xs
xsm
sm
md
lg

จ่อลดจำนวนที่ปรึกษาผู้ตรวจฯ ภาค ปชช.77 จังหวัด เหลือตามภารกิจ เน้นสรรหาจิตอาสา-ผู้สมัครใจ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


จ่อลดจำนวนที่ปรึกษาผู้ตรวจฯ ภาค ปชช.ประจำ 77 จังหวัด สังกัดสารพัดกระทรวง ที่มีเกือบ 1 พันคน ให้เหลือตามภารกิจความจำเป็น เน้นสรรหาจิตอาสา-ผู้สมัครใจ หวังลดภาระงบประมาณในอนาคต เผยกว่า 10 ปี เฉพาะสำนักนายกฯ จ่ายค่าเดินทางมาประชุมร่วม ปีละกว่า 1 ล้านบาท

วันนี้ (11 ก.พ.) มีรายงานจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่า ในเร็วๆ นี้ สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เตรียมปรับหลักเกณฑ์คณะกรรมการส่งเสริมที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชนและที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชนในรอบ 10 ปี ภายหลังคณะรัฐมนตรี (5 ก.พ.) รับหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชน พ.ศ. ... กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชนและที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชนในจังหวัดต่างๆ เพื่อส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการตรวจราชการและติดตามการปฏิบัติราชการให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล และบรรลุเป้าหมาย วัตถุประสงค์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

ทั้งนี้ ร่างฉบับดังกล่าวกำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมที่ปรึกษาฯ มีหัวหน้าผู้ตรวจฯ สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน หัวหน้าผู้ตรวจทุกกระทรวง เป็นกรรมการ กำหนดให้ในจังหวัดหนึ่งให้มีที่ปรึกษาฯ 4 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านวิชาการ ด้านละไม่เกิน 3 คน มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี มีหน้าที่ให้คำปรึกษา ข้อมูล ข้อเท็จจริง และประเด็นปัญหาในพื้นที่แก่ผู้ตรวจราชการ ให้ประเมินที่ปรึกษาฯ ไปประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติหน้าที่และจริยธรรม

มีรายงานว่า กรณีนี้ สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ มีความเห็นโดยเฉพาะความโปร่งใสและเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลครอบคลุมทุกสหวิชาชีพ ว่าควรกำหนดนิยามของที่ปรึกษาฯ และจุดเน้นด้านคุณสมบัติให้ชัดเจน เพื่อให้ขั้นตอนของการคัดเลือกและกลั่นกรองที่ปรึกษาฯ เกิดความรอบคอบรัดกุม เพื่อให้ไดเปรึกษาที่มีความรู้ความเหมาสมเป็นที่ยอมรับของหน่วยงานในการให้คำปรึกษาการตรวจราชการ และเป็นส่วนหนึ่งของระบบการตรวจสอบติดตามที่มีประสิทธิภาพ

ควรกำหนดมาตรการคุ้มครองที่ปรึกษาฯ ในการสะท้อนข้อเท็จจริง และประเด็นปัญหาในพื้นที่ได้อย่างสุจริต เที่ยงธรรม โปร่งใส เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ภาคประชาชนซึ่งเป็นจิตอาสาสมัครเข้าปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาฯ และสรางคามเชื่อมั่นของประชาชน

“สปน.ควรประมวลข้อมูลความเห็นจากภาคส่วนต่างๆ ผ่านช่องทางการแสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลาย โดยบูณาการร่วมกับที่ปรึกษาฯ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงจากประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างรอบด้าน”

ขณะที่ความเห็นของสำนักงบประมาณที่ให้ทบทวนกรณีกำหนดให้ในจังหวัดหนึ่งที่มีที่ปรึกษาฯ ในการปฏิบัติหน้าที่ จำนวน 4 ด้าน ด้านละไม่เกิน 3 คน รวม 77 จังหวัด ไม่เกินจำนวน 924 คน ซึ่งจำนวนที่ปรึกษาฯ ควรมีเท่าที่จำเป็นตามภารกิจ อย่างไรก็ตาม กรณีที่กำหนดให้ที่ปรึกษาฯ ได้รับค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายตามที่กระทรวงการคลังกำหนดตามร่างระเบียบข้อ 15 จะขัดในหลักการกับข้อ 8 (3) หรือไม่ ที่กำหนดคุณสมบัติไว้ให้เป็นผู้ที่มีจิตอาสาและสมัครใจซึ่งจะก่อให้เกิดภาระงบประมาณในอนาคต

นอกจากนี้ การกำหนดให้ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชนมีหน้าที่เข้าร่วมการตรวจราชการกับผู้ตรวจราชการภาคประชาชน อาจมีผลทำให้ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชนที่ได้รับทราบข้อมูลบางประการที่เป็นความลับของทางราชการ จึงควรเพิ่มมาตรการรักษาความลับของทางราชการในหมวดที่ 3 มาตรฐานการปฏิบัติหน้าที่และจริยธรรมของที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชนในร่างระเบียบดังกล่าวไปประกอบการตรวจพิจารณาด้วยแล้วดำเนินการต่อไปได้

มีรายงานว่า กรณีค่าตอบแทนและค่าใช้จ่าย ของที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชนประจำจังหวัด เฉพาะ สปน.เคยปรับเพิ่มค่าตอบแทนเหมาจ่ายกรณีผู้ตรวจกระทรวงเชิญมาร่วมปฏิบัติราชการในเขตพื้นที่จังหวัด จากครั้งละ 1,000 บาทต่อคน เป็นครั้งละ 1,600 บาทต่อคน ใช้จ่ายงบประมาณปีละ 972,800 บาท (304 คน x 1,600 บาท x 2 ครั้ง/ปี) ซึ่งเป็นวงเงินภายในกรอบงบประมาณที่ได้รับจัดสรรในแต่ละปี

“ในปี 2551-2561 จังหวัดจะเป็นผู้สรรหาปรึกษาฯ ประจำจังหวัด จากใบสมัครที่เปิดรับผู้สนใจ ที่มีวาระการปฏิบัติหน้าที่คราวละ 3 ปี อยู่ในตำแหน่งไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน เสนอมายังส่วนกลาง (สปน.) ดำเนินการแต่งตั้ง ส่วนใหญ่ทีผ่านการสรรหา มีทั้งอดีตนักการเมืองท้องถิ่น อดีตข้าราชการท้องถิ่น นักธุรกิจ ปราชญ์ชาวบ้าน รวมถึงนักวิชาการใน 4 ด้านที่เกี่ยวข้อง”
กำลังโหลดความคิดเห็น