34 องค์กรทั้งภาครัฐ-เอกชน ผนึกกำลัง 6 ชุมชนคุ้งบางกะเจ้า เดินหน้าโครงการ OUR Khung Bang Kachao ยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชุมชน มุ่งเน้นงานพัฒนา 6 ด้าน พัฒนาพื้นที่สีเขียว,จัดการน้ำ,จัดการขยะ,ส่งเสริมอาชีพ,ท่องเที่ยวและพัฒนาเยาวชน
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ในฐานะประธานคณะกรรมการกำกับการดำเนินงานพัฒนาพื้นที่คุ้งบางกะเจ้าสู่ความยั่งยืน กล่าวในงานเปิดตัวโครงการ OUR Khung Bang Kachao เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 ที่ผ่านมาว่า “คุ้งบางกะเจ้า” พื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่กว่า 12,000 ไร่ในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ถือเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่มีคุณประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมสำคัญของประเทศ ทั้งยังมีคุณค่าเชิงเศรษฐกิจ ท่องเที่ยว สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริให้สงวนพื้นที่แห่งนี้ไว้เป็นพื้นที่สีเขียว สร้างอากาศบริสุทธิ์และประโยชน์แก่ผู้คนมากมาย ด้วยเหตุนี้โครงการ OUR Khung Bang Kachao จึงเกิดขึ้น ด้วยความร่วมมือจาก 34 องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนชุมชน 6 ตำบลในพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า ภายใต้การกำกับของมูลนิธิชัยพัฒนา ที่พร้อมจับมือเดินหน้าพัฒนาพื้นที่คุ้งบางกะเจ้าในทุกด้านร่วมกัน โดยน้อมนำ “ศาสตร์พระราชา” แห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 มาสืบสานขยายผลตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาเป็นหลักทำงานสำคัญ
โครงการ OUR Khung Bang Kachao เป็นความร่วมมือในรูปแบบการสานพลังร่วมเพื่อพัฒนาสังคม (Social Collaboration with Collective Impact) กำหนดเป้าหมายร่วมกันว่าจะขับเคลื่อนการพัฒนา “เศรษฐกิจสีเขียว” หรือ พื้นที่สีเขียวที่ก่อให้เกิดรายได้และยกระดับวิถีชุมชนให้ดีขึ้นให้เห็นผลเป็นรูปธรรมภายใน 5 ปี นอกจากจะหวังผลในเรื่องการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรมแล้ว โดยขับเคลื่อนผ่านกระบวนการทำงานทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ 1. พัฒนาพื้นที่สีเขียว 2. จัดการน้ำและการกัดเซาะริมตลิ่ง 3. จัดการขยะ 4. ส่งเสริมอาชีพ 5. ท่องเที่ยว 6. พัฒนาเยาวชนและการศึกษา
“34 องค์กรและชุมชน 6 ตำบล ได้เชื่อมโยงกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้วยวิธีการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อหาความต้องการที่แท้จริง มาวางกรอบการทำงานและสร้างเป้าหมายร่วมกันของคณะทำงาน ซึ่งถือเป็นโมเดลการพัฒนาชุมชนรูปแบบใหม่ของประเทศไทย ที่สอดคล้องตามแนวพระราชดำริในการอนุรักษ์พื้นที่บางกะเจ้าให้เป็นพื้นที่สีเขียว รวมทั้งพัฒนาและใช้ประโยชน์พื้นที่ในลักษณะเป็นชุมชนดั้งเดิมที่มีการอนุรักษ์วิถีชีวิต และความเป็นอยู่เรียบง่ายอย่างในอดีต” ดร.สุเมธ กล่าวเพิ่มเติม
สำหรับการพัฒนาทั้ง 6 ด้าน มีการกำหนดกรอบดำเนินงานและวางเป้าหมายการพัฒนาเพื่อให้ตรงตามความต้องการชุมชน ประกอบด้วย
1.ด้านการพัฒนาพื้นที่สีเขียว นำโดย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) วางเป้าภายใน 5 ปี จะมุ่งฟื้นฟูและรักษาพื้นที่สีเขียวให้ได้ 6,000 ไร่ โดยในปี 2561 กำหนดเป้าหมายระยะเริ่มต้นไว้ที่ 400 ไร่ ซึ่งทำร่วมกับเครือข่ายอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวทั้ง 6 ตำบลของคุ้งบางกะเจ้า ในพื้นที่ราชพัสดุที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกรมป่าไม้ ซึ่งนอกจากช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีแล้ว ยังเป็นการต่อยอดการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว ตลอดจนสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนในพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า
2.ด้านการจัดการน้ำและการกัดเซาะริมตลิ่ง นำโดย มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มุ่งสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และพัฒนา เกิดความมั่นคงและยั่งยืนด้านทรัพยากรน้ำนำไปสู่ความมั่นคงของพื้นที่สีเขียวในคุ้งบางกะเจ้า เพื่อฟื้นฟูคลองและแหล่งน้ำอย่างยั่งยืน
3.ด้านการจัดการขยะ นำโดย บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) จะมุ่งลดปัญหาขยะตามแนวทางCircular Economy หรือ เศรษฐกิจแบบหมุนเวียน โดยการนำขยะรีไซเคิลมาแปรรูปเพิ่มที่มูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ โดยเริ่มพัฒนา วัดจากแดง พื้นที่นำร่องของโครงการให้เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการจัดการขยะของชุมชน
4.ด้านการส่งเสริมอาชีพ นำโดยบริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด มุ่งส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาคุณภาพสินค้าพื้นถิ่นให้มีเอกลักษณ์ หรือ สร้างแบรนด์ของตนเองให้เป็นที่รู้จัก ผ่านการพัฒนาส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรสู่มาตรฐาน GDP สนับสนุนจัดตั้งตลาดกลางส่งเสริมอัตลักษณ์ภายในชุมชน เพิ่มช่องทางการตลาดออนไลน์ รวมถึงผลักดันให้เกิดการท่องเที่ยววิถีเกษตรสวนผสมผสานเชิงออร์แกนิค
5.ด้านการท่องเที่ยว นำโดย องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน มุ่งเน้นการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างมีส่วนร่วมและมีระบบ สู่เป้าหมายการพัฒนาท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ผ่านกระบวนการทำงานร่วมกันในรูปแบบประชารัฐ เพื่อให้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ความอยู่ดีมีสุข และสร้างความสุขให้แก่คนในชุมชนและนักท่องเที่ยวผู้มาเยือน
6.ด้านการพัฒนาเยาวชนและการศึกษา นำโดย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) มุ่งเน้นการสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมแก่คนรุ่นใหม่อย่างเป็นระบบ ผ่านการสร้างแหล่งเรียนรู้ชุมชน ที่รวบรวมหลักฐานข้อมูลทางประวัติศาสตร์และอัตลักษณ์ชุมชน เพื่อสืบสาน และรักษาเอกลักษณ์วิถีชุมชนชาวคุ้งบางกระเจ้าให้ดำรงสืบต่อไปยังเยาวชนรุ่นใหม่ ทั้งนี้ กรอบดำเนินงาน 6 ด้านข้างต้น คณะทำงานจะต้องนำไปบูรณาการเชื่อมโยงเพื่อให้เกิดการพัฒนาร่วมกันอย่างเป็นระบบ
อย่างไรก็ตาม ภายในโครงการ OUR Khung Bang Kachao ทั้งผู้บริหารและผู้แทนชุมชน ได้ร่วมกันปลูก "ต้นรวงผึ้ง" ซึ่งพรรณไม้ประจำพระองค์ รัชกาลที่ 10 จำนวน 66 ต้น บริเวณริมรั้วสวนสุขภาพคลองลัดโพธิ์
นอกจากนี้ ภายในบริเวณงาน ยังมีของดีในชุมชนอาทิเช่น เมี่ยงคำสามารถทำได้ทุกท้องแต่ โดยใช้มะพร้าวคั่วจากตำบลบางกระสอบ และสมุนไพรลูกประคบจากตำบลทรงคนอง โดยในชุมชนมีการฝึกสอนให้เด็กได้เรียนรู้การทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรพิลังกาสาและลูกฟักข้าวเป็นพื้นท้องถิ่นที่พบมากคุ้งบางกระเจ้า โดยมีสรรพคุณในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงผิวพรรณ และยังได้มีการร่วมมือกับธนาคารออมสิน และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ช่วยร่วมการออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้า โดยใช้ชื่อว่า "ปลายน้ำ" ทั้งนี้นอกจากนี้ภายในบริเวณงาน ยังมีของดีในชุมชนอาทิเช่นเมี่ยงคำสามารถทำได้ทุกท้องแต่โดยใช้มะพร้าวคั่วจากตำบลบางกระสอบและสมุนไพรลูกประคบจากตำบลทรงคนองโดยในชุมชนมีการฝึกสอนให้เด็กได้เรียนรู้การทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรพิลังกาสาและลูกฟักข้าวเป็นพื้นท้องถิ่นที่พบมากคุ้งบางกระเจ้าโดยมีสรรพคุณในการต่อต้านอนุมูลอิสระช่วยบำรุงผิวพรรณและยังได้ร่วมมือกับธนาคารออมสินและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ช่วยร่วมการออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้า โดยใช้ชื่อว่า "ปลายน้ำ" ทั้งนี้ยังได้มีขนมเทียนญวน ที่แตกต่างจากพื้นที่อื่น โดยใช้งาขาวคลุกรอบๆขนมเทียนญวน และยังมี"ต้นพิลังกาสา"เป็นพืชเศรษฐกิจของชุมชนที่ได้แจกจ่ายในชุมชนในพื้นที่ เนื่องจากต้นพิลังกาสา มีสรรพคุณมากมายที่ช่วยในเรื่องของการเกิดวุ้นในตา ช่วยในการฟอกเลือด และช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคกระเพาะ ส่วนใบยอดอ่อนทานเป็นผักจิ้มน้ำพริกก็มีประโยชน์อีกด้วย
(พื้นที่ประชาสัมพันธ์)