xs
xsm
sm
md
lg

กรีนพีซเรียกร้องให้ใช้ค่า PM 2.5 คำนวณดัชนีคุณภาพอากาศ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ขณะนี้ประเทศไทยกำลังเผชิญหากับปัญหามลพิษทางอากาศจากฝุ่นพิษขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ซึ่งมีแหล่งที่มาจากการคมนาคม การเผาในที่โล่ง การผลิตไฟฟ้าและอุตสาหกรรมการผลิตกรีนพีซเรียกร้องให้รัฐบาลไทยจะต้องลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังต่อปัญหาเร่งด่วนด้านสุขภาพนี้และสร้างแผนปฏิบัติการที่หนักแน่นกว่าที่เป็นอยู่เพื่อ ทำให้อากาศดีขึ้น ลดมลพิษและปกป้องชีวิตประชาชน

นายธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย กรีนพีชตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมกับนักกิจกรรมกลุ่มหนึ่ง ได้ยื่นจดหมายปิดผนึกและนาฬิกาทรายซึ่งภายในบรรจุฝุ่นละอองที่เก็บมาจากพื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องฝุ่นละอองอย่าง อ.แม่เมาะ จังหวัดระยอง อ.หน้าพระลาน จังหวัดสระบุรี เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560 เพื่อเรียกร้องให้ทางรัฐบาลยกระดับ ดัชนีวัดคุณภาพอากาศ PM 2.5 เป็นค่ามาตรฐานและปรับปรุงระบบรายงานคุณภาพอากาศให้ทันสมัยขึ้นโดยทันที
(เสื้ิอฟ้า) คุณธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย กรีนพีชตะวันออกเฉียงใต้
การยื่นหนังสือเรียกร้องฉบับดังกล่าวได้เกิดขึ้น ณ บริเวณหน้าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ (ก.พ.ร.) ตรงข้ามทำเนียบรัฐบาล โดยมีการมอบจดหมายปิดผนึกและนาฬิกาทรายให้แก่เจ้าหน้าที่ศูนย์ดำรงธรรม เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้นำไปมอบให้นายกรัฐมนตรีต่อไป

เหตุผลที่ทางกรีนพีชเรียกร้องให้ใช้ PM 2.5 เป็นค่ามาตรฐานเนื่องจาก PM 2.5 เป็นฝุ่นละอองที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 ไมโครเมตร ซึ่งมีความอันตรายมากกว่า PM 10 เนื่องจากฝุ่นพิษสามารถเข้าสู่เส้นเลือดฝอยและกระจายไปตามอวัยวะได้ ด้วยลักษณะที่ขรุขระคล้ายสำลีของฝุ่น PM 2.5 จึงเป็นพาหะนำสารอื่นเข้ามาด้วย เช่น แคดเมียม ปรอท โลหะหนัก ไฮโดรคาร์บอน และสารก่อมะเร็งจำนวนมาก

ในจดหมายปิดผนึกที่ส่งถึง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เรื่องนโยบายคุณภาพอากาศ PM 2.5 ของประเทศไทย กรีนพีชย้ำว่า การที่จะไปให้ถึงวิสัยทัศน์ "อากาศสะอาดเพื่อเราทุกคน (Safe Air for All)" ที่รัฐบาลตั้งไว้ในร่างแผนยุทธศาสตร์การจัดการคุณภาพอากาศ 20 ปี รัฐบาลจะต้อง

- กำหนดค่ามาตรฐาน PM 2.5 และปรอทที่แหล่งกำเนิดที่อยู่กับที่ (Stationary Source) รวมถึงการตรวจวัดและรายงานการปลดปล่อย PM 2.5 และปรอทจากปล่องโรงงานที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

-ตั้งเป้าหมายลดการสัมผัสฝุ่นละอองในบรรยากาศทั่วไปของกลุ่มประชาชนลง อย่างน้อยที่สุดร้อยละ 30 ภายในระยะเวลาในการดำเนินงานในร่างแผนยุทธศาสตร์การจัดการคุณภาพอากาศ 20 ปี

-เพิ่มเป้าหมายการลดอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร จากมลพิษทางอากาศให้เป็นตัวชี้วัดในแผนยุทธศาสตร์อย่างชัดเจน

- ติดตามตรวจสอบและรายงานความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) และสารมลพิษอื่นๆที่เป็นภัยคุกคามสุขภาพอนามัยของประชาชนเช่น โพลีไซคลิกอะโรเมติกไฮโดรคาร์บอน (PHAs) โดยสาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้

-คำนึงถึงการดำเนินการตามมาตราในข้อ 8 (Article 8) ของอนุสัญญามินามาตะ ว่าด้วยปรอทที่มุ่งเน้นการควบคุมและลดการปล่อย(emission) ของปรอทสู่บรรยากาศที่มีแหล่งกำเนิดที่มีจุดกำเนิดแน่นอน (point source) ตามรายงานที่ระบุไว้ในภาคผนวก D (annex D) ของอนุสัญญา เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน

รายงานจากกรีนพีซระบุว่าได้จัดลําดับเมืองที่มีเผชิญกับมลพิษ PM2.5 ในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบัน โดยมีข้อค้นพบที่สำคัญคือ คุณภาพอากาศในพื้นที่เมืองยังอยู่ในระดับแย่และมีแนวโน้มแย่ลงอย่างต่อเนื่อง พื้นที่เมืองส่วนใหญ่รวมถึงกรุงเทพมหานครมีความเข้มข้น PM2.5 เฉลี่ยรายปีเกินเกณฑ์มาตรฐานในบรรยากาศทั่วไปของประเทศไทยและทุกเมืองมีความเข้มข้น PM2.5 เฉลี่ยรายปีเกินระดับที่กำหนดโดยองค์การอนามัยโลก เมื่อพิจารณาถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ความเข้มข้นของ PM2.5 ในพื้นที่เมืองของประเทศไทยยังคงเป็นตัวชี้วัดที่อยู่ในระดับแย่และยังไม่มีเป้าหมายรับมือ

"ในช่วงวันที่ 1 มกราคมถึง 21 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครได้รับผลกระทบจากมลพิษทางอากาศที่เลวร้ายที่สุด ในจำนวนรวม 52 วัน บางพื้นที่มีความเข้มข้นเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของ PM2.5 เกินค่ามาตรฐานในบรรยากาศทั่วไปตามข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลกถึง 40 วัน" รายงานกรีนพีซระบุ




กำลังโหลดความคิดเห็น