กระบี่ - เครื่องแกงกลุ่มอาสาพัฒนาบ้านทุ่ง ต.เขาคราม โกยรายได้ เดือนละ 3 แสน เตรียมพัฒนาบรรจุภัณฑ์ โกอินเตอร์
นางกานต์สิรี แซ่เดี่ยว ประธานกลุ่มอาสาพัฒนาบ้านทุ่ง ม.1 ต.เขาคราม อ.เมือง จ.กระบี่ กล่าวว่า ปัจจุบันกลุ่มอาสาพัฒนาบ้านทุ่ง มีสมาชิกจำนวน 50 คน ทำผลิตภัณฑ์เครื่องแกงจำหน่าย ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่อยู่คู่กับครัวไทยมาอย่างยาวนาน จนสินค้าติดตลาด เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ขายดีมาก จนบางวันผลิตแทบไม่ทันต่อความต้องการของลูกค้า บางครั้ง สมาชิกต้องทำงานกันจนล่วงเวลา
“เดิมทีสมาชิกได้รวมตัวกันนำภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยจุดประสงค์เริ่มแรกเพื่อต้องการผลิตขนมขาย แต่เนื่องจากตลาดไม่กว้างพอ ประกอบกับในชุมชนมีการรับซื้อเครื่องแกงจากที่อื่นมาขายในตลาด ดังนั้น จึงเปลี่ยนแนวคิดเริ่มต้นการผลิตเครื่องแกงเพื่อขาย ซึ่งปัจจุบันมีการผลิตเครื่องแกงถึง 8 ชนิด คือ แกงเหลือง แกงไตปลา แกงพริก แกงกะทิ คั่วกลิ้ง พะแนง เขียวหวานและแกงจืด”
นางกานต์สิรี กล่าวอีกว่า โดยจุดเด่นของเครื่องแกงของกลุ่มอาสาพัฒนาบ้านทุ่ง สามารถเก็บรักษาได้นาน ไม่ใช้สารกันบูด รสชาติเข้มข้น และเน้นเรื่องความสะอาดเป็นหลัก และนอกจากนั้น ขณะนี้เครื่องแกงของกลุ่มยังได้รับเครื่องหมาย อย.เครื่องหมายฮาลาล เครื่องหมายมาตรฐานอาหารปลอดภัย และในการจัดทำผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม อบจ.กระบี่ ให้การสนับสนุนในด้านอุปกรณ์ งบประมาณในการก่อสร้างอาคาร
“ขณะนี้ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้สนับสนุนให้ผลิตเป็นเครื่องแกงบรรจุกระป๋อง เพื่อส่งขายต่างประเทศด้วย เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มฯอีกทางหนึ่ง ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนของการทดลอง เนื่องจากต้องใช้ทุนสูง เกรงว่า เมื่อทำแล้วจะไม่คุ้มกับการลงทุน จึงยังไม่ได้ตัดสินใจทำอย่างจริงจัง แต่หากว่ามีทุนหรือหน่วยงานของรัฐสนับสนุนเงินทุนก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะทำ”
ประธานกลุ่มอาสาพัฒนาบ้านทุ่ง กล่าวด้วยว่า สำหรับรายได้จากการขายเครื่องแกงขณะนี้ทางกลุ่มมีรายได้ประมาณ 200,000-300,000 บาท/เดือน เฉลี่ยแบ่งกำไรให้กับสมาชิกไม่ต่ำกว่าคนละ 5,000-10,000 บาท ซึ่งสาเหตุที่รายได้ไม่เท่ากันนั้น เนื่องจากบางคนทำงานล่วงเวลา ทางกลุ่มก็ต้องคิดโอทีให้กับสมาชิกด้วย เนื่องจากบางวันมียอดสั่งซื้อเข้ามามาก ทำในเวลาปกติไม่ทัน
“สำหรับเครื่องแกงของกลุ่มอาสาพัฒนาบ้านทุ่ง นอกจากขายในจังหวัดแล้ว ยังส่งออกไปขายยังต่างประเทศด้วย ทั้งประเทศสหรัฐอเมริกา สวีเดน และ เยอรมนี โดยมีแม่ค้าคนไทยที่ไปเปิดร้านอยู่ที่นั้น มาสั่งซื้อถึงที่ ประมาณเดือนละ 2 ครั้ง ส่วนวัตถุดิบที่นำมาเป็นส่วนผสมของเครื่องแกง ก็ไม่มีปัญหา โดยให้สมาชิกเป็นผู้ปลูกและนำมาขายให้กับกลุ่ม ซึ่งก็เป็นช่องทางหนึ่งในการเพิ่มรายได้ นอกจากทำเครื่องแกง” นางกานต์สิรี กล่าว
นางกานต์สิรี แซ่เดี่ยว ประธานกลุ่มอาสาพัฒนาบ้านทุ่ง ม.1 ต.เขาคราม อ.เมือง จ.กระบี่ กล่าวว่า ปัจจุบันกลุ่มอาสาพัฒนาบ้านทุ่ง มีสมาชิกจำนวน 50 คน ทำผลิตภัณฑ์เครื่องแกงจำหน่าย ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่อยู่คู่กับครัวไทยมาอย่างยาวนาน จนสินค้าติดตลาด เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ขายดีมาก จนบางวันผลิตแทบไม่ทันต่อความต้องการของลูกค้า บางครั้ง สมาชิกต้องทำงานกันจนล่วงเวลา
“เดิมทีสมาชิกได้รวมตัวกันนำภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยจุดประสงค์เริ่มแรกเพื่อต้องการผลิตขนมขาย แต่เนื่องจากตลาดไม่กว้างพอ ประกอบกับในชุมชนมีการรับซื้อเครื่องแกงจากที่อื่นมาขายในตลาด ดังนั้น จึงเปลี่ยนแนวคิดเริ่มต้นการผลิตเครื่องแกงเพื่อขาย ซึ่งปัจจุบันมีการผลิตเครื่องแกงถึง 8 ชนิด คือ แกงเหลือง แกงไตปลา แกงพริก แกงกะทิ คั่วกลิ้ง พะแนง เขียวหวานและแกงจืด”
นางกานต์สิรี กล่าวอีกว่า โดยจุดเด่นของเครื่องแกงของกลุ่มอาสาพัฒนาบ้านทุ่ง สามารถเก็บรักษาได้นาน ไม่ใช้สารกันบูด รสชาติเข้มข้น และเน้นเรื่องความสะอาดเป็นหลัก และนอกจากนั้น ขณะนี้เครื่องแกงของกลุ่มยังได้รับเครื่องหมาย อย.เครื่องหมายฮาลาล เครื่องหมายมาตรฐานอาหารปลอดภัย และในการจัดทำผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม อบจ.กระบี่ ให้การสนับสนุนในด้านอุปกรณ์ งบประมาณในการก่อสร้างอาคาร
“ขณะนี้ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้สนับสนุนให้ผลิตเป็นเครื่องแกงบรรจุกระป๋อง เพื่อส่งขายต่างประเทศด้วย เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มฯอีกทางหนึ่ง ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนของการทดลอง เนื่องจากต้องใช้ทุนสูง เกรงว่า เมื่อทำแล้วจะไม่คุ้มกับการลงทุน จึงยังไม่ได้ตัดสินใจทำอย่างจริงจัง แต่หากว่ามีทุนหรือหน่วยงานของรัฐสนับสนุนเงินทุนก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะทำ”
ประธานกลุ่มอาสาพัฒนาบ้านทุ่ง กล่าวด้วยว่า สำหรับรายได้จากการขายเครื่องแกงขณะนี้ทางกลุ่มมีรายได้ประมาณ 200,000-300,000 บาท/เดือน เฉลี่ยแบ่งกำไรให้กับสมาชิกไม่ต่ำกว่าคนละ 5,000-10,000 บาท ซึ่งสาเหตุที่รายได้ไม่เท่ากันนั้น เนื่องจากบางคนทำงานล่วงเวลา ทางกลุ่มก็ต้องคิดโอทีให้กับสมาชิกด้วย เนื่องจากบางวันมียอดสั่งซื้อเข้ามามาก ทำในเวลาปกติไม่ทัน
“สำหรับเครื่องแกงของกลุ่มอาสาพัฒนาบ้านทุ่ง นอกจากขายในจังหวัดแล้ว ยังส่งออกไปขายยังต่างประเทศด้วย ทั้งประเทศสหรัฐอเมริกา สวีเดน และ เยอรมนี โดยมีแม่ค้าคนไทยที่ไปเปิดร้านอยู่ที่นั้น มาสั่งซื้อถึงที่ ประมาณเดือนละ 2 ครั้ง ส่วนวัตถุดิบที่นำมาเป็นส่วนผสมของเครื่องแกง ก็ไม่มีปัญหา โดยให้สมาชิกเป็นผู้ปลูกและนำมาขายให้กับกลุ่ม ซึ่งก็เป็นช่องทางหนึ่งในการเพิ่มรายได้ นอกจากทำเครื่องแกง” นางกานต์สิรี กล่าว