xs
xsm
sm
md
lg

“กรมสรรพสามิต” เล็งเก็บภาษีไขมันทรานส์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


“อธิบดีกรมสรรพสามิต” เตือนนักท่องเที่ยวเข้าไทย บุหรี่ไฟฟ้า ยังเป็นของห้ามนำเข้าตามกฎหมายไทย เผยรอบ 3 เดือน ดำเนินคดีกับผู้นำเข้าบุหรี่ไฟฟ้าไปแล้ว 80 คดี โดยคิดเป็นค่าปรับรวม 5 ล้านบาท ย้ำจะเก็บภาษีสินค้าที่มีไขมันทรานส์ที่เกิดจากกระบวนการผลิตด้วย ส่วนผลการจัดเก็บเดือนแรกของปีงบประมาณ 62 ทำผลงานไปได้ 2.68 หมื่นล้านบาท

นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวถึงการนำบุหรี่ไฟฟ้าติดตัวเข้ามาในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วงที่ผ่านมาว่า แม้ประเทศไทยจะยังไม่มีกฎหมายอนุญาตให้นำเข้าบุหรี่ไฟฟ้าก็ตาม แต่ในช่วงที่ผ่านมา มีการตรวจพบว่า นักท่องเที่ยวยังมีการนำบุหรี่ไฟฟ้าติดตัวเข้ามาด้วย โดยเป็นการนำเข้าทั้งในรูปของตัวบุหรี่ และเครื่องสูบไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นความผิดตามกฎหมายไทย

เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์ ยังเป็นว่า ตัวเครื่องสูบไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ไม่ได้รับการอนุญาตให้นำเข้าได้ตาม พ.ร.บ.นำเข้าและส่งออก จากที่กระทรวงสาธารณสุข ยังไม่ให้การรับรองถึงความปลอดภัยด้านสุขภาพจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า

ทั้งนี้ ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา กรมสรรพสามิต ได้ดำเนินคดีกับผู้นำเข้าบุหรี่ไฟฟ้าไปแล้ว 80 คดี โดยคิดเป็นค่าปรับรวม 5 ล้านบาท ส่วนความผิดในกรณีการครอบครองตัวบุหรี่ที่ใช้กับเครื่องสูบเพื่อสูบเองนั้น ได้กำหนดโทษปรับไว้ที่ 6,800 บาทต่อคอตตอน ส่วนในกรณีที่ลักลอกนำเข้าเพื่อจำหน่ายในประเทศ ได้กำหนดโทษปรับไว้ที่ 12,000 บาทต่อคอตตอน

นอกจากนี้ นายพชร ยังกล่าวถึงการจัดเก็บภาษีความเค็มว่า ปัจจุบันยังคงอยู่ระหว่างการพิจารณาในรายละเอียดวิธีการจัดเก็บนั้น ควรอิงบนฐานอะไร เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชน โดยเบื้องต้น อาจจัดเก็บบนวัตถุดิบที่ให้ความเค็ม ซึ่งผู้ผลิตได้นำมาใช้ในการปรุงอาหารอีกทอดหนึ่ง อย่างไรก็ตาม กรมสรรพสามิต ยังจะเก็บภาษีสินค้าที่มีไขมันทรานส์ที่เกิดจากกระบวนการผลิตด้วย ส่วนอาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง เช่น ข้าวผัดกระเพราแช่แข็ง อาจไม่มีการจัดเก็บ เนื่องจากหากเก็บอาหารแช่แข็ง แต่ไม่เก็บภาษีข้าวผัดกระเพราที่แม่ค้าพ่อค้าขายตามร้านค้าริมถนนแล้ว ก็อาจไม่ถูกต้องตามหลักความเป็นธรรมในการเก็บภาษี

สำหรับภาพรวมเป้าหมายการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในปีงบประมาณ 62 กรมสรรพามิต ถูกกำหนดเป้าหมายให้จัดเก็บที่ 6.03 แสนล้านบาท โดยเดือนแรกของปีงบประมาณ สามารถจัดเก็บได้แล้วทั้งสิ้น 2.68 หมื่นล้านบาท แต่ยังต่ำกว่าเป้าหมาย 9.86 พันล้านบาท หรือราว 26.84% แต่หากแยกกลุ่มสินค้าที่เสียภาษีสรรพสามิต เป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มสินค้าบาป 2. กลุ่มสินค้าที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และ 3. กลุ่มสินค้าประเภทพลังงาน จะพบว่าในช่วง 2 -3 ปีที่ผ่านมานี้ สัดส่วนรายได้ของสินค้าทั้ง 3 กลุ่มนี้ จะอยู่ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน คือ ราวกลุ่มละ 30% ซึ่งถือว่าเป็นทิศทางที่ดีขึ้นกว่าในอดีตที่น้ำหนักทางภาษีบาปจะมีสัดส่วนที่สูงกว่าภาษีสิ่งแวดล้อม


กำลังโหลดความคิดเห็น