xs
xsm
sm
md
lg

สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 18 ม.ค.2562

- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 4 ในวันศุกร์ (18 ม.ค.) โดยภาวะการซื้อขายได้รับปัจจัยสนับสนุนจากรายงานข่าวที่ว่า สหรัฐฯ กำลังพิจารณาที่จะการผ่อนคลายมาตรการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน ขณะที่จีนเองก็ได้เสนอเพิ่มการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ มากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ ซึ่งข่าวดังกล่าวทำให้นักลงทุนมีความหวังว่า ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน อาจได้รับการแก้ไขในเร็ววัน นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากข้อมูลภาคอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่ง ซึ่งช่วยบดบังความกังวลเกี่ยวกับภาวะชัตดาวน์ในสหรัฐฯ ที่ยังคงยืดเยื้อ รวมถึงผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่น่าผิดหวัง

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 24,706.35 จุด เพิ่มขึ้น 336.25 จุด หรือ 1.38% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,670.71 จุด เพิ่มขึ้น 34.75 จุด หรือ 1.32% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,157.23 จุด เพิ่มขึ้น 72.76 จุด หรือ 1.03%

- ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งในวันศุกร์ (18 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน หลังมีรายงานข่าวว่า สหรัฐฯ อาจผ่อนคลายมาตรการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน และจีนเสนอเพิ่มการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ

ดัชนี Stoxx Europe 600 เพิ่มขึ้น 6.32 จุด หรือ 1.80% ปิดที่ 357.05 จุด และทั้งสัปดาห์เพิ่มขึ้น 1.9%
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมัน ปิดที่ 11,205.54 จุด เพิ่มขึ้น 286.92 จุด หรือ 2.63% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศส ปิดที่ 4,875.93 จุด เพิ่มขึ้น 81.57 จุด หรือ 1.70% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอน ปิดที่ 6,968.33 จุด เพิ่มขึ้น 133.41 จุด หรือ 1.95%

-- ตลาดหุ้นลอนดอนปิดดีดตัวขึ้นในวันศุกร์ (18 ม.ค.) นำโดยหุ้นกลุ่มเหมืองแร่ และบริษัทสร้างบ้าน โดยภาวะการซื้อขายได้แรงหนุนจากการที่ตลาดคลายกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน หลังมีรายงานข่าวว่าสหรัฐฯ อาจผ่อนคลายมาตรการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน และจีนเสนอเพิ่มการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ

ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอน ปิดที่ 6,968.33 จุด พุ่งขึ้น 133.41 จุด หรือ 1.95% ขณะที่ทั้งสัปดาห์ดัชนีปรับตัวขึ้นเกือบ 1%

-- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์ก ปิดปรับตัวลงในวันศุกร์ (18 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนลดการถือครองทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย และหันไปเพิ่มการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นและดอลลาร์สหรัฐ หลังตลาดคลายกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือน ก.พ. ลดลง 9.70 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 0.75% ปิดที่ 1,282.60 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ และลดลง 0.5% ในรอบสัปดาห์ ซึ่งเป็นการลดลงสัปดาห์แรกนับตั้งแต่ช่วงกลางเดือน ธ.ค.

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือน มี.ค. ลดลง 13.7 เซ็นต์ หรือ 0.88% ปิดที่ 15.399 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์
สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือน เม.ย. ลดลง 10.2 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1.26% ปิดที่ 802.10 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์
สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือน มี.ค. ลดลง 13.1 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1% ปิดที่ 1,335.10 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

-- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์ก ปิดดีดตัวขึ้นกว่า 3% ในวันศุกร์ (18 ม.ค.) หลังมีรายงานว่า กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ได้ปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันในเดือน ธ.ค. ซึ่งทำให้นักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับภาวะน้ำมันล้นตลาด นอกจากนี้ ภาวะการซื้อขายยังได้แรงหนุน หลังมีสัญญาณที่ดีว่าความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน กำลังจะได้รับการคลี่คลายในเร็ววันนี้ ขณะเดียวกัน เบเกอร์ ฮิวจ์ เผยจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันรายสัปดาห์ในสหรัฐฯ ลดลงมากที่สุดในรอบเกือบ 3 ปี ซึ่งข้อมูลดังกล่าวมีส่วนสนับสนุนให้ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ก.พ. เพิ่มขึ้น 1.73 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 3.3% ปิดที่ 53.80 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และเพิ่มขึ้น 4.3% ตลอดทั้งสัปดาห์ ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน

สัญญาน้ำมันดิบเบรนต์ส่งมอบเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้น 1.52 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 2.5% ปิดที่ 62.70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่ทั้งสัปดาห์ เพิ่มขึ้น 3.7%

-- ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันศุกร์ (18 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ด้านการค้าที่ตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีน โดยมองว่าจะคลี่คลายลงได้ในอีกไม่นานนี้ หลังมีรายงานว่า สหรัฐฯ กำลังพิจารณาที่จะผ่อนคลายมาตรการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน ขณะที่ทางฝั่งจีนเองก็ได้เสนอที่จะเพิ่มการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 109.78 เยน จากระดับ 109.26 เยน, แข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9952 ฟรังก์ จากระดับ 0.9937 ฟรังก์ และแข็งค่าแตะ 1.3269 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3266 ดอลลาร์แคนาดา

ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1369 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.1390 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะ 1.2871 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.2987 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลีย อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 0.7167ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7200 ดอลลาร์สหรัฐ

ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์ก ปิดที่ 24,706.35 จุด เพิ่มขึ้น 336.25 จุด, +1.38%
ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์ก ปิดที่ 2,670.71 จุด เพิ่มขึ้น 34.75 จุด, +1.32%
ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์ก ปิดที่ 7,157.23 จุด เพิ่มขึ้น 72.76 จุด, +1.03%
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมัน ปิดที่ 11,205.54 จุด เพิ่มขึ้น 286.92 จุด, +2.63%
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศส ปิดที่ 4,875.93 จุด เพิ่มขึ้น 81.57 จุด, +1.70%
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอน ปิดที่ 6,968.33 จุด เพิ่มขึ้น 133.41 จุด, +1.95%
ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดีย ปิดที่ 36,386.61 จุด เพิ่มขึ้น 12.53 จุด, +0.03%
ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ปิดที่ 3,224.34 จุด เพิ่มขึ้น 9.90 จุด, +0.31%
ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ปิดที่ 1,692.22 จุด เพิ่มขึ้น 9.25 จุด, +0.55%
ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย ปิดที่ 6,448.16 จุด เพิ่มขึ้น 24.38 จุด, +0.38%
ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ปิดที่ 27,090.81 จุด เพิ่มขึ้น 335.18 จุด, +1.25%
ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ ปิดที่ 8,047.12 จุด เพิ่มขึ้น 119.92 จุด, +1.51%
ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ปิดที่ 2,596.01 จุด เพิ่มขึ้น 36.37 จุด, +1.42%
ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ปิดที่ 2,124.28 จุด เพิ่มขึ้น 17.22 จุด, +0.82%
ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ปิดที่ 9,836.06 จุด เพิ่มขึ้น 46.91 จุด, +0.48%
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ปิดที่ 20,666.07 จุด เพิ่มขึ้น 263.80 จุด, +1.29%
ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลีย ปิดที่ 5,879.60 จุด เพิ่มขึ้น 29.50 จุด, +0.50%
ดัชนี ALL ORDINARIES ตลาดหุ้นออสเตรเลีย ปิดที่ 5,941.20 จุด เพิ่มขึ้น 31.40 จุด, +0.53%


กำลังโหลดความคิดเห็น