xs
xsm
sm
md
lg

อลังการหนึ่งเดียวในโลก “ประเพณีแห่งนางดาน” มหาสงกรานต์นครศรีธรรมราช

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นครศรีธรรมราช - เทศกาลมหาสงกรานต์นครศรีธรรมราชจัดประเพณีแห่งนางดาน ที่เคยสูญหายไปนับร้อยปี ก่อนจะฟื้นมาเมื่อปี 2546 เชื่อเป็นประเพณีต้นแบบของ “ตรียัมปวาย” หรือโล้ชิงช้าแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

วานนี้ (14 เม.ย.) เมื่อช่วงกลางคืน ในเทศกาลมหาสงกรานต์นครศรีธรรมราช ประเพณีหนึ่งเดียวในโลกที่ยังหลงเหลือและได้ถูกฟื้นฟูนำมาตั้งขบวนเป็นประจำทุกปีนับแต่ปี 2546 ถูกเรียกว่า “ประเพณีแห่งนางดาน” ซึ่งก่อนหน้าปี 2546 ได้สูญหายไปแล้วนับร้อยปี เป็นประเพณีที่สืบสานมาจากร่องรอยของพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราช เมื่อครั้งอดีตที่เคยเจริญรุ่งเรืองก่อนการมาถึงของพระพุทธศาสนาในคาบสมุทรทะเลใต้

ประเพณีดังกล่าวจะมีพิธีกรรมจำลองกระดานขึ้นมา 3 แผ่น แต่ละแผ่นเป็นไม้กระดานขนาดกว้างหนึ่งศอกสูงสี่ศอก ที่วาดหรือแกะสลักรูปเทพบริวารในคติพราหมณ์ จำนวน 3 องค์ แผ่นแรก คือ พระอาทิตย์ พระจันทร์ แผ่นที่สองคือแม่พระธรณี แผ่นที่สามคือพระแม่คงคา เพื่อใช้ในขบวนแห่เพื่อรอรับเสด็จพระอิศวรที่เสด็จมาเยี่ยมมนุษย์โลก ณ เสาชิงช้า เพื่อทดสอบความมั่นคงของแผ่นดินในช่วงของการเปลี่ยนศักราชมหาสงกรานต์ของทุกปี

พิธีกรรมจะเริ่มขึ้นตั้งแต่โพล้เพล้เมื่อพระอาทิตย์ตกดินจะเริ่มพิธีกรรมขบวนแห่ท่ามกลางความมืด โดยมีเพียงแสงจากตะเกียงหรือคบไต้เท่านั้น ตั้งขบวนสู่มณฑลพิธีอย่างเข้มขลังสวยงาม ท่ามกลางนักท่องเที่ยวจำนวนมากคอยติดตามชม และที่สำคัญประเพณีนี้จะเป็นต้นแบบของประเพณีตรียัมปวาย หรือโล้ชิงช้าของกรุงรัตนโกสินทร์ จากบรรดาพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราช ที่ได้นำไปเมื่อคราวก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์








กำลังโหลดความคิดเห็น