขียน มันเกินความสามารถของคนอย่างผมครับ แต่ (พูดก็พูดเถอะ) กลับไม่เห็นมีใครออกมาปฏิเสธ สิ่งที่เขาบอกว่ายุคก่อนประวัติศาสตร์เต็มไปด้วยความป่าเถื่อนรุนแรง
(* Before the Dawn, by Nicholas Wade. Penguin: New York 2006.
**สิ่งที่น่ารำคาญที่สุดคือ การที่เวดชอบยืมปากนักมานุษยวิทยา ที่พยายามบอกว่าศาสนาเป็นปรากฏการณ์ของธรรมชาติ มาพูดซ้ำแล้วซ้ำเล่า)
เพราะสิ่งนั้นนำมาซึ่งข้อกังขาที่ว่า ก็แล้วทำไม ทั้ง ๆ ที่ออกขัดกันถึงขนาดนั้น วัฒนธรรมพื้น ๆ ของสามัญชน (popular culture) จึงมักวาดภาพว่าบรรพชนของเรา เป็นชาวบ้านผู้รักสันติ อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างน้อมนำ ทั้ง ๆ ที่จริง พวกท่านมีอารยะธรรมที่แสนจะโหดร้ายป่าเถื่อน ออกเช่นนั้น ? หนังสือเรื่อง Guns, Germs and Steel ของจาเรด ไดม่อมด์ ที่ระบุว่าวัฒนธรรมเป็นเพียงอุบัติเหตุทางภูมิศาสตร์ ทำให้คำแก้ต่างให้ความล้มเหลวของสังคมบรรพกาล ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า แต่ทว่าหนังสือของเวด ที่ออกมาพิสูจน์ว่า ข้อเขียนของไดม่อนด์ไม่จริง หลายสิบประเด็น คงขายดีสู้วิทยาศาสตร์แบบสามานย์ของไดม่อนด์ไม่ได้
ก็แล้วเมื่อรู้ว่าถูกหลอกเห็น ๆ สาธารณชน (แปลว่าคนสาธารณ์) ทำไมจึงยังแพร่ภาพผิด ๆ ของชนบุพกาลอยู่อย่างนั่น ที่ฮอลลีวู๊ดบรรจงวาดภาพคนพื้นเมืองอเมริกัน ชนเผ่าแอฟริกัน คนป่าบราซิลในเขตมรสุม และชาวอะบอริจิ้นของทวีปออสเตรเลีย ให้เป็นคนแสนดี เฉลียวฉลาดนั้น ไม่ใช่เพราะบรรดาเจ้าของสตูดิโอในฮอลลีวู๊ด ไปเที่ยวจ้างนักมานุษยวิทยาแบบผิด ๆ มาเป็นที่ปรึกษานะครับ แต่เป็นเพราะสาธารณชนที่ชอบอ่านงานของไดม่อมด์เชื่อแบบนี้ จึงไปซื้อหามาดู
กระนั้นก็ตาม ความเห็นส่วนใหญ่ (consensus) ของวัฒนธรรมพื้น ๆ เห็นว่า คนบุพกาลมีคุณลักษณะ ที่เรียกว่า ‘ของแท้ดั่งเดิม’ ที่คนสมัยใหม่ไม่มี และเมื่อเข้าไปคลุกคลีตีโมง ‘ของแท้ดั่งเดิม’ เหล่านั้นบางอย่างก็จะติดเรามา ตัวอย่างเช่นความผิดบาป อันเกิดจากการที่ลัทธิล่าอาณานิคมได้ไปทำลายชุมชนของพวกเขา เป็นข้ออธิบายได้ดี แม้ว่าชาวตะวันตกที่อยู่ใกล้ชิดพอจะทำลายล้างพวกเขา กลับไม่เคยรู้สึกเสียใจเลยแม้แต่น้อย แต่ก็อย่างว่าแหละครับ ความกระหายใคร่จะได้ ‘ของแท้ดั่งเดิม’ ผุดขึ้นมาจากสาเหตุหลายประการ
การที่อารยธรรมยุโรปผงาดขึ้นมาได้ ก็เพราะไปบดขยี้ของแท้ดั่งเดิม อันเป็นคุณลักษณะของคนบุพกาลลง นี่ไม่ใช่เป็นพัฒนาการ ‘ของธรรมชาติ’ นะครับ มนุษย์สร้างขึ้นล้วน ๆ สิ่งที่น่าตื่นใจในยุคก่อนประวัติศาสตร์อย่างหนึ่งก็คือภาษา ที่มีอยู่อย่างแพร่หลายมากมาย นักนิรุกติศาสตร์เชื่อว่า (ด้วยเหตุผลที่สลับซับซ้อน เกินจะกล่าวในบทความชิ้นนี้ได้หมด)* ภาษาในสมัยปัจจุบันนี้ สืบเค้ามาจากต้นแบบเพียงไม่กี่แบบ แต่ต่อมากลายมาเป็นพันเป็นหมื่น เวดกล่าวว่า (น 204) ความหลายหลาก มากมายขนาดนี้ เป็นเรื่องแปลก เพราะมันขัดกับหลักการที่ว่า ประโยชน์ของการใช้ภาษา คือการสื่อสารเพื่อให้เกิดเข้าใจกันได้กว้างที่สุด ดังนั้นหากคิดตามหลักนี้ ภาษาต้องเป็นสากล และต้องไม่เปลี่ยนแปลง แต่การที่ต่อมา ภาษาพัฒนามาเป็นเฉพาะหมู่พวก ไม่เป็นสากล จึงไม่ใช่เรื่องอุบัติเหตุ สำหรับสังคมมนุษย์ระยะต้น ๆ แล้ว ความปลอดภัยย่อมมีความสำคัญเหนือกว่าการสื่อสารกับภายนอกมากนัก ยิ่งมีสงครามกันเองไม่รู้จักหยุดจักหย่อนเช่นนั้น ก็ยิ่งมีความจำเป็นต้องมีภาษา ที่จะกีดกันคนนอกออกไปให้มากขึ้น คือพอขยับปาก ก็รู้ว่าเป็นคนแปลกหน้า (อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่)
(* หนังสือของเวด มีบทสรุปและเชิงอรรถในเรื่องภาษาศาสตร์อย่างเอกอุดม)
แล้วอย่างไหนหรือครับที่เป็นต้นกำเนิดของอารยะธรรม จะเป็นการสื่อสารอย่างกว้างขวาง หรือการจัดตั้งทางการเมือง ? หากจะบอกว่าการพิชิตนั้นก็ได้ แต่ว่าง่ายไปหน่อย จากย่านลาติน เรามี 5 ภาษาระดับชาติ และมีสำเนียงอีกกว่า 10 แต่ไม่มีเลย ที่จะพัฒนามาจากภาษากรีกแห่งอาณาจักรอเลกซานเดรียโบราณ ที่ภาษาลาตินและแขนงต่าง ๆ ของมันครอบงำยุโรป ก็เพราะภาษาลาตินเป็นภาษาของศาสนจักร บรรดาผู้รุกรานที่หลั่งไหลกันเข้ามาในดินแดนที่ว่างเปล่า เพราะการล่มสลายของอาณาจักรโรมัน พวกโกธ พวกแวนดัล และพวกเคลท์ ต้องเรียนพูดภาษาลาตินและสำเนียงเหล่านี้ ศาสนาคริสต์ทำให้พวกเขาเป็นชาวยุโรป
แม้ในยามที่คริสต์ศาสนาตกอยู่ในภาวะมืดมนที่สุด ตอนที่อาณาจักรไรช์ที่ 3 กักบริเวณพระสันตะปาปา เอาไว้เฉพาะในสำนักวาติกัน ขณะที่ชาวยุโรปเข็นเทคโนโลยีแห่งความสยดสะยอง ออกมาประเคนเข้าใส่กัน ลูกแล้วลูกเล่า พวกเขาก็ยังฆ่ากันเอง เป็นจำนวนน้อยกว่าที่การสงครามในยุคบรรพกาลทำกัน
บรรดาชาวอเมริกันอินเดียน พวกเอสกิโม ชาวเขาในนิวกีนี และพวกชนเผ่าในแอฟริกา ใช้วิทยายุทธและความกล้าหาญ เข็นฆ่ากันและกัน และก็มักจะประสบชัยชนะในการเผชิญหน้ากับพวกยุโรปที่มีอาวุธทันสมัย ก็เฉพาะในการรบครั้งแรก ๆ เวดสังเกตว่า “แม้แต่ในสภาพการณ์ที่รุนแรงที่สุด (เช่นทางตะวันตกเฉียงเหนือของอลาสก้า) สังคมบุพกาลก็ยังสืบทอดเป้าหมาย แห่งการเข่นฆ่ากันเพื่อความอยู่รอดของตนเองอยู่ดี”
เฉพาะในศตวรรษที่ล่วงผ่านไปนี้ เวดคำนวณว่า 1 ใน 4 ของภาษาในนิวกีนี ที่มีมากถึง 1,200 ภาษาของโลก ที่ตอนนี้มีอยู่ราว 6,000 ภาษา ได้สูญหายไปเพราะการสงคราม ในการสงครามของยุคบุพกาล “อัตราการตายมหาศาลมาก ไม่เพียงเฉพาะพวกเขาไม่ต้องการเชลยเป็น ๆ เท่านั้น นโยบายนี้ขึ้นอยู่กับยุทธศาสตร์ของพวกเขา คือทำลายล้างชุมชนที่เป็นคู่แข่ง พวกนักรบที่ถูกจับได้จะถูกฆ่าทิ้งตรงจุดนั้น เว้นแต่เฉพาะพวกอิโรควอย ที่จับเชลยกลับบ้านเอาไว้ทรมานเล่นก่อนฆ่าทิ้ง และบางชนเผ่าในโคลัมเบีย ที่ชอบขุนเชลยให้อ้วน ก่อนกิน”
และไม่ว่าคนสมัยใหม่จะปฏิบัติต่อกันเลวแค่ไหน เช่นพวกคอมมิวนิสต์ฆ่าคนไปราว 100 ล้านคน พวกสังคมชาตินิยม (นาซี-ฟาสซิสต์) ฆ่าไปราว 50 ล้านคน แต่หากไปเปรียบเทียบกับตัวเลข 2 พันล้านคน หากมีการใช้สงครามบุพกาลในยุโรป ก็เป็นคนละเรื่อง
การที่คนบุพกาลชอบทำสงคราม เกิดมาจากความเกี่ยวพันด้านพันธุกรรม (genetic kinship) กับวัฒนธรรมย่อยที่พวกเขาสังกัด (เช่นสำเนียง) คริสตศาสนาดึงปัจเจกชนออกจากชาติ มาจุ่มศีลให้เป็นคนใหม่ เพื่อที่จะได้ธุดงค์ขึ้นไปยังอาณาจักรแห่งสรวงสวรรค์ ดังนั้น ศาสนาคริสต์จึงมาจากความชิงชังรังเกียจร่างเดิม ที่ชั่วช้าสามานย์ของตน พวกคริสเตียนยุคหลังกลับอิจฉา ‘ของแท้ดั่งเดิม’ ของผู้คนที่ยังไม่ได้ถูกเรียกขึ้นมาจุ่มน้ำศีลมหาสนิท ศาสนจักรยังไม่ได้ดึงตัวออกมาจากชาติ เพราะพวกเขาไม่รู้ว่าจะธุดงค์ไปไหน ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวอยู่ที่ไหน
การเป็นคริสเตียนนั้นยาก เพราะความเชื่อมั่นศรัทธาที่จะบืนขึ้นไปให้ถึงสวรรค์นั้น ขัดกับเลือดเนื้อร่างกายที่ตนได้รับมา แต่การเป็นอดีตคริสเตียนก็รับไม่ได้ยิ่งกว่า เพราะเขาเหล่านั้น ไม่รู้ว่าจะย้อนกลับลงมาได้อย่างไร พวกยุโรปมีปัญหาเรื่องนี้น้อยกว่า เพราะพวกอิตาเลี่ยนไม่เคยละทิ้งเทพปะกัน* ของพวกเขา ศาสนาคริสต์รับเทพปะกันพวกนี้มาเป็นนักบุญของตน ส่วนพวกเยอรมันก็ไม่เคยละทิ้งศาสนา ตั้งแต่ครั้งยังนั่งรอบกองไฟในกระโจมของตน ที่ยังคงสืบต่อลงมาในรูปของนิทานปรัมปรา ลึกลับดำมืด และอิทธิปาฏิหาริย์ ที่มีคริสต์ศาสนาเคลือบอยู่
(*pagan gods คือเทพเจ้าในวัฒนธรรมดั่งเดิมของพวกเขา ก่อนที่จะมาเป็นคริสเตียน)
หากสหรัฐแห่งอเมริกาเป็นประเทศคริสเตียนแบบสุด ๆ (ผมเคยแหย่เรื่องนี้ไม่รู้กี่ครั้งกี่หน) แล้ว ผมก็คิดว่าการเป็นอดีตคริสเตียน จะต้องทุกข์ระทมแบบสุด ๆ เช่นกัน เพราะพวกเขาจะไม่มีวันนักบุญ ให้เฉลิมฉลองกันในหมู่บ้านอิตาเลี่ยน ที่เคยทำกันมาตั้งแต่ยังนั่งรอบกองไฟในอาณาจักรโรมัน หรือไม่มีป่าในเยอรมันตอนเหนือ ที่เต็มไปด้วยพวกเอฟ*ให้แต่งโศลกสรรเสริญเยินยอ พวกเขามีหมด ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือนโอ่อ่า ร้านค้าให้เดินซื้อหาข้าวของทั้งถนน ป่าในเมืองที่เต็มไปด้วยกระจกและเหล็กกล้า มีทั้งฮอลลีวู๊ดและเกรซแลนด์** แต่ไม่มี ‘ของแท้ดั่งเดิม’ แม้แต่ชิ้นเดียว
(*Elf คือดวงวิญญาณชนิดหนึ่ง มีรูปร่างหน้าตาอย่างคนตัวเล็ก ๆ ที่สิงสถิตอยู่ในป่า เชื่อกันว่ามักมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ สามารถดลบันดาลให้เกิดอะไรต่อมิอะไรได้
**บ้านเกิดของเอลวิส ราชาวัฒนธรรมป๊อปและร๊อคแอนด์โรล)
สำหรับชาวอเมริกันที่เป้าหมายของประเทศชาติ ไม่ใช่เส้นทางธุดงค์ของตน ความโหยหาอดีตของพวกเขา (ชาวอเมริกันคริสเตียนยุคหลัง) มีอำนาจอิทธิพลเหลือกำลัง พวกเขาเสาะแสวงหาของแท้ดั่งเดิมเอาจากธรรมชาติ และจากประเพณีวัฒนธรรมที่ตายไปแล้วของผู้คน ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นข้าของธรรมชาติ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือคนที่ไม่เคยอ่าน พระคัมภีร์เจนนิซิส* ที่ว่าสรวงสวรรค์เป็นแสงสว่างและนาฬิกา ที่แขวนอยู่บนฟ้าเพื่อประโยชน์สุขของปวงชน ยิ่งกว่านั้น การที่ชาวอเมริกันรู้สึกถึงความไม่เป็นอมตะของเขา และหากพวกเขาไม่ยึดอาณาจักรของพระเจ้าเป็นเป้าหมาย ชีวิตของพวกเขาก็ได้แต่เสพสิ่งเสพติด ที่มีความกังวลใจที่หนักขึ้น ๆ เข้ามาขัดจังหวะเป็นพัก ๆ
(*Genesis คัมภีร์คริสตศาสนา ว่าด้วยการกำเนิดโลกและมนุษยชาติ)
ในอีกร้อยปีข้างหน้า ร้อยละ 90 ของภาษาคน 6,000 ภาษา ที่เหลืออยู่จะหมดไป การเสาะแสวงหา ‘ของแท้ดั่งเดิม’ จะค่อย ๆ เปลี่ยนจากความคับข้องใจธรรมดา ๆ ไปเป็นความสยดสะยองของแท้ สำหรับผู้คนที่ให้ค่าสูงต่อความไม่เป็นอมตะของตน บทเรียนของความสูญพันธุ์ของมนุษย์ เป็นลิขิตที่น่าประหวั่นพรั่นพรึงทีเดียว