xs
xsm
sm
md
lg

อิสลาม : ศาสนาหรือขบวนการทางการเมือง

เผยแพร่:   โดย: สเปงเลอร์

อิมมานูเอล ค้านท์ นักปรัชญานามกระเดื่อง กล่าวว่าลัทธิยูดาไม่ศาสนา แท้จริงเป็นเพียงหลักกฎหมาย พวกยิวสายฆราวาสเห็นด้วยกับเขา ส่วนพวกมุสลิมสายฆราวาสบางคนก็เห็นเป็นแบบนั้น เช่นอาลี ชีน่า (www.faithfreedom.org) เขียนว่า “อิสลามไม่ใช่ศาสนา การไปถือว่าอิสลามเป็นศาสนา เป็นความโง่ที่อาจคร่าชีวิตผู้คนเป็นล้าน ๆ ได้ หากแต่มันเป็นขบวนการทางการเมือง ที่มุ่งหมายจะพิชิตโลก เพราะว่ามันมีเป้าหมายเพียงประการเดียว คือถ้ากลืนไม่ได้ ก็ทำลายมันทิ้งเสีย

ท่ามกลางบรรยากาศที่ว่ากันไปกันมานี้ จำต้องมีความคิดที่ชัดเจน ผมว่าค้านท์ผิด แต่ผิดแบบช่วยให้ปัญหาดังกล่าวกระจ่างขึ้น อาลี ชีน่าและมุสลิมสายฆราวาสก็ผิดเช่นกัน ผมเห็นว่าอิสลามเป็นทั้งศาสนาและขบวนการทางการเมือง ศาสนาทำให้ขบวนการทางการเมืองแบบอิสลามเป็นสิ่งน่ากลัว

ค้านท์รจนาไว้ในปี 1793 (ในหนังสือ ศาสนาในสายตาของเหตุผลล้วน ๆ) ว่า “ความจริง ลัทธิยูดาไม่ใช่ศาสนา แต่เป็นเพียงสมาคมที่ตั้งกันขึ้นมา เป็นเครือเอกภพที่อยู่ใต้กฎหมาย (ทางการเมือง) เดียวกัน ไม่ใช่เป็นศาสนาจักร” กล่าวชัด ๆ คือ “ศาสนาจะต้องเกี่ยวกับความเชื่อและความศรัทธาต่อโลกหน้า แต่ลัทธิยูดา เมื่อเจาะลงไปลึก ๆ แล้ว ไม่มีความเชื่อเช่นว่านี้เลย”

ในบางแง่ ค้านท์พูดได้ถูกทีเดียว แม้นักเทศน์ยูดาจะพูดถึง “โลกหน้า” แต่ทว่าโลกหน้าที่ว่า ก็ขาดนัยแห่งชีวิตหลังความตายแบบศาสนาคริสต์ ลัทธิยูดามุ่งนำเอาชีวิตนิรันดรอันศักดิสิทธิ์ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คน และไม่เชื่อในอนาคตหลังจากตายไปแล้ว ในศตวรรษที่ 18 ฮัสซิด เลวี่ ไอแซค แห่งเบอร์ดิเชฟ เขียนถึงความฝันที่เขาได้ขึ้นสวรรค์ ไปพบกับกลุ่มผู้เขียนคัมภีร์ทัลมุดของพวกยิว นั่งกันอยู่ในห้องสมุดที่รายล้อมไปด้วยกองหนังสือ เลวี่ ไอแซคบ่นว่า นี่ไม่เห็นต่างจากที่เขาเคยเห็นบนโลกเลย “ไอแซต เจ้าน่ะผิดเสียแล้ว” เสียงสวรรค์ตอบ “นักบุญไม่ได้อยู่ในสวรรค์ แต่สวรรค์ต่างหากเล่าที่อยู่ในตัวนักบุญ”

ตามสายตาของชาวคริสต์ นี่ฟังดูไม่เหมือนศาสนาเอาเสียเลย กระนั้นก็ตาม ทั้งยูดาและคริสต์ศาสนาต่างก็พูดในเรื่องเดียวกันคือ คนเราหนีความตายไม่พ้น แต่อธิบายต่างกัน (ภาษาสมัยเรียกว่า “คนละเรื่องเดียวกัน”) ศาสนาคริสต์เทศน์ให้พวกเจนทิล (พวกที่ไม่ใช่ยิว) ฟังถึงเรื่องชีวิตที่โพ้นโลก ชีวิตหลังความตายจึงเป็นหัวใจของศาสนา ผมเคยเขียนไว้ว่า พวกยิวเชื่อมั่นในความเป็นมนุษย์นิรันดรของตน เพราะพวกเขาได้ลิ้มรสวันซับบาธ (วันพระของยิวที่ไม่ต้องทำงานทุกวันเสาร์) ในโลกหน้าอยู่ทุกสัปดาห์อยู่แล้ว คือพวกเขาจะพากันไปสวดมนต์ทุกเย็นวันศุกร์ในซินนาก็อก (โบสถ์ยิว) ไปจนกระทั่งถึงเย็นของอีกวันรุ่งขึ้น ขณะที่เชื่อมั่นในชีวิตนิรันดรของตน พวกยิวก็ถือว่าความตายเป็นบาป แต่พวกเขาเห็นต่างจากบาปกำเนิด*ของพวกคริสต์ (บาปที่ติดตัวมาตั้งแต่สมัยอาดัม-อีวา) สำหรับบาปของชาวคริสต์จะไถ่ถอนได้ในโลกหน้า เมื่อพระเยซูจะเสด็จกลับคืนมาบนโลก แล้วสถาปนา “อาณาจักรของพระองค์บนโลก” มนุษย์แต่ละคนจะได้รับการตัดสิน (ว่าจะได้ไปสวรรค์หรือลงนรก) เพียงแวบเดียวจากการสบสายตาของพระองค์ ที่กวาดมองออกไป (เร็วกว่าต้องไปสู้กัน 3 ศาลในโลก) ส่วนการไถ่บาปของยิวนั้นง่ายมาก แค่เปลี่ยนเป็นยิว ก็ไถ่ได้แล้ว เพราะมีทุกวันเสาร์ ไม่ต้องรอไปจนถึงชาติหน้า

ผมเคยเขียนมาก่อนแล้วว่า ฟรานซ์ โรเซนซวิกเคยกล่าวว่า ศาสนาทุกศาสนาสนองตอบความวิตกกังวลของมนุษย์ ที่ว่าคนทุกคนต้องตาย (ปรัชญาบอกว่า ต่อเรื่องนี้คนทุกคนทำตัวเป็นเด็ก ๆ คือเอามืออุดหู แล้วตะโกนว่า “ผมไม่ได้ยิน ๆ”) คนไร้ศาสนาในสมัยก่อนเผชิญหน้าความตาย โดยเชื่อว่าเผ่าพันธุ์ของตนต้องอยู่ แต่เผ่าและรัฐหนึ่ง ๆ ก็กลัวตัวเองจะสูญพันธุ์ เหมือนคนแต่ละคนกลัวความตาย ฟรานซ์เสริมว่า “ความรักชาติ รักแผ่นดินถิ่นเกิด ก็เกิดจากความรู้สึกที่เรามีต่อความตาย” เขาเขียนว่า ประเทศชาติแต่ละชาติรู้ดีว่าในอนาคต จะต้องมีคนอื่นเข้ามายึดครองแผ่นดินของพวกเขา ภาษาและวัฒนธรรมของตนก็จะถูกฝังไว้ในหนังสือ ที่จะไม่มีคนเปิดอ่าน

คริสตจักรสมัยก่อนได้พบกับการสูญพันธุ์ของผู้คน และวัฒนธรรมมามากมาย เช่นการเฟื่องฟูและล่มสลายของอาณาจักรอเลกซานเดรีย และอาณาจักรโรมัน เป็นตัวอย่าง เมื่อชาติแต่ละชาติล่มสลาย คนในนั้นก็จะได้เผชิญกับความตายของตัว ศาสนาคริสต์ให้คำตอบพวกนี้ ศาสนาจะเข้าหาพวกเขามาทีละคน ๆ แล้วเสนอว่ายังมีโลกหน้าให้เราหวังได้ ในรูปของชีวิตหลังความตาย พวกเจนทิล (ศาสนจักรเรียกใครก็ตามที่ไม่ใช่ยิว) มีบาปติดตัวมาอยู่แล้ว คือมีบาปเพราะดันเกิดเป็นพวกเจนทิล คือเป็นเผ่าพันธุ์ที่กำลังจะสูญพันธุ์อยู่แล้ว (พวกยิวที่ถือว่าตัวเป็นมนุษย์นิรันดร ไม่มีบาปติดตัวแบบนี้)

ค้านท์เข้าใจผิด ๆ ว่าการที่พวกยิวไม่สนใจชีวิตหลังความตาย เป็นว่ายิวไม่มีความรู้สึกทางศาสนา แล้วเราเข้าใจความหมายของ “ศาสนา” ว่าอย่างไร ? ในแง่หนึ่ง คอมมิวนิสต์ก็อาจถือเป็นศาสนาได้ (อังเดร ไกด์, อาเธอร์ โคสต์เลอร์, อิกนาซิโอ ชิโลนี และพวกที่เคยเป็นคอมมิวนิสต์มาแล้วบางคน ถือว่าคอมมิวนิสต์ว่าเป็น “พระเจ้าผู้ล้มเหลว”) เพราะในลัทธิคอมมิวนิสม์ ประวัติศาสตร์คือพระเจ้า ลัทธิวัตถุนิยมประวัติศาสตร์คือคัมภีร์ ฯลฯ แต่ “ประวัติศาสตร์" (แบบเดียวกับชะตากรรม) ก็ไม่ใช่พระเจ้า เพราะ “พระเจ้า” ต้องทรงสถิตอยู่ทุกหนทุกแห่ง หากคน ๆ หนึ่งไม่สามารถเข้าถึงพระเจ้าได้ ก็ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นพระเจ้า พวกที่วิพากษ์ศาสนาอิสลามบอกว่า พระอัลลาห์ไม่มีตัวตน (ไม่มีรูปเป็นตัวตน ไม่ใช่ปัจเจกชน) เหมือน “ประวัติศาสตร์” ในแบบของลัทธิมาร์กซ์ หากแต่เป็นรูปหนึ่งของชะตากรรม ประเด็นนี้ต้องถกกันอีกนานเกี่ยวกับความหมายของคำว่าศาสนา

ศาสนาชี้ทางให้ปัจเจกชนสามารถก้าวล่วงเหนือความตาย โดยแยกชีวิตนิรันดรที่ศักดิสิทธิ์ ออกจากชีวิตทางโลกย์ที่ชั่วแล่น คือมันไม่เพียงเชื่อว่า สัณฐานแห่งนิรันดรนั้นมีอยู่เหนือโลกย์ (สิ่งที่ถูกสร้างขึ้น) เท่านั้น หากยังได้เสนอมรรค (หนทาง) ให้คน (ที่ต้องตาย) สามารถเข้าถึงนิรันดร โดยผ่านคำพิพากษาโทษของพระเจ้าและความเป็นอิสระจากบาป คือพวกเขาสามารถเป็นอิสระจากบาปได้ โดยการสวดอ้อนวอน หรือโดยประกอบพิธีกรรม

ในศาสนาอิสลาม มรรคที่ว่านี้คือจีฮัด หรือการทำสงครามศาสนา

เทวะนิยมทั่วไปยังจำกัดอยู่ที่เรื่องความตายของมนุษย์แต่ละคน โรเซนซวิกเบิกทางอันอุดมในการตีความความตายของผู้คนและวัฒนธรรม ตามที่ผมกล่าวมาแต่ต้น ความตายคือบาป ความตายของคนแต่ละคนที่หนีไม่พ้น และการสาบสูญของวัฒนธรรมของมัน คือ “บาปกำเนิด” ซึ่งศาสนาคริสต์เสนอให้พวกเจนทิล พากันทิ้งถิ่นฐาน ไปยัง “อิสราเอลใหม่” สำหรับในยุโรป ศาสนาคริสต์อนุญาตให้พวกเจนทิล ขนหีบห่อสัมภาระติดตัวไปยัง “อิสราเอลใหม่” ได้ด้วย

ตรงกันข้ามกับอิสราเอลเก่า จะไปมีชีวิตนิรันดรได้แต่ตัวเท่านั้น ในที่นี้ค้านท์กับพวกยิวแนวฆราวาศคิดผิด เพราะลัทธิยูดาห์ก็เป็นศาสนาพอ ๆ กับคริสต์ศาสนา แก่นของศาสนาคือต้องทำให้ปัจเจกชน สามารถก้าวล่วงความตาย หรือจะเอาให้ชัดคือ สามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้วัฒนธรรมของตนต้องสาบสูญได้ ศาสนาคริสต์ถือว่าวัฒนธรรมประเพณีคือโบสถ์วิหาร พวกอเมริกันที่เป็นคริสต์ ทิ้งหีบห่อความเป็นเจนทิล ไว้ที่ท่าเรือ ก่อนจะลงเรือไปยังโลกใหม่ ในกรณีนี้เหมือนกับพวกอิสราเอลเก่า

แต่ตรงกันข้าม ศาสนาอิสลามพยายามยืดเวลาสังคมของตนออกไปให้นาน ไม่มีที่สิ้นสุด โดยการเข้าครอบครอง ในที่นี้ผมหมายถึงกระแสหลักของอิสลาม ไม่ใช่นิกายแปลก ๆ ใหม่ ๆ อย่างเช่นนิกายซูฟี ผมศึกษาจากวัตรปฏิบัติของอิสลามกระแสหลัก ก็เห็นว่ามันยึดติดอยู่กับสังคมประเพณีมาก เพราะสำหรับชาวมุสลิมส่วนใหญ่ ศาสนาไม่อาจจะแยกตัวออกจากวัตรปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งผมได้แสดงไว้ในกรณีของคำสอนของอยาตอลลาห์ อัล-ซิสตานีแห่งอิรัก ( Why Islam baffles America, April 16 )

สังคมเป็นต้นตอของมุสลิมนับพันล้านคนบนโลกใบนี้ การติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลกแบบของสหรัฐ คุกคามคามเป็นอยู่ของสังคมแบบนี้ สำหรับโลกของชาวมุสลิม สหรัฐเป็นตัวก่อกวน ไม่ได้เป็นที่หวังใด ๆ เป็นตัวทำลายพันธะผูกพันระหว่างลูก ๆ กับพ่อแม่ ระหว่างผัวกับเมีย คนในเผ่ากับหัวหน้าเผ่า บ่าวไพร่กับผู้ปกครอง สังคมมุสลิมจะต้องไม่ยอมหุบปาก เดินเข้าไปหาหายนะ และร่วมไปในความสาบสูญแห่งอารยะธรรมของมนุษยชาติ โดยการละทิ้งวัฒนธรรมในอดีต และทำลายความทรงจำของคนในรุ่นปัจจุบัน มันต้องไม่ปล่อยให้ชาวมุสลิมนับพันๆ ล้านคน ไปยืนอยู่ที่ขอบเหวของโลกแห่งเพศสัมพันธ์ ยาเสพติด และดนตรีร็อกแอนด์โรล จำบรรพบุรุษของตนไม่ได้ มันจะต้องกำจัดเมืองแห่งความฉ้อฉล และทำสงครามเพื่อพิชิตมันให้ได้

นั่นคือต้องทำจีฮัด ต้องใช้สงครามเปลี่ยนแปลงมัน และนั่นคือหัวใจของศาสนาอิสลาม ผมเคยเขียนเรื่องนี้ไว้นานแล้ว ( Does Islam have a prayer?, May 18 ) ว่าอิสลามไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ (บางคนอาจจะคิดว่ามันเชิดชูคนอาหรับมากกว่า) พวกมุสลิมยอมใครบ้าง ? ไม่ยอมพวกอิสราเอลเก่า-พวกยิว พวกอิสราเอลใหม่-พวกคริสเตียน แล้วยอมอะไร ? ทางเดียวที่จะทำได้ก็คือพิชิตพวกที่ไม่เชื่อเสีย ดึงให้พวกมันมาอยู่ใต้กฎหมายเดียวกัน

ลัทธิขยายอาณาเขตของอิสลาม เกิดจากแรงจูงใจทางศาสนา คือความโกรธเกรี้ยวที่มีต่อสภาพที่สังคมของพวกตนกำลังจะสาบสูญ ดังนั้น ในปัจจุบัน ตะวันตกต้องเผชิญหน้ากับศาสนาอิสลาม ซึ่งต่างไปจากลัทธิคอมมิวนิสต์มาก

กำลังโหลดความคิดเห็น