xs
xsm
sm
md
lg

แบงก์ชาติปรับประมาณการนักท่องเที่ยวปี 62 แตะ 40.6 ล้านคน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


แบงก์ชาติ ปรับประมาณการนักท่องเที่ยวปี 62 แตะ 40.6 ล้านคนทำสถิติสูงสุด พร้อมออกมาตรการคุมสินเชื่อบ้าน หลังพบสัญญานชัดการก่อหนี้เกินตัว และเอ็นพีแอลอสังหาฯไม่ลดลง หวั่นเกิดฟองสบู่

นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท) เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)ได้ปรับประมาณการนักท่องเที่ยวจีน ในปี 2562 เพิ่มขึ้น 40.6 ล้านคน จากปี 61 ประมาณการเดิมนักท่องเที่ยว 38.3 ล้านคน จากจำนวนนักท่องเที่ยวในไตรมาส 2 สูงกว่าที่คาด ช่วยชดเชยจำนวนนักท่องเที่ยวจีน ที่ปรับลดลงในช่วงครึ่งปีหลัง โดยในเดือน ก.ค. มีนักท่องเที่ยวประมาณ 9.29 แสนคน และเดือน ส.ค. ประมาณ 8.67 แสนคน โดยส่วนใหญเป็นนักท่องเที่ยวจีน 1 ใน 3 หรือประมาณ 27.7%

สำหรับในปี 62 จำนวนนักท่องเที่ยวจะสูงขึ้น เพราะมีความเชื่อมั่น และมีการเปิดเส้นทางการบินจากประเทศในกลุ่มอาเชียน มาไทยมากยิ่งขึ้น รวมถึงความสามารถบริหารจัดการของสายการบิน และสนามบิน ที่ส่งผลให้ท่าอากาศยานหลักสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ดีขึ้น

นอกจากนี้ กนง.ได้เห็นสัญญาณหลายอย่างที่มีความเปราะบางในระบบการเงินที่อาจสะท้อนจากการประเมินความเสี่ยงของภาวะการเงินในอนาคตต่ำกว่าที่ควร โดยเฉพาะการแข่งขันปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งส่งผลให้มาตรฐานการปล่อยสินเชื่อลดลง สะท้อนจากสัดส่วนจำนวนบัญชีสินเชื่อ เพื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ของ ธพ.ที่มีอัตราส่วนสินเชื่อต่อมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ (loan-to-value: LTV) เกิน 90% ที่เพิ่มขึ้น และอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อรายได้ผู้กู้ (loan-to-income : LTI) ที่สูงขึ้น

นอกจากนี้ การปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 ขึ้นไปมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น โดยมีมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อลดลงเช่นกัน ประกอบกับสัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของสินเชื่อ เพื่อที่อยู่อาศัยมีทิศทางปรับสูงขึ้น ขณะที่ยังมีอุปทานคงค้างของอาคารชุดในบางพื้นที่ ความเสี่ยงพฤติกรรมการก่อหนี้ของภาคครัวเรือนที่ยังไม่มีสัญญาณปรับลดลงชัดเจนประกอบกับภาวะอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานาน
 
อีกทั้ง อัตราผลตอบแทนที่อยู่ในระดับต่ำอาจส่งผลกระทบต่อฐานเงินออมในอนาคต และพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้นอื่นๆ ในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลานาน ซึ่งอาจนำไปสู่การประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควร (underpricing of risks) เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ที่ยังให้ผลตอบแทนแก่สมาชิกในอัตราสูง ทำให้สินทรัพย์ขยายตัวในอัตราสูงต่อเนื่อง และเป็นแรงกดดันให้ต้องแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น รวมทั้งการออกตราสารหนี้ของภาคธุรกิจในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ ค่อนข้างกระจุกตัวในธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีแนวโน้มลงทุนในกิจการที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลัก และลงทุนกิจการในต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจสูงขึ้น


กำลังโหลดความคิดเห็น