วอชิงตัน – นักวิจัยกลุ่มหนึ่งชี้ว่า อุตสาหกรรมผลิตฝ้ายในเอเชียกลาง ที่ป้อนสินค้าให้กลุ่มยักษ์ใหญ่ผลิตผลการเกษตรของโลก ยังคงใช้เทคโนโลยีและวิธีการปลูกแบบสมัยกลาง อุตสาหกรรมนี้กำลังอยู่ในภาวะย่ำแย่ ก่อให้เกิดมลภาวะ และกดขี่ขูดรีดประชาชนอย่างหนัก
“เมื่ออุตสาหกรรมนี้ ไม่มีการปรับปรุงโครงสร้าง มันจึงช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ แก้ปัญหาความยากจนไม่ได้ กลายเป็นบ่อเกิดความยากจนข้นแค้น อันนำมาซึ่งปัญหาทางการเมืองในย่านนี้” ทั้งนี้จากรายงานขององค์การกลุ่มวิกฤตการณ์ระหว่างประเทศ (ไอซีจี)
ไอซีจีได้ออกมาเตือน กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ธนาคารโลก และธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ว่าหากพวกเขาไม่เข้าไปช่วยยกเครื่องอุตสาหกรรมนี้ ก็จะเกิดความไม่สงบในสังคมขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุซเบกิสถาน ทาจิกิสถาน และเติร์กมินิสถาน รายงานที่ชื่อ “ฝ้ายต้องสาป : การปลูกพืชเชิงเดี่ยวในเอเชียกลาง” ยังประณามบทบาทด้านลบของบริษัทยักษ์ใหญ่ในตะวันตกอีกด้วย
ฝ้ายเป็นผลิตผลที่มีบริษัทในยุโรปและสหรัฐ ผูกขาดการค้าขายในโลก กล่าวคือ เงินทุนปลูกฝ้าย มาจากธนาคารในตะวันตก และผลผลิตที่ได้ก็นำไปป้อนให้อุตสาหกรรมทอผ้าในตะวันตก เฉพาะผู้ลงทุนขนาดใหญ่ เช่น บริษัทคาร์กิล คอตตอน ยูเค ปีหนึ่ง ๆ ซื้อฝ้ายจากอุซเบกีสถาน เป็นมูลค่าถึง US$50-60 ล้านเหรียญ
“เศรษฐกิจการฝ้ายของเอเชียกลางนั้น ทำกันแบบง่าย ๆ และเต็มไปด้วยการกดขี่ขูดรีด คนจนนับล้าน ๆ ในชนบท ปลูกและเก็บฝ้ายโดยได้ค่าเหนื่อยแต่เพียงเล็กน้อย บางรายก็ไม่ได้อะไรเลย ผลกำไรส่วนใหญ่เข้ารัฐ หรือไม่ก็เข้าพกเข้าห่อกลุ่มหัวกะทิ ที่มีเส้นสายทางการเมือง การใช้แรงงานเด็ก และการต้มยำทำแกงต่าง ๆ พบเห็นกันได้ทั่วไป” รายงานชิ้นนี้กล่าว และเสริมว่า ที่ระบบแบบนี้ดำรงอยู่ได้ ก็ด้วยการกดขี่ทางการเมือง คือต้องเกณฑ์คนจำนวนมาก มาทำงาน ด้วยค่าจ้างแรงงาน ที่ต่ำกว่าที่เขาจ้างกันตามตลาดในปกติ
ไอซีจีระบุว่า อุซเบกิสถานและเติร์กเมนิสถาน เป็นรัฐบาลที่กดขี่ปราบปรามประชาชนมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ไม่มีการเลือกตั้งเสรี พวกฝ่ายค้านกับนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน จะถูกปราบปรามเป็นประจำ อุตสาหกรรมนี้อยู่ได้ด้วยการระดมแรงงานราคาถูก รวมทั้งเด็กนักเรียน อาทิเช่นในอุซเบกิสถาน เด็กนักเรียนต้องหยุดเรียน เพื่อมาเก็บฝ้าย ปีละ 2 เดือน ในทาจิกิสถานกับเติร์กเมนิสถาน ก็มีการใช้แรงงานเด็กอย่างมาก รายงานชิ้นนี้ระบุว่า เด็กนักเรียนใน 3 ประเทศนี้ต้องหยุดเรียนมาเก็บฝ้าย “ไม่มีการดูแลสภาพการทำงานของเด็ก ๆ มากนัก มีเด็กเจ็บป่วย กระทั่งตายไปทุก ๆ ปี”
ไอซีจีเรียกร้องให้ชุมชนโลก ใช้มาตรการลงโทษเจ้าหน้าที่ ในอุซเบกิสถาน ทาจิกีสถาน และเติร์กเมนีสถาน ที่ยังเอาหูไปนา เอาตาไปไร่เรื่องการใช้แรงงานเด็ก ทางกลุ่มยังเรียกร้อง ให้มีการยกระดับราคาผลผลิตฝ้ายดิบ ในตลาดโลก เพื่อให้ช่วยบรรเทาความยากจน และเพิ่มแรงจูงใจ ให้เกษตรกรมากขึ้น นอกจากนี้ ก็ยังเรียกร้องสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ให้ลดการให้เงินสนับสนุน อุตสาหกรรมการปลูกฝ้ายในประเทศของตนลง กระทั่งค่อย ๆ ยกเลิกไปในที่สุดด้วย
รายงานชิ้นนี้ ยังเรียกร้องให้สถาบันการเงินต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ออกทุน (กระทั่ง เป็นเจ้ากี้เจ้าการ) วางนโยบายเศรษฐกิจ ที่มีผลต่อชีวิตคนนับล้าน ๆ ให้ระมัดระวัง รับฟังข้อมูล “ภาคสนาม” เกี่ยวกับสภาพการณ์ ที่เกิดขึ้นในชุมชนต่าง ๆ เพื่อปรับแผนทางธุรกิจของตน
แต่เมอร์เรล ทั๊ก โฆษกผู้หนึ่งธนาคารโลกออกมากล่าวว่า ธนาคารก็ทำเช่นนั้นอยู่แล้ว “ธนาคารโลกเห็นด้วยว่า การปลูกฝ้ายในอุซเบกิสถาน ทาจิกิสถาน และเติร์กเมนิสถาน ต้องได้รับการปรับปรุง” และชี้ว่า ตั้งแต่เริ่มทศวรรษที่ 1990s อุซเบกิสถาน ผลิตฝ้ายได้ลดลง 20 เปอร์เซ็นต์ และส่งออกลดลง 30 เปอร์เซ็นต์
สำหรับพวกเจ้าหน้าที่เหล่านั้น ทางธนาคารเห็นว่า จะจัดการเรื่องนี้ได้ต้องใช้เจตนารมณ์ทางการเมืองในท้องถิ่นมาสนับสนุน โจเซฟ โกลเบิร์ก ผู้จัดการฝ่ายปรับโครงสร้าง ภาคพื้นยุโรปและเอเชียกลางของธนาคารโลก กล่าวว่า “เป็นเพราะกลุ่มอาชญากรเห็นแก่ได้ ที่มีมาตั้งแต่ยุคโซเวียตนั่นเอง ทำให้สถานการณ์ต่าง ๆ เลวร้ายลง” และว่าธนาคารกำลังเข้าไปช่วยปรับปรุงอุตสาหกรรมนี้ โดยส่งเสริมให้มีการแปรที่ดินให้เป็นกรรมสิทธิ์เอกชนอยู่
สำหรับในทาจิกิสถาน ซึ่งธนาคารระบุว่า สถานการณ์แย่ที่สุดในตอนนี้ ทางธนาคารได้ผลักดันโครงการที่จะแปรรูปนารวมขนาดใหญ่ 10 แห่ง (จาก 200 แห่ง ที่ใช้ปลูกฝ้าย) ให้เป็นของเอกชน โกลเบิร์กกล่าวว่า “หากโครงการนี้สำเร็จ เราจะนำแบบอย่างนี้ไปใช้ทั่วประเทศ แต่นี่จะต้องมีการต่อสู้ทางการเมืองมาเสริมด้วยลำพังตัวเอง เราทำอย่างนั้นไม่ได้”
รายงานชิ้นนี้ของไอซีจี ยังเรียกร้องให้ผู้ค้าฝ้ายระหว่างประเทศ ให้ใช้ความพิถีพิถันเกี่ยวกับคนกลาง และเกษตรกรผู้ผลิต คือควรยุติการทำธุรกิจ กับผู้ที่ใช้วิธีเอารัดเอาเปรียบ และกดขี่ต่าง ๆ โดยระบุว่า “อุตสาหกรรมฝ้าย ยังคงเป็นแบบเก่าและปิดลับ เราต้องตัดไฟแต่หัวลม ก่อนที่สาธารณชนจะทนไม่ได้ ... เรื่องการบังคับใช้แรงงาน เป็นประเด็นที่สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้า ให้กับผู้บริโภคในตะวันตกไม่หยุดหย่อน และปัญหาที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมฝ้ายนี้ นับวันจะมากขึ้นเรื่อย ๆ”
อย่างไรก็ตาม เชี่ยวชาญของธนาคารหลายคน ไม่รู้สึกว่าบริษัทผลิตสินค้าสำเร็จรูปในตะวันตก จะได้รับความกระทบกระเทือนจากเรื่องนี้นัก โกลเบิร์กกล่าวว่า “อย่างไรเสีย ในยุโรป ฝ้ายก็ยังขายได้อยู่ดี ไม่มีใครสนใจว่า มันจะมาจากไหน ด้วยวิธีใดดอก ถ้าคนนี้ไม่ซื้อ คนโน้นก็ซื้ออยู่ดี”
กระนั้นก็ดี โกลเบิร์กก็เห็นด้วยกับแนวคิดที่ บริษัทผู้ผลิตสินค้าสำเร็จรูป จะมีป้ายบอกที่มาของฝ้ายดิบที่ใช้ “บางที ผมอาจจะดูเบาพลังของฝ่ายผู้บริโภคไปก็เป็นได้ หากคุณอยากจะให้มีการแข่งขัน ระหว่างฝ้ายมนุษยธรรม สู้กับฝ้ายกดขี่ เอารัดเอาเปรียบ (ผักปลอดสาร vs ผักสารพิษ) บางที มันก็อาจจะได้ผลก็ได้”
“เมื่ออุตสาหกรรมนี้ ไม่มีการปรับปรุงโครงสร้าง มันจึงช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ แก้ปัญหาความยากจนไม่ได้ กลายเป็นบ่อเกิดความยากจนข้นแค้น อันนำมาซึ่งปัญหาทางการเมืองในย่านนี้” ทั้งนี้จากรายงานขององค์การกลุ่มวิกฤตการณ์ระหว่างประเทศ (ไอซีจี)
ไอซีจีได้ออกมาเตือน กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ธนาคารโลก และธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ว่าหากพวกเขาไม่เข้าไปช่วยยกเครื่องอุตสาหกรรมนี้ ก็จะเกิดความไม่สงบในสังคมขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุซเบกิสถาน ทาจิกิสถาน และเติร์กมินิสถาน รายงานที่ชื่อ “ฝ้ายต้องสาป : การปลูกพืชเชิงเดี่ยวในเอเชียกลาง” ยังประณามบทบาทด้านลบของบริษัทยักษ์ใหญ่ในตะวันตกอีกด้วย
ฝ้ายเป็นผลิตผลที่มีบริษัทในยุโรปและสหรัฐ ผูกขาดการค้าขายในโลก กล่าวคือ เงินทุนปลูกฝ้าย มาจากธนาคารในตะวันตก และผลผลิตที่ได้ก็นำไปป้อนให้อุตสาหกรรมทอผ้าในตะวันตก เฉพาะผู้ลงทุนขนาดใหญ่ เช่น บริษัทคาร์กิล คอตตอน ยูเค ปีหนึ่ง ๆ ซื้อฝ้ายจากอุซเบกีสถาน เป็นมูลค่าถึง US$50-60 ล้านเหรียญ
“เศรษฐกิจการฝ้ายของเอเชียกลางนั้น ทำกันแบบง่าย ๆ และเต็มไปด้วยการกดขี่ขูดรีด คนจนนับล้าน ๆ ในชนบท ปลูกและเก็บฝ้ายโดยได้ค่าเหนื่อยแต่เพียงเล็กน้อย บางรายก็ไม่ได้อะไรเลย ผลกำไรส่วนใหญ่เข้ารัฐ หรือไม่ก็เข้าพกเข้าห่อกลุ่มหัวกะทิ ที่มีเส้นสายทางการเมือง การใช้แรงงานเด็ก และการต้มยำทำแกงต่าง ๆ พบเห็นกันได้ทั่วไป” รายงานชิ้นนี้กล่าว และเสริมว่า ที่ระบบแบบนี้ดำรงอยู่ได้ ก็ด้วยการกดขี่ทางการเมือง คือต้องเกณฑ์คนจำนวนมาก มาทำงาน ด้วยค่าจ้างแรงงาน ที่ต่ำกว่าที่เขาจ้างกันตามตลาดในปกติ
ไอซีจีระบุว่า อุซเบกิสถานและเติร์กเมนิสถาน เป็นรัฐบาลที่กดขี่ปราบปรามประชาชนมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ไม่มีการเลือกตั้งเสรี พวกฝ่ายค้านกับนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน จะถูกปราบปรามเป็นประจำ อุตสาหกรรมนี้อยู่ได้ด้วยการระดมแรงงานราคาถูก รวมทั้งเด็กนักเรียน อาทิเช่นในอุซเบกิสถาน เด็กนักเรียนต้องหยุดเรียน เพื่อมาเก็บฝ้าย ปีละ 2 เดือน ในทาจิกิสถานกับเติร์กเมนิสถาน ก็มีการใช้แรงงานเด็กอย่างมาก รายงานชิ้นนี้ระบุว่า เด็กนักเรียนใน 3 ประเทศนี้ต้องหยุดเรียนมาเก็บฝ้าย “ไม่มีการดูแลสภาพการทำงานของเด็ก ๆ มากนัก มีเด็กเจ็บป่วย กระทั่งตายไปทุก ๆ ปี”
ไอซีจีเรียกร้องให้ชุมชนโลก ใช้มาตรการลงโทษเจ้าหน้าที่ ในอุซเบกิสถาน ทาจิกีสถาน และเติร์กเมนีสถาน ที่ยังเอาหูไปนา เอาตาไปไร่เรื่องการใช้แรงงานเด็ก ทางกลุ่มยังเรียกร้อง ให้มีการยกระดับราคาผลผลิตฝ้ายดิบ ในตลาดโลก เพื่อให้ช่วยบรรเทาความยากจน และเพิ่มแรงจูงใจ ให้เกษตรกรมากขึ้น นอกจากนี้ ก็ยังเรียกร้องสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ให้ลดการให้เงินสนับสนุน อุตสาหกรรมการปลูกฝ้ายในประเทศของตนลง กระทั่งค่อย ๆ ยกเลิกไปในที่สุดด้วย
รายงานชิ้นนี้ ยังเรียกร้องให้สถาบันการเงินต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ออกทุน (กระทั่ง เป็นเจ้ากี้เจ้าการ) วางนโยบายเศรษฐกิจ ที่มีผลต่อชีวิตคนนับล้าน ๆ ให้ระมัดระวัง รับฟังข้อมูล “ภาคสนาม” เกี่ยวกับสภาพการณ์ ที่เกิดขึ้นในชุมชนต่าง ๆ เพื่อปรับแผนทางธุรกิจของตน
แต่เมอร์เรล ทั๊ก โฆษกผู้หนึ่งธนาคารโลกออกมากล่าวว่า ธนาคารก็ทำเช่นนั้นอยู่แล้ว “ธนาคารโลกเห็นด้วยว่า การปลูกฝ้ายในอุซเบกิสถาน ทาจิกิสถาน และเติร์กเมนิสถาน ต้องได้รับการปรับปรุง” และชี้ว่า ตั้งแต่เริ่มทศวรรษที่ 1990s อุซเบกิสถาน ผลิตฝ้ายได้ลดลง 20 เปอร์เซ็นต์ และส่งออกลดลง 30 เปอร์เซ็นต์
สำหรับพวกเจ้าหน้าที่เหล่านั้น ทางธนาคารเห็นว่า จะจัดการเรื่องนี้ได้ต้องใช้เจตนารมณ์ทางการเมืองในท้องถิ่นมาสนับสนุน โจเซฟ โกลเบิร์ก ผู้จัดการฝ่ายปรับโครงสร้าง ภาคพื้นยุโรปและเอเชียกลางของธนาคารโลก กล่าวว่า “เป็นเพราะกลุ่มอาชญากรเห็นแก่ได้ ที่มีมาตั้งแต่ยุคโซเวียตนั่นเอง ทำให้สถานการณ์ต่าง ๆ เลวร้ายลง” และว่าธนาคารกำลังเข้าไปช่วยปรับปรุงอุตสาหกรรมนี้ โดยส่งเสริมให้มีการแปรที่ดินให้เป็นกรรมสิทธิ์เอกชนอยู่
สำหรับในทาจิกิสถาน ซึ่งธนาคารระบุว่า สถานการณ์แย่ที่สุดในตอนนี้ ทางธนาคารได้ผลักดันโครงการที่จะแปรรูปนารวมขนาดใหญ่ 10 แห่ง (จาก 200 แห่ง ที่ใช้ปลูกฝ้าย) ให้เป็นของเอกชน โกลเบิร์กกล่าวว่า “หากโครงการนี้สำเร็จ เราจะนำแบบอย่างนี้ไปใช้ทั่วประเทศ แต่นี่จะต้องมีการต่อสู้ทางการเมืองมาเสริมด้วยลำพังตัวเอง เราทำอย่างนั้นไม่ได้”
รายงานชิ้นนี้ของไอซีจี ยังเรียกร้องให้ผู้ค้าฝ้ายระหว่างประเทศ ให้ใช้ความพิถีพิถันเกี่ยวกับคนกลาง และเกษตรกรผู้ผลิต คือควรยุติการทำธุรกิจ กับผู้ที่ใช้วิธีเอารัดเอาเปรียบ และกดขี่ต่าง ๆ โดยระบุว่า “อุตสาหกรรมฝ้าย ยังคงเป็นแบบเก่าและปิดลับ เราต้องตัดไฟแต่หัวลม ก่อนที่สาธารณชนจะทนไม่ได้ ... เรื่องการบังคับใช้แรงงาน เป็นประเด็นที่สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้า ให้กับผู้บริโภคในตะวันตกไม่หยุดหย่อน และปัญหาที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมฝ้ายนี้ นับวันจะมากขึ้นเรื่อย ๆ”
อย่างไรก็ตาม เชี่ยวชาญของธนาคารหลายคน ไม่รู้สึกว่าบริษัทผลิตสินค้าสำเร็จรูปในตะวันตก จะได้รับความกระทบกระเทือนจากเรื่องนี้นัก โกลเบิร์กกล่าวว่า “อย่างไรเสีย ในยุโรป ฝ้ายก็ยังขายได้อยู่ดี ไม่มีใครสนใจว่า มันจะมาจากไหน ด้วยวิธีใดดอก ถ้าคนนี้ไม่ซื้อ คนโน้นก็ซื้ออยู่ดี”
กระนั้นก็ดี โกลเบิร์กก็เห็นด้วยกับแนวคิดที่ บริษัทผู้ผลิตสินค้าสำเร็จรูป จะมีป้ายบอกที่มาของฝ้ายดิบที่ใช้ “บางที ผมอาจจะดูเบาพลังของฝ่ายผู้บริโภคไปก็เป็นได้ หากคุณอยากจะให้มีการแข่งขัน ระหว่างฝ้ายมนุษยธรรม สู้กับฝ้ายกดขี่ เอารัดเอาเปรียบ (ผักปลอดสาร vs ผักสารพิษ) บางที มันก็อาจจะได้ผลก็ได้”