xs
xsm
sm
md
lg

ตรวจโรคประจำปีดีอย่างไร? รู้ง่าย....หายไว....ตายช้า...... / พลตรีนายแพทย์ สมศักดิ์ เถกิงเกียรติ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


คอลัมน์ “Golf Healing” โดย “พลตรีนายแพทย์ สมศักดิ์ เถกิงเกียรติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกประจำโรงพยาบาลพระมงกุฎ และ โรงพยาบาลรามคำแหง มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยมากกว่า 30 ปี somsak_doctor@hotmail.com”

“พรุ่งนี้หมอนัดตรวจร่างกายประจำปี...มีเจาะเลือด...เฮียอย่าลืมงดอาหารหลัง 2 ทุ่มนะ...!!”

การตรวจร่างกายเป็นประจำ เป็นวิธีการที่ช่วยคัดกรองความผิดปกติของร่างกายเราว่ามีโรคอะไร แอบแฝงอยู่ที่จะต้องรีบป้องกันหรือทำการรักษาให้หายเป็นปกติหรือไม่ ซึ่งในแต่ละช่วงอายุนั้น ก็จะเน้นการตรวจหาความผิดปกติที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับเพศ วัย และสภาพร่างกาย ของแต่ละบุคคล

วัยรุ่น (12-20) ปี : เป็นวัยแห่งการเจริญเติบโต มีสุขภาพแข็งแรง ไม่ค่อยเจ็บไข้ได้ป่วย จึงไม่ค่อยใส่ใจในเรื่องสุขภาพมากนัก เช่น ชอบนอนดึก ทานอาหารฟาสต์ฟู้ด จ้องจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน บางคนดื่มสุรา สูบบุหรี่ จึงมีความเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บมากมายที่จะเกิดเมื่ออายุมากขึ้น อาทิเช่น อาการผิดปกติทางสายตา การสะสมคลอเรสเตอรอล ความดันโลหิต เบาหาน โรคไต โรคปอด รวมถึงอาการที่จะนำไปสู่โรคมะเร็ง ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในวัยนี้ควรตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ด้วยโปรแกรมตรวจสุขภาพโดยรวมที่ครอบคลุมความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ ที่กล่าวถึง

วัยทำงาน (20-40) ปี : เป็นวัยที่ทำงานหนัก เวลาพักผ่อนไม่เพียงพอ เกิดความเครียดได้ง่าย โรคภัยต่าง ๆ ก็อาจปรากฏให้เห็น เช่น ไมเกรน โรคไต โรคตับ ความดันโลหิต รวมถึงโรคร้ายแรงอย่างมะเร็งปอด มะเร็งตับ และโรคหัวใจ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน ควรตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์เพื่อที่จะได้รับการตรวจที่เหมาะสมตามพฤติกรรมการใช้ชีวิตด้วย

วัยกลางคน (40-60) ปี : วัยนี้ฮอร์โมนจะเริ่มลดลง ผลที่ตามมาคือ การเผาผลาญของร่างกายจะแย่ลง ประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อทำงานได้น้อยลง ไขมันจึงสะสมได้ง่าย โรคที่ต้องระวังคือ เบาหวานและความดันโลหิตสูง สำคัญที่สุดคือโรคต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากสภาพร่างกายที่เริ่มเสื่อมลง จะปรากฏให้เห็น เช่น มะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชาย มะเร็งลำไส้หรือมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านมในผู้หญิงวัยนี้ ดังนั้น ควรเน้นการตรวจการทำงานของร่างกายและอวัยวะ อย่างละเอียดและต่อเนื่องปีละ 1-2 ครั้ง

ผู้สูงอายุ (60) ปีขึ้นไป : เมื่อเข้าสู่วัยนี้ ร่างกายจะเสื่อมลงอย่างชัดเจน แน่นอนว่าโรคภัยไข้เจ็บที่เป็นโรคประจำตัวก็จะรุนแรงขึ้น ส่วนผู้ที่ร่างกายยังแข็งแรงอยู่ก็มีสิทธิเจ็บป่วย ในวัยที่ร่างกายถดถอย การตรวจสุขภาพจึงมักจะเน้นไปที่โรคจากการเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ อาทิเช่น หัวใจ ไต ช่องท้อง ตับ ลำไส้ และมวลกระดูกที่อาจผุกร่อนและบางลง ด้วยเหตุนี้การตรวจสุขภาพของผู้สูงอายุ จึงควรต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทางเป็นประจำทุกปี

* * *คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “MGR SPORT” รับข่าวสารแวดวงกีฬาชนิดเกาะติดขอบสนามคลิกที่นี่เลย!!* * *


กำลังโหลดความคิดเห็น