ก่อนที่จะเข้าสู่การทำธุรกิจแฟรนไชส์สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงก็คือความรู้เกี่ยวกับแฟรนไชส์ ไพศาล เตี๋ยวงษ์สุวรรณ์ ผู้จัดการฝ่ายสินเชื่อธุรกิจรายย่อย ธนาคารนครหลวงไทย ว่าหลักสำคัญของการเลือกซื้อแฟรนไชส์มีด้วยกัน 6 ประการ ดังนี้
ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นธุรกิจที่ต้องมีบุคคลหรือนิติบุคคลสองฝ่ายคือต้องมีแฟรนไชซอร์และแฟรนไชซี่ ซึ่งผู้ขายสิทธิหรือแฟรนไชซอร์ควรจะเป็นนิติบุคคลเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ส่วนผู้ซื้อสิทธิหรือแฟรนไชซี่จะเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาก็ได้ แต่ถ้าธุรกิจแฟรนไชส์เป็นธุรกิจขนาดใหญ่แฟรนไชซี่ควรอยู่ในรูปแบบของนิติบุคคล
ต้องมีการทำสัญญาร่วมกัน เพื่อใช้สัญญาตัวนี้เป็นหลักฐานในการร่วมดำเนินธุรกิจ เนื่องจากในประเทศไทยไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับแฟรนไชส์โดยตรง จึงต้องมีการใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง อย่างเช่นกฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายเครื่องหมายการค้ากฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายเกี่ยวกับสัญญา

ดังนั้นก่อนที่จะเลือกซื้อแฟรนไชส์ควรที่ใช้วิจารณญาณในการทำความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสัญญาให้ดี ซึ่งการทำสัญญาของแฟรนไชส์จะทำเพื่อขายสิทธิในเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินงานขายสินค้าและบริการตามรูปแบบแฟรนไชซอร์ภายใต้สัญลักษณ์เครื่องหมายการค้า ชื่อสินค้า เทคโนโลยี การผลิต ระบบการดำเนินการทั้งหมดของแฟรนไชซอร์ โดยมีเงื่อนไขเกี่ยวกับพื้นที่และระยะเวลาตามกำหนด
ผู้ซื้อต้องรู้ว่าได้สิทธิอะไรจากการซื้อแฟรนไชส์ ส่วนใหญ่สิทธิที่จะได้รับจากการซื้อแฟรนไชส์ ประกอบไปด้วย 3 เรื่องหลัก คือ 1.ชื่อเสียงของธุรกิจ เป็นสิ่งสำคัญ เพราะถ้าซื้อแฟรนไชส์ที่มีชื่อเสียงดังๆ เป็นที่ยอมรับถ้าเปิดในพื้นที่เดียวกันคนก็จะเดินเข้าร้านแฟรนไชส์ดังๆ 5 คน แต่เข้าร้านอื่นๆ แค่ 1 คนอันนี้คือสิ่งที่ทำให้เกิดระบบแฟรนไชส์ขึ้น ถ้าแฟรนไชส์มีชื่อเสียงดีแบรนด์เป็นที่ยอมรับแล้วก็จะเป็นประโยชน์ต่อการทำแฟรนไชส์ 2.เทคนิค เทคโนโลยีในการผลิต หรือรูปแบบการให้บริการ เป็นสิ่งที่แฟรนไชซอร์มีการคิดค้นผสมผสานออกมาแล้วว่าเทคนิคเทคโนโลยีในการผลิต หรือรูปแบบการให้บริการแบบนี้ที่ทำให้โดนใจผู้บริโภคเป้าหมาย ซึ่งถ้าเราคิดเองอาจจะไม่ได้ตามนี้ก็ได้ และ 3.ระบบการบริหารจัดการทั้งหมด ถ้าแฟรนไชซอร์ไม่มีระบบการบริหารจัดการให้กับแฟรนไชซี่ก็จะลำบาก
สำหรับแฟรนไชซี่ก็ต้องปฏิบัติตามสิทธิทุกเรื่องที่แฟรนไชซอร์ให้ไว้ด้วย เพื่อการดำเนินไปตามมาตรฐานเดียวกัน เนื่องจากปัญหาสำคัญของการทำธุรกิจแฟรนไชส์ส่วนใหญ่จะมาจากการที่แฟรนไชซี่ไม่ทำตามมาตรฐานที่แฟรนไชซอร์กำหนดไว้ การที่แฟรนไชซอร์จะให้แฟรนไชซี่ทำตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ก็ต้องมีการถ่ายทอดสอนงาน และฝึกปฎิบัติให้กับแฟรนไชซี่ด้วย พร้อมทั้งเข้าไปช่วยเหลือ เมื่อแฟรนไชซี่เกิดปัญหา เช่นแฟรนไชส์ร้านก๋วยเตี๋ยว ถ้าแฟรนไชซอร์บอกให้แฟรนไชซี่ซื้อเส้นบะหมี่กับแฟรนไชซอร์แต่แฟรนไชซี่กับไปซื้อกับคนอื่นเนื่องจากราคาถูกกว่าอันนี้ถือว่าแฟรนไชซี่เป็นคนผิด ซึ่งตรงนี้แฟรนไชซอร์ก็ต้องหามาตรการมาควบคุมให้ได้
ค่าธรรมเนียมคิดถ้าเป็นธุรกิจที่คิดเองทำเองก็ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมแต่ถ้าซื้อแฟรนไชส์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมแรกเข้าเพื่อเอาสูตรในการทำและเครื่องหมายการค้าของแฟรนไชซอร์มา นอกจากนี้ยังมีการแบ่งค่ารอยัลตี้ฟีให้กับแฟรนไชซอร์ด้วย แฟรนไชซี่ต้องประเมินว่ารับได้หรือเปล่า
ต้องมีการกำหนดในเรื่องของพื้นที่ประกอบการอย่างชัดเจน แฟรนไชซี่จะต้องดูว่าลักษณะพื้นที่ในการเปิดร้านห่างใกล้กันแค่ไหน เช่นแฟรนไชซอร์กำหนดให้เป็น 1 อำเภอมี 1 จุด หรือรัศมีห่างกันไม่ต่ำกว่า 15 กิโลเมตร หรือ 10 กิโลเมตรมี 1 จุด ไม่ใช่ซื้อแฟรนไชส์มาไม่นานมีคนมาขายแข่งภายใต้ชื่อแบรนด์เดียวกัน
ระยะเวลาในสัญญาแฟรนไชส์มีตั้งแต่ 1 ปี 3 ปี 5 ปี 10 ปีหรือจนกระทั่งตลอดชีวิต โดยเฉลี่ยถ้าเป็นแฟรนไชส์ที่มีการลงทุนสูงอายุสัญญาจะอยู่ที่ 3-5 ปีไม่ใช่น้อยกว่านั้น เพราะยังไม่ทันที่จะคืนทุนก็หมดสัญญาแล้ว
ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นธุรกิจที่ต้องมีบุคคลหรือนิติบุคคลสองฝ่ายคือต้องมีแฟรนไชซอร์และแฟรนไชซี่ ซึ่งผู้ขายสิทธิหรือแฟรนไชซอร์ควรจะเป็นนิติบุคคลเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ส่วนผู้ซื้อสิทธิหรือแฟรนไชซี่จะเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาก็ได้ แต่ถ้าธุรกิจแฟรนไชส์เป็นธุรกิจขนาดใหญ่แฟรนไชซี่ควรอยู่ในรูปแบบของนิติบุคคล
ต้องมีการทำสัญญาร่วมกัน เพื่อใช้สัญญาตัวนี้เป็นหลักฐานในการร่วมดำเนินธุรกิจ เนื่องจากในประเทศไทยไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับแฟรนไชส์โดยตรง จึงต้องมีการใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง อย่างเช่นกฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายเครื่องหมายการค้ากฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายเกี่ยวกับสัญญา
ดังนั้นก่อนที่จะเลือกซื้อแฟรนไชส์ควรที่ใช้วิจารณญาณในการทำความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสัญญาให้ดี ซึ่งการทำสัญญาของแฟรนไชส์จะทำเพื่อขายสิทธิในเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินงานขายสินค้าและบริการตามรูปแบบแฟรนไชซอร์ภายใต้สัญลักษณ์เครื่องหมายการค้า ชื่อสินค้า เทคโนโลยี การผลิต ระบบการดำเนินการทั้งหมดของแฟรนไชซอร์ โดยมีเงื่อนไขเกี่ยวกับพื้นที่และระยะเวลาตามกำหนด
ผู้ซื้อต้องรู้ว่าได้สิทธิอะไรจากการซื้อแฟรนไชส์ ส่วนใหญ่สิทธิที่จะได้รับจากการซื้อแฟรนไชส์ ประกอบไปด้วย 3 เรื่องหลัก คือ 1.ชื่อเสียงของธุรกิจ เป็นสิ่งสำคัญ เพราะถ้าซื้อแฟรนไชส์ที่มีชื่อเสียงดังๆ เป็นที่ยอมรับถ้าเปิดในพื้นที่เดียวกันคนก็จะเดินเข้าร้านแฟรนไชส์ดังๆ 5 คน แต่เข้าร้านอื่นๆ แค่ 1 คนอันนี้คือสิ่งที่ทำให้เกิดระบบแฟรนไชส์ขึ้น ถ้าแฟรนไชส์มีชื่อเสียงดีแบรนด์เป็นที่ยอมรับแล้วก็จะเป็นประโยชน์ต่อการทำแฟรนไชส์ 2.เทคนิค เทคโนโลยีในการผลิต หรือรูปแบบการให้บริการ เป็นสิ่งที่แฟรนไชซอร์มีการคิดค้นผสมผสานออกมาแล้วว่าเทคนิคเทคโนโลยีในการผลิต หรือรูปแบบการให้บริการแบบนี้ที่ทำให้โดนใจผู้บริโภคเป้าหมาย ซึ่งถ้าเราคิดเองอาจจะไม่ได้ตามนี้ก็ได้ และ 3.ระบบการบริหารจัดการทั้งหมด ถ้าแฟรนไชซอร์ไม่มีระบบการบริหารจัดการให้กับแฟรนไชซี่ก็จะลำบาก
สำหรับแฟรนไชซี่ก็ต้องปฏิบัติตามสิทธิทุกเรื่องที่แฟรนไชซอร์ให้ไว้ด้วย เพื่อการดำเนินไปตามมาตรฐานเดียวกัน เนื่องจากปัญหาสำคัญของการทำธุรกิจแฟรนไชส์ส่วนใหญ่จะมาจากการที่แฟรนไชซี่ไม่ทำตามมาตรฐานที่แฟรนไชซอร์กำหนดไว้ การที่แฟรนไชซอร์จะให้แฟรนไชซี่ทำตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ก็ต้องมีการถ่ายทอดสอนงาน และฝึกปฎิบัติให้กับแฟรนไชซี่ด้วย พร้อมทั้งเข้าไปช่วยเหลือ เมื่อแฟรนไชซี่เกิดปัญหา เช่นแฟรนไชส์ร้านก๋วยเตี๋ยว ถ้าแฟรนไชซอร์บอกให้แฟรนไชซี่ซื้อเส้นบะหมี่กับแฟรนไชซอร์แต่แฟรนไชซี่กับไปซื้อกับคนอื่นเนื่องจากราคาถูกกว่าอันนี้ถือว่าแฟรนไชซี่เป็นคนผิด ซึ่งตรงนี้แฟรนไชซอร์ก็ต้องหามาตรการมาควบคุมให้ได้
ค่าธรรมเนียมคิดถ้าเป็นธุรกิจที่คิดเองทำเองก็ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมแต่ถ้าซื้อแฟรนไชส์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมแรกเข้าเพื่อเอาสูตรในการทำและเครื่องหมายการค้าของแฟรนไชซอร์มา นอกจากนี้ยังมีการแบ่งค่ารอยัลตี้ฟีให้กับแฟรนไชซอร์ด้วย แฟรนไชซี่ต้องประเมินว่ารับได้หรือเปล่า
ต้องมีการกำหนดในเรื่องของพื้นที่ประกอบการอย่างชัดเจน แฟรนไชซี่จะต้องดูว่าลักษณะพื้นที่ในการเปิดร้านห่างใกล้กันแค่ไหน เช่นแฟรนไชซอร์กำหนดให้เป็น 1 อำเภอมี 1 จุด หรือรัศมีห่างกันไม่ต่ำกว่า 15 กิโลเมตร หรือ 10 กิโลเมตรมี 1 จุด ไม่ใช่ซื้อแฟรนไชส์มาไม่นานมีคนมาขายแข่งภายใต้ชื่อแบรนด์เดียวกัน
ระยะเวลาในสัญญาแฟรนไชส์มีตั้งแต่ 1 ปี 3 ปี 5 ปี 10 ปีหรือจนกระทั่งตลอดชีวิต โดยเฉลี่ยถ้าเป็นแฟรนไชส์ที่มีการลงทุนสูงอายุสัญญาจะอยู่ที่ 3-5 ปีไม่ใช่น้อยกว่านั้น เพราะยังไม่ทันที่จะคืนทุนก็หมดสัญญาแล้ว