จาการ์ต้า - เมื่อวันจันทร์ มีชาวอินโดนีเซียไปร้องตะโกนประท้วง อยู่หน้าสถานทูตมาเลเซีย ในกรุงจาการต้า ชูคำขวัญ ยืนยันกรรมสิทธิ์ของชาติ เหนือท้องทะเล ที่มีการพิพาทกันอยู่ นอกชายฝั่งระหว่างรัฐซาบาห์ ของมาเลเซีย กับจังหวัดกลิมันตัน ตะวันออกของตน นับเป็นกรณีพิพาทดินแดนครั้งแรก ประเดิมการเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดีสุสิโล บัมบัง ยุทโธโยโน่ เมื่อเดือนตุลาคม ที่แล้ว
ก่อนหน้านี้ อินโดนีเซียส่งเครื่องบินไอพ่น ประจัญบานแบบเอฟ-16 สี่ลำ และเรือรบอีก 3 ลำ เข้าไปเสริมกองเรือรบ 4 ลำ ที่ประจำการอยู่ในน่านน้ำ นอกชายฝั่งเกาะบอร์เนียว ที่อุดมไปด้วยบ่อน้ำมันดิบอยู่แล้วนั้น ข้างฝ่ายราชนาวีมาเลเซีย ก็ส่งเรือรบ 2 ลำ เข้าไปในบริเวณดังกล่าว โหมกระพือความตึงเครียด ให้มากขึ้น แม้รัฐบาลทั้งสองฝ่าย ยังคงยืนกรานว่า สามารถแก้ไขกันได้ ด้วยการทูต แต่การระดมกำลังรบเข้าไป ก็เป็นเรื่องที่น่ากังวลไม่น้อย
หลังจากเมื่อวันอาทิตย์ ประธานาธิบดียุทโธโยโน่ ไปนั่งเป็นประธานการประชุม ครม. พล.อ.อ. ด์โจโก สุยันโต เสนาธิการทหารอากาศ รายงานว่า การเพิ่มทหารเข้าไป “ไม่ใช่มุ่งเพื่อยั่วยุ” แต่เรือที่ส่งออกไปนั้น เป็นการเพิ่มอำนาจการลาดตระเวน เพื่อปกป้องอำนาจอธิปไตยทางทะเล ของประเทศ
การระดมกำลังทหารเข้าไปที่จุดนั้น เกิดจากรายงานข่าว เมื่อวันพฤหัสบดี ก่อนหน้านี้ว่า เรือรบหลวงบีชคราฟ ของมาเลเซีย ส่งเครื่องบินบินล่วงน่านฟ้าในทะเลสุลาเวสี นับเป็นครั้งที่ 5 ในรอบ 2 สัปดาห์มานี้ จากปากคำของ น.อ. มาร์เซตีโอ ผู้บัญชาการกองกำลังนาวิกโยธินเฉพาะกิจ ประจำกองบัญชาการกองเรือตะวันออก ของกองทัพเรืออินโดนีเซีย “เครื่องบินลำนั้น บินเข้ามาเฉี่ยวเรือรบของเรา ที่แล่นอยู่ใกล้กับเกาะอัมบาลัต ถ้าดูจากแผนที่ และกะเอาด้วยสายตา ก็อยู่ลึกเข้ามาในอาณาเขตของเรา ถึง 3 ไมล์ด้วยกัน”
เมื่อเช้าวันจันทร์ ประธานาธิบดียุทโธโยโน่ ได้สนทนาทางโทรศัพท์ กับนายกรัฐมนตรี อับดุลลาห์ บาดาวี แห่งมาเลเซียว่า (ตอนนั้น ยุทโธโยโน่กำลังอยู่ที่ท่าอากาศยานทหาร ฮาลิม เปอร์ดานากุสุมา ในกรุงจาการ์ต้า เพื่อเดินทางไปเยือนเกาะเซบาติก ใต้เกาะอัมบาลัตลงมา อันเป็นจุดที่เกิดกรณีพิพาทขึ้น) ทั้งสองตกลงกันว่า จะให้ รมต.ต่างประเทศของตน พบกันที่กรุงจาการ์ต้า ในวันพุธนี้ เพื่อสางปัญหา ที่อาจจะปะทุได้นี้ในระยะยาว
เซบาติก เป็นเกาะเล็ก ๆ ตั้งอยู่ติดกับเส้นแบ่งพรมแดนทางบก ระหว่างรัฐซาบาห์ ของมาเลเซีย กับจังหวัดกลิมันตัน ตะวันออก ของอินโดนีเซีย ทางตะวันออก เป็นเกาะสิปาดัน และเกาะลิกิตัน ซึ่งมาเลเซียต่อสู้อยู่หลายปี จนกระทั่งศาลโลก ได้สั่งให้อินโดนีเซียมอบเกาะทั้งสองนี้ ให้มาเลเซีย ในปี 2002
การที่ประธานาธิบดียุทโธโยโน่ ไปเยือนเกาะเซบาติก (ผู้ร่วมเดินทางไปด้วย ก็มี วิโดโด เอ เอส อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประสานงานด้านความมั่นคง กฎหมาย และการเมือง, เปอร์โนโม ยุสกีอันโตโร รัฐมนตรีพลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติ, ฟาห์มี ไอดรีส รัฐมนตรีกำลังงาน และการโยกย้ายประชากร, สุดี สิลาลาฮี เลขาธิการ ครม. และพล.อ. เอ็นดรีอาร์โตโน สุตาร์โต ผบ.สส. คนปัจจุบัน) นั้น แอนดี มัลลารังเกง โฆษกประธานาธิบดีแถลงว่า เพื่อให้ได้รายงานตรงจากที่เกิดเหตุ
ประธานาธิบดียุทโธโยโน่ บอกกับสถานีวิทยุท้องถิ่นแห่งหนึ่งว่า การเยือนครั้งนี้ เขาตกลงกับนายก ฯ มาเลเซียว่า จะลดความตึงเครียดลง “พวกเราหวังจะแก้ปัญหานี้ทางการทูต เพื่อหาข้อยุติที่เป็นธรรม ต่ออำนาจและอธิปไตยของอินโดนีเซีย”
การให้สัมปทานขุดน้ำมัน คือสาเหตุแห่งการแตกร้าว
เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์นี้ บริษัทเปโตรนาส รัฐวิสาหกิจน้ำมันของมาเลเซีย ได้ให้สิทธิสัมปทานขุดเจาะหาน้ำมัน ในเขตสัมปทาน 2 แปลง ในเขตอัมบาลัต ที่ยังเป็นความกันอยู่ แก่บริษัทขุดเจาะน้ำมันของตน และบริษัทรอยัล ดัช/เชลล์ (แองโกล-ดัช) ยักษ์ใหญ่แห่งวงการน้ำมันโลก อย่างไรก็ตาม อินโดนีเซีย ได้มอบสิทธิประทานบัตรนี้ แก่บริษัทยูโนแคล ยักษ์ใหญ่ในโลกน้ำมันของสหรัฐ ไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน ศกก่อน ให้ดูดก๊าซธรรมชาติ (แอลเอ็นจี) ในเขตน้ำลึกในเขตนี้ขึ้นมาใช้
รัฐบาลอินโดนีเซีย ได้ออกมาเตือนบริษัทรอยัล ดัช/แชลล์ ไม่ให้เข้ามายุ่งเกี่ยวในเขตสัมปทานของตน อารีฟ ฮาวาส โออีโกรเซโน ผู้อำนวยการ ว่าด้วยข้อตกลงด้านการเมือง ความมั่นคง และอาณาเขต ประจำกระทรวงต่างประเทศอินโดนีเซีย บอกกับสื่อท้องถิ่นว่า กระทรวงได้ส่งหนังสือ เตือนไปยังบริษัทเชลล์ในมาเลเซีย กับเนเธอร์แลนด์ (ดัช) แล้ว ว่า “น่านน้ำรอบ ๆ เกาะสิปาดัน กับเกาะลิกิตัน เป็นอาณาเขตของเรา เราถือว่าการมอบประทานบัตร เป็นการละเมิดอำนาจอธิปไตยของเราโดยตรง”
เขาย้ำว่า “เราเตือนบริษัทเชลล์ไปแล้ว อย่าได้ล้ำน่านน้ำเรา” แต่เมื่อถามถึง การตัดสินของศาลโลก ที่ให้มาเลเซียเป็นเจ้าของเกาะทั้งสองนี้ อีโอโกรเซโนก็กล่าวว่า ศาลไม่ได้ระบุว่า การที่มอบอำนาจอธิปไตยเหนือ 2 เกาะนี้ แก่มาเลเซีย จะเกี่ยวข้องโตยตรง กับการกำหนดเขตไหล่ทวีป ซึ่งเขาย้ำว่า “โดยสรุปก็คือ น่านน้ำโดยรอบ ยังเป็นของอินโดนีเซียอยู่”
ฝ่ายมาเลเซียถือว่า น่านน้ำรอบ ๆ เกาะทั้ง 2 เป็นของตน แต่ฝ่ายอินโดนีเซียบอกว่า น่านน้ำมาเลเซีย บน 2 เกาะนั้น มีรัศมียื่นออกไปโดยรอบ ในทะเลเพียง 19 กิโลเมตรเท่านั้น การอ้างสิทธิของมาเลเซีย จึงผิดพลาด เพราะมาเลเซียยกเอาแผนที่ ที่ตนเองปรับปรุงใหม่ ในปี 1979 ขึ้นมาอ้าง แผนที่ใหม่ของมาเลเซียฉบับนี้ ไม่มีรัฐบาลในอาเซียนประเทศไหนรับรอง รวมทั้งรัฐบาลอินโดนีเซียด้วย
นายก ฯ บาดาวี เรียกหาการทูต
หลังจากโทรศัพท์ คุยกับประธานาธิบดียุทโธโยโน่แล้ว นายก ฯ บาดาวีกล่าวว่า เขาหวังจะแก้ปัญหานี้ โดยยึดหลัก “ความสัมพันธ์ฉันท์มิตร” และเสริมว่า “ต้องขจัดเหตุไม่พึงประสงค์ ที่เป็นอันตรายต่อความสัมพันธ์ ระหว่างกันออกไป โดยใช้การหารือทางการทูตเป็นหลัก” แต่ที่กรุงจาการ์ต้า สภานิติบัญญัติ อินโดนีเซีย เตรียมใช้มาตรการรุนแรง โดยอากุง ลักโซโน่ ประธานสภาผู้แทน ฯ ได้ออกมาเรียกร้องให้ใช้มาตรการเด็ดขาด รวมทั้งมาตรการทางทหาร ในการ “แก้” ปัญหานี้ ในกรณีที่จำเป็น
“เราจะสนับสนุนการใช้มาตรการนั้น หากประชาชนจะให้การสนับสนุน” ลักโซโน่กล่าว และเสริมว่า แปลงสัมปทานอัมบาลัต อยู่ในเขตแดนของอินโดนีเซียอย่างแน่นอน ไม่มีปัญหา
อีกด้านหนึ่ง ธีโอ ซัมบวนก้า ประธานคณะกรรมการ 1 ว่าด้วยกิจการทางการเมือง และความมั่นคง แห่งอินโดนีเซีย ได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาล เรียกทูตของตนกลับจากมาเลเซีย ขณะที่มีชาวอินโดนีเซีย พากันไปประท้วงอยู่ที่หน้าสถานทูตมาเลเซีย ในกรุงจาการ์ต้าดังกล่าว
ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ชาติมุสลิม ในเอเชียอาคเนย์นี้ ต้องเผชิญการทดสอบ ที่หนักหน่วงมาแล้ว คือมาเลเซียตัดสินใจ กวาดล้างแรงงานผิดกฎหมายในประเทศ ที่คาดว่าจะมีจำนวนกว่า 1 ล้านคน ในจำนวนนั้น 400,000 คน เป็นชาวอินโดนีเซีย การดำเนินการกวาดล้างที่รุนแรง อาทิเช่นการล้อมจับ การโบยตีด้วยแส้ และการเนรเทศคนงาน ถูกประณามจากองค์การสิทธิมนุษยชน และรัฐบาลต่าง ๆ ที่คนของตนถูกเนรเทศ อย่างรุนแรงเรื่อยมา
ถึงแม้ขณะนี้ มาเลเซียต้องการใช้แรงงานอินโดนีเซีย โดยเฉพาะ กรรมกรก่อสร้าง แต่ก็ต้องการให้แรงงานเหล่านี้ อยู่อย่างถูกกฎหมาย ขณะนี้ บนเกาะเซบาติก มีแรงงานอินโดนีเซียจำนวนมาก (ที่มาเลเซีย ผ่อนปรน โดยให้นิรโทษกรรมข้อหาแรงงานเถื่อน แต่นิรโทษกรรมหมดอายุไป เมื่อสัปดาห์ก่อน) พากันหนีไปชุมนุมกันอยู่เป็นจำนวนมาก บนเกาะแห่งนี้ ทหารจากทั้งสองประเทศ มีป้อมค่าย ตั้งประจันหน้ากันอยู่
อินโดนีเซียเบ่งกล้าม
อับดุล ราซัก บากินด้า นักวิเคราะห์ประจำศูนย์วิจัยทางยุทธศาสตร์ แห่งมาเลเซีย บอกกับสำนักข่าวรอยเตอร์ เกี่ยวกับกรณีพิพาทด้านพรมแดนกับอินโดนีเซียครั้งนี้ว่า “แต่ก่อนนี้ อินโดนีเซียเป็นพี่ใหญ่ในย่านนี้ แต่หลังจากสิ้นยุคซูฮาร์โต้ ก็ไม่เหมือนเดิมอีก เรื่องนี้ (กรณีพิพาท) จึงได้โอกาสผลุดขึ้น”
ขณะเดียวกัน นาจิบ อับดุล ราซัก รองนายก ฯ มาเลเซีย ก็แสดงความเห็นของตนว่า “ผมคิดว่าท่านประธานาธิบดีคนใหม่ กำลังเบ่งกล้าม”
แนวคิดนี้อาจจะขัดกับท่าทีของอินโดนีเซีย ที่ว่า ตนพร้อมที่จะแก้ไขข้อพิพาททางการทูต
เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว มาร์ตี นาตาเลกาวา โฆษกกระทรวงต่างประเทศอินโดนีเซีย กล่าวว่ารัฐบาลตน “พร้อมที่จะ ใช้ทุกวิถีทาง เพื่อแสดงท่าทีของเราเหนือเกาะอัมบาลัต” แต่จะไปนำเรื่องนี้ขึ้นสู่ศาลที่กรุงเฮก (ศาลโลก) “นี่ไม่ใช่ธุระของเรา” แต่ก็ย้ำว่า รัฐบาลพร้อมที่จะใช้วิถีทางการทูต
แม้แต่ตัวประธานาธิบดียุทโธโยโน่เอง ก็ย้ำว่า “เราต้องการแก้ไขเรื่องนี้ โดยสมบัติผู้ดี ... มันควรจะแก้ไขได้ โดยไม่ตกลงไปสู่บ่วงแห่งการเผชิญหน้า โดยเฉพาะทางการทหารเสียก่อน”
กระนั้นก็ดี รัฐบาลอินโดนีเซีย ย่อมไม่ใช่ฝ่ายแรกที่จะถอย หากเจตนารมณ์ของ 2 ผู้นำ และช่องทางเจรจาระดับสูงอื่น ๆ ล้มเหลว ไม่สามารถนำมาซึ่งการประนีประนอมได้ หนทางดีที่สุด ก็คือนำเรื่องนี้ กลับไปตัดสินในศาลโลก อีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะในขณะที่ มีความรู้สึกชาตินิยมในบางฝ่ายในรัฐสภาอินโดนีเซีย กระทั่งมีความรู้สึกต่อต้านมาเลเซีย แพร่สะพัดอยู่บนถนน ในกรุงจาการ์ต้า อย่างเช่นที่เป็นอยู่นี้
อามีน ราอีส อดีตประธานสภาที่ปรึกษาประชาชน แห่งอินโดนีเซีย ได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาล ต่อสู้เพื่อเกาะอัมบาลัตต่อไป “หากรัฐบาลอ่อนแอ และใจอ่อน พวกเขา (มาเลเซีย) ก็จะหันกลับมากดดันเรา ดังนั้น ตอนนี้ลูกบอลมาอยู่ในแดนเราแล้ว” ราอีสให้สัมภาษณ์เรื่องนี้ มาจากมากัสสาร์ (มักกะสัน) ในเกาะสุลาเวสีใต้ อันเป็นเมืองที่มีการจัดตั้ง “แนวร่วมป่นกระดูกมาเลเซีย” เล็ก ๆ ขึ้นมาปกป้องผลประโยชน์ของชาติ และน่าที่จะทำให้ความตึงเครียด ยังคงอยู่ต่อไป
เห็นชัดว่า กองทัพอินโดนีเซีย พร้อมที่จะกลับคืนสู่แนวรบ ซึ่งการณ์นี้ ยังไม่น่าจะพัฒนาไปเป็นการทูตแบบเรือปืน ที่อาจจะเกิดยิงกันขึ้น ด้วยอารมณ์ชั่ววูบได้ เมื่อวันจันทร์ น.อ. อับดุล มาลิก ยูซุฟ โฆษกกองทัพเรือกล่าวว่า “เราจะไม่ยอมสูญเสียดินแดนของเรา แม้แต่นิ้วเดียว หรือน้ำทะเล แม้แต่หยดเดียว ให้ตกไปอยู่ในกำมือ ของพวกต่างชาติ”
Bill Guerin, a Jakarta correspondent for Asia Times Online since 2000, has worked in Indonesia for 19 years in journalism and editorial positions. He has been published by the BBC on East Timor and specializes in business/economic and political analysis in Indonesia.
ก่อนหน้านี้ อินโดนีเซียส่งเครื่องบินไอพ่น ประจัญบานแบบเอฟ-16 สี่ลำ และเรือรบอีก 3 ลำ เข้าไปเสริมกองเรือรบ 4 ลำ ที่ประจำการอยู่ในน่านน้ำ นอกชายฝั่งเกาะบอร์เนียว ที่อุดมไปด้วยบ่อน้ำมันดิบอยู่แล้วนั้น ข้างฝ่ายราชนาวีมาเลเซีย ก็ส่งเรือรบ 2 ลำ เข้าไปในบริเวณดังกล่าว โหมกระพือความตึงเครียด ให้มากขึ้น แม้รัฐบาลทั้งสองฝ่าย ยังคงยืนกรานว่า สามารถแก้ไขกันได้ ด้วยการทูต แต่การระดมกำลังรบเข้าไป ก็เป็นเรื่องที่น่ากังวลไม่น้อย
หลังจากเมื่อวันอาทิตย์ ประธานาธิบดียุทโธโยโน่ ไปนั่งเป็นประธานการประชุม ครม. พล.อ.อ. ด์โจโก สุยันโต เสนาธิการทหารอากาศ รายงานว่า การเพิ่มทหารเข้าไป “ไม่ใช่มุ่งเพื่อยั่วยุ” แต่เรือที่ส่งออกไปนั้น เป็นการเพิ่มอำนาจการลาดตระเวน เพื่อปกป้องอำนาจอธิปไตยทางทะเล ของประเทศ
การระดมกำลังทหารเข้าไปที่จุดนั้น เกิดจากรายงานข่าว เมื่อวันพฤหัสบดี ก่อนหน้านี้ว่า เรือรบหลวงบีชคราฟ ของมาเลเซีย ส่งเครื่องบินบินล่วงน่านฟ้าในทะเลสุลาเวสี นับเป็นครั้งที่ 5 ในรอบ 2 สัปดาห์มานี้ จากปากคำของ น.อ. มาร์เซตีโอ ผู้บัญชาการกองกำลังนาวิกโยธินเฉพาะกิจ ประจำกองบัญชาการกองเรือตะวันออก ของกองทัพเรืออินโดนีเซีย “เครื่องบินลำนั้น บินเข้ามาเฉี่ยวเรือรบของเรา ที่แล่นอยู่ใกล้กับเกาะอัมบาลัต ถ้าดูจากแผนที่ และกะเอาด้วยสายตา ก็อยู่ลึกเข้ามาในอาณาเขตของเรา ถึง 3 ไมล์ด้วยกัน”
เมื่อเช้าวันจันทร์ ประธานาธิบดียุทโธโยโน่ ได้สนทนาทางโทรศัพท์ กับนายกรัฐมนตรี อับดุลลาห์ บาดาวี แห่งมาเลเซียว่า (ตอนนั้น ยุทโธโยโน่กำลังอยู่ที่ท่าอากาศยานทหาร ฮาลิม เปอร์ดานากุสุมา ในกรุงจาการ์ต้า เพื่อเดินทางไปเยือนเกาะเซบาติก ใต้เกาะอัมบาลัตลงมา อันเป็นจุดที่เกิดกรณีพิพาทขึ้น) ทั้งสองตกลงกันว่า จะให้ รมต.ต่างประเทศของตน พบกันที่กรุงจาการ์ต้า ในวันพุธนี้ เพื่อสางปัญหา ที่อาจจะปะทุได้นี้ในระยะยาว
เซบาติก เป็นเกาะเล็ก ๆ ตั้งอยู่ติดกับเส้นแบ่งพรมแดนทางบก ระหว่างรัฐซาบาห์ ของมาเลเซีย กับจังหวัดกลิมันตัน ตะวันออก ของอินโดนีเซีย ทางตะวันออก เป็นเกาะสิปาดัน และเกาะลิกิตัน ซึ่งมาเลเซียต่อสู้อยู่หลายปี จนกระทั่งศาลโลก ได้สั่งให้อินโดนีเซียมอบเกาะทั้งสองนี้ ให้มาเลเซีย ในปี 2002
การที่ประธานาธิบดียุทโธโยโน่ ไปเยือนเกาะเซบาติก (ผู้ร่วมเดินทางไปด้วย ก็มี วิโดโด เอ เอส อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประสานงานด้านความมั่นคง กฎหมาย และการเมือง, เปอร์โนโม ยุสกีอันโตโร รัฐมนตรีพลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติ, ฟาห์มี ไอดรีส รัฐมนตรีกำลังงาน และการโยกย้ายประชากร, สุดี สิลาลาฮี เลขาธิการ ครม. และพล.อ. เอ็นดรีอาร์โตโน สุตาร์โต ผบ.สส. คนปัจจุบัน) นั้น แอนดี มัลลารังเกง โฆษกประธานาธิบดีแถลงว่า เพื่อให้ได้รายงานตรงจากที่เกิดเหตุ
ประธานาธิบดียุทโธโยโน่ บอกกับสถานีวิทยุท้องถิ่นแห่งหนึ่งว่า การเยือนครั้งนี้ เขาตกลงกับนายก ฯ มาเลเซียว่า จะลดความตึงเครียดลง “พวกเราหวังจะแก้ปัญหานี้ทางการทูต เพื่อหาข้อยุติที่เป็นธรรม ต่ออำนาจและอธิปไตยของอินโดนีเซีย”
การให้สัมปทานขุดน้ำมัน คือสาเหตุแห่งการแตกร้าว
เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์นี้ บริษัทเปโตรนาส รัฐวิสาหกิจน้ำมันของมาเลเซีย ได้ให้สิทธิสัมปทานขุดเจาะหาน้ำมัน ในเขตสัมปทาน 2 แปลง ในเขตอัมบาลัต ที่ยังเป็นความกันอยู่ แก่บริษัทขุดเจาะน้ำมันของตน และบริษัทรอยัล ดัช/เชลล์ (แองโกล-ดัช) ยักษ์ใหญ่แห่งวงการน้ำมันโลก อย่างไรก็ตาม อินโดนีเซีย ได้มอบสิทธิประทานบัตรนี้ แก่บริษัทยูโนแคล ยักษ์ใหญ่ในโลกน้ำมันของสหรัฐ ไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน ศกก่อน ให้ดูดก๊าซธรรมชาติ (แอลเอ็นจี) ในเขตน้ำลึกในเขตนี้ขึ้นมาใช้
รัฐบาลอินโดนีเซีย ได้ออกมาเตือนบริษัทรอยัล ดัช/แชลล์ ไม่ให้เข้ามายุ่งเกี่ยวในเขตสัมปทานของตน อารีฟ ฮาวาส โออีโกรเซโน ผู้อำนวยการ ว่าด้วยข้อตกลงด้านการเมือง ความมั่นคง และอาณาเขต ประจำกระทรวงต่างประเทศอินโดนีเซีย บอกกับสื่อท้องถิ่นว่า กระทรวงได้ส่งหนังสือ เตือนไปยังบริษัทเชลล์ในมาเลเซีย กับเนเธอร์แลนด์ (ดัช) แล้ว ว่า “น่านน้ำรอบ ๆ เกาะสิปาดัน กับเกาะลิกิตัน เป็นอาณาเขตของเรา เราถือว่าการมอบประทานบัตร เป็นการละเมิดอำนาจอธิปไตยของเราโดยตรง”
เขาย้ำว่า “เราเตือนบริษัทเชลล์ไปแล้ว อย่าได้ล้ำน่านน้ำเรา” แต่เมื่อถามถึง การตัดสินของศาลโลก ที่ให้มาเลเซียเป็นเจ้าของเกาะทั้งสองนี้ อีโอโกรเซโนก็กล่าวว่า ศาลไม่ได้ระบุว่า การที่มอบอำนาจอธิปไตยเหนือ 2 เกาะนี้ แก่มาเลเซีย จะเกี่ยวข้องโตยตรง กับการกำหนดเขตไหล่ทวีป ซึ่งเขาย้ำว่า “โดยสรุปก็คือ น่านน้ำโดยรอบ ยังเป็นของอินโดนีเซียอยู่”
ฝ่ายมาเลเซียถือว่า น่านน้ำรอบ ๆ เกาะทั้ง 2 เป็นของตน แต่ฝ่ายอินโดนีเซียบอกว่า น่านน้ำมาเลเซีย บน 2 เกาะนั้น มีรัศมียื่นออกไปโดยรอบ ในทะเลเพียง 19 กิโลเมตรเท่านั้น การอ้างสิทธิของมาเลเซีย จึงผิดพลาด เพราะมาเลเซียยกเอาแผนที่ ที่ตนเองปรับปรุงใหม่ ในปี 1979 ขึ้นมาอ้าง แผนที่ใหม่ของมาเลเซียฉบับนี้ ไม่มีรัฐบาลในอาเซียนประเทศไหนรับรอง รวมทั้งรัฐบาลอินโดนีเซียด้วย
นายก ฯ บาดาวี เรียกหาการทูต
หลังจากโทรศัพท์ คุยกับประธานาธิบดียุทโธโยโน่แล้ว นายก ฯ บาดาวีกล่าวว่า เขาหวังจะแก้ปัญหานี้ โดยยึดหลัก “ความสัมพันธ์ฉันท์มิตร” และเสริมว่า “ต้องขจัดเหตุไม่พึงประสงค์ ที่เป็นอันตรายต่อความสัมพันธ์ ระหว่างกันออกไป โดยใช้การหารือทางการทูตเป็นหลัก” แต่ที่กรุงจาการ์ต้า สภานิติบัญญัติ อินโดนีเซีย เตรียมใช้มาตรการรุนแรง โดยอากุง ลักโซโน่ ประธานสภาผู้แทน ฯ ได้ออกมาเรียกร้องให้ใช้มาตรการเด็ดขาด รวมทั้งมาตรการทางทหาร ในการ “แก้” ปัญหานี้ ในกรณีที่จำเป็น
“เราจะสนับสนุนการใช้มาตรการนั้น หากประชาชนจะให้การสนับสนุน” ลักโซโน่กล่าว และเสริมว่า แปลงสัมปทานอัมบาลัต อยู่ในเขตแดนของอินโดนีเซียอย่างแน่นอน ไม่มีปัญหา
อีกด้านหนึ่ง ธีโอ ซัมบวนก้า ประธานคณะกรรมการ 1 ว่าด้วยกิจการทางการเมือง และความมั่นคง แห่งอินโดนีเซีย ได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาล เรียกทูตของตนกลับจากมาเลเซีย ขณะที่มีชาวอินโดนีเซีย พากันไปประท้วงอยู่ที่หน้าสถานทูตมาเลเซีย ในกรุงจาการ์ต้าดังกล่าว
ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ชาติมุสลิม ในเอเชียอาคเนย์นี้ ต้องเผชิญการทดสอบ ที่หนักหน่วงมาแล้ว คือมาเลเซียตัดสินใจ กวาดล้างแรงงานผิดกฎหมายในประเทศ ที่คาดว่าจะมีจำนวนกว่า 1 ล้านคน ในจำนวนนั้น 400,000 คน เป็นชาวอินโดนีเซีย การดำเนินการกวาดล้างที่รุนแรง อาทิเช่นการล้อมจับ การโบยตีด้วยแส้ และการเนรเทศคนงาน ถูกประณามจากองค์การสิทธิมนุษยชน และรัฐบาลต่าง ๆ ที่คนของตนถูกเนรเทศ อย่างรุนแรงเรื่อยมา
ถึงแม้ขณะนี้ มาเลเซียต้องการใช้แรงงานอินโดนีเซีย โดยเฉพาะ กรรมกรก่อสร้าง แต่ก็ต้องการให้แรงงานเหล่านี้ อยู่อย่างถูกกฎหมาย ขณะนี้ บนเกาะเซบาติก มีแรงงานอินโดนีเซียจำนวนมาก (ที่มาเลเซีย ผ่อนปรน โดยให้นิรโทษกรรมข้อหาแรงงานเถื่อน แต่นิรโทษกรรมหมดอายุไป เมื่อสัปดาห์ก่อน) พากันหนีไปชุมนุมกันอยู่เป็นจำนวนมาก บนเกาะแห่งนี้ ทหารจากทั้งสองประเทศ มีป้อมค่าย ตั้งประจันหน้ากันอยู่
อินโดนีเซียเบ่งกล้าม
อับดุล ราซัก บากินด้า นักวิเคราะห์ประจำศูนย์วิจัยทางยุทธศาสตร์ แห่งมาเลเซีย บอกกับสำนักข่าวรอยเตอร์ เกี่ยวกับกรณีพิพาทด้านพรมแดนกับอินโดนีเซียครั้งนี้ว่า “แต่ก่อนนี้ อินโดนีเซียเป็นพี่ใหญ่ในย่านนี้ แต่หลังจากสิ้นยุคซูฮาร์โต้ ก็ไม่เหมือนเดิมอีก เรื่องนี้ (กรณีพิพาท) จึงได้โอกาสผลุดขึ้น”
ขณะเดียวกัน นาจิบ อับดุล ราซัก รองนายก ฯ มาเลเซีย ก็แสดงความเห็นของตนว่า “ผมคิดว่าท่านประธานาธิบดีคนใหม่ กำลังเบ่งกล้าม”
แนวคิดนี้อาจจะขัดกับท่าทีของอินโดนีเซีย ที่ว่า ตนพร้อมที่จะแก้ไขข้อพิพาททางการทูต
เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว มาร์ตี นาตาเลกาวา โฆษกกระทรวงต่างประเทศอินโดนีเซีย กล่าวว่ารัฐบาลตน “พร้อมที่จะ ใช้ทุกวิถีทาง เพื่อแสดงท่าทีของเราเหนือเกาะอัมบาลัต” แต่จะไปนำเรื่องนี้ขึ้นสู่ศาลที่กรุงเฮก (ศาลโลก) “นี่ไม่ใช่ธุระของเรา” แต่ก็ย้ำว่า รัฐบาลพร้อมที่จะใช้วิถีทางการทูต
แม้แต่ตัวประธานาธิบดียุทโธโยโน่เอง ก็ย้ำว่า “เราต้องการแก้ไขเรื่องนี้ โดยสมบัติผู้ดี ... มันควรจะแก้ไขได้ โดยไม่ตกลงไปสู่บ่วงแห่งการเผชิญหน้า โดยเฉพาะทางการทหารเสียก่อน”
กระนั้นก็ดี รัฐบาลอินโดนีเซีย ย่อมไม่ใช่ฝ่ายแรกที่จะถอย หากเจตนารมณ์ของ 2 ผู้นำ และช่องทางเจรจาระดับสูงอื่น ๆ ล้มเหลว ไม่สามารถนำมาซึ่งการประนีประนอมได้ หนทางดีที่สุด ก็คือนำเรื่องนี้ กลับไปตัดสินในศาลโลก อีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะในขณะที่ มีความรู้สึกชาตินิยมในบางฝ่ายในรัฐสภาอินโดนีเซีย กระทั่งมีความรู้สึกต่อต้านมาเลเซีย แพร่สะพัดอยู่บนถนน ในกรุงจาการ์ต้า อย่างเช่นที่เป็นอยู่นี้
อามีน ราอีส อดีตประธานสภาที่ปรึกษาประชาชน แห่งอินโดนีเซีย ได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาล ต่อสู้เพื่อเกาะอัมบาลัตต่อไป “หากรัฐบาลอ่อนแอ และใจอ่อน พวกเขา (มาเลเซีย) ก็จะหันกลับมากดดันเรา ดังนั้น ตอนนี้ลูกบอลมาอยู่ในแดนเราแล้ว” ราอีสให้สัมภาษณ์เรื่องนี้ มาจากมากัสสาร์ (มักกะสัน) ในเกาะสุลาเวสีใต้ อันเป็นเมืองที่มีการจัดตั้ง “แนวร่วมป่นกระดูกมาเลเซีย” เล็ก ๆ ขึ้นมาปกป้องผลประโยชน์ของชาติ และน่าที่จะทำให้ความตึงเครียด ยังคงอยู่ต่อไป
เห็นชัดว่า กองทัพอินโดนีเซีย พร้อมที่จะกลับคืนสู่แนวรบ ซึ่งการณ์นี้ ยังไม่น่าจะพัฒนาไปเป็นการทูตแบบเรือปืน ที่อาจจะเกิดยิงกันขึ้น ด้วยอารมณ์ชั่ววูบได้ เมื่อวันจันทร์ น.อ. อับดุล มาลิก ยูซุฟ โฆษกกองทัพเรือกล่าวว่า “เราจะไม่ยอมสูญเสียดินแดนของเรา แม้แต่นิ้วเดียว หรือน้ำทะเล แม้แต่หยดเดียว ให้ตกไปอยู่ในกำมือ ของพวกต่างชาติ”
Bill Guerin, a Jakarta correspondent for Asia Times Online since 2000, has worked in Indonesia for 19 years in journalism and editorial positions. He has been published by the BBC on East Timor and specializes in business/economic and political analysis in Indonesia.