xs
xsm
sm
md
lg

ทีมนักวิจัยลงถอดบทเรียนสตูลโมเดล “ท่องเที่ยวโดยชุมชนยั่งยืนสู่อุทยานธรณีโลก”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


 
สตูล - ทีมนักวิจัยเข้าร่วมหารือการเคลื่อนงานวิชาการ งานวิจัยและงานด้านการพัฒนาพื้นที่อุทยานธรณีสตูล พร้อมลงพื้นที่สังเกตการณ์ประเมินกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อหาแนวทางพัฒนางานวิจัยด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวพื้นที่อุทยานธรณีโลก

วันนี้ (29 เม.ย.) ที่ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้า อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล ซึ่งองค์การบริหารพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) โดย รอง ผอ. นายสุเทพ เกื้อสังข์ ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดย ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช ผอ.ฝ่ายวิจัยมุ่งเป้า สกว. ร่วมหารือทีมนักวิจัยฯ ในพื้นที่ นำโดย ดร.นราวดี บัวขวัญ สังกัด วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา วิทยาเขตสตูล เพื่อเข้าร่วมหารือการเคลื่อนงานวิชาการ งานวิจัยและงานด้านการพัฒนาพื้นที่อุทยานธรณีสตูล ร่วมกันกับ นายณรงค์ฤทธิ์ ทุ่งปรือ ผอ.อุทยานธรณีสตูล พร้อมด้วยแกนนำและผู้เกี่ยวข้อง พร้อมลงพื้นที่สังเกตการณ์ประเมินกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อหาแนวทางพัฒนางานวิจัยด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวพื้นที่อุทยานธรณีโลก
 

 
ดร.บรรจง ทองสร้าง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เผยว่า หลังยูเนสโกได้ประกาศให้พื้นที่ จ.สตูลเป็นแหล่งอุทยานธรณีโลก หลังจากนี้ อปท.และสกว. ได้วางแผนในการจัดหาองค์ความรู้เพิ่ม โดยใช้กระบวนการวิจัยออกมาให้ได้ว่ายังมีพื้นที่ หรือส่วนไหนบ้างที่ยังไม่รู้ในพื้นที่แหล่งนี้ เพื่อนำเอาความรู้เหล่านี้ส่งมอบกลับให้กับพื้นที่ เพื่อนำมาเป็นทรัพยากรส่งเสริมการท่องเที่ยว ในการบอกกล่าวให้กับนักท่องเที่ยวให้รู้และเห็นประโยชน์ของพื้นที่แหล่งนี้

จากความสำเร็จของพื้นที่ จ.สตูลที่มีความหลากหลาย ทั้งทางพหุวัฒนธรรม ทั้งด้านศาสนา วัฒนธรรม รวมทั้งมีชนพื้นเมือง มานิ และชาวเล อุรักลาโว้ย อยู่กันอย่างสงบสุข การค้นพบฟอสซิลครบทั้ง 6 ยุค และ การขับเคลื่อนของเศรษฐกิจชุมชน เกษตร ประมง และการท่องเที่ยว ภายในเงื่อนไขทรัพยากรส่งเสริมชุมชน จนเป็นที่มาของการประกาศรับรองให้ จ.สตูลเป็นพื้นที่อุทยานทางธรณีโลกเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2561
 

 
หลังจากนี้จะต้องมีการถอดแบบองค์ความรู้ วิธีจัดการและแนวทางการขับเคลื่อนเป็นชุดความรู้ เพื่อเป็นแบบให้พื้นที่อื่นที่กำลังขับเคลื่อนได้มีแนวทาง อาทิ จ.กระบี่ ที่พบว่ามีน้ำตกร้อน พื้นที่น่าสนใจ 1 ใน 3 ของโลก แต่กระบี่กลับเป็นการขับเคลื่อนจากกลุ่มบริษัททัวร์และนายทุนมากกว่าชาวบ้าน ที่มีความยั่งยืนของพื้นที่มากกว่าอย่างที่ จ.สตูล ที่สามารถเป็นโมเดลจำลองในการก้าวสู่มรดกโลกได้

การก้าวมายืนจุดนี้ได้ของจังหวัดสตูล เกิดจากการรวมกลุ่มของคนสตูลอย่างแท้จริง ทุนจากภายนอกเข้าแต่ก็น้อย ทำให้เกิดการรวมกลุ่มกันเองของคนในพื้นที่ ทำให้ทรัพยากรคงสภาพเดิม จนเป็นความโดดเด่น โดยมีชาวบ้านจัดการกันเองอย่างยั่งยืน รับนโยบายจากภาครัฐจนเกิดความสำเร็จในพื้นที่
 
ดร.บรรจง ทองสร้าง  ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา



กำลังโหลดความคิดเห็น