รอยเตอร์/เอเอฟพี/ซีเอ็นเอ็น - ศึกชิงทำเนียบขาวปีนี้มีอันติดขัดไม่สามารถประกาศผู้ชนะเด็ดขาดทำนองเดียวกับปี 2000 อีกแล้ว โดยแม้ทีมหาเสียงเลือกตั้งของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ออกมาประกาศแล้วว่า ประสบชัยชนะได้รับเลือกตั้งอีกสมัยหนึ่ง แต่ฝ่ายวุฒิสมาชิก จอห์น แคร์รี ผู้สมัครของพรรคเดโมแครต ตอบโต้ว่าจะไม่ยอมแพ้ จนกว่าบัตรลงคะแนนทุกใบในรัฐโอไฮโอจะนับเสร็จสิ้นเสียก่อน
ทำนองเดียวกับสถานการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในการเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกันปี 2000 ซึ่งครั้งนั้นบุชแห่งพรรครีพับลิกันกับ อัล กอร์ แห่งพรรคเดโมแครต ก็ได้โต้แย้งกันเกี่ยวกับปัญหาการนับคะแนนในรัฐฟลอริดา แต่สำหรับคราวนี้ปัญหาปะทุขึ้นที่รัฐโอไฮโอ และทำให้ยังไม่สามารถประกาศได้ว่า ระหว่างบุชกับแคร์รีใครคือผู้ชนะ โดยยังไม่ทราบว่าจะมีการยืดเยื้อเป็นแรมเดือน หรือต้องให้ศาลสูงของประเทศเป็นผู้ตัดสินปัญหาข้อกฎหมาย ดังที่เคยเกิดขึ้นในปี 2000 หรือไม่
โอไฮโอมีความสำคัญยิ่งต่อชัยชนะของผู้สมัครชั้นนำทั้งสอง เนื่องจากถ้าไม่ได้เสียงคณะผู้เลือกตั้งซึ่งมีอยู่ 20 เสียงของรัฐนี้ ไม่ว่าบุชหรือแคร์รีก็ยังไม่สามารถได้เสียงคณะผู้เลือกตั้งถึงขีด 270 เสียง หรือเกินครึ่งหนึ่งของคณะผู้เลือกตั้ง และคว้าตำแหน่งประธานาธิบดีไปครอบครอง
ทั้งนี้ตามตัวเลขของโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น จนถึงเวลาประมาณ 20:00 น.วานนี้(เวลาเมืองไทย) บุชได้คะแนนเสียงจากประชาชนโดยตรง (พ็อบพิวลาร์ โหวต) 58.1 ล้านเสียง หรือ 51% และได้คะแนนเสียงคณะผู้เลือกตั้ง (อิเล็กเทอรัล โหวต) 254 เสียง
ขณะที่ แคร์รีได้พ็อบพิวลาร์ โหวต 54.5 ล้านเสียง หรือ 48% และได้อิเล็กเทอรัล โหวต 252 เสียง ส่วน ราล์ฟ เนเดอร์ ผู้สมัครอิสระได้เสียงจากประชาชนโดยตรงเกือบ 4 แสนเสียง หรือประมาณ 1% แต่ไม่ได้อิเล็กเทอรัล โหวตเลย
มีอยู่อีก 3 รัฐซึ่งคะแนนเสียงพ็อบพิวลาร์ โหวตยังถือว่าคู่คี่กันมาก จนยากที่จะประกาศว่าใครคือผู้ชนะและได้เสียงคณะผู้เลือกตั้งในรัฐนั้นๆ ไป ได้แก่ โอไฮโอ (เสียงคณะผู้เลือกตั้ง 20 เสียง), นิวเม็กซิโก( 5) , และไอโอวา( 7)
หลังจากลุ้นผลกันอย่างยืดเยื้อมาข้ามวันข้ามคืน ตอนช่วงก่อนรุ่งสางคืนวันอังคาร แอนดริว การ์ด ประธานคณะเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาว ก็ปรากฏตัวต่อหน้าผู้สนับสนุนบุช ในการชุมนุมซึ่งวางแผนกันไว้จะเป็นการประกาศชัยชนะของการเลือกตั้ง เขากล่าวว่าบุชมีคะแนนนำในโอไฮโอ "ชนิดไม่มีทางที่ใครจะเอาชนะได้ในเชิงสถิติ" อีกทั้งยังชนะได้เสียงข้างมากในพ็อบพิวลาร์ โหวต
"เรามีความมั่นใจว่าประธานาธิบดีบุชเป็นผู้ชนะได้รับการเลือกตั้งอีกสมัยหนึ่ง" การ์ดประกาศ พร้อมกับเสริมว่าบุชจะออกคำแถลงเกี่ยวกับเรื่องนี้ในวันพุธ(3)
อย่างไรก็ตาม จอห์น เอดเวิร์ดส์ วุฒิสมาชิกรัฐนอร์ทแคโรไลนา ซึ่งเป็นผู้สมัครตำแหน่งรองประธานาธิบดีในทีมของแคร์รี บอกกับผู้สนับสนุนในเมืองบอสตันว่า จะไม่มีการยอมแพ้จนกว่าทุกคะแนนเสียงในโอไฮโอถูกนับกันอย่างครบถ้วนแล้ว
"มันเป็นคืนที่ยาวนาน แต่พวกเราได้รอคอยกันมาถึง 4 ปีแล้วสำหรับชัยชนะคราวนี้ เรายังสามารถรอคอยต่อไปอีก 1 คืน" เอดเวิร์ดส์บอกพร้อมกับเสริมด้วยว่า "เราจะต่อสู้เพื่อคะแนนเสียงทุกคะแนน"
ชัยชนะของการเลือกตั้งในสหรัฐฯ มักเป็นที่ยอมรับกันเมื่อเครือข่ายโทรทัศน์ยักษ์ใหญ่แถลงผล แต่สำหรับรัฐโอไฮโอในคราวนี้ ขณะที่ฟอกซ์นิวส์ กับ เอ็นบีซี ประกาศว่าบุชคือผู้ชนะได้เสียงประชาชนเกินครึ่ง และหมายถึงได้เสียงคณะผู้เลือกตั้ง 20 เสียงไปทั้งหมดด้วย โทรทัศน์ซีเอ็น เอบีซี และซีบีเอส กลับยังไม่ประกาศว่าใครชนะ ถึงแม้ภายหลังทุกเขตเลือกตั้งนับคะแนนเสร็จสิ้นแล้ว บุชมีคะแนนนำอยู่ 125,000 คะแนนก็ตาม
ปัญหาอยู่ที่ว่า ยังมีบัตรออกเสียงอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเรียกกันว่า "โพรวิชั่นแนล แบลลอต" โดยเป็นบัตรของผู้ออกเสียงที่มาใช้สิทธิแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ยังสงสัยคุณสมบัติของพวกเขา จึงกันออกมาไว้ต่างหาก เคน แบล็กเวลล์ รัฐมนตรีมหาดไทยของรัฐโอไฮโอ ซึ่งเป็นชาวพรรครีพับลิกัน กล่าวว่า บัตรเหล่านี้อาจมีจำนวนถึง 175,000 เสียงทีเดียว
แบล็กเวลล์บอกกับโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นว่า เคาน์ตีต่างๆ ของรัฐโอไฮโอกำลังนับจำนวนโพรวิชั่นแนล แบลลอตเหล่านี้อยู่ และทางรัฐจะต้องใช้เวลาราว 10 วันในการวินิจฉัยว่าบัตรของผู้ออกเสียงคนใดบ้างซึ่งมีสิทธิจริงๆ และสามารถนำมานับได้ นอกจากนั้นทางรัฐยังกำลังรอบัตรเลือกตั้งของผู้ออกเสียงซึ่งอยู่ในต่างแดนที่ส่งมาทางไปรษณีย์ภายในวันที่ 2 พฤศจิกายน โดยบัตรเหล่านั้นก็จะนับคะแนนได้ตั้งแต่วันที่ 11 เป็นต้นไปเช่นกัน
ขณะที่ชาวพรรคเดโมแครตยังคงลุ้นผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี แต่สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาซึ่งทำขึ้นในคราวเดียวกันนี้ โดยเป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสภา และวุฒิสมาชิกอีกราว 1 ใน 3 นั้น พวกเขาดูจะยอมรับความพ่ายแพ้แล้ว ทั้งนี้รีพับลิกันซึ่งครองเสียงข้างมากในทั้ง 2 สภาอยู่แล้ว ยังคงสามารถรักษาฐานะเหนือกว่าเช่นนี้เอาไว้ได้ แถมยังได้เก้าอี้เพิ่มขึ้นจำนวนหนึ่งด้วยซ้ำไม่ว่าในสภาล่างหรือสภาสูง
การเลือกตั้งประธานาธิบดีคราวนี้ น่าจะเป็นครั้งที่มีคนอเมริกันออกมาใช้สิทธิกันมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีรายงานว่า ผู้คนมากมายออกมาเข้าแถวเพื่อรอใช้สิทธิกันตลอดทั้งวัน
ถึงแม้ผลการเลือกตั้งยังไม่ได้ออกมาเด็ดขาดชัดเจน แต่มีรายงานว่า บรรดาผู้นำทั่วโลกต่างดูจะทำใจยอมรับแล้วว่าบุชจะเป็นผู้ชนะ โดยเฉพาะพวกที่เห็นชอบเอาด้วยกับสงครามรุกรานอิรักของบุช ต่างพากันตีปีกยินดีเป็นแถว
นายกรัฐมนตรี จุนอิชิโร โคอิซูมิ ของญี่ปุ่น มีท่าทีระมัดระวังหน่อย โดยกล่าวว่าการชิงชัยคราวนี้เป็นการแข่งขันกันอย่างสูสีตามที่คาดหมายกัน แต่ไม่ว่าผู้สมัครคนไหนชนะ เขาคิดว่าโดยพื้นฐานแล้วจะไม่มีความเปลี่ยนแปลงในเรื่องการยอมรับมิตรภาพระหว่างญี่ปุ่นกับสหรัฐฯ และความสำคัญของพันธมิตรญี่ปุ่น-สหรัฐฯ
ส่วนรัฐมนตรีต่างประเทศ อเลกซานเดอร์ ดาวเนอร์ แห่งออสเตรเลีย บอกว่าบุชน่าจะได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง เขาจึงคาดหมายว่าคงจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายสำคัญๆ ใดๆ เท่าที่ผ่านมา 4 ปี ออสเตรเลียมีความสัมพันธ์อันดีกับสหรัฐฯ และมั่นใจว่าจะสามารถรักษาความสัมพันธ์นั้นต่อไปในอีก 4 ปีข้างหน้า
อย่างไรก็ตาม เขาไม่วายหยอดว่า หากแคร์รีเป็นผู้ชนะ เขาก็เชื่อว่าออสเตรเลียจะสามารถทำงานกับแคร์รีได้เป็นอย่างดีเช่นกัน
ทำนองเดียวกับสถานการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในการเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกันปี 2000 ซึ่งครั้งนั้นบุชแห่งพรรครีพับลิกันกับ อัล กอร์ แห่งพรรคเดโมแครต ก็ได้โต้แย้งกันเกี่ยวกับปัญหาการนับคะแนนในรัฐฟลอริดา แต่สำหรับคราวนี้ปัญหาปะทุขึ้นที่รัฐโอไฮโอ และทำให้ยังไม่สามารถประกาศได้ว่า ระหว่างบุชกับแคร์รีใครคือผู้ชนะ โดยยังไม่ทราบว่าจะมีการยืดเยื้อเป็นแรมเดือน หรือต้องให้ศาลสูงของประเทศเป็นผู้ตัดสินปัญหาข้อกฎหมาย ดังที่เคยเกิดขึ้นในปี 2000 หรือไม่
โอไฮโอมีความสำคัญยิ่งต่อชัยชนะของผู้สมัครชั้นนำทั้งสอง เนื่องจากถ้าไม่ได้เสียงคณะผู้เลือกตั้งซึ่งมีอยู่ 20 เสียงของรัฐนี้ ไม่ว่าบุชหรือแคร์รีก็ยังไม่สามารถได้เสียงคณะผู้เลือกตั้งถึงขีด 270 เสียง หรือเกินครึ่งหนึ่งของคณะผู้เลือกตั้ง และคว้าตำแหน่งประธานาธิบดีไปครอบครอง
ทั้งนี้ตามตัวเลขของโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น จนถึงเวลาประมาณ 20:00 น.วานนี้(เวลาเมืองไทย) บุชได้คะแนนเสียงจากประชาชนโดยตรง (พ็อบพิวลาร์ โหวต) 58.1 ล้านเสียง หรือ 51% และได้คะแนนเสียงคณะผู้เลือกตั้ง (อิเล็กเทอรัล โหวต) 254 เสียง
ขณะที่ แคร์รีได้พ็อบพิวลาร์ โหวต 54.5 ล้านเสียง หรือ 48% และได้อิเล็กเทอรัล โหวต 252 เสียง ส่วน ราล์ฟ เนเดอร์ ผู้สมัครอิสระได้เสียงจากประชาชนโดยตรงเกือบ 4 แสนเสียง หรือประมาณ 1% แต่ไม่ได้อิเล็กเทอรัล โหวตเลย
มีอยู่อีก 3 รัฐซึ่งคะแนนเสียงพ็อบพิวลาร์ โหวตยังถือว่าคู่คี่กันมาก จนยากที่จะประกาศว่าใครคือผู้ชนะและได้เสียงคณะผู้เลือกตั้งในรัฐนั้นๆ ไป ได้แก่ โอไฮโอ (เสียงคณะผู้เลือกตั้ง 20 เสียง), นิวเม็กซิโก( 5) , และไอโอวา( 7)
หลังจากลุ้นผลกันอย่างยืดเยื้อมาข้ามวันข้ามคืน ตอนช่วงก่อนรุ่งสางคืนวันอังคาร แอนดริว การ์ด ประธานคณะเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาว ก็ปรากฏตัวต่อหน้าผู้สนับสนุนบุช ในการชุมนุมซึ่งวางแผนกันไว้จะเป็นการประกาศชัยชนะของการเลือกตั้ง เขากล่าวว่าบุชมีคะแนนนำในโอไฮโอ "ชนิดไม่มีทางที่ใครจะเอาชนะได้ในเชิงสถิติ" อีกทั้งยังชนะได้เสียงข้างมากในพ็อบพิวลาร์ โหวต
"เรามีความมั่นใจว่าประธานาธิบดีบุชเป็นผู้ชนะได้รับการเลือกตั้งอีกสมัยหนึ่ง" การ์ดประกาศ พร้อมกับเสริมว่าบุชจะออกคำแถลงเกี่ยวกับเรื่องนี้ในวันพุธ(3)
อย่างไรก็ตาม จอห์น เอดเวิร์ดส์ วุฒิสมาชิกรัฐนอร์ทแคโรไลนา ซึ่งเป็นผู้สมัครตำแหน่งรองประธานาธิบดีในทีมของแคร์รี บอกกับผู้สนับสนุนในเมืองบอสตันว่า จะไม่มีการยอมแพ้จนกว่าทุกคะแนนเสียงในโอไฮโอถูกนับกันอย่างครบถ้วนแล้ว
"มันเป็นคืนที่ยาวนาน แต่พวกเราได้รอคอยกันมาถึง 4 ปีแล้วสำหรับชัยชนะคราวนี้ เรายังสามารถรอคอยต่อไปอีก 1 คืน" เอดเวิร์ดส์บอกพร้อมกับเสริมด้วยว่า "เราจะต่อสู้เพื่อคะแนนเสียงทุกคะแนน"
ชัยชนะของการเลือกตั้งในสหรัฐฯ มักเป็นที่ยอมรับกันเมื่อเครือข่ายโทรทัศน์ยักษ์ใหญ่แถลงผล แต่สำหรับรัฐโอไฮโอในคราวนี้ ขณะที่ฟอกซ์นิวส์ กับ เอ็นบีซี ประกาศว่าบุชคือผู้ชนะได้เสียงประชาชนเกินครึ่ง และหมายถึงได้เสียงคณะผู้เลือกตั้ง 20 เสียงไปทั้งหมดด้วย โทรทัศน์ซีเอ็น เอบีซี และซีบีเอส กลับยังไม่ประกาศว่าใครชนะ ถึงแม้ภายหลังทุกเขตเลือกตั้งนับคะแนนเสร็จสิ้นแล้ว บุชมีคะแนนนำอยู่ 125,000 คะแนนก็ตาม
ปัญหาอยู่ที่ว่า ยังมีบัตรออกเสียงอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเรียกกันว่า "โพรวิชั่นแนล แบลลอต" โดยเป็นบัตรของผู้ออกเสียงที่มาใช้สิทธิแล้ว แต่เจ้าหน้าที่ยังสงสัยคุณสมบัติของพวกเขา จึงกันออกมาไว้ต่างหาก เคน แบล็กเวลล์ รัฐมนตรีมหาดไทยของรัฐโอไฮโอ ซึ่งเป็นชาวพรรครีพับลิกัน กล่าวว่า บัตรเหล่านี้อาจมีจำนวนถึง 175,000 เสียงทีเดียว
แบล็กเวลล์บอกกับโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นว่า เคาน์ตีต่างๆ ของรัฐโอไฮโอกำลังนับจำนวนโพรวิชั่นแนล แบลลอตเหล่านี้อยู่ และทางรัฐจะต้องใช้เวลาราว 10 วันในการวินิจฉัยว่าบัตรของผู้ออกเสียงคนใดบ้างซึ่งมีสิทธิจริงๆ และสามารถนำมานับได้ นอกจากนั้นทางรัฐยังกำลังรอบัตรเลือกตั้งของผู้ออกเสียงซึ่งอยู่ในต่างแดนที่ส่งมาทางไปรษณีย์ภายในวันที่ 2 พฤศจิกายน โดยบัตรเหล่านั้นก็จะนับคะแนนได้ตั้งแต่วันที่ 11 เป็นต้นไปเช่นกัน
ขณะที่ชาวพรรคเดโมแครตยังคงลุ้นผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี แต่สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาซึ่งทำขึ้นในคราวเดียวกันนี้ โดยเป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสภา และวุฒิสมาชิกอีกราว 1 ใน 3 นั้น พวกเขาดูจะยอมรับความพ่ายแพ้แล้ว ทั้งนี้รีพับลิกันซึ่งครองเสียงข้างมากในทั้ง 2 สภาอยู่แล้ว ยังคงสามารถรักษาฐานะเหนือกว่าเช่นนี้เอาไว้ได้ แถมยังได้เก้าอี้เพิ่มขึ้นจำนวนหนึ่งด้วยซ้ำไม่ว่าในสภาล่างหรือสภาสูง
การเลือกตั้งประธานาธิบดีคราวนี้ น่าจะเป็นครั้งที่มีคนอเมริกันออกมาใช้สิทธิกันมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีรายงานว่า ผู้คนมากมายออกมาเข้าแถวเพื่อรอใช้สิทธิกันตลอดทั้งวัน
ถึงแม้ผลการเลือกตั้งยังไม่ได้ออกมาเด็ดขาดชัดเจน แต่มีรายงานว่า บรรดาผู้นำทั่วโลกต่างดูจะทำใจยอมรับแล้วว่าบุชจะเป็นผู้ชนะ โดยเฉพาะพวกที่เห็นชอบเอาด้วยกับสงครามรุกรานอิรักของบุช ต่างพากันตีปีกยินดีเป็นแถว
นายกรัฐมนตรี จุนอิชิโร โคอิซูมิ ของญี่ปุ่น มีท่าทีระมัดระวังหน่อย โดยกล่าวว่าการชิงชัยคราวนี้เป็นการแข่งขันกันอย่างสูสีตามที่คาดหมายกัน แต่ไม่ว่าผู้สมัครคนไหนชนะ เขาคิดว่าโดยพื้นฐานแล้วจะไม่มีความเปลี่ยนแปลงในเรื่องการยอมรับมิตรภาพระหว่างญี่ปุ่นกับสหรัฐฯ และความสำคัญของพันธมิตรญี่ปุ่น-สหรัฐฯ
ส่วนรัฐมนตรีต่างประเทศ อเลกซานเดอร์ ดาวเนอร์ แห่งออสเตรเลีย บอกว่าบุชน่าจะได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง เขาจึงคาดหมายว่าคงจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายสำคัญๆ ใดๆ เท่าที่ผ่านมา 4 ปี ออสเตรเลียมีความสัมพันธ์อันดีกับสหรัฐฯ และมั่นใจว่าจะสามารถรักษาความสัมพันธ์นั้นต่อไปในอีก 4 ปีข้างหน้า
อย่างไรก็ตาม เขาไม่วายหยอดว่า หากแคร์รีเป็นผู้ชนะ เขาก็เชื่อว่าออสเตรเลียจะสามารถทำงานกับแคร์รีได้เป็นอย่างดีเช่นกัน