xs
xsm
sm
md
lg

ทส.ถอนร่างกฎกระทรวง สั่งทบทวนขอใบอนุญาตใช้นํ้าบาดาลช่วงภัยธรรมชาติ กฤษฎีกาชี้หวั่นเกิดความเสียหายเพียบ!

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ทส.ถอนร่างกฎกระทรวง “กำหนดประเภท-ขอใบอนุญาตใช้นํ้าบาดาลช่วงภัยธรรมชาติ” หลังกฤษฎีกาชี้หวั่นเกิดความเสียหาย มีผลกระทบต่อสุขภาพ ทรัพย์สินประชาชน แหล่งนํ้าบาดาล สิ่งแวดล้อม แถมอาจเปิดช่องผู้ประกอบการน้ำบาดาลใช้ช่วงระยะเวลาภัยธรรมชาติ ยื่นคำขอรับใบอนุญาตแทน การยื่นคำขอรับใบอนุญาตปกติที่ต้องผ่านอนุฯ พิจารณาก่อน

วันนี้ (28 มี.ค.) รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 7) ได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทการใช้นํ้าบาดาล และการขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับการประกอบกิจการนํ้าบาดาล (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ภายหลังคณะรัฐมนตรี 20 มิ.ย. 2560 ได้รับหลักการร่างกฎกระทรวงฯ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตรวจพิจารณา

ทั้งนี้ คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 7) สรุปโดยได้ตั้งประเด็นข้อสังเกตเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การพิจารณาคำขอรับใบอนุญาต เจาะนํ้าบาดาลและใบอนุญาตใข้นํ้าบาดาลในสถานการณ์ภัยธรรมชาติ ตามร่างกฎกระทรวงดังกล่าว โดยสรุปได้ว่า

ตามหลักการของร่างกฎกระทรวงฯ แม้ว่าจะเป็นการลดขั้นตอนการพิจารณาออกใบอนุญาต โดยไม่ต้องผ่านคณะอนุกรรมการเฉพาะในกรณีสถานการณ์ภัยธรรมชาติ เพื่อให้การออกใบอนุญาต เป็นไปอย่างรวดเร็วก็ตาม แต่เป็นการให้อำนาจแก่ผู้ออกใบอนุญาตที่สามารถพิจารณาอนุญาตเจาะนํ้าบาดาลได้ทุกขนาดบ่อนี้าบาดาล และอนุญาตการใช้น้ำบาดาลได้ทุกปริมาณนํ้า ซึ่งต้องวิเคราะห์ข้อมูลทางเทคนิค และทางวิชาการแต่เพียงผู้เดียว

“หากมิได้พิจารณาอย่างรอบคอบครบถ้วนแล้ว อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือมีผลกระทบต่อสุขภาพหรือทรัพย์สินของประชาชนแหล่งนํ้าบาดาล หรือสิ่งแวดล้อมได้ รวมทั้งอาจเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่ประสงค์จะประกอบกิจการน้ำบาดาลใช้ช่วงระยะเวลาในสถานการณ์ดังกล่าวยื่นคำขอรับใบอนุญาตอแทนการยื่นคำขอรับใบอนุญาตในสถานการณ์ปกติที่ต้องผ่านคณะอนุกรรมการพิจารณาก่อน”

นอกจากนี้ การออกกฎกระทรวงกำหนดประเภทการใช้น้ำบาดาล และการขอใบอนุญาต และการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับการประกอบกิจการนํ้าบาดาล พ.ศ. 2556 ที่กำหนดให้การพิจารณาคำขอรับใบอนุญาตต้องผ่านคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณากลั่นกรองคำขอรับใบอนุญาต ก่อนเสนอผู้ออกใบอนุญาต พิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตนั้น

“เห็นว่าเป็นหลักการทางวิชาการที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 และที่แก้โขเพิ่มเติมแล้ว แม้ว่าจะเกิดปัญหาความล่าช้าในขั้นตอนการพิจารณาของคณะอนุกรรมการก็ตาม แต่ไม่ใช่ประเด็นปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งเรื่องดังกล่าวกรมทรัพยากรน้ำบาดาลสามารถบริหารจัดการให้เกิดความรวดเร็วได้”

ดังนั้น จากประเด็นข้อสังเกตดังกล่าว คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 7) เห็นควรให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาลพิจารณาทบทวนการออกร่างกฎกระทรวงอีกครั้ง และแจ้งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง

ล่าสุด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ขอถอนเรื่องดังกล่าวออกจากชั้นคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อนำไปทบทวนตามข้อพิจารณาของกฤษฎีกาแล้ว

ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวที่ ครม. รับหลักการมีเจตนารมณ์เพื่อให้การพิจารณาคำขอและออกใบอนุญาตเจาะนํ้าบาดาลหรือใบอนุญาตใช้นาบาดาลในสถานการณ์กรณ์เกิดภัยธรรมชาติ สภาวะวิกฤตนํ้าแล้ง หรือเหตุภัยพิบัติสาธารณะ เป็นไปอย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเสนอคณะอนุกรรมการเขตหรือคณะอนุกรรมการส่วนกลางพิจารณาให้ความเห็นก่อน อันเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรในสถานการณ์ดังกล่าว

ประกอบกับปัจจุบัน กรมทรัพยากรบํ้าบาดาลได้ดำเนินการปรับปรุงกระบวนการพิจารณาคำขอและออกใบอนุญาตเจาะนํ้าบาดาลและใช้นํ้าบาดาล ให้เกิดความเหมาะสม และรวดเร็วเป็นไปตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 โดยปรับปรุงขั้นตอนการยื่นคำชอรับใบอนุญาตเจาะนํ้าบาดาลและใบอนุญาตใช้นํ้าบาดาล ให้สามารถยื่นคำขอได้ในคราวเดียวกัน รวมทั้งนำข้อมูลจากระบบสารสนเทศต้านทรัพยากรนํ้าบาดาลมาใช้ประกอบการพิจารณา ออกใบอนุญาต เพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงานอื่นๆ อาทิ การตรวจสอบสถานที่ การวิเคราะห์ตัวอย่างนาบาดาล ซึ่งประซาซนจะไต้รับการอนุญาตเจาะนํ้าบาดาลและใช้นํ้าบาดาลไต้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้นและลดภาระ ค่าใช้จ่ายต่างๆ

ทั้งนี้ การพิจารณาอนุญาตภายใต้กระบวนการที่ได้ปรับปรุงดังกล่าว แม้ว่าจะเกิดสถานการณ์ภัยธรรมชาติก็สามารถพิจารณาออกใบอนุญาตให้แล้วเสร็จก่อนระยะเวลาที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้กำหนดไว้


กำลังโหลดความคิดเห็น