xs
xsm
sm
md
lg

ถามมา ตอบไป! หลัง "อาจารย์ มธ." ถามถึงดีลควบรวมทรูดีแทค และ “กสทช.

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ดีลควบรวม ทรู ดีแทค สิ่งแรกที่ต้องนำมาพิจารณาคงไม่ใช่ความคิดเห็นในกระแสในโซเชียล แต่ควรเป็นการอิงตามกฎ กติกา และหลักกฏหมาย คำถามที่สำคัญคือ การควบรวมกิจการนั้น มีขั้นตอนเป็นไปตามกฏหมายหรือไม่ ซึ่งมีคำตอบเป็นที่ปรากฏชัดเจนคือ การควบรวมนี้เป็นไปตามกฏหมาย ประกาศ กสทช. ปี 61

ล่าสุด “กนกนัย ถาวรพานิช” อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มธ. ตั้งคำถาม 7 ประเด็น TRUE ควบ DTAC พร้อมถาม “กสทช.” อยากถูกจดจำแบบไหน? หวังดึงให้ช้า รอพิจารณาให้รอบคอบ ขณะเดียวกัน กรณีนี้เป็นที่กังขาในวงการนัก ลงทุน จึงได้ออกมาตอบคำถาม เพื่อเป็นมุมมองอีกด้านหนึ่งแก่สังคม ท่ามกลางการขับเคลื่อนของโลกที่ก้าวไปไกลถึงยุคเมตาเวิร์ส

ก่อนตอบคำถาม แหล่งข่าวจากวงการนักลงทุน ขอย้อนถามสังคมว่า กฏหมายหรือประกาศ กสทช. ปี 61 มีความชอบธรรมหรือไม่ คำตอบคือ ประกาศ ปี 2561 เป็นกฎหมายที่ถูกต้องทุกขั้นตอน และมีการทำประชามติ หลายครั้ง ซึ่งเอไอเอสเองนั้นก็เห็นด้วยกับประกาศปี 61 และยังกล่าวด้วยว่า ควรเร่งกระบวนการควบรวมให้เร็วกว่า 90 วันด้วยซ้ำ ซึ่งในการออกประกาศปี61 นั้น ไม่มีเสียงคัดค้าน ทำให้เกิดการควบรวม CAT และ TOT และอีกหลายกรณี ทำให้การพยายามบิดเบือนว่า ประกาศควบรวมปี 61 นั้นไม่ชอบธรรม เป็นการวิจารณ์กฏหมายด้วยการเลือกปฏิบัติ

นอกจากนี้ความกังวลว่าควบรวมไปแล้วจะเป็นอย่างไร มีผลกระทบหรือไม่ แน่นอนว่า กสทช.มีอำนาจเต็มในกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมอยู่แล้ว หากใครฝ่าฝืน กสทช. ก็มีหน้าที่อันชอบธรรมอยู่แล้ว การออกมาวิ่งเต้นตามสื่อว่าจะเกิดความเสียหายนั้น เป็นการกังวลเรื่องในอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น และในอนาคตหากมีความเสี่ยงหรือสัญญานว่าจะเกิดการเอาเปรียบ กสทช.ก็มีหน้าที่โดยตรงอยู่แล้ว ในขณะนี้การพิจารณาของ กสทช. อยู่ในขั้นตอนที่ถูกต้องตามกฏหมาย จึงต้องให้เวลา กสทช. ทำหน้าที่ ทุกคนมีหน้าที่เป็นของตนเอง กรณี ควบรวมทรู ดีแทค กสทช. มีกรอบเวลาที่ต้องปฏิบัติตามกฏหมาย หากไม่ทำตามกฏหมาย แล้วจะอ้างอิงกับหลักการใด การออกมาขับเคลื่อนกดดันการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง และใช้กลไกทางกฏหมาย มาทำให้กฏหมาย

อย่างไรก็ดี โค้งสุดท้ายของการพิจารณาเงื่อนไขจาก กสทช. เป็นไปตามคาดการณ์ว่าจะมีนักวิชาการออกมาขับเคลื่อน กรณีดีลควบรวมทรูดีแทค ซึ่งจริง ๆ แล้วถือเป็นการปรับ

โครงสร้างกรณีสุดท้ายของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมหลัง CAT และ TOT ได้ควบรวมไปก่อนหน้านี้ และ เอไอเอส ปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้น โดยมี กัลฟ์ มาเสริมกำลังเป็นผู้ถือหุ้นหลัก

นักลงทุนได้ตอบคำถาม ดังนี้

ประเด็นที่ 1 : การกำหนดขอบเขตตลาดที่ต้องอยู่บนฐานข้อเท็จจริง
ตอบ : ตลาดโทรคมนาคมใหม่ในยุคปัจจุบัน เปลี่ยนไปจากเดิมแล้ว ไม่ใช่เรื่องการแข่งขันของผู้ให้บริการโทรคมนาคมเดิม ๆ ทีมีแค่ เอไอเอส ดีแทค หรือ ทรู เท่านั้น แต่มีผู้เล่นเข้ามาใหม่มากมาย โดยเฉพาะ OTT ได้แก่ ไลน์ เฟสบุ้ค ซูม ทวิตเตอร์ ที่ใช้โครงสร้างพื้นฐานของโทรคมนาคมอย่างเต็มที่ในการให้บริการ และเก็บรายได้ไปเต็ม ๆ จากการให้บริการผ่านระบบแอปพลิเคชัน โดยผู้ให้บริการจากต่างชาติเหล่านี้ มีสร้างรายได้มหาศาล แล้วนำกลับประเทศต้นทางไปโดยไม่ต้องจ่ายภาษี ตกเป็นภาระของผู้ประกอบการไทยที่ต้องแข่งขันกันบนกฎหมายที่ถูกควบคุม และมีต้นทุนทางภาษีที่สูงกว่า ดังนั้น หากนักวิชาการจะอ้างค่าดัชนี HHI มาวัด ก็

ต้องนับรวมผู้เล่นใหม่ ๆ ในตลาดพวกนี้เข้าไปด้วย โดยต้องมองตลาดต้องมองให้ครบ ต้องมีความรู้ในอุตสาหกรรมเพียงพอ การมองส่วนแบ่งตลาดแบบนับซิมก็ไม่ถูกต้อง เพราะมีซิมจำนวนมากไม่ได้ถูกใช้งาน แต่ถ้านับกำไร จะเห็นได้ว่าตลาดปัจจุบันถูกผูกขาดโดยผู้นำตลาดรายเดียวอยู่แล้ว ถ้าไม่ปิดตาหนึ่งข้าง ทุกคนคงมองเห็น

ประเด็นที่ 2 : การพิจารณาการควบรวมไม่ควรรีบร้อน ต้องโปร่งใส และรับฟังข้อเท็จจริงให้รอบด้าน
ตอบ : ผู้ตั้งคำถามอาจไม่เชี่ยวชาญกฎหมายโทรคมนาคม ทั้งนี้กฎหมายฯกำหนดไว้สรุปได้ว่าหลังจากได้รับแจ้งการควบรวมต้องสรุปการพิจารณาภายใน 90 วัน หรือ เพราะหากดึงการควบรวมให้ล่าช้า จะสุ่มเสี่ยงว่า ต้องการเอื้อผู้ประกอบการรายใดหรือไม่

หากเปรียบการควบรวม เป็นการปรับตัวของผีเสื้อจากดักแด้ ช่วงที่อ่อนแอที่สุดคือช่วงดักแด้เปลี่ยนเป็นผีเสื้อ บินก็ไม่ได้ คลานหนีก็ไม่ได้

เดินไปข้างหน้าก็ไม่ได้ ถอยหลังก็ไม่ได้ จังหวะนี้หากมีการขับเคลื่อนดึงเกมให้ดำเนินการได้ช้าที่สุด ยิ่งดึงได้นานเท่าไหร่ ใครคือผู้ได้ประโยชน์ ล่าสุด นายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ แห่งเอไอเอส ออกมาประกาศเร่งการลงทุน เพื่อเตรียมแข่งขันกับบริษัทหลังการควบรวม เพราะหากควบรวมสำเร็จ ผู้เล่นในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมทั้งสองรายจะหายใจรดต้นคอกันทันที สรรพกำลังในการดึงเกมจึงต้องมา จะเห็นได้ว่าการแข่งขันสูงขึ้นทันที

ประเด็นที่ 3 : การให้เหตุผลว่าด้วยความจำเป็นและประโยชน์ของการควบรวม และข้ออ้างเรื่องชาตินิยมทางเศรษฐกิจหรือไม่
ตอบ : เป็นเรื่องตลกร้ายของไทย ที่เอกชนเป็นหนี้ รัฐบาลได้เงิน ทุกคนต้องแข่งขัน แต่นักวิชาการมาโดดขวาง คำถามว่า จำเป็นหรือไม่ที่ต้องควบรวม หากท่านมีหนี้บ้าน ต้องหาเงินมาใช้หนี้ ต้องถามเพื่อนบ้านหรือไม่ว่าท่านควรทำอย่างไร ฉันใดฉันนั้น การปรับตัวของภาคธุรกิจ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของทนุษย์และองค์กร ที่ต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมภายใต้กฎหมาย นักวิชาการผู้อ้างประโยชน์เพื่อบ้านเมืองต้อง

ตอบให้ได้ด้วยว่า ทำไมเลือกปฏิบัติ คนที่รู้ว่าบริษัทจำเป็นต้องควบรวมหรือไม่? คือเจ้าของกิจการที่ต้องการแข่งขันต่อในอุตสาหกรรม คนไม่ได้มีภาระ (No skin in the game) วิจารณ์จากข้างสนาม ย่อมไม่เข้าใจความเร่งด่วน การแสดงความคิดเห็นต้องรับผิดชอบกับความเห็นด้วย หากเกิดความเสียหายจากการควบรวมล่าช้า ใครคือผู้รับผิดชอบ ซึ่งจะกระทบถึงตลาดทุน และภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตานักลงทุนต่างประเทศ

ในส่วนของประเด็นชาตินิยมทางเศรษฐกิจที่กล่าวอ้าง ซึ่งมองว่าไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายการแข่งขันทางการค้า เช่นนั้นก็เท่ากับกฎหมายนี้เป็นกฎหมายที่บอนไซการทำธุรกิจ จึงควรจะปรับเปลี่ยนกฎหมายแข่งขันทางการค้าให้เท่าทันต่อธรรมชาติของการดำเนินธุรกิจ ที่ต้องขยายตัวและปรับเปลี่ยนไปตามสภาพ ไม่เช่นนั้นคงไม่มีคำว่า S-Curve หรือ New S-Curve ให้ธุรกิจและเศรษฐกิจได้เดินต่อ ทั้งนี้ ไม่ว่ากฎหมายใด ๆ ก็ไม่ควรจำกัดเสรีภาพในการดำเนินธุรกิจ

ประเด็นที่ 4 : การใช้อำนาจห้ามควบรวมในฐานะผู้กำกับดูแล
ตอบ : กสทช มีอำนาจในการควบคุม กำหนดเงื่อนไข ไม่ให้ลูกค้าได้รับผลกระทบอยู่แล้ว สอดคล้องกับกฏหมายแม่บท ก่อนหน้าที่จะมีการควบรวมทรูดีแทค ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมก็มีการควบรวมของ ALT Telecom กับ อินเตอร์เนชั่นแนล เกตเวย์, ALT Telecom กับ สมาร์ท อินฟราเนท, CAT และ TOT, ทริปเปิลที อินเทอร์เน็ตกับทริปเปิลที บรอดแบนด์ และยังมีกรณีที่กัลฟ์กับเอไอเอส ไม่มีใครคัดค้าน หรือขัดขวาง แต่ครั้งนี้ทั้งนักวิชาการ นักการเมือง ดาหน้ากันออกมา เกิดข้อสังเกตว่า “เป็นเครื่องมือให้ใครหรือไม่ ห้ามควบรวมเฉพาะทรู แต่ CAT และ TOT ทำได้ เพราะอะไร” ทั้ง ๆ ที่อยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน ใช้กฎหมายตัวเดียวกัน ผู้ได้ประโยชน์ตัวจริงคือใคร นักวิชาการควรไปวิเคราะห์ และเปิดโลกทัศน์ให้เท่าทันโลกยุคเมตาเวิร์ส

ประเด็นที่ 5 : การแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นความลับทางธุรกิจก่อนการควบรวมจะเสร็จสิ้น
ตอบ : การกล่าวหาเช่นนี้ อาจเสี่ยงถูกฟ้องร้องได้ การแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นความลับทางธุรกิจ ถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย บริษัทที่อยู่ระหว่างการควบรวมทั้งสองราย ล้วนจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีกฎ กติกา และมีจริยธรรมธุรกิจที่ต้องเคารพ การมองโลกในแง่ร้าย บางครั้งไม่เกิดผลดีต่อสังคมและประเทศชาติ แต่หากเกิดเป็นกรณีดังที่วิตกกังวลจริง ก็สามารถดำเนินคดีตามกฎหมายได้

ประเด็นที่ 6 : การเผยแพร่คำวินิจฉัยต่อสาธารณะ
ตอบ : ประเด็นนี้ อาจารย์กนกนัยน่าจะสับสน เพราะการเผยแพร่คำวินิจฉัยฉบับเต็ม กรณีการควบรวมระหว่างเทสโก้และซีพี เป็นเรื่องของสำนักงาน “กขค.” ไม่ใช่ “กสทช.” และตามที่ปรากฏสังคมก็ได้เห็นและรับทราบคำวินิจฉัยของกขค. ต่อกรณีการควบรวมเทสโก้และซีพีในธุรกิจค้าปลีกกันแล้ว โดยเป็นการอนุญาตแบบมีเงื่อนไข ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับกรณีทรูดีแทคที่เป็นบทบาทและความรับผิดชอบของกสทช.

ประเด็นที 7 บทส่งท้าย: ประวัติศาสตร์อันด่างพร้อยของระบบกฎหมายการแข่งขันทางการค้าของไทย
ตอบ : ในทางตรงกันข้าม หากนักวิชาการขับเคลื่อนให้กสทช. ฝืนการปฏิบัติตามกฏหมายได้ จะเป็นการด่างพร้อยอย่างแท้จริง กฏหมายต้องเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ หรือเลือกปฏิบัติเฉพาะราย เพราะกระบวนการออกกฎหมายดังกล่าวกสทช. ก็ดำเนินการอย่างถูกต้อง การระบุว่ากฎหมายปี 61 ไม่ชอบธรรมนี้ถือเป็นการบิดเบือนร้ายแรง ดังนั้นการสร้างความเชื่อมั่นว่า กฎหมายและหน่วยงานกำกับดูแลของไทยมีความศักดิ์สิทธิ์ ไม่ถูกแทรกแซง จึงมีความชอบธรรม เพราะบนโลกใบนี้ไม่ได้มีแต่ประเทศไทย การที่บริษัทไทยมีศักยภาพถือเป็นเรื่องดีที่ควรส่งเสริม ให้ผู้ประกอบการไทยแข่งขันกับต่างชาติได้ แต่การณ์ครั้งนี้ดูเหมือนเราเก่งแต่กับคนไทยด้วยกัน ข้าศึกดิจิทัลบุกจนคนไทยไม่รอด ก็มาขัดแข้งขัดขากันเอง ในที่สุดเราจะตายกันหมด ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มจากต่างประเทศเข้ามาเติบโตในเมืองไทยเก็บเงินในกระเป๋าออกจากประเทศ กลับไม่เคยมีใครช่วยหาทางออก มีแต่นักวิจารณ์ ที่ต้องรับผิดชอบกับความเห็นที่สุ่มเสี่ยงต่อการบิดเบือน และทำให้สังคมเข้าใจผิด


กำลังโหลดความคิดเห็น