xs
xsm
sm
md
lg

“เบตง-โกลก” ยิ่งทรุดกับข่าวเคอร์ฟิวที่ จชต. แถมรัฐบาลไม่พยายามเคลียร์ให้กระจ่างชัด!

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

.
โดย..ศูนย์ข่าวภาคใต้
.


 
กลายเป็นเรื่องใหญ่โต เมื่อมีข่าวออกมาว่าจะมีการประกาศ “เคอร์ฟิว” ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในขณะที่ฝุ่นควันจากเหตุการณ์โจรใต้บุกยิงถล่มป้อม ชรบ.บ้านทุ่งสะเดา ต.ลำพะยา อ.เมือง จ.ยะลา เมื่อคืนวันที่ 5 พ.ย. ยังไม่จางลง
 
เช้าวันที่ 8 พ.ย. ..ปราโมทย์ พรมอินทร์ โฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ต้องรีบออกมาแถลงปฏิเสธว่ายังไม่มีการประกาศเคอร์ฟิวในพื้นที่ รวมไปถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ยืนยันในวันเดียวกันว่าไม่มีการประกาศเคอร์ฟิว
 
แต่ไม่ทันจะข้ามวัน ก็มีการเผยแพร่ประกาศราชกิจจานุเบกษาให้อำนาจ กอ.รมน.ประกาศเคอร์ฟิวในพื้นที่ 9 อำเภอในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย (1) อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส (2) อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส (3) อ.สุคิริน จ.นราธิวาส (4) อ.เบตง จ.ยะลา (5) อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี (6) อ.จะนะ จ.สงขลา (7) เทพา จ.สงขลา (8) อ.นาทวี จ.สงขลา และ (9) อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา
 
ประกาศดังกล่าวมีทั้งสิ้น 4 ฉบับ ประกอบด้วย (1) ข้อกำหนดออกตามในมาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 (2) ประกาศ เรื่อง พื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (3) ประกาศ เรื่อง การให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 เป็นเจ้าพนักงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย และ (4) ประกาศ เรื่อง กำหนดลักษณะความผิดอันมีผลกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ตามมาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 โดยให้มีผลบังคับใช้ระหว่างวันที่ 1 ธ.ค.2562-30 พ.ย.2563
 


 
ข้อความสำคัญที่สร้างความกังขาว่า ประกาศทั้ง 4 ฉบับนี้คือการประกาศเคอร์ฟิวหรือไม่นั้น อยู่ในข้อกำหนดออกตามในมาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 ที่เขียนล้อมาจากมาตรา 18 คือ ผอ.รนม. โดยความเห็นชอบของ ครม.เมื่อวันที่ 6 พ.ย.2562 ได้ออกข้อกำหนด้ามบุคคลใดเข้าหรือให้บุคคลใดต้องออกจกบริเวณพื้นที่ อาคาร หรือสถนที่ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของ กอ.รมน. และภยในระยะเวลรปฏิบัติหน้ำที่ของ กอ.รมน. และอีกข้อคือ ้ามบุคคลใดออกนอกเคหสถานในเวลที่กหน 
 
เมื่อข้อมูลเกี่ยวกับประกาศดังกล่าวออกไปสู่สาธารณะ แน่นอนย่อมสร้างผลกระทบต่อประชาชนอย่างปฏิเสธไม่ได้ โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ที่อยู่ในประกาศดังกล่าว และที่สำคัญอย่างยิ่ง ประชาชนในพื้นที่เมืองเศรษฐกิจที่ประเด็นเกี่ยวกับการประกาศเคอร์ฟิวเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ที่กระทบต่อการค้าการลงทุน และการท่องเที่ยว
 
นักธุรกิจในพื้นที่เศรษฐกิจ อย่าง อ.เบตง จ.ยะลา และ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ซึ่งเป็นเมืองชายแดนที่อยู่ได้ด้วยการท่องเที่ยว กล่าวว่า .เบตง และ อ.สุไหงโก-ลก เป็นพื้นที่ซึ่งไม่มีเหตุรุนแรงมาร่วม 2 ปี การประกศเคอร์ฟิวจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจการค้า การท่องเที่ยว โดยเฉพาะในเดือนธันวาคมถึงมกราคม ซึ่งเป็นหน้าเทศกาลคริสต์มาส ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ งจะไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามา เศรษฐกิจที่แย่อยู่แล้วต้องได้รับผลกระทบแน่นอน
 
“อยากให้กองทัพ และ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ทบทวนให้ดี เพราะที่ถูกที่ควรการประกาศเคอร์ฟิว ต้องประกาศในพื้นที่ซึ่งมีการก่อเหตุรุนแรง ไม่ใช่เมืองท่องเที่ยว เมืองเศรษฐกิจ และที่สำคัญเป็นเมืองที่ไม่มีเหตุรุนแรง”
 

 


 
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ทีมโฆษก กอ.รมน.ต่างออกมาชี้แจงในเรื่องนี้ ทั้ง พล.ต.ธนาธิป สว่างแสง โฆษก กอ.รมน. ชี้แจงว่า เป็นการประกาศใช้ พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 ตามมติ ครม.ที่เห็นชอบเมื่อวันที่ 6 พ.ย.
 
พูดง่ายๆ คือ การต่ออายุการใช้กฎหมายนี้ตามวงรอบออกไปอีก 1 ปี ส่วนที่มีการเผยแพร่ข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 18 แห่ง พ...ความมั่นคงนั้น ก็ยืนยันไม่ใช่การประกาศเคอร์ฟิวแต่อย่างใด

และ พ.อ.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ย้ำด้วยเช่นกันว่า ไม่มีการประกาศเคอร์ฟิวในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของสงขลา ส่วนข้อกำหนดตามมาตรา 18 (2) แห่ง พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 เป็นเพียงการให้อำนาจตามความในมาตรา 18 (2) ให้ประกาศเคอร์ฟิวได้ แต่ยังไม่เคยมีการใช้อำนาจนั้น เพราะยังไม่มีเหตุจำเป็นที่จะต้องใช้เคอร์ฟิว จึงขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
 
ด้าน นายอับดุลเลาะห์ หะยีอาบู ทนายความ มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม จังหวัดยะลา ให้สัมภาษณ์เว็บไซต์ WAY ว่า การตีความราชกิจจานุเบกษาดังกล่าวว่าเป็นการประกาศเคอร์ฟิวนั้นเป็นความเข้าใจที่ผิด 
 
เขาอธิบายว่า ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้มีกฎหมาย 3 ฉบับบังคับใช้อยู่คือ (1) กฎอัยการศึก (2) พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และ (3) พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ แต่ราชกิจจานุเบกษา ที่ออกมาคือการประกาศต่ออายุการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ในพื้นที่ที่ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินไปแล้ว ซึ่งก็คือพื้นที่ 9 อำเภอ 4 จังหวัดชายแดนใต้ที่ปรากฏในราชกิจจาฯ ไม่ใช่การประกาศเคอร์ฟิว เพราะเคอร์ฟิวจะประกาศใช้ตามกฎอัยการศึก และไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นที่ ต.ลำพะยา 
 
 


 
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าวน่าจะเป็นอีกครั้งหนึ่งของความล้มเหลวในการสื่อสารสาธารณะของฝ่ายรัฐ ที่นอกจากจะไม่ได้เผยแพร่ข้อมูลที่ควรให้แก่ประชาชนออกไปอย่างโปร่งใสแล้ว ผลร้ายที่มากกว่าคือการสร้างความเข้าใจผิด สร้างความตื่นตระหนกตกใจออกไป เมื่อมีการชี้แจงภายหลัง หลายครั้งก็กลายเป็นว่าไม่ทันการณ์เสียแล้ว ยิ่งกลายเป็นการสร้างความหวาดระแวง ทำให้รอยแตกแยกยิ่งกว้างออกไป
 
ดังนั้น สิ่งที่ฝ่ายรัฐควรจะต้องทำต่อไปจากนี้คือ พยายามเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารออกไปให้มากที่สุด อย่าไปคิดเอาเองว่าประกาศในราชกิจนุเบกษาแล้วประชาชนจะเข้าใจได้แล้ว อย่าลืมว่าภาษาที่ใช้ในประกาศ ข้อกำหนดเหล่านี้เป็นภาษาทางกฎหมาย ที่หลายครั้งประชาชนเข้าใจผิดได้
 
ยิ่งเมื่อเหตุการณ์ความไม่สงบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกิดการบุกเข้าไปยิงถล่มจนมีคนเสียชีวิตมากถึง 15 คน มากมายจนสร้างความตกใจและเศร้าโศกไปทั่วประเทศ การขยับ ความเคลื่อนไหวใดๆ ของฝ่ายรัฐย่อมจะต้องถูกจับตามอง และยิ่งต้องสร้างความเข้าใจมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ
 


กำลังโหลดความคิดเห็น