xs
xsm
sm
md
lg

นาทีต่อนาที คำวินิจฉัยคดียุบ “ปชป.-ประชาธิปไตยก้าวหน้า” (3)

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

จากwww.manager.co.th
เหล่านี้นับว่าเป็นปัญหาที่ผู้คนในสังคมให้ความสนใจอย่างกว้างขวาง เฉพาะอย่างยิ่งเป็นปัญหาสำคัญเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของประเทศชาติจนในที่สุดเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้นำมาเป็นเหตุผลหนึ่งในการยึดอำนาจการปกครองประเทศจากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ตามคำแถลงการณ์ของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 1 เอกสารหมาย ถ.80 โดยมีข้อความตอนหนึ่งว่าประชาชนส่วนหนึ่งเคลือบแคลงสงสัยการบริหารราชการแผ่นดินอันส่อไปในทางทุจริต และประพฤติมิชอบอย่างกว้างขวาง และยังปรากฏข้อเท็จจริงว่าโครงการดังกล่าวบางดครงการปัจจุบันคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ(คตส.) กำลังทำการสอบสวนเพื่อดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิดอยู่ด้วย
จากwww.manager.co.th
ส่วนเรื่องการทำร้ายระบบคุณธรรมในการแต่งตั้ง หรือโยกย้ายข้าราชการผู้ถุกร้องที่ 1 ได้อ้างส่งสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่ปรากฏข่าสารที่เกี่ยวข้องออกมาวิพากษวิจารณ์การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการที่ใช้ระบบอุปถัมภ์ มิใช้ระบบคุณธรรม โดยคำนึงถึงความรู้และความสามารถ อาวุโส เช่นการแต่งตั้ง พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ญาติผู้พี่ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก และผู้บัญชาการทหารสูงสุดข้ามอาวุโสนายทหารคนอื่น รวมทั้งสนับสนุนนายทหารซึ่งสำเร็จเตรียมทหารรุ่น 10 รุ่นเดียวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ และญาติพี่น้องให้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ เป็นเหตุให้ พล.อ.มนตรี ศุภาพร จเรทหารทั่วไป ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2549 ว่า การเมืองแทรกแซงกองทัพ เป็นการทำลายประเพณีธรรมเนียมการแต่งตั้งนายทหาร มุ่งหวังส่งแต่ญาติและเพื่อนมาดำรงตำแหน่งสำคัญ ถือเป็นการบ่อนทำลายกองทัพ พฤติกรรมของนายกรัฐมนตรีถือเป็นการเนรคุณกองทัพตามหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ฉบับวันที่ 20 สิงหาคม 2549 เอกสารหมาย ถ.42 และยังได้ำไปกล่าวย้ำในที่ประชุมสภากลาโหมอีกว่าทหารเป็นเบี้ยล่างของนักการเมืองตามข่าวในหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 31 สิงหาคม 2549 เอกสารหมาย ถ.43 หรือกรณี พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน รองปลัดกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการทหารที่ไม่เป็นธรรมมีการแทกแซงจากฝ่ายการเมืองตามหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ฉบับวันที่ 11 กันยายน 2549 เอกสารหมาย ถ.45 ว่า
จากwww.manager.co.th
ปัจจุบันมีการแทรกแซงการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหาร และกิจการภายในกองทัพ ทำให้กองทัพอ่อนแอ เพราะผู้ที่จะมาเป็นหัวหน้าหน่วยหรือเป็นผู้นำหน่วย ต้องสามารถตอบสนองนักการเมือง ส่วนผู้ที่ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อตอบสนองคุณแผ่นดิน ไม่มีโอกาสเป็นผู้บังคับบัญชา แต่ต้องอยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้ที่สนองนักการเมือง ทำให้กองทัพอ่อนแอ หรือกรณีการแต่งตั้ง พล.ต.อ.เพรียวพันธุ์ ดามาพงศ์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พี่คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ให้ขึ้นตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ข้ามนายตำรวจที่มีอาวุโสกว่า ตามเอกสารหมาย ถ 47 หรือการผลักดันให้นายสมชัย วงศ์สวัสดิ์ น้องเขย พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรมอีกวาระหนึ่ง ทั้งที่นายสมชายเคยดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรมมาแล้ว 4 ปี และได้ขยายเวลาดำรงตำแหน่งครั้งละ 1 ปี 2 ครั้ง รวมเป็น 6 ปี ซึ่งไม่สามารถดำรงตำแหน่งเดิมอีกต่อไปได้ แต่ได้มีการได้สับเปลี่ยนไปดำรงตำแหน่งเป็นปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม แล้วให้ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ซึ่งมีอายุราชการเหลือเพียง 8 เดือน มาดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรม เมื่อปลัดกระทรวงยุติธรรมเกษียณราชการในเดือนตุลาคม 2549 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้นายสมชายกลับมาดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรมอีกวาระหนึ่ง จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันทั่วไปในแวดวงราชการ และสื่อต่างๆ ตามหนังสือพิมพ์มติชน และไทยโพสต์ ฉบับลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2549 เอกสาร ถ 48 และ ถ 49 เป็นต้น
จากwww.manager.co.th
ประเด็นดังกล่าวทั้งหมดล้วนเป็นปัญหาที่ผู้เกี่ยวข้องและสื่อมวลชนนำมากล่าวอ้างโจมตี พ.ต.ท.ทักษิณ และพรรคไทยรักไทย เนื่องจากมีพฤติกรรมที่ส่อแสดงให้เข้าใจได้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และบุคคลร่วมรัฐบาลบางคนมีผลประโยชน์แอบแฝง หรือเอื้อประโยชน์แก่ญาติหรือพวกพ้อง ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม จนมีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในสังคม การที่นายอภิสิทธิ์ หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ซึ่งเป็นอดีตผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ไม่เห็นด้วยกับการยุบสภาผู้แทนราษฎรของ พ.ต.ท.ทักษิณ จึงได้นำพฤติการของ พ.ต.ท.ทักษิณ และรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ตลอดจนใช้คำว่า ระบอบทักษิณ มากล่าวปราศรัยก็ดี หรือนายสุเทพ เลขาธิการพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ได้กล่าวปราศรัยต่อประชาชนในเรื่องของคำว่า ระบอบทักษิณ ก็ดี หรือสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ขึ้นเวทีพันธมิตรฯ ทั้งในกรุงเทพมหานคร และในต่างจังหวัด ในช่วงที่มีการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป กล่าวโจมตี พ.ต.ท.ทักษิณ ในลักษณะเช่นเดียวกับนายอภิสิทธิ์ รวมทั้งนายถาวร กรรมการผู้บริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ได้จัดทำแผ่นใบปลิวที่มีเครื่องหมายของผู้ถูกร้องที่ 1 ระบุว่า ระบอบทักษิณสร้างความแตกแยกในมวลหมู่พี่น้องประชาชนชาวไทยอย่างไม่เคยมีมาก่อน ทำลายการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่งผลให้มีการโกงทั้งโคตร ประเทศชาติสูญเสียอย่างใหญ่หลวง ก็ดี
จากwww.manager.co.th
เห็นได้ชัดว่า เป็นลักษณะการตอบโต้กันในทางการเมือง ในขณะที่มีความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างพรรคการเมืองทวีความรุนแรงขึ้น และสังคมที่มีความคิดที่ขัดแย้ง แบ่งฝักแบ่งฝ่ายอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยการนำเอาจุดบกพร่องตามที่ปรากฏเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในสังคม ของพ.ต.ท.ทักษิณ นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นบุคคลสาธารณะ มากล่าวปราศรัยแก่ประชาชนแก่ประชาชนทั่วไป เพื่อเป็นข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนที่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง อันเป็นวิสัยของประชาชนทั่วไปย่อมกระทำได้ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ทั้งเป็นความชอบธรรม ป้องกันส่วนได้เสียของตนตามคลองธรรมในฐานะนักการเมือง ซึ่งไม่เห็นด้วยกับการกระทำหรือพฤติกรรมของรัฐบาลและ พ.ต.ท.ทักษิณ ในการบริหารราชการแผ่นดิน แม้กระทั่ง พ.ต.ท.ทักษิณ แก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการคืนอำนาจให้ประชาชนโดยการยุบสภาผู้แทนราษฎร แต่ก็กลับกำหนดวันเลือกตั้งเป็นการทั่วไปภายหลังวันยุบสภาผู้แทนราษฎรในสถานการณ์ทางการเมืองเช่นนี้เพียง 37 วัน จนทำให้พรรคการเมืองด้วยกันเกิดความรู้สึกที่ไม่เป็นธรรม เพราะไม่ได้คาดการณ์มาก่อนว่าจะเกิดการยุบสภาด้วยเหตุผลและความจำเป็นตามที่ปรากฏในพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2549 จึงเป็นการไม่เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองอื่นได้มีเวลาเพียงพอสมควรในการเลือกตั้ง ส่อแสดงให้เข้าใจด้วยว่า เป็นการเอาเปรียบกันในทางการเมืองอีกด้วย
จากwww.manager.co.th
นอกจากนั้น การกล่าวปราศรัยของสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ดังกล่าว มิใช่ชักชวนประชาชนไม่ให้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง หากแต่ชักชวนประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งโดยลงคะแนนในช่อง "ไม่ประสงค์จะลงคะแนน" ซึ่งเป็นสิทธิ์ของประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งโดยชอบตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 326 (4) และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 56 การกระทำของนายอภิสิทธิ์ นายสุเทพ และกรรมการบริหาร หรือสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ดังกล่าว จึงฟังไม่ได้ว่า เป็นการใส่ร้าย พ.ต.ท.ทักษิณ ด้วยความเท็จ ด้วยการใช้คำว่า ระบอบทักษิณ เพื่อมุ่งหวังให้เป็นโทษแก่ พ.ต.ท.ทักษิณ พรรคการเมือง สมาชิกพรรคการเมือง หรือผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองใด ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 จัดให้มีเวทีปราศรัยใส่ร้ายด้วยความเท็จหรือจูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมของ พ.ต.ท.ทักษิณ หัวหน้าพรรค และสมาชิกพรรคไทยรักไทย ผู้สมัครรับเลือกตั้ง และชักจูงให้ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไม่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือพรรคการเมืองใด ที่ลงสมัครรับเลือกตั้งในทุกเขตเลือกตั้งตามคำร้อง คำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาของผู้ถูกร้องที่ 1 ในประเด็นนี้ฟังขึ้น
จากwww.manager.co.th
ประเด็นข้อ 2 ที่ว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 รู้เห็นเป็นใจให้นายทักษนัย กี่สุ้น นำนางสาวนิภา จันโพธิ์ นางรัชนู ต่างสี และนายสุวิทย์ อบอุ่น ไปสมัครเป็นสมาชิกผู้ถูกร้องที่ 2 และสมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง แล้วจัดแถลงข่าวกล่าวหาพรรคไทยรักไทยว่า ว่าจ้างให้บุคคลทั้งสามสมัครรับเลือกตั้ง อันเป็นความเท็จหรือไม่ ปัญหาที่จะต้องพิจารณาในเบื้องต้นคือ นายทักษนัย ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 และเป็นผู้ช่วยดำเนินงานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายสาทิตย์ กรรมการบริหารพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ได้นำนางสาวนิภา นางรัชนู และนายสุวิทย์ ไปสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จ.ตรัง โดยรู้อยู่แล้วว่าบุคคลทั้งสามมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน เนื่องจากเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ไม่ครบ 90 วัน ตามที่ผู้ร้องอ้างหรือไม่ ข้อเท็จจริงจากคำให้การของนายมนูญ เดิมกาญจนดี นายปรีชา จันทร์โหนง นายชุบ สุขการัณย์ ผู้อำนวยการการเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1 เขตที่ 2 เขตที่ 4 จ.ตรัง ตามลำดับ ต่างให้การไว้ต่อคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีการลาออกจากพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า ของผู้สมัครรับเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2549 ตามเอกสารท้ายคำร้องของผู้ร้องในทำนองเดียวกัน ได้ความว่า พยานพิจารณาหลักฐานของผู้สมัครจากพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 แล้ว แจ้งการไม่รับสมัครผู้สมัครทั้งสาม เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมีหนังสือแจ้งมาว่า ไม่พบข้อมูลการเป็นสมาชิกการเมืองของผู้สมัครทั้งสาม จึงขาดคุณสมบัติเป็นผู้สมัคร ตามมาตรา 107 (4) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ซึ่งสอดคล้องกับคำให้การของผู้สมัครทั้งสามที่ให้การต่อคณะกรรมการชุดเดียวกันว่า ผู้สมัครทั้งสามเพิ่งไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2549 แต่ทีมงานที่รับสมัครให้ผู้สมัครทั้งสามกรอกใบสมัคร เปลี่ยนลงวันที่สมัครเป็นวันที่ 5 ตุลาคม 2549 วันที่ 10 ตุลาคม 2548 และวันที่ 15 ตุลาคม 2548 ตามลำดับ และไปสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 จ.ตรัง เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2549ดังนี้
จากwww.manager.co.th
ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า ผู้สมัครทั้งสามสมัครเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องไม่ครบ 90 วัน ก่อนจะไปสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งดังกล่าว สำหรับปัญหาที่ว่า นายทักษนัยเป็นผู้พาไปสมัครหรือไม่ และนายทักษนัยรู้ว่าผู้สมัครทั้งสามมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนหรือไม่นั้น นางสาวนิภาให้การต่อคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง ตามเอกสารหมาย ล 75 และเบิกความว่า เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2549 เวลาประมาณ 11.00 น. นายทักษนัยไปพบพยานที่บ้านพัก และขอบัตรประจำตัวประชาชนของพยาน แต่ไม่ได้บอกว่าจะนำไปทำอะไร พยานได้ให้ไป รุ่งเช้าวันที่ 7 มีนาคม 2549 เวลาประมาณ 09.00 น. นายทักษนัยมาดักพบพยาน และบอกว่าพยานต้องไปกรุงเทพมหานคร แต่ก็ไมได้บอกว่าจะพาไปทำอะไร เพียงแต่บอกให้เตรียมวุฒิการศึกษา บัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้านไปด้วย ต่อมานางอมรรัตน์ กี่สุ้น ภรรยาของนายทักษนัย เป็นผู้พาพยานกับพวกไปที่โรงแรมลิเบอร์ตี้ กรุงเทพมหานคร และได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ดังกล่าว ตอนไปสมัครรับเลือกตั้งที่ จ.ตรัง นายทักษนัยก็เป็นคนขับรถพาพยานกับพวกไป
จากwww.manager.co.th
ส่วนนางรัชนู และนายสุวิทย์ ที่เป็นผู้สมัครอีก 2 คน ก็ให้การและเบิกความไว้ทำนองเดียวกัน ซึ่งในข้อนี้นายทักษนัยเบิกความรับว่า พยานเป็นคนให้ผู้สมัครทั้งสามไปกรุงเทพมหานครกับภรรยาของพยาน แต่อ้างว่านายประสาน ผดุงการ ที่ภรรยาของพยานโทรศัพท์มาบอกว่า นายประมวล ชูกล่อม หรือ เจ๋ง ดอกจิก ต้องการหาคนที่จบปริญญาตรี และอยู่ใน จ.ตรัง ให้พยานไปหาให้ 3 คน แต่พยานไม่ทราบว่าไปกรุงเทพมหานครเรื่องอะไร และพยานก็ไม่ได้ถาม เพียงแต่ให้นางอมรรัตน์ ภรรยาของพยาน ไปกรุงเทพมหานครกับผู้สมัครทั้งสาม เห็นว่านางสาวนิภาให้การไว้ตามเอกสารหมาย จ 75 ว่า รู้จักคุ้นเคยกับนายทักษนัย นางรัชนู นางรัชนูเบิกความว่า พยานเป็นญาติกับนายทักษนัย โดยนายทักษนัยเป็นน้องของน้าเขยพยาน ส่วนนายสุวิทย์เบิกความว่า พยานรู้จักนายทักษนัย เพราะว่านายทักษนัยเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่างิ้ว ซึ่งเป็นตำบลที่พยานอยู่ และบ้านก็อยู่ไม่ห่างกัน ดังนี้นายทักษนัยย่อมจะต้องรู้จักผู้สมัครทั้งสามพอสมควร เห็นได้จากการที่นายทักษนัยรู้ว่าผู้สมัครทั้งสามจบการศึกษาปริญญาตรีด้วย จึงได้ไปติดต่อให้เตรียมวุฒิการศึกษา และขอบัตรประจำตัวประชาชนจากผู้สมัครทั้งสาม ประกอบกับการที่นายทักษนัย อยู่ในแวดวงการเมืองท้องถิ่น เป็นถึงนายกองค์การบริหารส่วนตำบล เชื่อว่านายทักษนัยต้องรู้บุคคลทั้งสามเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 หรือไม่ด้วย ส่วนที่นายทักษนัยอ้างว่าไม่รู้ว่าผู้สมัครทั้งสามจะต้องไปกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับเรื่องอะไรนั้น เป็นข้ออ้างที่รับฟังไม่ได้ เพราะนอกจากนายทักษนัยจะรู้จักคุ้นเคยกับผู้สมัครทั้งสามแล้ว การที่นายทักษนัยไปติดต่อขอบัตรประจำตัวประชาชนจากผู้สมัครทั้งสามด้วยตนเองก็ดี ให้ภรรยาของตนพาผู้สมัครทั้งสามไปกรุงเทพมหานครก็ดี นายทักษนัยขับรถพาผู้สมัครทั้งสามไปสมัครรับเลือกตั้งด้วยตัวเองก็ดี
จากwww.manager.co.th
พฤติการณ์เหล่านี้ย่อมฟังได้ว่า นายทักษนัย พาผู้สมัครทั้ง 3 ไปสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยรู้ว่าผู้สมัครทั้ง 3 มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน คือ เป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ไม่ครบ 90 วัน ปัญหาที่จะต้องพิจารณากันต่อไปมีว่า นายสาทิตย์ มีส่วนรู้เห็น หรือให้การสนับนุนการกระทำของนายทักษนัย หรือไม่ ข้อเท็จจริงรับฟังได้จากคู่กรณีรับกันก็คือ นายทักษนัยเคยเป็นผู้ช่วยดำเนินงานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของ นายสาทิตย์ ตั้งแต่ พ.ศ.2548 และหลังจาก นายสาทิตย์ พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อมีการยุบสภาในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 การเป็นผู้ช่วยดำเนินงานของ นายทักษนัย ดังกล่าว ก็เป็นอันยุติไปด้วย สำหรับพฤติการณ์ที่ นายสาทิตย์ เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ในส่วนของการพาผู้สมัครทั้ง 3 ไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 หรือการพาไปสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผูแทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จ.ตรัง นั้น ไม่มีพยานปากใดให้การ หรือเบิกความว่า นายสาทิตย์ เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย คงมีเฉพาะกรณี นายสาทิตย์ โทรศัพท์ไปที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง จ.ตรัง โดย ร.ต.อ.มนูญ วิเชียรนิตย์ กรรมการคนหนึ่งในคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีการลาออกจากสมาชิกพรรคประธิปไตยก้าวหน้าเป็นผู้รับโทรศัพท์ ซึ่ง นายสาทิตย์ ทำบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริง หรือความเห็น จะเบิกความว่า พยานโทรศัพท์ไปที่เบอร์กลางของสำนักงานการเลือกตั้ง จ.ตรัง เนื่องจาก นายสิโรจน์ วินสน ซึ่งเคยเป็นผู้ช่วยดำเนินงานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพยาน มาสอบถามพยานว่า การเชิญผู้ใดไปให้ปากคำในฐานะพยาน จะต้องทำเป็นหนังสือหรือไม่ เพราะ นายสิโรจน์แจ้งว่า มีผู้โทรศัพท์มาหา นายสิโรจน์อ้างว่า เป็นเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ให้นายสิโรจน์ไปให้ปากคำในวันรุ่งขึ้น
จากwww.manager.co.th
พยานจึงโทรศัพท์สอบถาม ร.ต.อ.มนูญ เป็นผู้รับโทรศัพท์ และแจ้งแก่พยานว่า เนื่องจากเป็นการเชิญในกรณีเร่งด่วน จึงไม่ได้ทำเป็นหนังสือ ซึ่งพยานก็เข้าใจและไม่ได้ว่าอะไร อันเป็นการสอดคล้องกับคำเบิกความของ ร.ต.อ.มนูญ ที่เบิกความว่า นายสาทิตย์ โทรศัพท์มาสอบถามพยานเรื่องทำหนังสือเชิญผู้ที่ไปให้ถ้อยคำเท่านั้น และนายสาทิตย์ ก็ไม่ได้ต่อว่าอะไรพยาน พฤติการณ์ดังที่ปรากฏอังกล่าว ถือเป็นเรื่องปกติที่ นายสาทิตย์ ดำเนินการไปเช่นนั้น กับมีกรณีที่นายสิโรจน์ สมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ซึ่งเคยเป็นผู้ช่วยดำเนินงานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายสาทิตย์ เช่นกัน ไปพบนางรัชนู แจ้งว่า การสมัครรับเลือกตั้งของ นางรัชนู อาจผิดกฎหมาย การกระทำเช่นนี้ก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่ชี้ให้เห็นว่า นายสาทิตย์ จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำของ นายทักษนัย ด้วย นอกจากนี้ ผู้สมัครทั้ง 3 ของผู้ถูกร้องที่ 2 ยังเบิกความว่า ผู้สมัครทั้ง 3 เพิ่งพบนายสาทิตย์ ครั้งแรก ที่กรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2549 ก่อนที่ นายสุเทพจะแถลงข่าวเท่านั้น สำหรับปัญหาเรื่องเงินที่ผู้สมัครทั้ง 3 ได้รับมาในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นเงินของผู้ใด ผู้สมัครทั้ง 3 ได้รับมาจาก นายทักษนัย และมีเหตุที่จะทำให้เห็นว่า นายสาทิตย์ เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่นั้น ผู้สมัครทั้ง 3 ให้การและเบิกความทำนองเดียวกันว่า ผู้สมัครทั้ง 3 ได้รับเงินคนละ 30,000 บาท พร้อมเอกสารใส่อยู่ในซองสีน้ำตาล โดยได้รับที่โรงแรมลิเบอร์ตี้ หลังจากที่ได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 แล้ว เมื่อรับเสร็จก็มอบให้นางอมรรัตน์ไป หลังจากกลับไป จ.ตรัง นางอมรรัตน์พาผู้สมัครทั้ง 3 ไปเปิดบัญชีที่ธนาคารออมสิน สาขาตรัง คนละ 10,500 บาท แล้วซื้อแคชเชียร์เช็ก 10,000 บาท เป็นค่าสมัคร
จากwww.manager.co.th
จากwww.manager.co.th
ส่วนที่เหลือนายทักษนัยให้เป็นเงินสดก่อนไปสมัคร และใช้เป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว ซึ่งเงินจำนวน 30,000 บาท ที่ผู้สมัครทั้ง 3 ได้รับมานี้ นางสาวอิศรา หัวหน้าพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2549 ตามเอกสารหมาย ถ 100 ว่า ในส่วนของผู้สมัคร จ.ตรัง ผู้สมัครไม่พร้อมทางพรรคเลยจ่ายเงินให้ นอกจากนี้ผู้สมัครทั้ง 3 เบิกความทำนองเดียวกันว่า เมื่อผู้สมัครทั้ง 3 ไปที่โรงแรมริเบอร์ตี้ได้พบกับนายไวท์ หรือ นายประสาน ซึ่งเป็นพี่ชายนางอมรรัตน์ และพบนายเจ๋ง ดอกจิก ในขณะที่นายประมวล หรือ เจ๋งดอกจิก ให้สัมภาษณ์ในรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ยอมรับว่า ตนได้ไปรอพบผู้สมัครทั้ง 3 อยู่ที่โรงแรมริเบอร์ตี้จริง อันเป็นการสอดคล้องกับคำเบิกความของนายทักษนัย ที่ว่า พยานไปติดต่อผู้สมัครทั้ง 3 ให้ไปกรุงเทพมหานคร เพราะนายไวท์ หรือ นายประสานโทรศัพท์มาบอกว่า นายเจ๋งต้องการหาคนที่จบปริญญาตรีและอยู่ จ.ตรัง ดังนี้ การที่ผู้สมัครทั้ง 3 ไปรับเงินที่โรงแรมริเบอร์ตี้ ไม่ได้รับจากนายทักษนัยโดยตรง แต่นายทักษนัยเข้ามาเกี่ยวข้องโดยการติดต่อของนายไวท์ หรือนายประสาน และนายประมวล หรือ เจ๋ง ดอกจิก เชื่อได้ว่า เงินที่ผู้สมัครทั้ง 3 ได้รับไม่ใช่เงินของนายทักษนัย
จากwww.manager.co.th
ส่วนที่นางอมรรัตน์ และนายทักษนัยเกี่ยวข้องกับเรื่องการจ่ายเงินให้ผู้สมัครนั้น เป็นเรื่องการเข้ามาช่วยจัดการเกี่ยวการสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ผู้สมัครทั้ง 3 และเมื่อฟังว่านายทักษนัยมิได้เป็นผู้จ่ายเงินให้ผู้สมัครทั้ง 3 แล้ว ย่อมรับฟังไม่ได้ว่า นายสาทิตย์เข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า นายสาทิตย์ไม่ได้มีส่วนร่วมรู้เห็นหรือมีสนับสนุนการกระทำของนายทักษนัยแต่อย่างใด ปัญหาที่ต้องพิจารณาต่อไป มีว่า นายสุเทพ เลขาธิการพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 จัดแถลงข่าว ผู้ถูกร้องที่ 2 จัดแถลงข่าวกล่าวหาพรรคไทยรักไทยว่าจ้างให้บุคคลทั้ง 3 สมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งเป็นความเท็จหรือไม่ ในปัญหานี้นางรัชนูเบิกความว่า หลังจากพยานสมัครรับเลือกตั้งแล้ว นายศิโรจน์ ซึ่งรู้จักบิดาของพยาน มาถามพยานว่า พยานเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ครบ 90 วันหรือไม่ พยานตอบว่าไม่ครบ นายศิโรจน์บอกว่า พยานมีความผิด นายศิโรจน์กับบิดาของพยานได้คุยกันว่าจะทำอย่างไรดี ระหว่างนั้นพยานโทรศัพท์ไปหานายทักษนัย และไปตามนางสาวนิภามาคุยกันที่บ้านของพยาน ในที่สุดบิดาของพยานบอกจะไปขอให้ผู้ถูกร้องที่ 1 ช่วยเหลือ ส่วนนางสาวนิภา เบิกความว่า บิดาของนางรัชนูไปตามพยานให้มาคุยกันเรื่องสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อนายศิโรจน์บอกว่าผิดกฎหมาย บิดาของนางรัชนูจึงบอกว่า ต้องไปขอความช่วยเหลือจากผู้ที่รู้กฎหมาย และนายสุเทพทำบันทึกถ้อยคำยืนยันหรือความเห็นว่า เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2549 นายทักษนัยซึ่งพยานไม่รู้จักมาก่อน นำผู้สมัครทั้ง 3 ไปพบพยาน ขอความช่วยเหลือ เรื่องที่ผู้สมัครทั้ง 3 ไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ไม่ครบ 90 วัน แล้วไปสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พยานแนะนำให้ผู้สมัครทั้ง 3 ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 แล้วส่งไปที่นายทะเบียนพรรคการเมือง เพราะผู้สมัครทั้ง 3 ไม่ทราบว่าที่ทำการพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 อยู่ที่ใด
จากwww.manager.co.th
ต่อมาวันที่ 12 มีนาคม 2549 พยานได้จัดให้มีการแถลงข่าวในเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยพยานไม่ได้กล่าวพาดพิงหรือใส่ร้ายพรรคไทยรักไทยหรือพรรคการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากนี้พยานได้ทำหนังสือถึงประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อให้ตรวจสอบเรื่องนี้ด้วยตามเอกสารหมาย ถ.105 พยานมีเจตนาช่วยเหลือผู้สมัครทั้ง 3 ซึ่งเป้นผู้ลงผิด ไม่ได้มีเจตนาเอาผิดพรรคการเมืองใด พยานไม่ได้ใช้ประโยชน์จาการแถลงข่าวนี้ในการยื่นร้องเรียนต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง เห็นว่ามูลเหตุที่นายสุเทพ จัดแถลงข่าวดังกล่าวเชื่อได้ว่าจากการที่ผู้สมัครทั้ง 3 มาขอความช่วยเหลือเพราะกลัวความผิด นายสุเทพ จึงไดก้แนะนำให้ผู้สมัครทั้ง 3 ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคผู้ที่ร้อง 2 ดังปรากฏตามหนังสือออกเอกสารหมาย ล.41 ร.53 และร.56 ส่วนการแถลงข่าวนั้นนายสุเทพ อ้างเหตุผลในบันทึกถ้อยคำข้อเท็จจริงยืนยันข้อเท็จจริง หรือความเห็นว่าเพื่อต้องการให้ผู้กระทำผิด เช่นนี้ ในจังหวัดอื่นๆ ได้รับทราบ และแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งก้เป็นเหตุผลที่รับฟังได้ เพราะนอกเหนือจากการช่วยเหลือผู้สมัครทั้ง 3 แล้ว ผู้สมัครพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 อีกคนหนึ่ง คือ นายปฐม เทียนสิน ที่มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนในการรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดปัตตานี ได้มาขอความช่วยเหลือจากนายสุเทพ ในลักษณะเดียวกัน ซึ่งนายสุเทพ ได้แนะนำให้นายปฐม ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 เช่นเดียวกัน ดังปรากฏตามบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริง หรือความเห็นของนายปฐม นอกจากนี้เมื่อพิจารณาจากการแถลงข่าวของนายสุเทพ ตามเอกสารการถอดเทปการแถลงข่าวของนายสุเทพ เอกสารหมาย ถ.99 แล้ว มีนักข่าวคนหนึ่งสอบถามนายสุเทพ ว่าเปิดเผยขบวนการที่มาติดต่อให้ลงได้หรือเปล่า ว่าเกิดจากอะไร เกี่ยวกับพรรคการเมืองอื่นหรือเปล่า ซึ่งนายสุเทพ ตอบว่าในขณะนี้ 3 ท่านนี้ ผมได้คุยกันกับเขาแล้ว เขาไม่ทราบว่ามันเกี่ยวข้องกับพรรคไทยรักไทยหรือไม่อย่างใด แต่ว่ามีคนพาไปพบคุณเจ๋ง ดอกจิก ที่โรงวแรมลิเบอร์ตี้ และให้กรอกใบสมัครพรรค และพาไปถ่ายรูปคืนนั้น เลย เวลา 3 ทุ่มแล้ว และได้บอกให้รีบกลับไปสมัครผู้แทนเหมือนกับการข้อร้อง และมีค่าตอบแทนให้นิดหน่อย แต่ว่าเบื้องหลังหรือว่าเบื้องลึกเป็นอย่างไร คิดว่าเป็นหน้าที่ของ กกต.เป็นผู้ตรวจสอบ เพราะเขาจะระบุวันเวลาสถานที่ที่พา 3 คนนี้มาพบ ผมฟังดูแล้วรู้สึกว่าเท่าที่ถามดูบอกว่าคึกคักคนเยอะ อาจมีหลายพรรคที่ทำแบบเดียวกันรับสมัครที่เดียวกัน ที่โรงแรมลิเบอร์ตี้พร้อมกัน อะไรอย่างนี้นะครับ
จากwww.manager.co.th
เห็นได้ว่านายสุเทพ ยันว่าไม่ได้แถลงเป็นการกระทำของพรรคการเมืองใดที่มีการอ้างถึงพรรคไทยรักไทย ก็เพียงยืนยันการรับรู้ของผุ้สัมครทั้ง 3 ว่า ไม่ทราบว่าจะเกี่ยวข้องกับพรรคไทยรักไทยหรือไม่เท่านั้น ส่วนที่นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล พยานซึ่งเป็นผู้เริ่มต้นคดีกล่าวหาผู้ถูกร้องที่ 1 ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเบิกความว่า ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาที่ทุกคนเข้าใจว่าถ้าผู้ถูกร้องที่ 1 พูดถึงเรื่องอย่างนี้ ก็ต้องหมายถึงพรรคไทยรักไทยนั้น พยานยอมรับว่าไม่มีข้อความส่วนในระบุถึงพรรคไทยรักไทย จึงเป็นเรื่องที่พยานคาดคิดเองว่าเป็นการกล่าวหาพรรคไทยรักไทย จากเหตุผลดังกล่าวข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่านายสุเทพ แถลงข่าวกล่าวหาพรรคไทยรักไทยว่า จ้างผู้สมัครทั้ง 3 แต่อย่างใด
จากwww.manager.co.th
ประเด็นข้อ 3 ที่ว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 ว่าจ้างนายวรรธวริทธิ์ ตันติภิรมย์ หัวหน้าพรรคชีวิตที่ดีกว่า ใส่ร้ายนายสุวัจน์ กรรมการบริหารพรรค และผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคไทยรักไทย บัญชีรายชื่อ ว่าจ้างสมาชิกพรรคชีวิตที่ดีกว่า สมัครรับเลือกตั้งอันเป็นข้อความเท็จ เพื่อให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมของนายสุวัจน์ หรือพรรคไทยรักไทยหรือไม่ ตามคำร้องของผู้ร้องระบุว่านายไทกร ในฐานะตัวแทนของนายสุเทพ เลขาธิการพรรคผู้ถูกร้องที่ 1 เป็นผู้ว่าจ้างนายวรรธวริทธิ์ คดีจึงมีปัญหาที่จะต้องพิจารณาในเบื้องต้นว่านายไทกร ว่าจ้างให้นายวรรธวริทธิ์ จัดแถลงข่าวใส่ร้ายนายสุวัจน์ ว่า เป็นผู้ว่าจ้างสมาชิกพรรคชีวิตที่ดีกว่าลงสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ นายวรรธวริทธิ์ ให้การต่อคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงไว้ตามเอกสารหมาย ล.92 ว่า เมื่อประมาณวันที่ 20 เมษายน2549 เวลาประมาณ 11.00 น. นายไทกร พร้อมกับพวก ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ จ.ชัยภูม และนครราชสีมา 3 คน ไปหาพยานที่บ้าน ซึ่งเป็นที่ที่ทำการพรรค ซึ่งอยู่ ต.โคกสูง อ.เมืองนครราชาสีมา จ.นครสีมา พบกับภรรยาของพยาน นายไทกรกับพวกถามหาพยาน เมื่อภรรยาของพยานบอกว่าพยานไม่อยู่ บุคคลทั้งสามได้บอกภรรยาของพยานว่า พยานมีความผิด ฐานร่วมกันทำเอกสารสมัครสมาชิกพรรคอันเป็นเท็จ เพื่อให้ส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้งโดยรู้อยู่ว่า สมาชิกดังกล่าวไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ทางผู้ถูกร้องที่ 1 จะเอาเรื่องแจ้งความดำเนินคดีในข้อหาจัดทำเอกสารอันเป็นเท็จ ซึ่งจะต้องถูกดำเนินคดีอาญา และถูกคณะกรรมการการเลือกตั้งยุบพรรค หากไม่ต้องการมีเรื่อง ให้รีบติดต่อไปที่ ด.ต.สมพงษ์ ไม่ทราบนามสกุล หรือ ด.ต.น้อย ไม่ทราบนามสกุล เป็นตำรวจสถานีตำรวจภูธร ต.จอหอ จ.นครราชสีมา โดยมีหมายเลขโทรศัพท์ที่คนทั้งสองให้ไว้ด้วย ภรรยาของพยานได้โทรศัพท์แจ้งรายละเอียดที่บุคคลทั้งสามมาพบให้พยานทราบ
จากwww.manager.co.th
ขณะนั้นพยานทำธุระอยู่ที่กรุงเทพฯ หลังจากนั้นพยานได้เดินทางไปพบ พล.ต.ต.ประสิทธิ์ ทำดี ผู้บังคับการตำรวจภูธร จ.ชัยภูมิ ซึ่งรู้จักและมีความสนิทสนมกับพยาน เพื่อแจ้งรายละเอียดที่พยานถูกบุคคลทั้งสามพูดทำนองข่มขู่ และบุคคลหนึ่งที่ไปบ้านนั้นอ้างว่า เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก จ.ชัยภูมิ แต่ไม่ทราบชื่อ พล.ต.ต.ประสิทธิ์ แนะนำให้พยานแจ้งความบันทึกไว้เป็นหลักฐานเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2549 โดยมี พ.ต.ท.รุทธพล เนาวรัตน์ เป็นผู้รับแจ้งไว้ ต่อมาจึงมีการนัดพบกับนายไทกรที่โรงแรมเดอะแกรนด์ ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร โดย พ.ต.ท.รุทธพล ไปด้วย แต่ พ.ต.ท.รุทธพล ได้แอบบันทึกภาพและเสียงการสนทนากับนายไทกรไว้ โดยแอบติดกล้องไว้ที่เนกไท และ พ.ต.ท.รุทธพล ได้อ้างตัวเป็นทนายความและเป็นหลานของนายวรรธวริทธิ์ เข้าไปบันทึกภาพและเสียงสนทนาไว้ตามเอกสารหมาย ล 185 และวีซีดีเอกสารใน ล 196 พยานหลักฐานชิ้นนี้จึงเกิดจากการที่ พ.ต.ท.รุทธพล กับนายวรรธวริทธิ์ ร่วมกันวางแผนบันทึกไว้ โดยนายไทกร คู่สนทนา ไม่รู้ การสนทนาของฝ่ายนายวรรธวริทธิ์ กับ พ.ต.ท.รุทธพล ย่อมจะต้องไม่พูดในสิ่งที่จะเป็นผลร้อยต่อตนเอง ในทางตรงกันข้าม เมื่ออยู่ในฐานะที่เหนือกว่าเช่นนั้น ย่อมพูดหลอกล่อให้อีกฝ่ายพูดในสิ่งที่ตนต้องการ การรับฟังพยานหลักฐานข้างต้นจึงต้องรับฟังด้วยความระมัดระวัง ข้อเท็จจริงปรากฏจากที่นายวรรธวริทธิ์ทำหนังสือถึงประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งตามเอกสารหมาย ล 91 ยอมรับว่า ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2549 ผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งไม่ประกาศให้ผู้สมัครของพรรคชีวิตที่ดีกว่า 4 คน เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง
จากwww.manager.co.th
ในการสนทนาระหว่างนายไทกรกับนายวรรธวริทธิ์ และ พ.ต.ท.รุทธพล ตามเอกสารหมาย ล 85 นั้น พอจับใจความสำคัญได้ว่า นายไทกรกล่าวหาว่านายวรรธวริทธิ์ ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคชีวิตที่ดีกว่า ออกหนังสือรับรองอันเป็นเท็จให้บุคคลทั้ง 4 ลงสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งเป็นความผิดอาญา โดยนายไทกรต้องการทราบว่า การที่นายวรรธวริทธิ์ส่งผู้สมัครลงสมัครรับเลือกตั้ง มีใครเป็นผู้ว่าจ้างหรือไม่ หากบอกมา นายสุเทพจะช่วยเหลือให้ไม่ติดคุก และจะจ่ายเงินให้ รวมทั้งจะช่วยเหลือทางการเมืองด้วย โดยถ้าบอกว่า ผู้จ้างเป็นบุคคลสำคัญของพรรคไทยรักไทยก็จะต่อรองได้ราคาสูง โดยนายไทกรยกตัวอย่างว่า ถ้าเป็นนายสุวัจน์เป็นผู้ว่าจ้าง ก็ต้องเป็นล้าง แต่ถ้าเป็น พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ก็ไม่เท่าไร เพราะถูกกล่าวหาไปแล้วว่าได้ว่าจ้างทั้งพรรคแผ่นดินไทยและพรรคพัฒนาชาติไทย ในการสนทนา นายไทกรพูดย้ำให้นายวรรธวริทธิ์เอาตัวรอดก่อน เพื่อจะได้ไม่ต้องติดคุก หากนายวรรธวริทธิ์ตัดสินใจพูดเรื่องนี้ ก็จะจัดการแถลงข่าว ส่วนนายวรรธวริทธิ์พูดปฏิเสธบ่ายเบี่ยงว่าตนไม่ได้ทำผิด แต่พูดรับปากนายไทกรว่า จะไปปรึกษาแม่บ้านก่อนจึงจะตัดสินใจได้ แต่ตามคำสนทนาเอกสารหมาย ล 185 ไม่ปรากฏข้อความตอนใดที่แสดงว่านายไทกรจ้างนายวรรธวริทธิ์ให้ใส่ร้ายนายสุวัจน์ หรือกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยอื่น การที่นายไทกรเอ่ยชื่อนายสุวัจน์ สืบเนื่องมาจากการสนทนาช่วงหนึ่ง นายวรรธวริทธิ์พูดว่า เมื่อได้คุยกับนายไทกรก็สบายใจ จึงนัดพูดคุยกับนายไทกรวันรุ่งขึ้น แต่พูดทำนองว่า ขอให้นายไทกรบอกถึงค่าตอบแทน เพราะนายวรรธวริทธิ์ได้ไปบอกลูกและภรรยา นายไทกรจึงพูดว่าไม่ใช่ เราไม่รู้ว่ามันเป็นใคร ถ้าพี่บอกว่าสุวัจน์มาหาพี่มันก็ต้องเป็นล้าน มันแล้วแต่ชื่อคน คำพูดของนายไทกรดังกล่าวมีนัยที่แสดงให้เห็นว่า นายไทกรเชื่อว่ามีคนว่าจ้างพรรคชีวิตที่ดีกว่าให้ส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้ง และหากนายวรรวริทธิ์เปิดเผยตัวผู้ว่าจ้างโดยยกตัวอย่างว่า ถ้าเป็นนายสุวัจน์ ก็จะได้รับค่าตอบแทนสูง แม้ข้อความที่นายไทกรพูดบางตอน เช่น ลุง การจะได้ ไม่ได้ ผมจะบอกว่าได้หรือไม่ได้ มันต้องถึงเขา ถ้าไม่ถึงเขาก็จะไม่มีใครจ่ายให้ลุงนะ ตามความจริง โดยคำพูดก่อนจบการสนทนาที่ว่า คืออย่างนี้ ในไทยรักไทย ใครก็ได้ในไทยรักไทย ขอให้เป็น ส.ส.ในไทยรักไทย ถ้าถึงคนใหญ่ดีกว่าคนเล็ก มันเหมือนมิโด้ ราโด้ ซิติเซ็น แต่คุณต้องทำให้มันถึงให้ได้ แต่ลุงต้องเก็บหลักฐานที่เขาโอนเงินลุง 5 พัน หรือ 1 หมื่นบาท ลุงต้องเตรียมหลักฐานตรงนี้มาหมดเลย ไม่อย่างนั้นลุงจะไม่มีน้ำหนัก ไอ้บุญทวีศักดิ์มันส่งเงินให้ลุงเท่าไร แล้วไอ้บุญทวีศักดิ์มันบอกว่า มันที่ชื่ออะไรในไทยรักไทย ซึ่งเมื่อพิจารณาคำพูดของนายไทกรดังกล่าวโดยผิวเผินแล้ว อาจเข้าใจว่าเป็นการว่าจ้างนายวรรธวริทธิ์ให้ใส่ร้ายกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยหรือสมาชิกพรรคไทยรักไทย แต่ถ้าหากพิเคราะห์การสนทนามาตั้งแต่ต้น ประกอบกับเหตุการณ์ทางการเมืองในขณะนั้น ก็จะเห็นเจตนาของนายไทกรว่า นายไทกรพูดอยู่บนพื้นฐานของนายไทกรที่ว่า พรรคไทยรักไทยว่าจ้างพรรคเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งมีการแถลงข่าวโดยนายสุเทพไปแล้ว จึงขอให้นายวรรธวริทธิ์เปิดเผยความจริงพร้อมพยานหลักฐานว่า มีใครว่าจ้างพรรคชีวิตที่ดีกว่า ถ้าข้อเท็จจริงเรื่องการว่าจ้างให้ลงสมัครรับเลือกตั้งโยงถึงกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย หรือสมาชิกพรรคไทยรักไทยที่มีชื่อเสียง ก็จะได้รับค่าตอบแทนสูง เปรียบเสมือนนาฬิกายี่ห้อต่างๆ ที่มีราคาไม่เท่ากับ ดังวินิจฉัยข้างต้น
จากwww.manager.co.th
ข้อเท็จจริงจึงมีเหตุผลเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกัน ฟังได้ว่า กรณีเป็นเรื่องที่นายไทกรพยายามที่จะแสวงหาพยานหลักฐานจากนายวรรธวริทธิ์ ในกรณีมีการกล่าวหาว่าพรรคไทยรักไทยว่าจ้างพรรคเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยเสนอค่าตอบแทนให้ หาใช่เป็นกรณีนายไทกรว่าจ้างนายวรรธวริทธิ์ใส่ร้ายนายสุวัจน์ไม่ ทั้งนี้ เพราะคำพูดของนายไทกรที่ว่า ลุงต้องเก็บหลักฐานที่เขาโอนเงินลุง 5 พันหรือ 1 หมื่น ลุงต้องเตรียมหลักฐานตรงนี้มาหมดเลย เป็นคำพูดที่แสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่า นายไทกรพยายามกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งพยานหลักฐาน หาใช่ต้องการให้ปรักปรำใส่ร้ายโดยไม่มีหลักฐานไม่ เมื่อผลแห่งคำวินิจฉัยเป็นดังนี้ กรณีจึงไม่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่านายไทกรกระทำการดังกล่าวในฐานะตัวแทนนายสุเทพ หรือว่าเป็นการกระทำของผู้ถูกร้องที่ 1 หรือไม่เพราะแม้วินิจฉัยไปอย่างไรก็ไม่อาจทำให้ผลที่เปลี่ยนไปได้
จากwww.manager.co.th
ประเด็นข้อที่ 4 ที่ว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 ขัดขวางการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนางสาวปัทมา ชายเกตุ นายเกษมสันต์ ยอดสุรางค์ และนายนิติธรรมวัฒน์ รัตนสุวรรณ ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ถูกร้องที่ 2 หรือไม่ ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 คณะกรรมการเลือกตั้งไม่ประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.สงขลา หลายเขต เนื่องจากผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่มีผู้สมัครคนเดียว ได้คะแนนเสียงน้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตนั้น คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.สงขลา ใหม่ โดยกำหนดให้เปิดรับสมัครในวันที่ 8 และ 9 เมษายน 2549 ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตภาคใต้ จ.สงขลา และในวันที่ 9 เมษายน 2549 นางสาวปัทมา ชายเกตุ นายชัยวัฒน์ มณีรัตน์ และนายนิติธรรมวัฒน์ รัตนสุวรรณ ผู้สมัครสมาชิกพรรคคนขอปลดหนี้ ได้เดินทางไปสมัครรับเลือกตั้งที่อาคารรับสมัครภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตภาคใต้ จ.สงขลา แต่นางสาวปัทมา และนายชัยวัฒน์ สมัครรับเลือกตั้งในวันดังกล่าวไม่ได้
จากwww.manager.co.th
ส่วนนายนิติธรรมวัฒน์ สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 4 จ.สงขลา คดีได้ความตามสำนวนสืบสวนสอบสวนของคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง ความเห็นของคณะกรรมการเลือกตั้ง และนายทะเบียนพรรคการเมืองที่แจ้งผู้ร้อง พร้อมด้วยพยานหลักฐาน เพื่อให้ยื่นคำร้องเป็นคดีนี้ว่า นางสาวปัทมา นายชัยวัฒน์ และนายนิติธรรมวัฒน์ เป็นผู้สมัครจากพรรคคนขอปลดหนี้ ไม่ใช่ผู้สมัครของพรรคผู้ถูกร้องที่ 2 ตามคำร้อง แต่เมื่อคำร้องได้บรรยายอ้างถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องไว้ด้วยเช่นนี้ จึงเป็นเพียงการบรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับพรรคที่ผู้สมัครสังกัดคลาดเคลื่อนไป ส่วนนายเกษมสันต์ ปรากฏว่าเป็นเพียงผู้ประสานงานหาผู้สมัครพรรคคนขอปลดหนี้ ไม่ได้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งตามที่คำร้องของผู้ร้องยกข้ออ้างที่เป็นหลักแห่งข้อหาว่า พรรคผู้ถูกร้องที่ 1 ขัดขวางการสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้ง สาระสำคัญของข้อหาจึงอยู่ที่การกระทำตามข้อกล่าวหา และผู้ร้องได้บรรยายคำร้องเกี่ยวกับพรรค และชื่อของผู้สมัครบางคนคลาดเคลื่อนไป เพราะถือว่าเป็นรายละเอียด เจ้าหน้าที่จะพิจารณาวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงที่ถูกต้องต่อไป
จากwww.manager.co.th
ปัญหาที่จะต้องพิจารณาในเบื้องต้นก็คือ มีการขัดขวางการรับสมัครเลือกตั้งดังกล่าวหรือไม่ พ.ต.อ.พงษ์ศักดิ์ นาควิจิตร รองผู้บังคับการตำรวจภูธร จ.สงขลา จึงมีหน้าที่ควบคุมกำกับดูแลความเรียบร้อยเกี่ยวกับการเลือกตั้งใน จ.สงขลา กับ พ.ต.ต.ถาวร ผลกล้า สารวัตรป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจภูธร อ.เมืองสงขลา ที่มีหน้าที่เป็นชุดแจ้งเหตุและระงับเหตุการณ์การเลือกตั้ง ได้ให้การต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงทำนองเดียวกันว่า ในวันที่ 9 เมษายน 2549 พยานทั้งสองได้ไปทำหน้าที่อยู่ที่สถานที่รับสมัคร มีผู้มาชุมนุมประมาณ 100-200 คน หรือหน้าทางเข้า-ออกสถานที่รับสมัคร โดยมีนายชาลีเป็นแกนนำ เมื่อมีผู้มาสมัคร เช่นเมื่อเวลา 09.30 น.เศษ นางสาวกนกพร สวัสดิ์ฤทธิรณ จากพรรคประชาชน มาสมัครในเขต 2 ผู้ชุมนุมมีการโห่ร้อง โห่ไล่ เวลา 15.00 น.เศษ ผู้สมัครจากพรรคประชากรไทยเดินทางมาโดยรถตู้ และเวลาประมาณ 16.00 น. ผู้สมัครจากพรรคคนขอปลดหนี้จำนวน 4-5 คน ก็เดินทางมาถึง กลุ่มผู้ชุมนุมตะโกนด่าไล่ และขอร้องไม่ให้สมัคร หนึ่งในจำนวนผู้ชุมนุมได้นั่งลงกราบขอไม่ให้ผู้สมัครทั้งสองพรรคเข้าไปสมัคร เจ้าหน้าที่ตำรวจและอาสาสมัครพาผู้สมัครเข้าไปสมัครต่อเจ้าหน้าที่ได้ และนางสาวปัทมาพาผู้สมัครคนหนึ่งของพรรคคนขอปลดหนี้ให้การต่อคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง และเบิกความว่า นายอำเภอเป็นผู้พาพยานเข้าไปสมัคร แต่พยานไม่สามารถสมัครรับเลือกตั้งได้ เนื่องจากมีปัญหาเกี่ยวกับเอกสารไม่ครบ คือขาดแบบฟอร์มการแต่งตั้ง สมุดบัญชีเลือกตั้ง รูปถ่าย และสำเนาบัญชีกระแสรายวัน ซึ่งติดอยู่ในรถยนต์ที่พยานนั่งมา แต่เนื่องจากขณะนั้นมีกลุ่มผู้ชุมนุมเป็นจำนวนมากอยู่บริเวณโดยรอบที่สมัคร จึงทำให้พยานไม่สามารถออกไปเอาได้ พยานบอกให้เจ้าหน้าที่รับสมัครว่า ขอให้เจ้าหน้าที่สมุห์บัญชีของพรรคเอาเอกสารเข้าไปให้พยาน แต่เจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตเนื่องจากหมดเวลารับสมัครพอดี ส่วนนายชูชาติ หัวหน้าพรรคคนขอปลดหนี้ ได้เบิกความว่า พยานไม่ได้นำผู้สมัครของพรรคคนขอปลดหนี้ไปสมัครตั้งแต่เช้า เนื่องจากมีการประท้วงกันอยู่ พยานจึงรอ คิดว่าสัก 3 โมงก็จะเลิก แต่เมื่อพยานพาผู้สมัครไป ก็ยังมีผู้คนมากมาย พาผู้สมัครเข้าไปสมัครได้แต่ออกมาไม่ได้ นอกจากนี้ นายนฤนารถ สุภัทรประทีป นายอำเภอเมืองสงขลา ได้ให้การไว้ตามเอกสารหมาย ล 109 ว่า เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2549 เวลา 08.00 น.เศษ พยานเดินทางไปตรวจสถานที่รับสมัคร ต่อมาเวลาประมาณ 09.30 น. นางสาวกนกพร ผู้สมัครจากพรรคพลังประชาชน เดินทางมาสมัคร ผู้ชุมนุมไม่รู้จัก และไม่ทราบว่าเป็นผู้สมัคร จึงไม่มีปฏิกิริยาคัดค้าน ต่อมาอีก 15 นาที เมื่อผู้ชุมนุมทราบว่านางสาวกนกพร เป็นผู้สมัครจากพรรคเล็ก ก็ได้ตะโกนมายังห้องรับสมัคร กล่าววาจาหยาบคาย โห่ไล่ร้องเสียงดังว่า อีหน้าด้าน ขอดูหน้า ให้ออกมาแสดงตัว มือปืนรับจ้าง ได้เงินมาเท่าไร ด่าเสียดสีต่างๆ นานา จนเป็นเหตุให้นางสาวกนกพร ตกใจกลัว ไม่กล้าออกไป
จากwww.manager.co.th

อ่านต่อ... คำวินิจฉัยคดียุบ “ปชป.-ประชาธิปไตยก้าวหน้า” นาทีต่อนาที(ตอนจบ)

คลิกที่นี่ เพื่อชมวิดีโอคลิป
คำวินิจฉัยตุลาการฯ คดีพรรคประชาธิปัตย์-ประชาธิปไตยก้าวหน้า(1)

( 56 k ) | ( 256 K )


คลิกที่นี่ เพื่อชมวิดีโอคลิป
คำวินิจฉัยตุลาการฯ คดีพรรคประชาธิปัตย์-ประชาธิปไตยก้าวหน้า(2)

( 56 k ) | ( 256 K )


คลิกที่นี่ เพื่อชมวิดีโอคลิป
คำวินิจฉัยตุลาการฯ คดีพรรคประชาธิปัตย์-ประชาธิปไตยก้าวหน้า(3)

( 56 k ) | ( 256 K )


คลิกที่นี่ เพื่อชมวิดีโอคลิป
คำวินิจฉัยตุลาการฯ คดีพรรคประชาธิปัตย์-ประชาธิปไตยก้าวหน้า(4)

( 56 k ) | ( 256 K )

กำลังโหลดความคิดเห็น