เอเอฟพี – ธนาคารโลกออกรายงานคาดหมายวันนี้(30) บรรดาระบบเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชียตะวันออก จะมีอัตราเติบโต 6.6% ในปีนี้ ชะลอตัวลงจากระดับ 6.8% ของปีที่แล้ว สืบเนื่องจากยังคงได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันแพงลิ่วอย่างต่อเนื่อง
อันที่จริงอัตราเติบโตของปีที่แล้ว ก็ต่ำลงกว่าปี 2004 ซึ่งทำได้สูงสุดเป็นสถิติที่ 7.5% โดยเหตุผลสำคัญมาจากผลของราคาน้ำมันดิบซึ่งทะยานขึ้นมิได้หยุดเช่นเดียวกัน เวิลด์แบงก์ระบุในฉบับล่าสุดของรายงานว่าด้วยทิศทางแนวโน้มเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก ที่จัดทำออกมาทุกๆ ครึ่งปี
ทั้งนี้ราคาน้ำมันดิบของโลกถีบตัวสูงตลอดปีที่แล้ว โดยทำสถิติสูงสุดที่ระดับ 70.85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในเดือนกันยายน หลังจากนั้นจึงถอยลงมาบ้าง กระนั้นก็ยังอยู่แถวๆ 60 ดอลลาร์เศษๆ ซึ่งสูงขึ้นราว 50% จากระดับราคาตอนสิ้นปี 2004
รายงานล่าสุดชิ้นนี้ของธนาคารโลกบอกว่า ถึงแม้มีผู้มองกันมากว่าเวลานี้ราคาน้ำมันได้ไปถึงจุดสูงสุดแล้ว แต่ก็เป็นที่คาดหมายกันอยู่ดีว่า ราคาของปีนี้จะสูงขึ้นกว่าปีที่แล้ว 10% โดยเฉลี่ย ดังนั้น ผลกระทบด้านลบบางประการจากราคาน้ำมันแพง จึงน่าจะยังส่งผลต่อเศรษฐกิจปี 2006
อย่างไรก็ตาม ขณะที่คาดหมายกันว่าระบบเศรษฐกิจกำลังพัฒนาในเอเชียตะวันออก จะมีอัตราเติบโตเชื่องช้าลง แต่รายงานเวิลด์แบงก์ชี้ว่า "เป็นเรื่องเซอร์ไพรส์จริงๆ" ที่ราคาน้ำมันซึ่งอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 25 ปีเมื่อวัดจากมูลค่าแท้จริงเช่นนี้ กลับไม่ได้สร้างความเสียหายให้แก่ภูมิภาคแถบนี้ มากไปกว่าที่เกิดขึ้นมาแล้ว
"จีดีพีของโลกกำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ที่สำคัญมากสำหรับประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ก็คือ การเติบโตของปริมาณการค้าในโลกก็แข็งแกร่งยิ่ง" โฮมี คารัส นักเศรษฐศาสตร์ประจำเอเชียตะวันออกของธนาคารโลก อธิบายเพิ่มเติม ระหว่างการแถลงข่าวผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์จากนครซิดนีย์
นอกจากนั้น เวิลด์แบงก์ยังชื่นชมความพยายามต่างๆ ของภูมิภาคแถบนี้ ในการรับมือกับผลกระทบของราคาน้ำมันแพง โดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปของการตัดลดการอุดหนุนราคาเชื้อเพลิงซึ่งสิ้นเปลืองงบประมาณเป็นอันมาก ตลอดจนการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นในปีที่แล้ว
รายงานของธนาคารโลกกล่าวว่า การลดการอุดหนุนราคาเชื้อเพลิง จะทำให้ฐานะการคลังของประเทศมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น อีกทั้งยังกระตุ้นให้ผู้บริโภคคุ้นชินกับการต้องช่วยค่าน้ำมันมากขึ้นด้วย
ขณะที่การใช้นโยบายการเงินซึ่งเข้มงวดขึ้น "น่าจะช่วยยับยั้งอันตรายจากการที่ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นเรื่อยๆ จะเข้าไปแฝงฝังจนทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานไต่ขึ้นมิได้หยุด"
นอกเหนือจากเรื่องราคาน้ำมัน รายงานเวิลด์แบงก์ยังชี้ถึงอีกปัจจัยหนึ่งซึ่งอาจสร้างผลกระทบใหญ่หลวงต่อบรรดาระบบเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออก นั่นคือการระบาดของไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1
เวิลด์แบงก์บอกว่า จนถึงตอนนี้การแพร่ระบาดของไข้หวัดนกสายพันธุ์มรณะนี้ ส่วนใหญ่ยังจำกัดอยู่เฉพาะชุมชนภาคการเกษตร กระนั้นก็ยังน่าเป็นห่วงว่ามันอาจกลายพันธุ์ไปเป็นโรคระบาดซึ่งสามารถติดต่อจากคนสู่คน ซึ่งจะทำให้มีคนเจ็บคนตายมากขึ้น อีกทั้งเป็นภาระทางเศรษฐกิจและสังคมหนักหน่วงขึ้น
สำหรับทิศทางอนาคตของระบบเศรษฐกิจแต่ละรายในเอเชียตะวันออก รายงานล่าสุดธนาคารโลกทำนายว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนที่ประกอบด้วย อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, และไทย จะเติบโต 5.3% ในปีนี้ สูงขึ้นจากระดับ 5.1% ของปีที่แล้ว
เวิลด์แบงก์คาดหมายว่า อินโดนีเซียจะขยายตัวได้ 5.5% ในปีนี้หลังจาก 5.6% ในปีที่แล้ว ส่วนมาเลเซียจะทำได้ 5.5% เพิ่มขึ้นจาก 5.3% ในปีที่แล้ว ขณะที่ฟิลิปปินส์จะเติบโต 5.3% จาก 5.1% สำหรับไทยก็จะทำได้ 5.0% จาก 4.5% ในปีที่แล้ว
อันที่จริงอัตราเติบโตของปีที่แล้ว ก็ต่ำลงกว่าปี 2004 ซึ่งทำได้สูงสุดเป็นสถิติที่ 7.5% โดยเหตุผลสำคัญมาจากผลของราคาน้ำมันดิบซึ่งทะยานขึ้นมิได้หยุดเช่นเดียวกัน เวิลด์แบงก์ระบุในฉบับล่าสุดของรายงานว่าด้วยทิศทางแนวโน้มเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก ที่จัดทำออกมาทุกๆ ครึ่งปี
ทั้งนี้ราคาน้ำมันดิบของโลกถีบตัวสูงตลอดปีที่แล้ว โดยทำสถิติสูงสุดที่ระดับ 70.85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในเดือนกันยายน หลังจากนั้นจึงถอยลงมาบ้าง กระนั้นก็ยังอยู่แถวๆ 60 ดอลลาร์เศษๆ ซึ่งสูงขึ้นราว 50% จากระดับราคาตอนสิ้นปี 2004
รายงานล่าสุดชิ้นนี้ของธนาคารโลกบอกว่า ถึงแม้มีผู้มองกันมากว่าเวลานี้ราคาน้ำมันได้ไปถึงจุดสูงสุดแล้ว แต่ก็เป็นที่คาดหมายกันอยู่ดีว่า ราคาของปีนี้จะสูงขึ้นกว่าปีที่แล้ว 10% โดยเฉลี่ย ดังนั้น ผลกระทบด้านลบบางประการจากราคาน้ำมันแพง จึงน่าจะยังส่งผลต่อเศรษฐกิจปี 2006
อย่างไรก็ตาม ขณะที่คาดหมายกันว่าระบบเศรษฐกิจกำลังพัฒนาในเอเชียตะวันออก จะมีอัตราเติบโตเชื่องช้าลง แต่รายงานเวิลด์แบงก์ชี้ว่า "เป็นเรื่องเซอร์ไพรส์จริงๆ" ที่ราคาน้ำมันซึ่งอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 25 ปีเมื่อวัดจากมูลค่าแท้จริงเช่นนี้ กลับไม่ได้สร้างความเสียหายให้แก่ภูมิภาคแถบนี้ มากไปกว่าที่เกิดขึ้นมาแล้ว
"จีดีพีของโลกกำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ที่สำคัญมากสำหรับประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ก็คือ การเติบโตของปริมาณการค้าในโลกก็แข็งแกร่งยิ่ง" โฮมี คารัส นักเศรษฐศาสตร์ประจำเอเชียตะวันออกของธนาคารโลก อธิบายเพิ่มเติม ระหว่างการแถลงข่าวผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์จากนครซิดนีย์
นอกจากนั้น เวิลด์แบงก์ยังชื่นชมความพยายามต่างๆ ของภูมิภาคแถบนี้ ในการรับมือกับผลกระทบของราคาน้ำมันแพง โดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปของการตัดลดการอุดหนุนราคาเชื้อเพลิงซึ่งสิ้นเปลืองงบประมาณเป็นอันมาก ตลอดจนการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นในปีที่แล้ว
รายงานของธนาคารโลกกล่าวว่า การลดการอุดหนุนราคาเชื้อเพลิง จะทำให้ฐานะการคลังของประเทศมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น อีกทั้งยังกระตุ้นให้ผู้บริโภคคุ้นชินกับการต้องช่วยค่าน้ำมันมากขึ้นด้วย
ขณะที่การใช้นโยบายการเงินซึ่งเข้มงวดขึ้น "น่าจะช่วยยับยั้งอันตรายจากการที่ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นเรื่อยๆ จะเข้าไปแฝงฝังจนทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานไต่ขึ้นมิได้หยุด"
นอกเหนือจากเรื่องราคาน้ำมัน รายงานเวิลด์แบงก์ยังชี้ถึงอีกปัจจัยหนึ่งซึ่งอาจสร้างผลกระทบใหญ่หลวงต่อบรรดาระบบเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออก นั่นคือการระบาดของไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1
เวิลด์แบงก์บอกว่า จนถึงตอนนี้การแพร่ระบาดของไข้หวัดนกสายพันธุ์มรณะนี้ ส่วนใหญ่ยังจำกัดอยู่เฉพาะชุมชนภาคการเกษตร กระนั้นก็ยังน่าเป็นห่วงว่ามันอาจกลายพันธุ์ไปเป็นโรคระบาดซึ่งสามารถติดต่อจากคนสู่คน ซึ่งจะทำให้มีคนเจ็บคนตายมากขึ้น อีกทั้งเป็นภาระทางเศรษฐกิจและสังคมหนักหน่วงขึ้น
สำหรับทิศทางอนาคตของระบบเศรษฐกิจแต่ละรายในเอเชียตะวันออก รายงานล่าสุดธนาคารโลกทำนายว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนที่ประกอบด้วย อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, และไทย จะเติบโต 5.3% ในปีนี้ สูงขึ้นจากระดับ 5.1% ของปีที่แล้ว
เวิลด์แบงก์คาดหมายว่า อินโดนีเซียจะขยายตัวได้ 5.5% ในปีนี้หลังจาก 5.6% ในปีที่แล้ว ส่วนมาเลเซียจะทำได้ 5.5% เพิ่มขึ้นจาก 5.3% ในปีที่แล้ว ขณะที่ฟิลิปปินส์จะเติบโต 5.3% จาก 5.1% สำหรับไทยก็จะทำได้ 5.0% จาก 4.5% ในปีที่แล้ว