เอเอฟพี – ชาวอาเจะห์ประเทศอินโดนีเซีย ต้องปั่นป่วนกันอีกครั้ง เมื่อหลายคนต่างอพยพหนีตายขณะเกิดเหตุแผ่นดินไหววัดความรุนแรงได้ 5.6 ริกเตอร์ ขณะที่ญี่ปุ่นก็โดนไปเหมือนกันเมื่อต้องประสบกับธรณีพิโรธที่แรงถึง 5.7 ริกเตอร์
เหตุแผ่นดินไหวระดับกลางในเช้าวันนี้ (31) เกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 9.29 น.ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งตรงกับเวลาประเทศไทย ในเมืองบันดาอาเจะห์ จังหวัดอาเจะห์ บนเกาะสุมาตรา โดยศูนย์กลางของแผ่นดินไหวอยู่ใต้ทะเลลึกลงไปประมาณ 33 กิโลเมตร ห่างจากเมืองบันดาอาเจะห์มาทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 150 กิโลเมตร
แรงสั่นสะเทือนทำให้ประชาชนจำนวนมากวิ่งหนีออกมาจากบ้านเรือน ส่วนผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้กับทะเลต่างวิ่งขึ้นที่สูง เนื่องจากเกรงว่าอาจจะเกิดคลื่นยักษ์ถล่มเช่นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคมปีที่แล้วได้อีก อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานความเสียหายและผู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บแต่อย่างใด
ขณะที่ในประเทศญี่ปุ่นได้เกิดแผ่นดินไหวเช่นกัน โดยวัดความรุนแรงได้ 5.7 ริกเตอร์ บริเวณทางใต้ของประเทศ ซึ่งเหตุในครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 11.04 น.ตามเวลาท้องถิ่น หรือประมาณ 09.04 น.ตามเวลาประเทศไทย
สำนักงานอุตุนิยมวิทยารายงานว่าศูนย์กลางแผ่นดินไหวของญี่ปุ่นอยู่ลึกลงไปในทะเลแปซิฟิกประมาณ 30 กิโลเมตร ทางด้านเขตมิยาซากิที่ห่างจากกรุงโตเกียวมาทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 900 กิโลเมตร ซึ่งในเบื้องต้นยังไม่มีรายงานว่าจะเกิดคลื่นยักษ์แต่อย่างใด
เหตุแผ่นดินไหวระดับกลางในเช้าวันนี้ (31) เกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 9.29 น.ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งตรงกับเวลาประเทศไทย ในเมืองบันดาอาเจะห์ จังหวัดอาเจะห์ บนเกาะสุมาตรา โดยศูนย์กลางของแผ่นดินไหวอยู่ใต้ทะเลลึกลงไปประมาณ 33 กิโลเมตร ห่างจากเมืองบันดาอาเจะห์มาทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 150 กิโลเมตร
แรงสั่นสะเทือนทำให้ประชาชนจำนวนมากวิ่งหนีออกมาจากบ้านเรือน ส่วนผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้กับทะเลต่างวิ่งขึ้นที่สูง เนื่องจากเกรงว่าอาจจะเกิดคลื่นยักษ์ถล่มเช่นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคมปีที่แล้วได้อีก อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานความเสียหายและผู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บแต่อย่างใด
ขณะที่ในประเทศญี่ปุ่นได้เกิดแผ่นดินไหวเช่นกัน โดยวัดความรุนแรงได้ 5.7 ริกเตอร์ บริเวณทางใต้ของประเทศ ซึ่งเหตุในครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 11.04 น.ตามเวลาท้องถิ่น หรือประมาณ 09.04 น.ตามเวลาประเทศไทย
สำนักงานอุตุนิยมวิทยารายงานว่าศูนย์กลางแผ่นดินไหวของญี่ปุ่นอยู่ลึกลงไปในทะเลแปซิฟิกประมาณ 30 กิโลเมตร ทางด้านเขตมิยาซากิที่ห่างจากกรุงโตเกียวมาทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 900 กิโลเมตร ซึ่งในเบื้องต้นยังไม่มีรายงานว่าจะเกิดคลื่นยักษ์แต่อย่างใด