xs
xsm
sm
md
lg

“พิชาย” ชี้ ผบ.เหล่าทัพแถลงหนุนคนดี ส่งสัญญาณ “อนุทิน” ร่วม พปชร.แน่ แนะเพื่อไทยยอมถอย เอา “ลุงตู่” เข้าระบบดีกว่าปล่อยมีอำนาจล้น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


“พิชาย” ชี้ ผบ.เหล่าทัพ แถลงจุดยืนสนับสนุนคนดีปกครองบ้านเมือง เป็นการส่งสัญญาณ “อนุทิน” ร่วม พปชร.แน่ เผยฝั่งเพื่อไทยทำยังไงเสียงก็ไม่พอตั้งรัฐบาล แนะยอมถอยให้เกิดรัฐบาลในระบบรัฐสภาเพื่อยุติบทบาท คสช. ก่อน ดีกว่าปล่อย “ลุงตู่” มีอำนาจล้นอย่างปัจจุบัน หวั่นหากยังแข็งขืนอาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด พร้อมเสนอประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้านอิสระ ค้านอย่างมีเหตุผล



วันที่ 28 มี.ค. รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต คณบดีคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ให้สัมภาษณ์ในรายการ “คนเคาะข่าว” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมช่อง “นิวส์วัน” ถึงกรณีที่ ผบ.เหล่าทัพ แถลงจุดยืน โดยน้อมนำพระบรมราโชวาท รัชกาลที่ 9 สนับสนุนคนดีปกครองบ้านเมือง ว่า เป็นการส่งสัญญาณว่า นายอนุทิน ไม่มีทางไปฝั่งเพื่อไทย แม้เสนอตำแหน่งนายกฯให้ แต่นายอนุทินไม่กล้ารับเผือกร้อนตอนนี้แน่ ที่บอกส่งเสริมคนดี ผบ.เหล่าทัพไม่ได้บอกนิยามของคนดี แต่นิยามของคนไม่ดี ก็ชัดตั้งแต่ถอดรางวัลเกียรติยศจักรดาว นายทักษิณ

รศ.ดร.พิชาย กล่าวอีกว่า มวลชนที่เลือกพรรคพลังประชารัฐ บางส่วนมาจากอดีต ส.ส.ที่โดนดูดตัวมา บางคนเลือกเพราะนิยมในตัว พล.อ.ประยุทธ์ เสียงอีกส่วนซึ่งมากถึง 1-2 ล้าน ที่เพิ่งตัดสินใจมาเทให้วันก่อนเลือกตั้งจากฮ่องกงเอฟเฟกต์

การที่พลังประชารัฐยึดป๊อปปูล่าโหวต หลักการระบอบประชาธิปไตย โดยมารยาทและธรรมเนียมปฏิบัติ ต้องให้พรรคที่ได้ที่นั่งในสภามากสุดมีสิทธิ์จัดตั้งรัฐบาลก่อน ถ้าไม่สำเร็จ พรรคอันดับ 2 ก็มีความชอบธรรมจัดตั้งรัฐบาลขึ้นมา หรือกระทั่งพรรคอันดับอื่น หากมีหัวหน้าพรรคที่มีบารมีมากพอ ก็สามารถเป็นรัฐบาลได้

รศ.ดร.พิชาย กล่าวถึงการจัดตั้งรัฐบาลของฝั่งเพื่อไทย ว่า จัดตั้งรัฐบาลสำเร็จหรือไม่ มี 2 ขั้นตอน คือ เลือกนายกฯ สองคือการฟอร์ม ครม. ซึ่งต้องใช้เสียงพรรคการเมือง ส่วนเลือกนายกฯใช้เสียง ส.ส. - ส.ว. ต้องรวมได้ 376 เสียงขึ้นไป ซึ่งโอกาสที่เกิดขึ้นยากมาก เว้นเสียแต่มีงูเห่าใน ส.ว. แต่อันนี้ก็เป็นไปไม่ได้เลย แม้ให้ภูมิใจไทยและประชาธิปัตย์สนับสนุนด้วยก็ยังไม่พอ

พอเลือกนายกฯไม่ได้ก็จัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ แม้พยายามสร้างเงื่อนไขว่ารวม ส.ส. เกิน 250 คน ก็ควรจะเป็นรัฐบาล มันเป็นได้แค่ควรจะแต่โครงสร้างกฎหมาย ความเป็นจริงมันเป็นไปไม่ได้

รศ.ดร.พิชาย กล่าวว่า ฝ่ายเพื่อไทย ช่วง 3-4 ปีนี้อาจต้องถอย ไม่ต้องรีบร้อนพยายามจัดตั้งรัฐบาลให้ได้ ให้เกิดรัฐบาลในรูปแบบรัฐสภาก่อน เพื่อยุติบทบาท คสช. แม้ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯแต่คนละเงื่อนไขกับปัจจุบัน อำนาจมันต่างกันมาก ถ้ายังแข็งขืนอาจเกิดอะไรที่ไม่คาดคิด และทำสังคมชะงักงัน เช่น อาจเกิดการรัฐประหาร หรือเกิดการชุมนุมใหญ่

แม้เส้นทางนี้ไม่ชอบ แต่ต้องกล้ำกลืน หาทางแสดงบทบาทในอนาคต ตรวจสอบรัฐบาลให้เข้มข้นมากขึ้น โดยเฉพาะพรรคอนาคตใหม่ เลือกตั้งครั้งหน้าอาจแลนด์สไลด์ก็ได้ เป็นฝ่ายค้านดีในสถานการณ์นี้ อย่าแย่งชิงกันเลย ทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาลต่อไป

รศ.ดร.พิชาย ยังกล่าวถึงประชาธิปัตย์ ว่า คนเลือกพรรคประชาธิปัตย์ครั้งนี้ บางส่วนชอบนโยบาย เพราะมีความเป็นไปได้เชิงปฏิบัติที่สุด พวกนี้ไม่ขัดข้องที่จะไปรวมกับพลังประชารัฐ ส่วนพวกที่จงรักภักดีพรรคแล้วไม่เอาประยุทธ์ โกรธแค้นแน่ถ้าไปร่วมกับพลังประชารัฐ ประชาธิปัตย์ต้องคิดให้หนัก

ถ้าร่วมรัฐบาลพลังประชารัฐ ก็ต้องมีเหตุผลชี้แจงอย่างมาก หรือจะเป็นฝ่ายค้านอิสระก็ได้ ค้านแบบมีเหตุผล เช่น พ.ร.บ.งบประมาณก็โหวตให้ผ่าน แล้วในอนาคตตรวจสอบการทำงานรัฐบาล
คำต่อคำ

เติมศักดิ์- สวัสดีครับ ขอต้อนรับสู่รายการคนเคาะข่าว วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม 2562 วันนี้คุยกันเรื่องสูตรความเป็นไปได้ของการจัดตั้ง

รัฐบาลบนข้อมูลใหม่ ที่มีการแถลงจากกกต. เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา และการประกาศจุดยืนของกองทัพในวันนี้จะนำไปสู่อะไร เราไปสนทนากับ รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต คณบดีคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สวัสดีครับอาจารย์ครับ

พิชาย- สวัสดีครับ

เติมศักดิ์- ที่กกต. แถลงตัวเลขไม่เป็นทางการ 100 เปอร์เซ็นต์ เมื่อช่วงบ่าย ช่วงเย็นที่ผ่านมา อาจารย์มีข้อสังเกตอะไรเพิ่มเติมจากตัวเลขเหล่านี้ไหมครับ

พิชาย- คือตัวเลขเอาเรื่องจำนวนของผู้ใช้สิทธิก่อน ตัวเลขล่าสุดจำนวนผู้ใช้สิทธิของเขามันประมาณ 38 ล้าน แล้วก็ถ้าเป็นเปอร์เซ็นต์ประมาณ 74.6 ตัวเลขนี้เปอร์เซ็นต์การมาใช้สิทธิใกล้เคียงกับเลือกตั้งเมื่อปี 2554 คือตัวเลขในปี 2554 ตัวเลขมันประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ แต่ตัวเลขนี้ที่กกต. แถลงล่าสุด ต่างจากตัวเลขที่กกต. แถลงเมื่อช่วงปิดหีบเลือกตั้ง เพราะช่วงนั้นแถลงประมาณ 65 เปอร์เซ็นต์ ถ้าผมจำไม่ผิด เพราะฉะนั้นจำนวนผู้ใช้สิทธิก็เพิ่มขึ้นจากที่วันนั้น วันนั้นก็ต้องดูว่าวันที่แถลง เขาแถลงที่ 95 เปอร์เซ็นต์ แต่ถึงแถลงที่ 95 เปอร์เซ็นต์ มันก็เพิ่มอยู่ดี ถ้าเอา 5 เปอร์เซ็นต์บวกเข้าไป มันก็กลายเป็นแค่ 70 แต่นี้มันเป็น 74 เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็สะท้อนให้เห็นการทำงานของกกต. ว่าการทำงานมีความผิดคาด คลาดเคลื่อนเยอะ และออกมาแถลง เพราะงั้นก็มันเป็นนัยยะบอกว่าไม่มีประสิทธิภาพในการทำงานของกกต. น่าจะมีปัญหาอยู่ แล้วก็อาจเป็นไปได้ หนึ่งก็คือว่ากกต. ชุดใหม่ ก็ยังใหม่อยู่ แต่ว่าจริงๆ แล้วเจ้าหน้าที่ของกกต. ก็ไม่ได้ใหม่อะไรมากมาย เจ้าหน้าที่ของกกต. ส่วนใหญ่ก็เคยผ่านงานการเลือกตั้ง แต่ว่าก็อาจจะไม่มีเลือกตั้งมานาน 8 ปี ก็อาจสนิมขึ้นรึเปล่าไม่แน่ใจ อันนั้นก็คือเรื่องของผู้มาใช้สิทธิ ที่นี้ต้องมาดูว่าใน 38 ล้าน เหมือนมาใช้สิทธิ 38 ล้าน ปรากฏว่าบัตรดีประมาณ 35.5 ล้าน อันนี้เป็นตัวเลขกลมๆ นะครับ หรือว่าเป็นประมาณ 92.85 เปอร์เซ็นต์ ที่นี้จำนวนบัตรดีแค่นี้ แล้วบัตรเสียก็ 2.1 ล้าน หรือคิดเป็น 5.57 เปอร์เซ็นต์ บัตรเสียก็ใกล้เคียงกับเลือกตั้งเมื่อปี 2554 นั้นคือการเลือกตั้งในปี 2554 ประมาณ 5.79 เปอร์เซ็นต์ ใกล้เคียงมากเลย อันนี้ก็แปลว่า 8 ปีที่ผ่านไป กกต. ไม่ทำให้ประชาชนเข้าใจวิธีการเลือกตั้งเพิ่มขึ้นสักเท่าไหร่ เพราะถ้าดูบัตรเสียลดลงแค่ประมาณ 0.02 เปอร์เซ็นต์ ประมาณนี้ แต่ที่จริงการเลือกตั้งครั้งนี้ง่ายกว่าการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว เพราะว่ากาแค่เบอร์เดียวและก็จบไปเลย คราวที่แล้วต้องกาถึง 2 เบอร์ ก็คือกาทั้งผู้สมัครและก็พรรค คราวนี้ก็แค่เบอร์เดียว บัตรน่าจะน้อยกว่านี้ อันนี้ก็สะท้อนว่า เวลาที่ผ่านมากกต. ก็อาจทำงานได้ไม่ทั่วถึงเท่าไหร่นัก ที่ไม่สามารถลดยอดบัตรลงได้ ที่จริงบัตรเสียถ้าหากว่ามีการประชาสัมพันธ์ดีๆ มีการให้ปรึกษาประชาชนดีๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง บัตรเสีย 2 เปอร์เซ็นต์ ก็ถือว่าสูงแล้ว แต่ซึ่งที่ลดค่อนข้างจะเยอะคือโหวตโน โหวตโนคราวที่แล้วมันประมาณ 4 เปอร์เซ็นต์กว่า โหวตโนปี 2554 มันประมาณ 1 ล้านกว่าๆ แต่คราวนี้โหวตโนลดเหลือ 6 แสนกว่าๆ ก็ประมาณ 1.5 เปอร์เซ็นต์

เติมศักดิ์- อย่างนี้สะท้อนให้เห็นไหมครับ

พิชาย- สะท้อนครับ ก็แปลว่าประชาชนก็อาจมีความรู้สึกว่าตัวเองต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการเลือกพรรคการเมืองใดการเมืองหนึ่งมากขึ้น เพราะโหวตโนสะท้อนก็คือว่า มันสะท้อน 2 ลักษณะก็คือ 1.สะท้อนว่าไม่มีผู้เลือกตั้งคนใดหรือนักการเมืองคนใดเป็นที่พึ่งพอใจของผู้เลือกตั้ง คนก็เลยกาโหวตโน 2.โหวตโนอาจสะท้อนถึงการปฏิเสธของระบบเลือกตั้ง ในปี 2554 นั้นก็มีคนกาโหวตโนเยอะเกือบ 2 ล้านเสียง เพราะฉะนั้นในปี 2554 แปลว่าคนไม่พึ่งพอใจ ผู้สมัครอาจค่อนข้างเยอะ ซึ่งมันก็มีความเป็นไปได้ เพราะว่าในปี 2554 พรรคการเมืองที่ลงสมัครรับเลือกตั้งมันมีน้อย การแข่งขันพรรคหลักๆ ก็มี 2 พรรค คือ ประชาธิปัตย์ เพื่อไทย แต่ในครั้งนี้แข่งกันสามสิบ สี่สิบพรรค เพราะฉะนั้นมีทางเลือกที่จะให้เลือกหลากหลาย ไม่ใช่มีแต่พรรคใหญ่ แม้กระทั่งพรรคหลักที่ลงสนามแข่งขันก็มีอย่างน้อย 4 พรรค 5 พรรคด้วยซ้ำถ้านับภูมิใจไทย เพราะฉะนั้นชาวบ้านก็อาจจะมีทางเลือกขึ้น ก็เลยอาจไม่กาโหวตโน จำนวนโหวตโนก็ลดลง แต่ยังไงก็ตามโหวตโนมี 6 แสนกว่า ก็สะท้อนนะครับว่าคนไทยขึ้นหลักแสนก็ยังไม่มีพึ่งพอใจกับระบบการเมืองอยู่ ในปัจจุบันค่อนข้างเยอะทีเดียว เพราะตัวเลข 6 แสนก็ไม่น้อย อันนี้คือภาพรวมๆ ของเลือกตั้ง ที่นี้มาดูคะแนนที่เพิ่มขึ้น คะแนนที่เพิ่มขึ้นเป็นของพลังประชารัฐจาก 7 แสนเก้า ขึ้นมาเป็น แปดล้านสี่ จาก เจ็ดล้านเก้า เป็นแปดล้านสี่ ก็เพิ่มขึ้นสัก 5 แสน และก็เพิ่มขึ้นทุกพรรค ไม่ใช่แค่พลังประชารัฐ เพื่อไๆทยก็จาก เจ็ดล้านสี่ เป็นเจ็ดล้านเก้าในอัตราส่วที่ใกล้เคียงกันมาก เพราะฉะนั้นคะแนน 5 เปอร์เซ็นต์ ที่กกต. ไม่ประกาศตอนแรก การเพิ่มขึ้นของคะแนนพรรคต่างๆ ก็มีลักษณะที่สมเหตุสมผลสอดคล้องกับตรรกะ เพราะฉะนั้นการที่ไปว่ากกต. จะทุจริตเพื่อเปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้งก็ไม่ใช่ แต่ก็คงเกิดมาจากการตีความกฎหมายของกกต. เอง ก็เลยมีการประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์ ในตอนแรก ที่นี้มีคนท้วงติงหลังๆ ก็เลยมาประกาศ 100 เปอร์เซ็นต์

เติมศักดิ์- อันนี้เร่งวันประกาศมา เลื่อนมา 1 วัน

พิชาย- เลื่อนมา 1 วัน เรื่องคะแนนตรงนี้ผมดูแล้วว่าในแง่ของการเพิ่มขึ้นก็ดูสมเหตุสมผลและก็เพิ่มทุกพรรค

เติมศักดิ์- อนาคตใหม่หกล้านสอง ประชาธิปัตย์สามล้านเก้า ภูมิใจไทยสามล้านเจ็ด

พิชาย- ก็เพิ่มหมด ที่นี้การที่คะแนนเพิ่มขึ้น อันนี้มันทำให้คะแนนของส.ส. พึ่งได้ ก็คือจำนวนของแต่ลบะพรรคที่ได้รับกับส.ส.ที่พรรคได้แต่ละคนก็เพิ่มขึ้นด้วย คือถ้าเป็นจากเดิมก็เข้าใจว่า น่าจะอยู่สักประมาณ 6 หมื่นหรือ 5 หมื่นกว่า ต่อ 1 คน แต่คราวนี้มันกลายเป็นประมาณเจ็ดหมื่นหนึ่งต่อ 1 คน คะแนนก็เพิ่มขึ้น มันก็เป็นผลให้พรรคเล็กๆ จำนวนหลายพรรคที่คาดว่าจะได้ในตอนแรกอาจจะไม่ได้ส.ส. กลายเป็นว่าพรรคที่ได้ 7 หมื่นขึ้นไปตรามประกาศใหม่ มีอยู่แค่ 16 พรรค ก็คือพรรคสุดท้ายคือพรรคพลังชาติไทย ซึ่งก็จะได้ประมาณเจ็ดหมื่นสาม อันนี้ก็กลายมาเป็นพรรคสุดท้าย ส่วนพรรคประชาภิวัฒน์ พลังไทยรักไทย ไทยศรีวิไลย์ ที่ได้ระดับ 6 หมื่นกว่า หรือว่าครูไทยเพื่อประชาชน อันนี้ก็อาจจะไม่ได้ไป

เติมศักดิ์- น่าจะตัดตรง 16 พรรคที่ 16 คือพลังชาติไทย

พิชาย- พรรคที่ 16

เติมศักดิ์- ที่ได้เจ็ดหมื่นสาม แต่พรรคประชาภิวัฒน์ก็ใกล้เคียงมากหกหมื่นเก้า ก็ยังมีลุ้นอยู่ ต้องขึ้นอยู่ว่าการคำนวณของส.ส.บัญชีรายชื่อ กกต. จะว่ายังไง จะปัดเศษยังไง ปัดเศษแล้วมันอาจจะไปเพิ่มพรรคใดพรรคหนึ่งเพิ่มขึ้นสักที่นั่งสองที่นั่ง หรือพรรคหนึ่งอาจจะลดลง เพราะบางคนอาจจะได้เศษเกินจุดหก บางคนอาจจะได้เศษเกินจุดห้า จุดสี่ จุดสาม ก็แล้วแต่ เขาจะเรียงลำดับตามเศษ ใครเศษมากที่สุดก็จัดสรรไปตามพรรคนั้น

เติมศักดิ์- แต่คำนวณเบื้องต้น ณ ขณะนี้ ก็จะมีพรรคที่ได้อยู่ 1 เสียง ประมาณ 2-3 พรรค พลังปวงชนไทย

พิชาย- กับพลังชาติไทย 2 พรรคนี้ก็ 1 เสียง ส่วนที่ได้ 2-3 เสียง

มันก็มีอย่างพรรค

เติมศักดิ์- พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย

พิชาย- ผืนป่าประเทศไทย ก็อาจจะได้ 2 เสียง พรรคพลังท้องถิ่นไทยอาจจะได้ 3 เสียง พอๆ กับชาติพัฒนาก็อาจจะได้ 3 เสียง ส่วนรวมพลังประชาชาติไทยก็อาจจะได้ 5-6 เสียง ปัดเศษ ก็ขึ้นอยู่กับว่าปัดเท่าไหร่ เพราะเอา 7 หมื่นหาร ถ้าได้ 4 แสนกว่า เศษก็ประมาณจุดห้าจุดหก ก็มีโอกาส ก็ประมาณนี้เท่าที่ดูแล้ว

เติมศักดิ์- พรรคเพื่อไทยก็เท่าเดิม 137

พิชาย- เพื่อไทยเท่าเดิมไม่เปลี่ยน ยังไงก็ไม่เปลี่ยน

เติมศักดิ์- คือได้เฉพาะส.ส.เขต

พิชาย- ส.ส.เขต ยกเว้นจะได้ใบเหลืองหรือใบแดงนั้นก็อาจจะเปลี่ยน คือพรรคเพื่อไทยจะไม่เพิ่มเด็ดขาด มีแต่จะลด จะลดไม่ใช่ลดเฉพาะคะแนนนะ แต่อาจจะลดเพราะใบเหลืองใบแดงก็แล้วแต่ ซึ่งอันนี้ขึ้นอยู่กับการทำงานของกกต. ในช่วงถัดไป ก่อนรับรองผลอย่างเป็นทางการ ว่าเป็นยังไง

เติมศักดิ์- เพราะฉะนั้นถ้าดูจากตัวเลข 100 เปอร์เซ็นต์ ที่ประกาศโดยกกต. เมื่อช่วงบ่ายช่วงเย็นวันนี้ อาจารย์คิดว่าสูตรการจัดตั้งรัฐบาล ยังเหมือนหรือแตกต่างจากที่อาจารย์เขียนลงเฟซบุ๊กความเป็นไปได้จัดสูตรตั้งรัฐบาลมากน้อยแค่ไหนครับ อาจารย์ครับ

พิชาย- ผมคิดว่าไอ้ตัวเลขพวกนี้มันไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องความต่างเท่าไหร่นะครับ เพราะว่าถ้าดูขั้วในการจัดอยู่ เป็นสูตรกระแสหลัก ก็คือสูตรที่เราคุยๆ กัน ตั้งแต่มีเพื่อไทยจับมือกับเสรีรวมไทย จับมือกับประชาชาติ จับมือกับเพื่อชาติ อีกพรรคหนึ่งคือพรรคปวงชนไทย ก็จะได้ 1 ที่นั่ง ตัวเลขก็อาจจะไม่ถึง 250 ถ้าไม่รวม้อาเศรฐกิจใหม่เข้าไป ยังไงมันก็ไม่ถึง แต่ถ้ารวมเศรษฐกิจใหม่เข้าไป ยังไงก็เกิน 250 วันยังค่ำ แต่ว่าจะเกินมากเกินน้อยก็แล้วแต่ อาจจะเกิน ถ้าของเดิมอาจจะเป็น 254-255 แต่ของใหม่ก็อาจจะลดลงนิดหน่อย มันก็เกินอยู่ และมันก็ขึ้นอยู่กับพรรคเศรษฐกิจใหม่เขาจะว่ายังไง สำหรับซีกนี้

เติมศักดิ์- ซีกนี้เศรษฐกิจใหม่เป็นตัวแปรสำคัญว่าจะน้อยกว่าหรือมากกว่าครึ่ง

พิชาย- ใช่ครับ

เติมศักดิ์- ลุงมิ่งให้แถลงให้สัมภาษณ์เมื่อวานยังไม่ชัดหรอครับอาจารย์

พิชาย- คือผมไม่ค่อยเชื่อนักการเมืองนะคุณเติมศักดิ์ อันนี้พูดตามจริงเลย ไม่ค่อยเชื่อนักการเมือง คือการแถลงออกสาธารณะในบ้านเรา มันไม่เหมือนตะวันตก โดยเฉพาะการร่วมรัฐบาล เพราะว่ามันมีปัจจัยหลายๆ อย่าง ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวินาทีสุดท้ายได้เสมอ ซึ่งปัจจัยเหล่านั้น มันมีพลังมากกว่าถ้อยคำที่เปล่งออกไป สัญญากับประชาชน

เติมศักดิ์- มีพลังมากกว่าสัตยาบรรณ

พิชาย- มีพลังมากกว่าสัตยาบรรณ สัตยาบรรณเป็นเพียงคำพูดที่ว่างเปล่า แล้วมีตัวอักษรบนกระดาษรองรับ พอเอาเข้าจริงพลังที่ผมว่าอันนี้ ก็อย่างเช่น พลังในเรื่องของตำแหน่งและผลประโยชน์ อันนี้เป็นพลังพื้นฐานในการต่อรอง ถ้ามีตำแหน่งและผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง คำพูดที่ออกมามันก็

เปลี่ยนแปลงได้เสม หรืออาจจะเป็นพลังที่เกี่ยวข้องเชิงโครงสร้างอำนาจทางการเมือง ที่อาจทำให้เปลี่ยนแปลงและเกิดสถานการณ์ใหม่เกิดข้อมูลใหม่ขึ้นมา อัน

นั้นอาจไม่เกี่ยวข้องตำแหน่งกับผลประโยชน์มากนัก แต่เกี่ยวกับพลังของทิศทางทางการเมืองไทยว่าเป็นยังไง อย่างเช่น สมมุติว่าถ้าคุณเติมเป็นส.ส. หรือนักการเมือง คือถ้ามีการถามว่าจะดำรงอยู่ในรัฐสภาหรือไม่อยากอยู่ในรัฐสภา อันเนี่ยมันก็ช่างใจ ว่าเราจะตัดสินใจแบบไหน อันนี้เป็นสิ่งที่ดำรงในสังคมไทย คือเป็นความเป็นจริงที่เราอาจจะมองว่าเป็นความจริงที่มองว่าสังคมไทยยังไปไม่ถึงเส้นทางประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมอย่างเต็มที่ แต่ในความเป็นจริงที่ดำรงอยู่จริงในสังคมไทย เพราะว่าสังคมไทยมันมีอำนาจที่ทับซ้อนกันอยู่หลายพลังอำนาจ แนวจะให้พลังอำนาจใดพลังอำนาจหนึ่งมาครอบง้ำพลังอำนาจทั้งหมดมันไม่ได้ ถ้าสภาพความเป็นจริงก็คือว่า พลังอำนาจเหล่านั้นมันก็ต้องมีการต่อรองเพื่อหาจุดลงตัวที่เหมาะสมที่พอจะไปได้ในช่วงสถานการณ์เปลี่ยนผ่านของสังคมเหล่านี้ขึ้นมา การเสียดุลอำนาจมากๆ มันก็เห็นแล้วฝั่งที่เสียดุลอำนาจให้กับฝ่ายนักการเมือง ก็ช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ผมก็เห็นปรากฏการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น หรือการเสียดุลอำนาจให้กับฝ่ายระบบราชการหรือทหารมากจนเกินไป มันก็สร้างปัญหามาตั้งแต่อดีตสังคมไทย เพราะฉะนั้นมาถึงจุดนี้ ณ เวลานี้้การพยายามที่รักษาดุลภาพของอำนาจแล้วก็แต่ละฝ่าย ก็ต้องถอยกันมาคนละก้าว เพื่อที่จะให้ประเทศเดินหน้าต่อไป ก็จะเป็นตรรกะที่ผมคิดว่าหลายฝ่ายก็อาจจะต้องเอามาครุ่นคิดอย่างหนักหน่วงทีเดียว ความปรารถนาที่จะเห็นในเชิงอุดมอคติไปด้านหนึ่ง หรือปรารถนาที่ดึงสังคมมาสู่จารีตอีกข้างหนึ่ง มันสร้างปัญหาให้กับสังคมไทยทั้งนั้น เพราะว่าการสุดขั้วไปข้างใดข้างหนึ่งมันก็จะทำให้อีกขั้วหนึ่งถูกกด เมื่อถูกกดมันก็ระเบิดออกมารูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเสมอ

เติมศักดิ์- ยิ่งตัวเลข 2 ฝ่าย ยังอยู่แบบนี้

พิชาย- ก็เป็นสถานการณ์ที่จะต้องหาจุดลงตัวที่เหมาะสม ว่าเราจะเดินไปข้างหน้าอย่างไร ที่นี้แน่นอนว่าจุดลงตัวที่เหมาะสม คือพูดไปคนที่ยึดแนวทางแบบเสรีนิยมแบบเข้มข้น ก็อาจจะเรายังไม่เป็นประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ และจะเรียกร้องมาก อย่างในแนวของทางอนาคตใหม่เขาก็จะเป็นอย่างนั้น อันนั้นก็คือเป็นความรู้สึกของคนรุ่นใหม่ ที่อยากจะให้พรรคขับเคลื่อนสังคมไทยสู่แนวทางเสรีนิยมประชาธิปไตยอย่างเป็นรูปแบบ ซึ่งอันนี้สังคมไทยก็เคย คนรุ่นเก่าอย่างพวกผมเคยทำมาแล้วทั้งนั้น เมื่อตั้งแต่ 14 ตุลา ปี 16 นั้นก็คือเป็นพวกรุ่นพี่ จนกระทั่งถึงพฤษภาปี 35 และก็ถึงรัฐธรรมนูญปี 2540 นั้นคือการพยายามขับเคลื่อนสังคมไทยไปสู่เสรีนิยมประชาธิปไตยอย่างเต็มรูปแบบ ที่นี้โครงสร้างสังคมไทยมันไปไม่ถึงโครงสร้างในเชิงพฤติกรรมเชิงวัฒนธรรม มันไปไม่ถึงขนาดนั้น มันก็เลยไปสะสมและจุดชนวนความขัดแย้งทางสังคมต่างๆ ขึ้นมา หรือการที่ฉุดรั้งประเทศไทยไปสู่จารีตอย่างดั้งเดิมมากเกินไป อันนี้ก็สร้างปัญหาเหมือนกัน สร้างปัญหามากมายที่ตามมา

เติมศักดิ์- ภาพการแถลงของเหล่าทัพชนิดครบแผงวันนี้ แถลงสนับสนุนให้คนดีมาปกครองบ้านเมืองตามพระบรมราโชวาท สอง พูดถึงการกระทำของทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นตัวละครสำคัญ บอกว่าถ้ายังมีการจาบจ้วงที่ต่ำที่สูงเหมือนที่ทำมาอีก ถึงเวลาที่เราต้องตัดสินใจ ข่าวสายทหารบางคนไปใช้คำว่า

นี่เป็นปฏิวัติเงียบรึเปล่า อาจารย์มองสัญญาณจากกองทัพยังไง และมันจะมีต่อผลสูตรจัดตั้งรัฐบาลที่กำลังยันกันอยู่ แข่งกันอยู่

พิชาย- อันนี้แหละครับ ที่ผมพูดไปตอนต้นคือสูตรนี้อย่างน้อยหนึ่งเป็นการส่งสัญญาณว่าคุณอนุทินไม่มีทางเพื่อไทยแน่นอน คุณอนุทินแห่งพรรคภูมิใจไทย

เติมศักดิ์- ตัดไปได้เลย

พิชาย- ตัดไปเลย

เติมศักดิ์- ไม่ว่าเพื่อไทยเสนออะไรก็ตาม ภูมิใจ อนุทิน ไม่ไปแน่

นอน

พิชาย- ไม่ว่าจะเสนอให้เป็นนายกรัฐมนตรีหรือแรกก็มีข่าวช่วงนั้นๆ มา เพื่อที่ตจะดึงคุณอนุทินไป แต่คุณอนุทินคงไม่กล้าไปรับเผือกร้อนขนาดนั้น เพราะตอนนี้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีถ้าบารมีไม่พอ สถานการณ์ปัจจุบันมันก็สร้างปัญหาได้เหมือนกัน ที่เห็นในการบริหารประเทศ เพราะอย่างที่ผมเรียนว่าดุลอำนาจในสังคมมันไม่ได้มราในที่ของประชาชนผ่านการเลือกตั้งมาทั้งหมด เพราะดุลอำนาจมีอำนาจยังมีพลังอำนาจอื่นๆ ในสังคมที่ดำรงอยู่ ที่นี้ต้องดูว่า คือตอนนี้บรรดาผบ.เหล่าทัพออกมา แล้วบอกว่าส่งเสริมคนดี ก็ต้องดูนิยามของคนดีเป็นยังไง แต่ว่านิยามของคนดี ผบ.เหล่าทัพทั้งหลายไม่ได้บอก แต่บอกคนไม่ดี หมายถึงนิยามคนไม่ดี นิยามสมุมติว่าคนนี้ไม่ดี แล้วก็นิยามตรงไม่ดีก็ชัดตั้งแต่เขาถอนรางวัลจับดาวแล้ว เพราะรางวัลจับดาวเป็นคนดีคนเก่งของโรงเรียนเตรียมทหาร เมื่อถูกถอนก็เป็นคนไม่ดี แล้วก็คนไม่ดี ก็คือคนที่มีพฤติกรรมที่จาบจ้วงล่วงละเมิดสถาบันสูงสุดของสังคมไทย นั้นไม่ดีแน่ เพราะฉะนั้นคนไม่ดีอันนี้เชื่อมโยงกับพรรคการเมืองไหน เราก็ทราบกันอยู่ และก็ยังมีอิทธิพลเหนือพรรคการเมืองไหน เราก็ทราบกันอยู่ เพราะฉะนั้นคนไม่ดีแบบนี้ นัยยะของกองทัพเราก็ไม่ควรส่งเสริม เพราะการส่งเสริมคนไม่ดี ต้องไม่ส่งเสริมพรรคการเมืองที่เชื่อมโยงกับคนไม่ดีด้วย

เติมศักดิ์- อันนี้เราแกะตามนัยยะของผบ.เหล่าทัพนะครับ

พิชาย- ถูก แกะตามนัยยะนั้น นั้นคือสัญญาที่ส่งไป

เติมศักดิ์- สนับสนุนคนดีปกคลุมบ้านเมือง แต่ไม่ได้นิยามว่าคนดีแบบไหน แต่คนไม่ดีมีการนิยามและเอ่ยชื่อว่าไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง จาบจ้วงล่วงละเมิด ทำให้เสียสถาบันทหาร เพราะจบโรงเรียนทหาร ก็ต้องถอดรางวัลเกียรติยศจากดาว ถอดถอนจากการเป็นศิษย์ดีเด่น ฝั่งคนไม่ดีมีทั้งเอ่ยชื่อ และพฤติกรรม

พิชาย- พฤติกรรมอย่างชัดเจน เพราะฉะนั้นเราก็ในสมการเชิงอำนาจของสังคมไทย


กำลังโหลดความคิดเห็น