โตเกียว – หลังจากถูกนานาประเทศกดดันให้เปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตรมานานหลายปี ตอนนี้ญี่ปุ่นเริ่มตระหนักแล้วว่า การตั้งรับที่ดีต้องมีการรุกโต้ ดังนั้นจึงเร่งส่งเสริมให้มีการส่งออกสินค้าเกษตร เพื่อเปลี่ยนเกมเสียใหม่ ถึงตัวจะนำเข้าอาหารเป็นหลัก แต่ญี่ปุ่นก็ตั้งเป้าจะส่งออกสินค้าเกษตรและทะเล ขึ้นเป็น 2 เท่า แม้จะมีความกังวลเรื่องความมั่นคงทางอาหารในประเทศก็ตาม
เพื่อให้เป็นไปตามนั้น ญี่ปุ่นเพิ่มเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล ให้แก่ผู้ปลูกและนักธุรกิจในพื้นถิ่นในโครงการขยายตลาดและส่งเสริมการส่งออก ญี่ปุ่นยังเร่งรัดความพยายามที่จะขจัดการลักลอบนำเข้าพืชผลจากต่างประเทศ (โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านที่ผลิตได้ในราคาถูก) เข้ามาขาย ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ ให้ปลอดจากระบบการเพาะปลูกโดยเมล็ดพันธุ์ที่พัฒนาโดยตนเอง หากไม่มีการลิดหน่อการลักลอบแบบนี้ ไม่เพียงความมั่งคั่งของชาวนาญี่ปุ่นจะหดลง การส่งเสริมการส่งออกของรัฐบาลก็จะชะงักไปด้วย
ขณะนี้ญี่ปุ่นกำลังเป็นฝ่ายรุก เพื่อการค้าเสรีที่ไม่ใช่การเกษตร เป็นต้นว่า รถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่พอมาถึงสินค้าเกษตรก็ต้องตกเป็นฝ่ายตั้งรับ ปี 2006 จะเป็นปีที่มีความสำคัญต่อระบบการค้าเสรีของโลก แต่การประชุมระดับรัฐมนตรีขององค์การค้าโลก (World Trade Organization) ที่ฮ่องกงเมื่อเดือนก่อน คืบหน้าไปได้น้อยมาก รัฐมนตรีการค้าจาก 149 ประเทศ ยังไม่สามารถตกลงกรอบ ที่จะอำนวยให้เปิดเสรีด้านการค้าและบริการ แต่กระนั้นพวกเขาก็ยังรับปากจะให้มันแล้วเสร็จ ในปลายเดือนเมษายน อันเป็นเส้นตายของปี 2006 ที่จะถึงนี้
ประเด็นที่ยากที่สุดในการประชุมรอบโดฮา* นี้คือสินค้าเกษตร ประเทศสมาชิกยังแตกแยกกันอย่างหนัก เกี่ยวกับมาตรการต่าง ๆ ที่เป็นกำแพงขัดขวางการนำเข้า-ส่งออกที่เสรีของสินค้าประเภทนี้ เป็นต้นว่าการให้การสนับสนุนของรัฐบาลและกำแพงภาษี ที่ประเทศพัฒนาแล้วกำลังใช้อยู่ นอกจากนั้นประเด็นนี้ ก็กำลังจับประเทศสมาชิกที่พัฒนาแล้ว เช่นสหรัฐ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (อียู) ให้ชนกันเองอีกด้วย
(*การประชุมองค์การค้าโลก จะแบ่งออกเป็นรอบ ๆ เปลี่ยนชื่อรอบไปตามเมืองหลวงของประเทศที่ขึ้นรอบใหม่ เช่นการประชุมรอบที่แล้ว คือรอบอุรุกวัย เพื่อสะสางปัญหาว่าด้วยข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreement on Tariffs and Trade) และรอบใหม่ที่จะจบลงในปีนี้ เปิดประชุมครั้งแรกที่กรุงโดฮา เมืองหลวงของประเทศกาตาร์
อนึ่ง ภาษีที่เรียกเก็บจากพลเมือง ไม่ว่าจะเป็นภาษีรายได้หรือภาษีค้า เรียกว่า tax ส่วนที่เรียกเก็บจากการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ หรือภาษีศุลกากร เรียกว่า tariff)
เมื่อรอบโดฮาใกล้จะถึงเส้นตายเช่นนี้ คาดกันว่าญี่ปุ่นจะถูกบีบหนักขึ้น ให้เปิดเสรีตลาดสินค้าเกษตรที่ตนให้การปกป้อง ตอนนี้ญี่ปุ่นดื้อแพ่งต่อข้อเสนอสมาชิก WTO หลายประเทศ ที่ให้ตั้งเพดานภาษีศุลกากรการนำเข้าสินค้าเกษตร ที่ 75-100% แต่โตเกียวต้องการตั้งให้สูงกว่านั้น โดยเฉพาะข้าว ซึ่งเป็นประเด็นที่ล่อแหลมทางการเมือง ทั้งนี้เพื่อปกป้องชาวนาที่ละอ่อนต่อการแข่งขัน จากการไหลเข้ามาของข้าวจากต่างประเทศ ที่มีราคาถูกกว่า
นอกจากนั้น ญี่ปุ่นยังต้องการให้ลดจำนวนรายการสินค้าเกษตรอื่น ๆ ออกจากรายการที่ตกลงกันว่าจะลดกำแพงภาษีศุลกากรลง สหรัฐยืนยันจะให้ลดสัดส่วนลงได้ แค่ 1% แต่กลุ่มประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตร ที่เรียกว่ากลุ่ม 10 (G-10) อันประกอบด้วยญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสวิสเซอร์แลนด์ ต้องการให้ลดสัดส่วนลง 10-15%
ขณะที่เอาตีนจิกพื้น เพื่อถ่วงเวลาหาทางปกป้องสินค้าเกษตรของตนนั้น ญี่ปุ่นก็ทดลองกลยุทธใหม่ ๆ เพื่อต่อลมหายใจให้ภาคเกษตรที่ล่อแล่ของตน โดยการส่งออกอาหารไปให้ลูกค้าต่างชาติกิน นายกรัฐมนตรีจุนอิชิโร่ โคอิสุมิ กล่าวปราศรัยในงานอาหารประจำที่ของรัฐบาลที่จัดขึ้นในกรุงโตเกียว เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมานี้ว่า “ญี่ปุ่นควรส่งออกอาหารที่อร่อยและสะอาด แทนที่จะนำเข้า ขอให้เรามาเปลี่ยนทัศนะการเกษตรแบบตั้งรับ มาเป็นส่งออกอาหารญี่ปุ่นไปให้ทั่วโลก” เขาบอกว่าการที่สินค้าส่งออกที่มีคุณภาพสูงของญี่ปุ่น เป็นต้นว่าเนื้อวัว แอ๊ปเปิ้ล สตรอเบอรี่และข้าว เป็นที่นิยมของ “นักบริโภค” ไปทั่วโลก
หาประโยชน์จากอาหารญี่ปุ่น
ความหวังที่จะส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตรของญี่ปุ่นให้สำเร็จได้ มาจากสาเหตุใหญ่คือความนิยมในอาหารญี่ปุ่น ที่ดีต่อสุขภาพและแปลกตาในเวลาเดียวกัน เหตุผลของความนิยมส่วนหนึ่ง ก็มาจากธุรกิจญี่ปุ่นขยายออกไปนอกประเทศ ทำให้ภัตตาคารอาหารญี่ปุ่นในต่างประเทศ ทวีจำนวนมากขึ้น หลายปีมานี้ภัตตาคารเหล่านี้ยังจำกัดอยู่เฉพาะในหมู่ชาวญี่ปุ่นในต่างแดน กระนั้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัทญี่ปุ่นจำต้องหดตัวลง ตามภาวะ “เศรษฐกิจแบบฟองสบู่” ที่แตกออก ภัตตาคารพวกนี้ก็จำเป็นต้องเรียกลูกค้าใหม่ ๆ เข้ามา ทำให้ความนิยมอาหารญี่ปุ่นแพร่หลายออกไปมากขึ้น
น่าขันที่ชาวญี่ปุ่นกินข้าวที่ชาวนาของตนปลูกเองน้อยลง โดยเปลี่ยนนิสัยการกินตามประเพณีนิยมจากอาหารผัก หรือ วาโชกุ เป็นหลัก มาเป็นขนมปัง พาสต้า และอาหารตะวันตกมากขึ้น การศึกษาที่น่าตกใจเมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่า การบริโภคอาหารตะวันตก อาหารขยะ และการขาดการออกกำลังกาย ทำให้เด็กญี่ปุ่นอ้วนฉุกันมาก ตอนนี้รัฐบาลต้องรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงการกินอยู่ที่มีสุขอนามัย ซึ่งรวมถึงงานอาหารที่โคอิสุมิไปร่วมในครั้งนี้ด้วย
ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศนำเข้าอาหารสุทธิที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งเป้าที่จะส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์จากทะเล ให้ได้เป็น 2 เท่า ภายในเวลา 5 ปี ซึ่งจะสิ้นสุดลงในปี 2009 ในปี 2004 ที่มีตัวเลขสมบูรณ์ที่สุด ญี่ปุ่นส่งออกสินค้าดังกล่าว คิดเป็นมูลค่า 300 พันล้านเยน (US$2.6 พันล้านเหรียญ) หรือราว 3% ของสินค้าเหล่านี้ทั้งหมดที่ผลิตได้ เมื่อเทียบกับการนำเข้าสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ทางทะเล ประจำปี ที่มีมูลค่าถึง 7 ล้านล้านเยนแล้ว จะเห็นได้ว่าแคระไปเลย รัฐบาลญี่ปุ่นตั้งเป้าจะส่งออกให้ได้ 600 พันล้านเยนในปี 2009 สินค้าที่น่าประสบผลสำเร็จมากที่สุดคือแอ๊ปเปิ้ล สาลี่ แซลม่อน และหอยเป่าฮื้อ (หอยมือเสือ)
เพื่อส่งออกให้ได้ 2 เท่า รัฐบาลโคอิสุมิได้ตั้งงบ ฯ ส่งเสริมส่งออกสินค้าพวกนี้ ปี 2006 อยู่ที่ 1.253 พันล้านเยน เกือบ 2 เท่าของงบ ฯ ปีก่อนหน้านั้น ซึ่งอยู่ที่ 656 ล้านเยน งบ ฯ ที่เพิ่มมานี้ จะใช้เพื่อศึกษาวิจัยและรณรงค์ส่งเสริมการขาย เป็นอาทิ
ในช่วงหลายปีมานี้ มีกลุ่มท้องถิ่น (คล้าย ๆ ‘หนึ่งผลิตภัณฑ์ฯ’) เพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าเหล่านี้ เกิดขึ้นทั่วประเทศ เช่นที่จังหวัดกุมาโมโต้ ที่ตั้งอยู่ปลายตะวันตกสุดของเกาะกิวชู ชมรมผู้ปลูกผัก ผลไม้และอาหารกระป๋องท้องถิ่น 30 แห่ง จัดตั้งกลุ่มศึกษากุมาโมโต้ เพื่อส่งออกสินค้าเกษตร ป่าไม้และทะเล ขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2004
ทุกวันนี้การส่งออกอาหารของญี่ปุ่น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ทางทะเลและผลไม้เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ การส่งออกผลิตภัณฑ์ทะเลคิดเป็น 40% ของยอดส่งออกสินค้าเกษตรและทะเลของชาติในปี 2004 ที่นำหน้าคือปลาแซลม่อน คือจากปี 2000-2004 เพิ่มขึ้นเกือบ 13 เท่า มูลค่า 8.9 พันล้านเยน หอยเป๋าฮื้อเพิ่มระหว่างนั้น 84% มูลค่า 6.2 พันล้านเยน ส่วนจำพวกผลไม้ ในรอบ 4 ปี แอ๊ปเปิ้ลขึ้นเป็น 482% มูลค่า 2.9 พันล้านเยน สาลี่ขึ้น 77% มูลค่า 700 ล้านเยน ส้ม 105% มูลค่า 500 ล้านเยน และชาเขียวญี่ปุ่น 146% มูลค่า 1.7 พันล้านเยน
หากคิดตามพื้นที่ ในรอบหลายปีมานี้ การส่งออกอาหารไปยังเอเชียตะวันออก (นอกญี่ปุ่น) เฟื่องขึ้นอย่างมาก ขณะที่พลเมืองญี่ปุ่นเริ่มหดตัวมาตั้งแต่ปี 2005 (เร็วขึ้นกว่าที่เคยคาดไว้ 2 ปี) ชาวนาญี่ปุ่นและธุรกิจด้านอาหารเริ่มหันไปมองตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะในเขตที่มีคนชั้นกลาง ที่สามารถซื้อหาอาหารญี่ปุ่นได้ มีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ กว่า 3 ใน 4 ของสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์จากทะเลญี่ปุ่น ปี 2004 ล้วนส่งไปยังเอเชียตะวันออก จีนกับฮ่องกงนำเข้า 37% เกาหลีใต้ 16% และไต้หวัน 13% ในหลายปีมานี้ส่วนแบ่งของจีนยิ่งมากขึ้น คือจาก 2% ในปี 1989 เป็น 17% ในปี 2004 ส่วนฮ่องกงตลอดช่วงดังกล่าวยังเหมือนเดิม คือที่ 20%
เจ้าหน้าที่ในกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และการประมงกล่าวว่า พวกเขาหวังจะขยายตลาดสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์จากทะเลของญี่ปุ่น ในตลาดต่างประเทศ โดยใช้ประโยชน์จากความนิยมอาหารญี่ปุ่น และการยอมรับ “สินค้าจากญี่ปุ่นที่มีรากเหง้าทางเทคโนโลยีและวัฒนธรรมของชาติ” ที่กำลังเฟื่องฟูอยู่ในโลกขณะนี้ด้วย
‘สลัดผัก’ ปัญหาที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ
‘สลัดก๊อป’ ไม่ว่าจะเป็นการ์ตูน ภาพยนตร์ เทปเพลงซีดี และเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นปัญหาหลัก ที่สร้างความปวดหัวให้ภาคธุรกิจ และรัฐบาลญี่ปุ่นมานานแล้ว แต่ไม่มีใครคิดว่า สินค้าเกษตรจะเป็นเป้าหมายของโจรขโมยทรัพย์สินทางปัญญาไปด้วย อย่างไรก็ตาม น่าเศร้าที่การปลูกและขายผลผลิตญี่ปุ่นแบบผิดกฎหมาย กำลังเป็นเรื่องร้ายแรงขึ้นทุกที
ในอันที่จะรักษาระดับราคาผลผลิตทางการเกษตรของญี่ปุ่น ให้ชาวนาญี่ปุ่นสามารถแข่งขันกับเขาได้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนปีนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นจะเริ่มดำเนินมาตรการปราบปรามการลักลอบขายผลิตผลจากญี่ปุ่น ที่ปลูกในประเทศเพื่อนบ้าน โดยจะส่งเสริมให้รัฐบาลในประเทศเพื่อนบ้าน สร้างกลไกเพื่อให้ความคุ้มครองผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรของญี่ปุ่นชนิดต่าง ๆ โดยผ่านการสัมมนา การประชุม และส่งผู้เชี่ยวชาญออกไปร่วม
กฎระเบียบภายใต้กฎหมายกล้าและเมล็ดพันธุ์ของญี่ปุ่น (Seeds and Seedlings Law) ให้ความคุ้มครองสิทธิปัจเจกชนและองค์การ ที่ปลูกพืชชนิดใหม่ โดยห้ามขายหรือนำเข้าพืชพันธุ์ชนิดแปลก ๆ ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ที่ไม่ได้รับอนุญาต แต่ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวิธีการที่จะจัดการกับการขายสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ทางทะเลของญี่ปุ่น ในตลาดต่างประเทศ เพราะไม่มีกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เหมือนสินค้าอุตสาหกรรม และนี่เป็นการเปิดโอกาสให้มีการขโมยสมบัติที่มีค่าของญี่ปุ่นไป อาทิเช่น เกาหลีใต้ปลูกและขายสตรอเบอรี่หลายชนิด ที่เอาพันธุ์ไปจากญี่ปุ่น
เมื่อหลายปีมาแล้ว สินค้าเกษตรญี่ปุ่นเหล่านี้ถูกลักลอบเข้ามาขายในญี่ปุ่น เป็นปริมาณมาก ๆ ในจำนวนนั้นคือถัวยูกิเตโบะ ซึ่งเป็นผลงานการค้นคว้าในจังหวัดโตกาชิ ทางเหนือสุดของเกาะฮอกไกโด สตรอเบอรี่พันธุ์โตชิโอะโตเมะ ที่พัฒนาขึ้นในจังหวัดโตชิกิ ที่อยู่เหนือกรุงโตเกียวขึ้นไป ตอนนี้ ทั้งถั่วยูกิเตโบะกับสตรอเบอรี่โตชิโอะโตเมะ ปลูกในจีนและเกาหลีใต้โดยไม่ได้รับการอนุญาต แล้วมีการนำเข้ามาขายในตลาดญี่ปุ่น
จากการสำรวจของสมาคม Society for Techno-innovation of Agriculture, Forestry and Fisheries เมื่อปี 2002 มีชาวนาและบริษัทที่ทำนา ถึง 30% ที่นำเมล็ดพันธุ์ใหม่ของตัวไปขึ้นทะเบียน ต้องตกเป็นเหยื่อของ ‘สลัดผัก’ พวกนี้ เมื่อการนำเข้าผลผลิตเกษตรเข้ามาขายในตลาดญี่ปุ่น อยู่ในระดับที่น่าตกใจ รัฐบาลจึงแก้ไขกฎหมายกล้าและเมล็ดพันธุ์ ปี 2003 เพื่อเอาโทษผู้ละเมิดให้หนักขึ้น และหาทางสกัดกั้นการนำเข้า สำนักงานยุทธศาสตร์ทรัพย์สินทางปัญญาของรัฐบาล ได้ตัดสินใจเมื่อเดือนมิถุนายน เพื่อทบทวนมาตรการยับยั้ง ‘สลัดผัก’ เหล่านี้ ทั้งเพื่อยุติการนำเข้า และการขายในตลาดโพ้นทะเลอีกด้วย
กระนั้นก็ดี เกมหนูจับแมวระหว่างฝ่ายรักษากฎหมาย และ ‘สลัดผัก’ ยังดำเนินต่อไป ปัญหาพื้นฐานคือเมล็ดพันธุ์ที่มีการคุ้มครองหาได้ง่าย (โดยเฉพาะผักและผลไม้) และขโมยได้ง่าย (การไปตรวจคนที่แอบเอาเมล็ดพันธุ์ใส่ไว้ในกระเป๋าเสื้อ เป็นเรื่องที่เกือบจะเป็นไปไม่ได้)
เมื่อเดือนที่แล้ว รัฐบาลท้องถิ่นในจังหวัดยามากาตะ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น ร้องเรียนเรื่องที่ลูกจ้างชาวออสเตรเลียและญี่ปุ่น ของบริษัทออสเตรเลียแห่งหนึ่ง ละเมิดกฎหมายต้นกล้าและเมล็ดพันธุ์ พวกเขากล่าวหาว่าบริษัทแห่งนี้ แอบลักลอบนำการปลูกเชอร์รี่พันธุ์เบนิชูโฮ กลับไปออสเตรเลีย
การใช้เทคนิคระบุดีเอ็นเอ ช่วยเปิดโปง ‘สลัดผัก’ เหล่านี้หลายคดี เมื่อเดือนมีนาคมปีก่อน สำนักงานอัยการจังหวัดกุมาโมโตะ ใช้การวิเคราะห์หาดีเอ็นเอ ระบุว่ามีการนำพันธุ์ต้นฮิโนมิโดริ หรือกกในสกุลอีกุสะชนิดหนึ่ง ที่ใช้ทอเสื่อตาตามิ ที่จังหวัดนั้นพัฒนาขึ้น ส่งออกไปจีน โดยผิดกฎระเบียบของศุลกากร แต่สำนักงานแห่งนั้นก็ไม่ทราบว่าเทคนิคการปลูกนี้ รั่วไปนอกมากน้อยแค่ไหน
คดีเรื่องฮิโนมิโดรินี้เกิดขึ้นมา 4 ปีแล้ว ทำให้รัฐบาลของทั้ง 2 ประเทศ ชนกันเรื่องการค้ากกอีกุสะมาโดยตลอด ญี่ปุ่นประกาศใช้มาตรการ “คุ้มกัน” การนำเข้า ("safeguard" import restrictions) อันเป็นมาตรการชั่วคราว เป็นครั้งแรกในต้นปี 2001 กับสินค้านำเข้า 3 ชนิดจากจีน คือผักลีคหิน (stone leeks) เห็ดชิอิตาเกะ และกกอีกุสะ ทำให้จีนตอบโต้อย่างรุนแรง โดยเรียกเก็บภาษี 100% จากสินค้าอุตสาหกรรม 3 รายการจากญี่ปุ่น คือรถยนต์ เครื่องปรับอากาศ และโทรศัพท์มือถือ และเมื่อทั้งสองฝ่ายตกลงให้มี “การค้าเป็นปกติ” ในสินค้าทั้ง 3 รายการดังกล่าวแล้ว ญี่ปุ่นยกเลิกการห้ามนำเข้า
ศึกทางการค้าระหว่างประเทศทั้งสองในครั้งนั้น ยุติลงในปลายปี 2001 ก่อนจีนได้เข้าร่วม WTO เล็กน้อย มองกันว่าเป็นชัยชนะของจีน และความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่น มีความวิตกมากขึ้น (โดยเฉพาะในแวดวงอุตสาหกรรม) ว่าหากศึกครั้งนั้นยืดเยื้อไป ตนจะเสียโอกาสขยายตลาดเข้าไปในชน 1.3 พันล้านคนของจีนไป ดังนั้น ‘สลัดผัก’ จากจีนไม่เพียงทำให้ญี่ปุ่นเกิดความวิตกกังวลในเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้นเรื่อย ๆ เท่านั้น หากยังได้หว่านเมล็ดพันธุ์ความขัดแย้งทางการค้าระหว่าง 2 ยักษ์ใหญ่แห่งเอเชีย อย่างเป็นรูปธรรมไปพร้อม ๆ กันด้วย
Hisane Masaki is a Tokyo-based journalist, commentator and scholar on international politics and economics.
เพื่อให้เป็นไปตามนั้น ญี่ปุ่นเพิ่มเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล ให้แก่ผู้ปลูกและนักธุรกิจในพื้นถิ่นในโครงการขยายตลาดและส่งเสริมการส่งออก ญี่ปุ่นยังเร่งรัดความพยายามที่จะขจัดการลักลอบนำเข้าพืชผลจากต่างประเทศ (โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านที่ผลิตได้ในราคาถูก) เข้ามาขาย ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ ให้ปลอดจากระบบการเพาะปลูกโดยเมล็ดพันธุ์ที่พัฒนาโดยตนเอง หากไม่มีการลิดหน่อการลักลอบแบบนี้ ไม่เพียงความมั่งคั่งของชาวนาญี่ปุ่นจะหดลง การส่งเสริมการส่งออกของรัฐบาลก็จะชะงักไปด้วย
ขณะนี้ญี่ปุ่นกำลังเป็นฝ่ายรุก เพื่อการค้าเสรีที่ไม่ใช่การเกษตร เป็นต้นว่า รถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่พอมาถึงสินค้าเกษตรก็ต้องตกเป็นฝ่ายตั้งรับ ปี 2006 จะเป็นปีที่มีความสำคัญต่อระบบการค้าเสรีของโลก แต่การประชุมระดับรัฐมนตรีขององค์การค้าโลก (World Trade Organization) ที่ฮ่องกงเมื่อเดือนก่อน คืบหน้าไปได้น้อยมาก รัฐมนตรีการค้าจาก 149 ประเทศ ยังไม่สามารถตกลงกรอบ ที่จะอำนวยให้เปิดเสรีด้านการค้าและบริการ แต่กระนั้นพวกเขาก็ยังรับปากจะให้มันแล้วเสร็จ ในปลายเดือนเมษายน อันเป็นเส้นตายของปี 2006 ที่จะถึงนี้
ประเด็นที่ยากที่สุดในการประชุมรอบโดฮา* นี้คือสินค้าเกษตร ประเทศสมาชิกยังแตกแยกกันอย่างหนัก เกี่ยวกับมาตรการต่าง ๆ ที่เป็นกำแพงขัดขวางการนำเข้า-ส่งออกที่เสรีของสินค้าประเภทนี้ เป็นต้นว่าการให้การสนับสนุนของรัฐบาลและกำแพงภาษี ที่ประเทศพัฒนาแล้วกำลังใช้อยู่ นอกจากนั้นประเด็นนี้ ก็กำลังจับประเทศสมาชิกที่พัฒนาแล้ว เช่นสหรัฐ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (อียู) ให้ชนกันเองอีกด้วย
(*การประชุมองค์การค้าโลก จะแบ่งออกเป็นรอบ ๆ เปลี่ยนชื่อรอบไปตามเมืองหลวงของประเทศที่ขึ้นรอบใหม่ เช่นการประชุมรอบที่แล้ว คือรอบอุรุกวัย เพื่อสะสางปัญหาว่าด้วยข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreement on Tariffs and Trade) และรอบใหม่ที่จะจบลงในปีนี้ เปิดประชุมครั้งแรกที่กรุงโดฮา เมืองหลวงของประเทศกาตาร์
อนึ่ง ภาษีที่เรียกเก็บจากพลเมือง ไม่ว่าจะเป็นภาษีรายได้หรือภาษีค้า เรียกว่า tax ส่วนที่เรียกเก็บจากการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ หรือภาษีศุลกากร เรียกว่า tariff)
เมื่อรอบโดฮาใกล้จะถึงเส้นตายเช่นนี้ คาดกันว่าญี่ปุ่นจะถูกบีบหนักขึ้น ให้เปิดเสรีตลาดสินค้าเกษตรที่ตนให้การปกป้อง ตอนนี้ญี่ปุ่นดื้อแพ่งต่อข้อเสนอสมาชิก WTO หลายประเทศ ที่ให้ตั้งเพดานภาษีศุลกากรการนำเข้าสินค้าเกษตร ที่ 75-100% แต่โตเกียวต้องการตั้งให้สูงกว่านั้น โดยเฉพาะข้าว ซึ่งเป็นประเด็นที่ล่อแหลมทางการเมือง ทั้งนี้เพื่อปกป้องชาวนาที่ละอ่อนต่อการแข่งขัน จากการไหลเข้ามาของข้าวจากต่างประเทศ ที่มีราคาถูกกว่า
นอกจากนั้น ญี่ปุ่นยังต้องการให้ลดจำนวนรายการสินค้าเกษตรอื่น ๆ ออกจากรายการที่ตกลงกันว่าจะลดกำแพงภาษีศุลกากรลง สหรัฐยืนยันจะให้ลดสัดส่วนลงได้ แค่ 1% แต่กลุ่มประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตร ที่เรียกว่ากลุ่ม 10 (G-10) อันประกอบด้วยญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสวิสเซอร์แลนด์ ต้องการให้ลดสัดส่วนลง 10-15%
ขณะที่เอาตีนจิกพื้น เพื่อถ่วงเวลาหาทางปกป้องสินค้าเกษตรของตนนั้น ญี่ปุ่นก็ทดลองกลยุทธใหม่ ๆ เพื่อต่อลมหายใจให้ภาคเกษตรที่ล่อแล่ของตน โดยการส่งออกอาหารไปให้ลูกค้าต่างชาติกิน นายกรัฐมนตรีจุนอิชิโร่ โคอิสุมิ กล่าวปราศรัยในงานอาหารประจำที่ของรัฐบาลที่จัดขึ้นในกรุงโตเกียว เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมานี้ว่า “ญี่ปุ่นควรส่งออกอาหารที่อร่อยและสะอาด แทนที่จะนำเข้า ขอให้เรามาเปลี่ยนทัศนะการเกษตรแบบตั้งรับ มาเป็นส่งออกอาหารญี่ปุ่นไปให้ทั่วโลก” เขาบอกว่าการที่สินค้าส่งออกที่มีคุณภาพสูงของญี่ปุ่น เป็นต้นว่าเนื้อวัว แอ๊ปเปิ้ล สตรอเบอรี่และข้าว เป็นที่นิยมของ “นักบริโภค” ไปทั่วโลก
หาประโยชน์จากอาหารญี่ปุ่น
ความหวังที่จะส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตรของญี่ปุ่นให้สำเร็จได้ มาจากสาเหตุใหญ่คือความนิยมในอาหารญี่ปุ่น ที่ดีต่อสุขภาพและแปลกตาในเวลาเดียวกัน เหตุผลของความนิยมส่วนหนึ่ง ก็มาจากธุรกิจญี่ปุ่นขยายออกไปนอกประเทศ ทำให้ภัตตาคารอาหารญี่ปุ่นในต่างประเทศ ทวีจำนวนมากขึ้น หลายปีมานี้ภัตตาคารเหล่านี้ยังจำกัดอยู่เฉพาะในหมู่ชาวญี่ปุ่นในต่างแดน กระนั้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัทญี่ปุ่นจำต้องหดตัวลง ตามภาวะ “เศรษฐกิจแบบฟองสบู่” ที่แตกออก ภัตตาคารพวกนี้ก็จำเป็นต้องเรียกลูกค้าใหม่ ๆ เข้ามา ทำให้ความนิยมอาหารญี่ปุ่นแพร่หลายออกไปมากขึ้น
น่าขันที่ชาวญี่ปุ่นกินข้าวที่ชาวนาของตนปลูกเองน้อยลง โดยเปลี่ยนนิสัยการกินตามประเพณีนิยมจากอาหารผัก หรือ วาโชกุ เป็นหลัก มาเป็นขนมปัง พาสต้า และอาหารตะวันตกมากขึ้น การศึกษาที่น่าตกใจเมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่า การบริโภคอาหารตะวันตก อาหารขยะ และการขาดการออกกำลังกาย ทำให้เด็กญี่ปุ่นอ้วนฉุกันมาก ตอนนี้รัฐบาลต้องรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงการกินอยู่ที่มีสุขอนามัย ซึ่งรวมถึงงานอาหารที่โคอิสุมิไปร่วมในครั้งนี้ด้วย
ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศนำเข้าอาหารสุทธิที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งเป้าที่จะส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์จากทะเล ให้ได้เป็น 2 เท่า ภายในเวลา 5 ปี ซึ่งจะสิ้นสุดลงในปี 2009 ในปี 2004 ที่มีตัวเลขสมบูรณ์ที่สุด ญี่ปุ่นส่งออกสินค้าดังกล่าว คิดเป็นมูลค่า 300 พันล้านเยน (US$2.6 พันล้านเหรียญ) หรือราว 3% ของสินค้าเหล่านี้ทั้งหมดที่ผลิตได้ เมื่อเทียบกับการนำเข้าสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ทางทะเล ประจำปี ที่มีมูลค่าถึง 7 ล้านล้านเยนแล้ว จะเห็นได้ว่าแคระไปเลย รัฐบาลญี่ปุ่นตั้งเป้าจะส่งออกให้ได้ 600 พันล้านเยนในปี 2009 สินค้าที่น่าประสบผลสำเร็จมากที่สุดคือแอ๊ปเปิ้ล สาลี่ แซลม่อน และหอยเป่าฮื้อ (หอยมือเสือ)
เพื่อส่งออกให้ได้ 2 เท่า รัฐบาลโคอิสุมิได้ตั้งงบ ฯ ส่งเสริมส่งออกสินค้าพวกนี้ ปี 2006 อยู่ที่ 1.253 พันล้านเยน เกือบ 2 เท่าของงบ ฯ ปีก่อนหน้านั้น ซึ่งอยู่ที่ 656 ล้านเยน งบ ฯ ที่เพิ่มมานี้ จะใช้เพื่อศึกษาวิจัยและรณรงค์ส่งเสริมการขาย เป็นอาทิ
ในช่วงหลายปีมานี้ มีกลุ่มท้องถิ่น (คล้าย ๆ ‘หนึ่งผลิตภัณฑ์ฯ’) เพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าเหล่านี้ เกิดขึ้นทั่วประเทศ เช่นที่จังหวัดกุมาโมโต้ ที่ตั้งอยู่ปลายตะวันตกสุดของเกาะกิวชู ชมรมผู้ปลูกผัก ผลไม้และอาหารกระป๋องท้องถิ่น 30 แห่ง จัดตั้งกลุ่มศึกษากุมาโมโต้ เพื่อส่งออกสินค้าเกษตร ป่าไม้และทะเล ขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2004
ทุกวันนี้การส่งออกอาหารของญี่ปุ่น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ทางทะเลและผลไม้เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ การส่งออกผลิตภัณฑ์ทะเลคิดเป็น 40% ของยอดส่งออกสินค้าเกษตรและทะเลของชาติในปี 2004 ที่นำหน้าคือปลาแซลม่อน คือจากปี 2000-2004 เพิ่มขึ้นเกือบ 13 เท่า มูลค่า 8.9 พันล้านเยน หอยเป๋าฮื้อเพิ่มระหว่างนั้น 84% มูลค่า 6.2 พันล้านเยน ส่วนจำพวกผลไม้ ในรอบ 4 ปี แอ๊ปเปิ้ลขึ้นเป็น 482% มูลค่า 2.9 พันล้านเยน สาลี่ขึ้น 77% มูลค่า 700 ล้านเยน ส้ม 105% มูลค่า 500 ล้านเยน และชาเขียวญี่ปุ่น 146% มูลค่า 1.7 พันล้านเยน
หากคิดตามพื้นที่ ในรอบหลายปีมานี้ การส่งออกอาหารไปยังเอเชียตะวันออก (นอกญี่ปุ่น) เฟื่องขึ้นอย่างมาก ขณะที่พลเมืองญี่ปุ่นเริ่มหดตัวมาตั้งแต่ปี 2005 (เร็วขึ้นกว่าที่เคยคาดไว้ 2 ปี) ชาวนาญี่ปุ่นและธุรกิจด้านอาหารเริ่มหันไปมองตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะในเขตที่มีคนชั้นกลาง ที่สามารถซื้อหาอาหารญี่ปุ่นได้ มีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ กว่า 3 ใน 4 ของสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์จากทะเลญี่ปุ่น ปี 2004 ล้วนส่งไปยังเอเชียตะวันออก จีนกับฮ่องกงนำเข้า 37% เกาหลีใต้ 16% และไต้หวัน 13% ในหลายปีมานี้ส่วนแบ่งของจีนยิ่งมากขึ้น คือจาก 2% ในปี 1989 เป็น 17% ในปี 2004 ส่วนฮ่องกงตลอดช่วงดังกล่าวยังเหมือนเดิม คือที่ 20%
เจ้าหน้าที่ในกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และการประมงกล่าวว่า พวกเขาหวังจะขยายตลาดสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์จากทะเลของญี่ปุ่น ในตลาดต่างประเทศ โดยใช้ประโยชน์จากความนิยมอาหารญี่ปุ่น และการยอมรับ “สินค้าจากญี่ปุ่นที่มีรากเหง้าทางเทคโนโลยีและวัฒนธรรมของชาติ” ที่กำลังเฟื่องฟูอยู่ในโลกขณะนี้ด้วย
‘สลัดผัก’ ปัญหาที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ
‘สลัดก๊อป’ ไม่ว่าจะเป็นการ์ตูน ภาพยนตร์ เทปเพลงซีดี และเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นปัญหาหลัก ที่สร้างความปวดหัวให้ภาคธุรกิจ และรัฐบาลญี่ปุ่นมานานแล้ว แต่ไม่มีใครคิดว่า สินค้าเกษตรจะเป็นเป้าหมายของโจรขโมยทรัพย์สินทางปัญญาไปด้วย อย่างไรก็ตาม น่าเศร้าที่การปลูกและขายผลผลิตญี่ปุ่นแบบผิดกฎหมาย กำลังเป็นเรื่องร้ายแรงขึ้นทุกที
ในอันที่จะรักษาระดับราคาผลผลิตทางการเกษตรของญี่ปุ่น ให้ชาวนาญี่ปุ่นสามารถแข่งขันกับเขาได้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนปีนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นจะเริ่มดำเนินมาตรการปราบปรามการลักลอบขายผลิตผลจากญี่ปุ่น ที่ปลูกในประเทศเพื่อนบ้าน โดยจะส่งเสริมให้รัฐบาลในประเทศเพื่อนบ้าน สร้างกลไกเพื่อให้ความคุ้มครองผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรของญี่ปุ่นชนิดต่าง ๆ โดยผ่านการสัมมนา การประชุม และส่งผู้เชี่ยวชาญออกไปร่วม
กฎระเบียบภายใต้กฎหมายกล้าและเมล็ดพันธุ์ของญี่ปุ่น (Seeds and Seedlings Law) ให้ความคุ้มครองสิทธิปัจเจกชนและองค์การ ที่ปลูกพืชชนิดใหม่ โดยห้ามขายหรือนำเข้าพืชพันธุ์ชนิดแปลก ๆ ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ที่ไม่ได้รับอนุญาต แต่ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวิธีการที่จะจัดการกับการขายสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ทางทะเลของญี่ปุ่น ในตลาดต่างประเทศ เพราะไม่มีกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เหมือนสินค้าอุตสาหกรรม และนี่เป็นการเปิดโอกาสให้มีการขโมยสมบัติที่มีค่าของญี่ปุ่นไป อาทิเช่น เกาหลีใต้ปลูกและขายสตรอเบอรี่หลายชนิด ที่เอาพันธุ์ไปจากญี่ปุ่น
เมื่อหลายปีมาแล้ว สินค้าเกษตรญี่ปุ่นเหล่านี้ถูกลักลอบเข้ามาขายในญี่ปุ่น เป็นปริมาณมาก ๆ ในจำนวนนั้นคือถัวยูกิเตโบะ ซึ่งเป็นผลงานการค้นคว้าในจังหวัดโตกาชิ ทางเหนือสุดของเกาะฮอกไกโด สตรอเบอรี่พันธุ์โตชิโอะโตเมะ ที่พัฒนาขึ้นในจังหวัดโตชิกิ ที่อยู่เหนือกรุงโตเกียวขึ้นไป ตอนนี้ ทั้งถั่วยูกิเตโบะกับสตรอเบอรี่โตชิโอะโตเมะ ปลูกในจีนและเกาหลีใต้โดยไม่ได้รับการอนุญาต แล้วมีการนำเข้ามาขายในตลาดญี่ปุ่น
จากการสำรวจของสมาคม Society for Techno-innovation of Agriculture, Forestry and Fisheries เมื่อปี 2002 มีชาวนาและบริษัทที่ทำนา ถึง 30% ที่นำเมล็ดพันธุ์ใหม่ของตัวไปขึ้นทะเบียน ต้องตกเป็นเหยื่อของ ‘สลัดผัก’ พวกนี้ เมื่อการนำเข้าผลผลิตเกษตรเข้ามาขายในตลาดญี่ปุ่น อยู่ในระดับที่น่าตกใจ รัฐบาลจึงแก้ไขกฎหมายกล้าและเมล็ดพันธุ์ ปี 2003 เพื่อเอาโทษผู้ละเมิดให้หนักขึ้น และหาทางสกัดกั้นการนำเข้า สำนักงานยุทธศาสตร์ทรัพย์สินทางปัญญาของรัฐบาล ได้ตัดสินใจเมื่อเดือนมิถุนายน เพื่อทบทวนมาตรการยับยั้ง ‘สลัดผัก’ เหล่านี้ ทั้งเพื่อยุติการนำเข้า และการขายในตลาดโพ้นทะเลอีกด้วย
กระนั้นก็ดี เกมหนูจับแมวระหว่างฝ่ายรักษากฎหมาย และ ‘สลัดผัก’ ยังดำเนินต่อไป ปัญหาพื้นฐานคือเมล็ดพันธุ์ที่มีการคุ้มครองหาได้ง่าย (โดยเฉพาะผักและผลไม้) และขโมยได้ง่าย (การไปตรวจคนที่แอบเอาเมล็ดพันธุ์ใส่ไว้ในกระเป๋าเสื้อ เป็นเรื่องที่เกือบจะเป็นไปไม่ได้)
เมื่อเดือนที่แล้ว รัฐบาลท้องถิ่นในจังหวัดยามากาตะ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น ร้องเรียนเรื่องที่ลูกจ้างชาวออสเตรเลียและญี่ปุ่น ของบริษัทออสเตรเลียแห่งหนึ่ง ละเมิดกฎหมายต้นกล้าและเมล็ดพันธุ์ พวกเขากล่าวหาว่าบริษัทแห่งนี้ แอบลักลอบนำการปลูกเชอร์รี่พันธุ์เบนิชูโฮ กลับไปออสเตรเลีย
การใช้เทคนิคระบุดีเอ็นเอ ช่วยเปิดโปง ‘สลัดผัก’ เหล่านี้หลายคดี เมื่อเดือนมีนาคมปีก่อน สำนักงานอัยการจังหวัดกุมาโมโตะ ใช้การวิเคราะห์หาดีเอ็นเอ ระบุว่ามีการนำพันธุ์ต้นฮิโนมิโดริ หรือกกในสกุลอีกุสะชนิดหนึ่ง ที่ใช้ทอเสื่อตาตามิ ที่จังหวัดนั้นพัฒนาขึ้น ส่งออกไปจีน โดยผิดกฎระเบียบของศุลกากร แต่สำนักงานแห่งนั้นก็ไม่ทราบว่าเทคนิคการปลูกนี้ รั่วไปนอกมากน้อยแค่ไหน
คดีเรื่องฮิโนมิโดรินี้เกิดขึ้นมา 4 ปีแล้ว ทำให้รัฐบาลของทั้ง 2 ประเทศ ชนกันเรื่องการค้ากกอีกุสะมาโดยตลอด ญี่ปุ่นประกาศใช้มาตรการ “คุ้มกัน” การนำเข้า ("safeguard" import restrictions) อันเป็นมาตรการชั่วคราว เป็นครั้งแรกในต้นปี 2001 กับสินค้านำเข้า 3 ชนิดจากจีน คือผักลีคหิน (stone leeks) เห็ดชิอิตาเกะ และกกอีกุสะ ทำให้จีนตอบโต้อย่างรุนแรง โดยเรียกเก็บภาษี 100% จากสินค้าอุตสาหกรรม 3 รายการจากญี่ปุ่น คือรถยนต์ เครื่องปรับอากาศ และโทรศัพท์มือถือ และเมื่อทั้งสองฝ่ายตกลงให้มี “การค้าเป็นปกติ” ในสินค้าทั้ง 3 รายการดังกล่าวแล้ว ญี่ปุ่นยกเลิกการห้ามนำเข้า
ศึกทางการค้าระหว่างประเทศทั้งสองในครั้งนั้น ยุติลงในปลายปี 2001 ก่อนจีนได้เข้าร่วม WTO เล็กน้อย มองกันว่าเป็นชัยชนะของจีน และความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่น มีความวิตกมากขึ้น (โดยเฉพาะในแวดวงอุตสาหกรรม) ว่าหากศึกครั้งนั้นยืดเยื้อไป ตนจะเสียโอกาสขยายตลาดเข้าไปในชน 1.3 พันล้านคนของจีนไป ดังนั้น ‘สลัดผัก’ จากจีนไม่เพียงทำให้ญี่ปุ่นเกิดความวิตกกังวลในเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้นเรื่อย ๆ เท่านั้น หากยังได้หว่านเมล็ดพันธุ์ความขัดแย้งทางการค้าระหว่าง 2 ยักษ์ใหญ่แห่งเอเชีย อย่างเป็นรูปธรรมไปพร้อม ๆ กันด้วย
Hisane Masaki is a Tokyo-based journalist, commentator and scholar on international politics and economics.