ด้านการเมือง: ประเทศไทยกับอิรักสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 24พฤษภาคม 1956 ทั้งสองฝ่ายต่างมีสถานเอกอัครราชทูตประจำที่กรุงแบกแดดและกรุงเทพฯ ไทยและอิรักมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน โดยไม่เคยมีข้อขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกันโดยตรง ในระหว่างวิกฤตการณ์ในอ่าวเปอร์เซีย ไทยก็ได้ดำเนินความสัมพันธ์กับอิรักต่อไปด้วยความละมุนละม่อม ซึ่งอิรักได้แสดงความขอบคุณท่าทีดังกล่าวของไทย และแสดงความประสงค์ที่จะดำเนินความสัมพันธ์ฉันท์มิตรกับไทยต่อไปภายหลังสงคราม
ด้านเศรษฐกิจและการค้า: การค้ารวมในรอบปี 2541-2545 ไทยกับอิรักมีมูลค่าการค้ารวมเฉลี่ยปีละ 137.90 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยในปี 2545 สองฝ่ายมีมูลค่าการค้ารวม 135.89 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับในปี 2546 ทั้งสองฝ่ายมีมูลค่าการค้ารวมกัน 135.09 ล้านเหรียญสหรัฐ
แรงงานไทยในอิรัก: ก่อนวิกฤตการณ์ในอ่าวเปอร์เซีย มีคนงานไทยทำงานอยู่ในอิรักประมาณ 6,000 คน โดยทำงานในด้านการก่อสร้างถนน สะพาน โรงพยาบาล และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ปัจจุบันไม่มีแรงงานไทยทำงานอยู่ในอิรัก แต่ยังคงมีคนไทยอยู่ในอิรักโดยส่วนใหญ่เป็นนักศึกษา นอกจากนี้ ก็ข้าราชการและครอบครัว ลูกจ้าง รวมถึงหญิงไทยที่สมรสกับชาวอิรัก และเจ้าหน้าที่สหประชาชาติ
ข้อตกลงและความร่วมมือ
ไทยกับอิรักได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างกันเมื่อเดือนสิงหาคม 1975 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์
มีการลงนามความตกลงทางการค้าระหว่างกันเมื่อปี 1984 และได้แลกเปลี่ยนตราสาร ระหว่างกันเมื่อ 10 มีนาคม 1986 ความตกลงดังกล่าวได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมเศรษฐกิจและการค้าไทย-อิรักขึ้น และได้มีการประชุมร่วมครั้งแรก ระหว่างวันที่ 29-30 พฤศจิกายน 1988 ณ กรุงแบกแดด สำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย-อิรัก ครั้งที่ 2 อิรักได้เป็นเจ้าภาพจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2000 โดยฝ่ายไทยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ผลการประชุมสามารถหาข้อยุติในสารัตถะของประเด็นการค้า การเงินและด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ฝ่ายไทยได้ขอให้อิรักพิจารณาเพิ่มสัดส่วนการนำเข้าข้าวจากไทย ซึ่งฝ่ายอิรักยินดีที่จะรับพิจารณาเพิ่มจำนวนการนำเข้าข้าวจากไทยเป็นอันดับแรก และด้านน้ำมัน ประเทศไทยได้รับการจัดสรรน้ำมันจำนวน 4,000,000 บาร์เรลต่อ 6 เดือน ภายใต้โครงการอาหารแลกน้ำมัน (Oil for Food) โดยเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม 2000 ทำให้ประเทศไทยสามารถประหยัดงบประมาณได้จำนวนมาก หากต้องจัดซื้อน้ำมันดิบชนิดเดียวกันจากแหล่งอื่น ในการนี้ ไทยได้เรียกร้องให้อิรักพิจารณาขยายจำนวนที่จัดสรรให้ไทยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอิรักยินดีที่จะพิจารณาข้อเรียกร้องนี้ นอกจากนั้น ในระหว่างการประชุมฝ่ายอิรักได้แสดงความสนใจที่จะซื้อข้าว น้ำตาลทราย ชา ผงซักฟอก เกลือ แบตเตอรี เครื่องจักร อาหารสำเร็จรูป ยางและเวชภัณฑ์ ยางรถยนต์ อะไหล่รถยนต์ และน้ำมันพืชจากประเทศไทย และได้เสนอขายสินค้า เช่น ปุ๋ย อินทผลัม และผลิตภัณฑ์น้ำมันแก่ประเทศไทยด้วย
เมื่อวันที่ 9 – 10 มีนาคม 2002 กระทรวงพาณิชย์ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย-อิรัก ครั้งที่ 3 ที่กรุงเทพฯ โดยมีนายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานร่วมกับนาย มุฮัมหมัด มะห์ดี ซอและห์ รัฐมนตรีกระทรวงการค้าอิรัก ที่ประชุมได้หารือแลกเปลี่ยนความเห็นเพื่อส่งเสริมและขยายลู่ทางการค้าระหว่างกันภายใต้โครงการอาหารแลกน้ำมัน
ความช่วยเหลือ
หลังสิ้นสุดสงครามอ่าวเปอร์เซีย อิรักประสบปัญหาขาดแคลนอาหารและยา และมีโรคระบาดอย่างรุนแรง อันสืบเนื่องมาจากมาตรการคว่ำบาตรของสหประชาชาติ อิรักจึงได้ร้องขอความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจากมิตรประเทศรวมทั้งไทย ซึ่งรัฐบาลไทยได้ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่อิรัก ดังนี้
บริจาคเงินสดจำนวน 2,000 เหรียญสหรัฐฯ ผ่านโครงการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่อิรักของสหประชาชาติ (UN Inter Agency Plan of Action for Humanitarian Assistance to Iraq)
บริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์ (ชุดให้เลือด 10,000 ชุด และชุดให้น้ำเกลือ 43,100 ชุด) มูลค่า 500,000 บาท
สภากาชาดไทยยังได้บริจาคยาจำนวนหนึ่งแก่สภาซีกวงเดือนแดงอิรักด้วยเมื่อเดือน พฤษภาคม 2536
ปี 1994 มอบยารักษาโรค (tenormin) มูลค่า 200,000 บาท
ปี 1996 มอบยาและเวชภัณฑ์มูลค่า 500,000 บาท
ปี 2004 ไทยส่งทหารไปอยู่ในเมืองกัรบาลาอ์ 443 คน เพื่อปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรมและฟื้นฟูประเทศ ซึ่งเดินทางกลับมากหมดแล้วเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2004
ด้านเศรษฐกิจและการค้า: การค้ารวมในรอบปี 2541-2545 ไทยกับอิรักมีมูลค่าการค้ารวมเฉลี่ยปีละ 137.90 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยในปี 2545 สองฝ่ายมีมูลค่าการค้ารวม 135.89 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับในปี 2546 ทั้งสองฝ่ายมีมูลค่าการค้ารวมกัน 135.09 ล้านเหรียญสหรัฐ
แรงงานไทยในอิรัก: ก่อนวิกฤตการณ์ในอ่าวเปอร์เซีย มีคนงานไทยทำงานอยู่ในอิรักประมาณ 6,000 คน โดยทำงานในด้านการก่อสร้างถนน สะพาน โรงพยาบาล และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ปัจจุบันไม่มีแรงงานไทยทำงานอยู่ในอิรัก แต่ยังคงมีคนไทยอยู่ในอิรักโดยส่วนใหญ่เป็นนักศึกษา นอกจากนี้ ก็ข้าราชการและครอบครัว ลูกจ้าง รวมถึงหญิงไทยที่สมรสกับชาวอิรัก และเจ้าหน้าที่สหประชาชาติ
ข้อตกลงและความร่วมมือ
ไทยกับอิรักได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างกันเมื่อเดือนสิงหาคม 1975 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์
มีการลงนามความตกลงทางการค้าระหว่างกันเมื่อปี 1984 และได้แลกเปลี่ยนตราสาร ระหว่างกันเมื่อ 10 มีนาคม 1986 ความตกลงดังกล่าวได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมเศรษฐกิจและการค้าไทย-อิรักขึ้น และได้มีการประชุมร่วมครั้งแรก ระหว่างวันที่ 29-30 พฤศจิกายน 1988 ณ กรุงแบกแดด สำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย-อิรัก ครั้งที่ 2 อิรักได้เป็นเจ้าภาพจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2000 โดยฝ่ายไทยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ผลการประชุมสามารถหาข้อยุติในสารัตถะของประเด็นการค้า การเงินและด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ฝ่ายไทยได้ขอให้อิรักพิจารณาเพิ่มสัดส่วนการนำเข้าข้าวจากไทย ซึ่งฝ่ายอิรักยินดีที่จะรับพิจารณาเพิ่มจำนวนการนำเข้าข้าวจากไทยเป็นอันดับแรก และด้านน้ำมัน ประเทศไทยได้รับการจัดสรรน้ำมันจำนวน 4,000,000 บาร์เรลต่อ 6 เดือน ภายใต้โครงการอาหารแลกน้ำมัน (Oil for Food) โดยเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม 2000 ทำให้ประเทศไทยสามารถประหยัดงบประมาณได้จำนวนมาก หากต้องจัดซื้อน้ำมันดิบชนิดเดียวกันจากแหล่งอื่น ในการนี้ ไทยได้เรียกร้องให้อิรักพิจารณาขยายจำนวนที่จัดสรรให้ไทยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอิรักยินดีที่จะพิจารณาข้อเรียกร้องนี้ นอกจากนั้น ในระหว่างการประชุมฝ่ายอิรักได้แสดงความสนใจที่จะซื้อข้าว น้ำตาลทราย ชา ผงซักฟอก เกลือ แบตเตอรี เครื่องจักร อาหารสำเร็จรูป ยางและเวชภัณฑ์ ยางรถยนต์ อะไหล่รถยนต์ และน้ำมันพืชจากประเทศไทย และได้เสนอขายสินค้า เช่น ปุ๋ย อินทผลัม และผลิตภัณฑ์น้ำมันแก่ประเทศไทยด้วย
เมื่อวันที่ 9 – 10 มีนาคม 2002 กระทรวงพาณิชย์ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย-อิรัก ครั้งที่ 3 ที่กรุงเทพฯ โดยมีนายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานร่วมกับนาย มุฮัมหมัด มะห์ดี ซอและห์ รัฐมนตรีกระทรวงการค้าอิรัก ที่ประชุมได้หารือแลกเปลี่ยนความเห็นเพื่อส่งเสริมและขยายลู่ทางการค้าระหว่างกันภายใต้โครงการอาหารแลกน้ำมัน
ความช่วยเหลือ
หลังสิ้นสุดสงครามอ่าวเปอร์เซีย อิรักประสบปัญหาขาดแคลนอาหารและยา และมีโรคระบาดอย่างรุนแรง อันสืบเนื่องมาจากมาตรการคว่ำบาตรของสหประชาชาติ อิรักจึงได้ร้องขอความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจากมิตรประเทศรวมทั้งไทย ซึ่งรัฐบาลไทยได้ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่อิรัก ดังนี้
บริจาคเงินสดจำนวน 2,000 เหรียญสหรัฐฯ ผ่านโครงการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่อิรักของสหประชาชาติ (UN Inter Agency Plan of Action for Humanitarian Assistance to Iraq)
บริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์ (ชุดให้เลือด 10,000 ชุด และชุดให้น้ำเกลือ 43,100 ชุด) มูลค่า 500,000 บาท
สภากาชาดไทยยังได้บริจาคยาจำนวนหนึ่งแก่สภาซีกวงเดือนแดงอิรักด้วยเมื่อเดือน พฤษภาคม 2536
ปี 1994 มอบยารักษาโรค (tenormin) มูลค่า 200,000 บาท
ปี 1996 มอบยาและเวชภัณฑ์มูลค่า 500,000 บาท
ปี 2004 ไทยส่งทหารไปอยู่ในเมืองกัรบาลาอ์ 443 คน เพื่อปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรมและฟื้นฟูประเทศ ซึ่งเดินทางกลับมากหมดแล้วเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2004