สสว. ร่วมกับศูนย์ ICE Center มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ สานต่อโครงการบ่มเพาะวิสาหกิจเพื่อการส่งออกเป็นปีที่ 2 เตรียมขยายสู่ธุรกิจอาหารเครื่องดื่ม ธุรกิจเพื่อสุขภาพ ออกแบบ ไอที สินค้านวัตกรรมและพลังงาน พร้อมเดินหน้านำร่องโครงการ SMEs Service Provider หวังสร้างบริกรธุรกิจที่จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้ผู้ประกอบการ SMEs
นางจิตราภรณ์ เตชาชาญ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า จากความสำเร็จในการดำเนินโครงการบ่มเพาะวิสาหกิจ ที่มุ่งเน้นธุรกิจเพื่อการส่งออก ซึ่ง สสว. ได้ร่วมกับศูนย์สร้างสรรค์นวัตกรรมทางธุรกิจ (ICE Center) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ทำการบ่มเพาะผู้ประกอบการเพื่อการส่งออกจำนวน 13 ราย เป็นผลสำเร็จแล้วนั้น และเพื่อเป็นการสานต่อการดำเนินงาน สสว. จึงได้สนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยจะขยายการบ่มเพาะไปยังผู้ประกอบการในธุรกิจที่หลากหลายมากขึ้น เช่น ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจเพื่อสุขภาพ ธุรกิจการออกแบบและดีไซน์ ธุรกิจทางด้านไอที สินค้านวัตกรรมและพลังงาน เป็นต้น
ขณะเดียวกันความร่วมมือในครั้งนี้ ยังเป็นการร่วมดำเนินโครงการสร้างทีมบริกรธุรกิจ SMEs (พี่เลี้ยงธุรกิจ SMEs) หรือ SMEs Service Provider ขึ้นเป็นครั้งแรกอีกด้วย
“ในครั้งนี้ สสว. ได้ร่วมกับศูนย์ ICE Center ดำเนินโครงการสร้างทีมบริกรธุรกิจ SMEs ขึ้นเป็นครั้งแรก เนื่องจากบริกรธุรกิจ นับเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยยกระดับและเสริมสร้างความรู้ให้แก่ SMEs ที่เข้ารับการบ่มเพาะในศูนย์บ่มเพาะฯ เพราะเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ มีความรู้ในการดำเนินธุรกิจ และสามารถนำความรู้ ความสามารถดังกล่าวมาช่วย SMEs ในการแก้ปัญหาการดำเนินธุรกิจภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และทันต่อสภาวะการแข่งขันของตลาดโลก” ผอ. สสว. กล่าว
สำหรับโครงการสร้างทีมบริกรธุรกิจ SMEs กำหนดระยะเวลาดำเนินการรวม 5 เดือน (สิงหาคม– ธันวาคม 2550) การดำเนินงานจะมุ่งสร้างกลุ่มนักธุรกิจและที่ปรึกษา จำนวนกว่า 40 ราย ให้มีศักยภาพเป็นพี่เลี้ยงธุรกิจ SMEs เพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ประกอบการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งเป็น 7 ประเภท เพื่อรองรับกับความต้องการของ SMEs ซึ่งกลุ่มบริกรธุรกิจ SMEs นี้ จะได้ขึ้นทะเบียนตรงกับ สสว.เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลกลางให้กับ SMEs ในการเลือกบริกรธุรกิจที่จะให้คำปรึกษา แนะนำ ได้ตรงกับความต้องการของ SMEs แต่ละรายต่อไปในอนาคต
ดร.กิตติ โพธิกิตติ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยและผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์นวัตกรรมทางธุรกิจ (ICE Center) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยถึงความร่วมมือกับ สสว. ในการดำเนินโครงการบ่มเพาะวิสาหกิจเพื่อการส่งออกเป็นปีที่ 2 และการดำเนินโครงการสร้างทีมบริกรธุรกิจ SMEs (พี่เลี้ยงธุรกิจ SMEs) ว่า จากความสำเร็จในการดำเนินโครงการบ่มเพาะวิสาหกิจเพื่อการส่งออก (Business Incubation for Export) ซึ่ง โครงการบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ดำเนินกิจกรรมบ่มเพาะวิสาหกิจให้กับผู้ประกอบการ SME จำนวน 13 รายสำเร็จเรียบร้อยแล้วนั้น ได้ส่งผลให้ได้รับความไว้วางใจให้ดำเนินโครงการต่อเนื่องเป็นปีที่ 2
ทั้งนี้เนื่องจากการดำเนินงานที่ผ่านมาบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ โดยสะท้อนได้จากผู้ประกอบการบางราย เช่น บริษัท สวนผึ้งหวาน จำกัด ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์มะขามแปรรูป ที่สามารถส่งออกสินค้าไปยังตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยสามารถเปิดตลาดไปสู่เมืองดูไบได้สำเร็จ หรือผู้ประกอบการบางรายปรับปรุงแผนการตลาดและผลิตภัณฑ์ได้ดีขึ้น เช่น ยาสีฟันสมุนไพร เดนต้าเมท ที่ปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ให้มีความโดดเด่นมากขึ้น หรือ บริษัท เอเชีย ออร์แกนิค จำกัด ที่ได้เริ่มทำตลาดข้าวออร์แกนิคแปรรูปสู่ตลาดฮ่องกง เป็นต้น
ดร.สุกิตติ เอื้อมหเจริญ ที่ปรึกษาศูนย์ ICE Center และหัวหน้าโครงการฯ เปิดเผยว่า ความสำเร็จของผู้ประกอบการที่ได้รับการบ่มเพาะนั้น หัวใจสำคัญส่วนหนึ่งมาจากการที่มีทีมบริการธุรกิจคอยให้คำปรึกษาแนะนำ และให้ความช่วยเหลือ ผลักดัน ดังนั้นในปีนี้มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญจึงได้ร่วมกับ สสว. ในการสร้างทีมบริกรธุรกิจ SMEs (พี่เลี้ยงธุรกิจ SMEs) ขึ้น โดยกำหนดเป้าหมายการสร้างกลุ่มบริกรธุรกิจ SMEs ไว้ 7 ประเภท ได้แก่ กลุ่ม DBM (Design/Branding/Marketing) กลุ่ม IBM (International Business Management) กลุ่ม LFM (License & Franchise Management) กลุ่ม IT&E (IT&E-Commerce) กลุ่ม SQAM (Standardization & Quality Assurance Management) กลุ่ม MICEM (MICE – Meeting / Incentive / Convention/Exhibition Management) และกลุ่ม ODM (Organizational Development & Management)
โดยผู้เข้าอบรมจะต้องผ่านการฝึกอบรมภาคทฤษฎีและ Workshop รวมถึงการทดสอบให้คำปรึกษาจริงมากกว่า 120 ชั่วโมง กับวิทยากรที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ ที่มาร่วมให้ความรู้และคำแนะนำ รวมถึงเทคนิคต่างๆ ในการให้คำปรึกษา อาทิ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ นายนิพนธ์ วงษ์ตระหง่าน ที่ปรึกษาบริษัทในกลุ่มเซ็นทรัล นางสาวโสภาวดี เลิศมนัสชัย กรรมการผู้จัดการบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ประเทศไทย จำกัด (ในเครือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) นายดนัย จันทร์เจ้าฉาย จาก DC Consultant อาจารย์ชลิต ลิมปนะเวช คณบดีภาควิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ นายวิวัฒน์ อวศิริพงษ์ นายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการเอแบคศูนย์ซิมบ้า (SIMBA) และศูนย์วิจัยเอแบคโพลล์ เป็นต้น
ดังนั้นโครงการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ และโครงการสร้างทีมบริกรธุรกิจ SMEs หรือพี่เลี้ยงธุรกิจ SMEs นี้ จึงเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ให้มีศักยภาพและขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น และเป็นกลไกสำคัญที่จะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไป
นางจิตราภรณ์ เตชาชาญ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า จากความสำเร็จในการดำเนินโครงการบ่มเพาะวิสาหกิจ ที่มุ่งเน้นธุรกิจเพื่อการส่งออก ซึ่ง สสว. ได้ร่วมกับศูนย์สร้างสรรค์นวัตกรรมทางธุรกิจ (ICE Center) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ทำการบ่มเพาะผู้ประกอบการเพื่อการส่งออกจำนวน 13 ราย เป็นผลสำเร็จแล้วนั้น และเพื่อเป็นการสานต่อการดำเนินงาน สสว. จึงได้สนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยจะขยายการบ่มเพาะไปยังผู้ประกอบการในธุรกิจที่หลากหลายมากขึ้น เช่น ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจเพื่อสุขภาพ ธุรกิจการออกแบบและดีไซน์ ธุรกิจทางด้านไอที สินค้านวัตกรรมและพลังงาน เป็นต้น
ขณะเดียวกันความร่วมมือในครั้งนี้ ยังเป็นการร่วมดำเนินโครงการสร้างทีมบริกรธุรกิจ SMEs (พี่เลี้ยงธุรกิจ SMEs) หรือ SMEs Service Provider ขึ้นเป็นครั้งแรกอีกด้วย
“ในครั้งนี้ สสว. ได้ร่วมกับศูนย์ ICE Center ดำเนินโครงการสร้างทีมบริกรธุรกิจ SMEs ขึ้นเป็นครั้งแรก เนื่องจากบริกรธุรกิจ นับเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยยกระดับและเสริมสร้างความรู้ให้แก่ SMEs ที่เข้ารับการบ่มเพาะในศูนย์บ่มเพาะฯ เพราะเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ มีความรู้ในการดำเนินธุรกิจ และสามารถนำความรู้ ความสามารถดังกล่าวมาช่วย SMEs ในการแก้ปัญหาการดำเนินธุรกิจภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และทันต่อสภาวะการแข่งขันของตลาดโลก” ผอ. สสว. กล่าว
สำหรับโครงการสร้างทีมบริกรธุรกิจ SMEs กำหนดระยะเวลาดำเนินการรวม 5 เดือน (สิงหาคม– ธันวาคม 2550) การดำเนินงานจะมุ่งสร้างกลุ่มนักธุรกิจและที่ปรึกษา จำนวนกว่า 40 ราย ให้มีศักยภาพเป็นพี่เลี้ยงธุรกิจ SMEs เพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ประกอบการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งเป็น 7 ประเภท เพื่อรองรับกับความต้องการของ SMEs ซึ่งกลุ่มบริกรธุรกิจ SMEs นี้ จะได้ขึ้นทะเบียนตรงกับ สสว.เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลกลางให้กับ SMEs ในการเลือกบริกรธุรกิจที่จะให้คำปรึกษา แนะนำ ได้ตรงกับความต้องการของ SMEs แต่ละรายต่อไปในอนาคต
ดร.กิตติ โพธิกิตติ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยและผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์นวัตกรรมทางธุรกิจ (ICE Center) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยถึงความร่วมมือกับ สสว. ในการดำเนินโครงการบ่มเพาะวิสาหกิจเพื่อการส่งออกเป็นปีที่ 2 และการดำเนินโครงการสร้างทีมบริกรธุรกิจ SMEs (พี่เลี้ยงธุรกิจ SMEs) ว่า จากความสำเร็จในการดำเนินโครงการบ่มเพาะวิสาหกิจเพื่อการส่งออก (Business Incubation for Export) ซึ่ง โครงการบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ดำเนินกิจกรรมบ่มเพาะวิสาหกิจให้กับผู้ประกอบการ SME จำนวน 13 รายสำเร็จเรียบร้อยแล้วนั้น ได้ส่งผลให้ได้รับความไว้วางใจให้ดำเนินโครงการต่อเนื่องเป็นปีที่ 2
ทั้งนี้เนื่องจากการดำเนินงานที่ผ่านมาบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ โดยสะท้อนได้จากผู้ประกอบการบางราย เช่น บริษัท สวนผึ้งหวาน จำกัด ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์มะขามแปรรูป ที่สามารถส่งออกสินค้าไปยังตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยสามารถเปิดตลาดไปสู่เมืองดูไบได้สำเร็จ หรือผู้ประกอบการบางรายปรับปรุงแผนการตลาดและผลิตภัณฑ์ได้ดีขึ้น เช่น ยาสีฟันสมุนไพร เดนต้าเมท ที่ปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ให้มีความโดดเด่นมากขึ้น หรือ บริษัท เอเชีย ออร์แกนิค จำกัด ที่ได้เริ่มทำตลาดข้าวออร์แกนิคแปรรูปสู่ตลาดฮ่องกง เป็นต้น
ดร.สุกิตติ เอื้อมหเจริญ ที่ปรึกษาศูนย์ ICE Center และหัวหน้าโครงการฯ เปิดเผยว่า ความสำเร็จของผู้ประกอบการที่ได้รับการบ่มเพาะนั้น หัวใจสำคัญส่วนหนึ่งมาจากการที่มีทีมบริการธุรกิจคอยให้คำปรึกษาแนะนำ และให้ความช่วยเหลือ ผลักดัน ดังนั้นในปีนี้มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญจึงได้ร่วมกับ สสว. ในการสร้างทีมบริกรธุรกิจ SMEs (พี่เลี้ยงธุรกิจ SMEs) ขึ้น โดยกำหนดเป้าหมายการสร้างกลุ่มบริกรธุรกิจ SMEs ไว้ 7 ประเภท ได้แก่ กลุ่ม DBM (Design/Branding/Marketing) กลุ่ม IBM (International Business Management) กลุ่ม LFM (License & Franchise Management) กลุ่ม IT&E (IT&E-Commerce) กลุ่ม SQAM (Standardization & Quality Assurance Management) กลุ่ม MICEM (MICE – Meeting / Incentive / Convention/Exhibition Management) และกลุ่ม ODM (Organizational Development & Management)
โดยผู้เข้าอบรมจะต้องผ่านการฝึกอบรมภาคทฤษฎีและ Workshop รวมถึงการทดสอบให้คำปรึกษาจริงมากกว่า 120 ชั่วโมง กับวิทยากรที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ ที่มาร่วมให้ความรู้และคำแนะนำ รวมถึงเทคนิคต่างๆ ในการให้คำปรึกษา อาทิ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ นายนิพนธ์ วงษ์ตระหง่าน ที่ปรึกษาบริษัทในกลุ่มเซ็นทรัล นางสาวโสภาวดี เลิศมนัสชัย กรรมการผู้จัดการบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ประเทศไทย จำกัด (ในเครือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) นายดนัย จันทร์เจ้าฉาย จาก DC Consultant อาจารย์ชลิต ลิมปนะเวช คณบดีภาควิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ นายวิวัฒน์ อวศิริพงษ์ นายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการเอแบคศูนย์ซิมบ้า (SIMBA) และศูนย์วิจัยเอแบคโพลล์ เป็นต้น
ดังนั้นโครงการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ และโครงการสร้างทีมบริกรธุรกิจ SMEs หรือพี่เลี้ยงธุรกิจ SMEs นี้ จึงเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ให้มีศักยภาพและขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น และเป็นกลไกสำคัญที่จะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไป