xs
xsm
sm
md
lg

ชวนร่วมเวทีเสนอแนวคิดจัดการน้ำอย่างยั่งยืน 1 มิ.ย.นี้ ที่หอประชุมอุทยานการเรียนรู้ จ.นครศรีธรรมราช

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


 
ศูนย์ข่าวภาคใต้ - เครือข่ายปกป้องดิน น้ำ ป่า ภาคใต้ ชวนร่วมเสนอแนวทางจัดการน้ำ ที่ยั่งยืน ผ่านเวที “พรบ.น้ำกับการควบคุมชีวิตคน” ในวันที่ 1 มิ.ย. ที่ห้องประชุมอุทยานการเรียนรู้ (CLP) จ.นครศรีธรรมราช ยกเหตุผลคัดค้านโครงการขุดคลองผันน้ำเลี่ยงเมืองนครศรีธรรมราช เพื่อบรรเทาอุทกภัย

วันนี้ (26 พ.ค.) นายเรียง สีแก้ว ผู้ประสานงานเครือข่ายปกป้องดิน น้ำ ป่า ภาคใต้ ได้โพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัว เชิญชวนให้มาร่วมกันเสนอแนวทางการจัดการน้ำ ที่คำนึงถึงสิทธิประชาชน สิทธิชุมชน และคงไว้ ซึ่งระบบนิเวศน์ ที่ยั่งยืน ผ่านเวที “พรบ.น้ำกับการควบคุมชีวิตคน” ในวันที่ 1 มิ.ย. เวลา 13.00 น. ที่ห้องประชุมอุทยานการเรียนรู้ (CLP) สนามหน้าเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

นายเรียง ยังกล่าวถึงเหตุผลในการคัดค้านการทำคลองคอนกรีต เพื่อผันน้ำลงทะเล ในโครงการขุดคลองผันน้ำเลี่ยงเมืองนครศรีธรรมราช เพื่อบรรเทาอุทกภัย ว่า มีหลายเหตุผล เช่น คลองคอนกรีตที่มีคันสูงเกือบ 2 เมตร จะตัดการเข้าถึงของน้ำตามธรรมชาติ และจะทำให้อาชีพชาวนาของคน อ.เมืองและพระพรหมต้องยุติลง เพราะจะเกิดน้ำท่วมขัง เพราะระบายน้ำลงคลองชลประทานไม่ได้ และแทนที่จะเป็นการระบายน้ำแบบอ้อมเมือง แต่กลับตัดตรงจากต้นน้ำเข้าสู่เขตเมืองโดยตรง น้ำจึงสะสมและเพิ่มปริมาณขึ้นในช่วงฤดูฝน จะเกิดน้ำท่วมตัวเมือง

ข้อความทั้งหมดระบุว่า
“--- อาจมีหลายคำถาม ว่าทำไมต้องคัดค้านการทำคลองคอนกรีตเพื่อผันน้ำทิ้งทะเล
--- อาจมีหลายๆเหตุผลในการคัดค้าน คลองคอนกรีตเพื่อเร่งระบายน้ำทิ้งทะเล
ค่อยๆเล่าสู่กันฟังนะครับ เหตุผลแรกคือ ถ้ามีการขุดคลองดังกล่าว ซึ่งจะเป็นคลองคอนกรีต และขุดลอกคลอง ซึ่งจะมีคันสูงจากระดับดินเดิมเกือบ 2 เมตร นั่นเท่ากับการตัดการเข้าถึงน้ำ(ตามลำคลองธรรมชาติ) อย่างสิ้นเชิง
ชีวิตคนริมคลองท่าดี ในเขตอำเภอเมืองนคร เคยเปลี่ยนแปลงใหญ่มาแล้วครั้งหนึ่ง ตอนกรมชลฯมาทำคลองชลประทาน จำนวน 10 สาย จากอำเภอพระพรหม ผ่านตำบลไชยมนตรี และไปลงพื้นที่ลุ่มบริเวณทุ่งท่าลาด ลักษณะเป็นคลองคอนกรีต กว้าง 3 เมตร ลึก 2 เมตร แต่ระดับคลองนั้นสูงกว่าดินเดิม 2 เมตร อาชีพชาวนาของผู้คนทั้ง 2 อำเภอเป็นอันต้องยุติลงทันที เพราะเกิดน้ำท่วมขัง เพราะระบายลงคลองชลประทานไม่ได้ ครั้นจะใช้น้ำจากคลองชลประทานก็ต้องเพิ่มต้นทุนในการสูบน้ำ ข้าวพันธุ์ดีๆจึงหาได้น้อยในปัจจุบัน
และอีกเหตุผลคือ คลองชลประทานดังกล่าว แทนที่จะระบายน้ำอ้อมเมือง แต่กลับตัดตรงจากต้นน้ำเข้าสู่เขตตัวเมืองโดยตรง น้ำจึงไปสะสมและเพิ่มปริมาณมสกขึ้นในช่วงฤดูฝน จึงเกิดน้ำท่วมในเขตตัวเมือง
นั่นสะท้อนให้เห็นถึงการจัดการน้ำของกรมชลฯว่า ไม่เคยคำนึงถึงวิถีชีวิตของผู้คนเดิม ไม่การการวางแผนอย่างเป็นระบบ ขอแค่ได้ขุด ได้ระบาย ความฉิบหายที่เกิด กรมชลฯไม่รับรู้
1 มิ.ย.62 นี้มาช่วยกันเสนอแนวทางการจัดการน้ำที่คำนึงถึงสิทธิประชาชน สิทธิชุมชน และคงไว้ซึ่งระะบบนิเวศน์ ที่ยั่งยืนคับ
ปล. ภาพทางซ้ายจะหายไป เมื่อโครงการทำคลองระบายน้ำคอนกรีตสร้างเสร็จ................”
 



กำลังโหลดความคิดเห็น