xs
xsm
sm
md
lg

อินเดียศึกษา

Sagar Mala สาครธาราที่เชื่อมถึงกัน
Sagar Mala สาครธาราที่เชื่อมถึงกัน
ในมิติของพื้นที่มหาสมุทรอินเดียคือมหาสมุทรที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของโลก ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 70.5 ล้านตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ตั้งแต่ยุคโบราณมหาสมุทรแห่งนี้คือช่องทางในการถ่ายทอดอารยธรรมต่าง ๆ ของอินเดีย ไม่ว่าจะเป็น ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี อาหาร การแต่งกาย ตลอดจนการค้าขายของอินเดียออกไปทั่วทุกมุมโลก
ยิวแห่งกัลกัตตา
ยิวแห่งกัลกัตตา
ในฐานะที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทอีสต์อินเดียคอมปานีและอดีตเมืองหลวงของจักรวรรดิอังกฤษในตะวันออกไกล กัลกัตตา (ปัจจุบัน -โกลกาตา) จึงเป็นศูนย์กลางของการค้า การปกครองและศิลปวัฒนธรรมที่ดึงดูดผู้คนจากทั่วสารทิศให้เข้ามาตั้งถิ่นฐาน ในหมู่ผู้คนหลากเชื้อชาติและศาสนาที่เรียกกัลกัตตาว่า “บ้าน” นั้น ก็มีชุมชนของผู้ที่นับถือศาสนายูดายหรือที่เราเรียกกันว่า “ชาวยิว” รวมอยู่ด้วย
เปิดบันทึกเสียง อาจารย์ กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย (ตอนที่ 1)
เปิดบันทึกเสียง อาจารย์ กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย (ตอนที่ 1)
ศิลปินแห่งชาติ ดร.กรุณา กุศลาสัย และภรรยาผู้เป็น “อรรธางคินี” หรืออีกครึ่งภาคชีวิตของท่าน ศิลปินแห่งชาติ ศาสตราจารย์พิเศษ เรืองอุไร กุศลาสัย คือบูรพาจารย์ที่วงวิชาการอินเดียศึกษาของไทยมิอาจทดแทนพระคุณของท่านให้หมดสิ้นได้ คุณูปการของท่านทั้งสองได้ส่องแสงสว่างให้แก่วงวิชาการและวงวรรณกรรมไทย
อัมเบดการ์ : ผู้แสวงหาเสรีภาพ ความเสมอภาค และภราดรภาพในอินเดีย (ตอนที่ 4)
อัมเบดการ์ : ผู้แสวงหาเสรีภาพ ความเสมอภาค และภราดรภาพในอินเดีย (ตอนที่ 4)
นับตั้งแต่อัมเบดการ์กลับจากลอนดอนในเดือนเมษายน ปี 1923 และหลังจากวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอนได้อนุมัติให้อัมเบดการ์สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกแล้ว เขาก็เริ่มทำมาหากินเพื่อเลี้ยงชีพของตนและครอบครัว พร้อมทั้งมุ่งมั่นที่จะต่อสู้กับระบบวรรณะอย่างจริงจังมาโดยตลอด น่าสังเกตด้วยว่า อัมเบดการ์เป็นบุคคลที่มีลักษณะพิเศษในแง่ที่ว่า เขาได้สำแดงให้เห็นมาโดยตลอดว่าความรู้ทางวิชาการที่เขาได้รับและพัฒนาทั้งในมหาวิทยาลัยโคลัมเบียและวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์ฯ นั้น แทบจะเป็นเรื่องเดียวกันทั้งหมดกับโลกแห่งความเป็นจริง
อัมเบดการ์ : ผู้แสวงหาเสรีภาพ ความเสมอภาค และภราดรภาพในอินเดีย (ตอนที่ 3)
อัมเบดการ์ : ผู้แสวงหาเสรีภาพ ความเสมอภาค และภราดรภาพในอินเดีย (ตอนที่ 3)
อัมเบดการ์เดินทางไปลอนดอนเดือนกรกฎาคม ปี 1920 ในช่วงเวลา 3 ปีที่อัมเบดการ์ศึกษาในลอนดอน เขาใช้เงินประหยัดมาก ยกเว้นเรื่องซื้อหนังสือ อัมเบดการ์มุ่งมั่นที่จะสำเร็จการศึกษาซึ่งต่างจากช่วงแรกที่เขาไปเรียนที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ต่างจากเพื่อนนักศึกษาชาวอินเดียในลอนดอนที่มักจะมีเงิน และเวลาสำหรับกิจกรรมในยามว่าง กิจวัตรประจำวันส่วนใหญ่ของอัมเบดการ์ในลอนดอนคือ การอ่านหนังสือทั้งในพิพิธภัณฑ์และห้องสมุดตั้งแต่เปิดจนปิด ในลอนดอนอัมเบดการ์หล่อหลอมชีวิตของตนด้วยประสบการณ์สำคัญสามเรื่องดังต่อไปนี้
อัมเบดการ์ : ผู้แสวงหาเสรีภาพ ความเสมอภาค และภราดรภาพในอินเดีย (ตอนที่ 2)
อัมเบดการ์ : ผู้แสวงหาเสรีภาพ ความเสมอภาค และภราดรภาพในอินเดีย (ตอนที่ 2)
หลังจากอัมเบดการ์ประสบการกีดกันทางวรรณะอันเลวร้ายในคุชราต เขาก็ร้องเรียนต่อท่านมหาราชาสายาจีราว คายกวาทในบอมเบย์ อัมเบดการ์ยืนกรานที่จะไม่กลับไปทำงานที่นั่นอีก ท่านมหาราชาทรงตอบสนองอัมเบดการ์โดยประทานทุนให้อัมเบดการ์ไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ในนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา แท้จริงแล้ว ท่านมหาราชาได้ตัดสินพระทัยแล้วว่าจะสนับสนุนนักศึกษาจำนวนหนึ่งให้รับทุน เมื่อพิจารณาจากทักษะภาษาอังกฤษอันดีเลิศของอัมเบดการ์ เขาจึงได้รับทุนนี้
อัมเบดการ์ : ผู้แสวงหาเสรีภาพ ความเสมอภาค และภราดรภาพในอินเดีย (ตอนที่ 1)
อัมเบดการ์ : ผู้แสวงหาเสรีภาพ ความเสมอภาค และภราดรภาพในอินเดีย (ตอนที่ 1)
ในคอลัมน์พินิจอินเดียครั้งนี้ ผู้เขียนขอเลือกเขียนเกี่ยวกับ ดร. ภิมราว รามยี อัมเบดการ์ เพราะเชื่อว่าสังคมไทยยังเข้าใจอัมเบดการ์ได้ไม่ครอบคลุม มีหลายกรณีด้วยที่ผู้เขียนพบว่า ชาวไทยจำนวนไม่น้อยยังเข้าใจไม่ถูกต้อง เช่น ความเชื่อที่ว่ารัฐธรรมนูญอินเดียทั้งหมดเป็นผลผลิตของอัมเบดการ์แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งแท้จริงแล้ว สารัตถะทั้งหมดที่ประกอบเป็นรัฐธรรมนูญอินเดียหาได้มาจากเขาเพียงผู้เดียวไม่
เพื่อถิ่นอินเดีย : 100 ปีชาตกาล อินทิรา คานธี (ตอน 3/3)
เพื่อถิ่นอินเดีย : 100 ปีชาตกาล อินทิรา คานธี (ตอน 3/3)
การดำเนินนโยบายทั้งในประเทศและระหว่างประเทศของอินทิราทำให้เธอถูกตีตราว่าเป็นเรียลิสท์ (realist) แม้วรรณกรรมจำนวนมากมิได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับความเป็นเรียลิสท์ของเธอมากนัก แต่ก็กล่าวได้ว่าการที่เธอเผชิญกับภาวะการเมืองแห่งความเป็นจริงในเชิงปฏิบัติได้จริงโดยปราศจากอารมณ์หรืออุดมการณ์นั้น ทำให้การตีตราดังกล่าวดูไม่แปลกเลย แท้จริงแล้ว อินทิราเคยอธิบายตนเองในทำนองเดียวกันว่า เธอนั้นแตกต่างจากพ่อซึ่งเป็น “นักบุญผู้พลัดหลงเข้าสู่การเมือง” แต่เธอเป็น “นักการเมืองผู้แกร่งกล้า”