xs
xsm
sm
md
lg

กต.เปิดร่างปฏิญญาผู้นำเอเปก #26 “ปฏิญญาเอราโคเน” พ่วงร่างถ้อยแถลงร่วม รมต.เอเปก #30 จำนวน 4 ฉบับ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


กต.เปิดร่างปฏิญญาผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปก ครั้งที่ 26 (ปฏิญญาเอราโคเน) ภายใต้หัวข้อหลักการของการหารือ “การสร้างโอกาสอย่างครอบคลุม เพื่อเปิดรับอนาคตทางดิจิทัล” พ่วงเอกสารภาคผนวกของร่างก้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีเอเปก ครั้งที่ 30 จำนวน 4 ฉบับ

วันนี้ (16 พ.ย.) รายงานข่าวจากกระทรวงการต่างประเทศเปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กระทรวงการต่างประเทศ ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ต่อร่างปฏิญญาผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปก ครั้งที่ 26 (ปฏิญญาเอราโคเน) ภายใต้หัวข้อหลักการของการหารือ คือ “การสร้างโอกาสอย่างครอบคลุม เพื่อเปิดรับอนาคตทางดิจิทัล” โดยมีสาระสำคัญ ประกอบด้วย

1. การเปิดรับอนาคตทางดิจิทัล ผู้นำฯ รับทราบถึงความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งผลกระทบต่อเกือบทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจ โดยเขตเศรษฐกิจเอเปกต้องพยายามร่วมมือกันเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีดิจิทัลโดยเอพาะการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจของสตรี กลุ่มผู้ด้อยโอกาส วิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และขนาดย่อย (MSMEs)และธุรกิจในพื้นที่ห่างไกล รวมทั้งแสวงหาแนวทางเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายจากการเข้าสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งเอเปกได้รับรองแผนปฏิบัติการอินเทอร์เน็ต และเศรษฐกิจดิจิทัลเอเปกในปี 2560 เพื่อรับมือกับความท้าทายข้างต้น และในการประชุมครั้งนี้ได้เห็นชอบ “วาระการดำเนินการด้านเศรษฐกิจดิจิทัลเอเปก” เพื่อเริ่มดำเนินการ ในปี 2562

2. การขับเคลื่อนเป้าหมายโบกอร์และวิสัยทัศน์หลังเป้าหมายโบกอร์ ผู้นำๆ เห็นพ้องว่า เอเปกจะต้องเร่งรัดความพยายามเพื่อให้บรรลุเป้าหมายโบกอร์ภายในปี 2563 รวมถึงยกระดับการค้าในภูมิภาคในรูปแบบที่เสรียุติธรรม และเปิดกว้าง สนับสนุนรอบการค้าและการลงทุนที่ไม่เลือกปฏิบัติ และขจัดการอุดหนุนที่บิดเบือนตลาด นอกจากนี้ ผู้นำฯ ยืนยันความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาวิสัยทัศน์เอเปกหลังปี 2563 ที่จะมองไปข้างหน้าและทะเยอทะยาน และยินดีต่อการจัดทั้งกลุ่มวิสัยทัศน์เอเปก (APEC Vision Group หรือ AVG) โดยคาดหวังว่าจะได้รับรายงานฉบับสมบูรณ์ที่ชิลีในปี 2562

3. การปรับปรุงการเชื่อมโยง ส่งเสริมการรวมตัวของภูมิภาคยิ่งขึ้น ผู้นำฯ ยืนยันข้อผูกพันในการดำเนินการตามพิมพ์เขียวความเชื่อมโยงของเอเปก (APEC Connectivity Blueprint) และ ให้ความสำคัญกับวาระการรวมตัวทางเศรษฐกิจของเอเปกเพื่อจะนำไปสู่การจัดทั้งเขตการค้าเสรีเอเชียแปชิฟิก (Free Trade Area of the Asia-Pacific หรือ FTAAP) โดยผู้นำฯ สนับสนุนระบบการค้าพหุภาคีที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บนพื้นฐานของกฎระเบียบ มีความโปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติ เปิดกว้าง และครอบคลุม ดังที่ปรากฏในองค์การการค้าโลก (World Trade Organization หรือ WTO) รวมทั้งยินดีที่ทุกเขตเศรษฐกิจเอเปกได้ให้สัตยาบันความตกลงว่าดัวยการอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation Agreement หรือ TFA) ของ WTO

4. การส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุม ผู้นำฯ เห็นควรให้ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในการบรรลุการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว โดยการบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยากรอย่างยั่งยืนด้วยความร่วมมือกับภาคเอกชนในรูปแบบที่สามารถบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมโดยไม่ขัดขวางการค้าและการลงทุนในสาขาทรัพยากร ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการบรรลุเป้าหมายที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals หรือ SDGs) รวมทั้งเน้นย้ำความสำคัญของการส่งเสริมโอกาสด้านเศรษฐกิจและลดช่องว่างทางดิจิทัลของสตรีด้วยการพัฒนามาตรการที่เป็นรูปธรรม

5. การเสริมสร้างการเจริญเติบโตที่ครอบคลุมผ่านการปฏิรูปโครงสร้าง ผู้นำฯ ยืนยันความสำคัญของการปฏิรูปโครงสร้างเพื่อขจัดอุปสรรคทางกฎระเบียบที่กีดกันการค้าและการลงทุน ข้ามพรมแดนและหลังพรมแดน โดยการปฏิรูปโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพจะช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโต อย่างครอบคลุมสำหรับทุกคน

นอกจากนี้ ยังมีเอกสารภาคผนวกของร่างปฏิญญาผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปก ครั้งที่ 26 มี 1 ฉบับ คือ ภาคผนวก A : วาระการดำเนินการค้านเศรษฐกิจดิจิทัล ระบุแนวทางการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการอินเทอร์เน็ตและเศรษฐกิจดิจิทัลที่ไค้รับการรับรองเมื่อปี 2560 ณ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยมุ่งมั่นว่าภายในสิ้นปี 2562 เอเปก จะ 1) เตรียมแผนงานที่ครอบคลุมในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการฯ ในอนาคต 2) พัฒนาโครงการสำหรับการสนับสนุนข้อมูลและการวิเคราะห์ในอนาคตสำหรับกิจกรรมภายใต้แผนปฏิบัติการ และ 3) รายงานในสาขากิจกรรมอื่นๆ ที่อาจไค้รับการพิจารณา นอกจากนี้ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่อาวุโส โดยการสนับสนุนจากคณะทำงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล รายงานผลการดำเนินงานต่อผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปกในปี 2562

ทั้งนี้ ยังรวมถึงร่างถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีเอเปก ครั้งที่ 30 สรุปความก้าวหน้าของ ประเด็นสำคัญต่างๆ ในปี 2561 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ (1) การสนับสนุนข้อริเริ่มในภาพรวม รัฐมนตรีเอเปกสนับสนุนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบการค้าพหุภาคีที่อยู่บนพื้นฐานของกฎระเบียบ โปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติ เปิดกว้าง และครอบคลุม ตามที่ปรากฏใน WTO และมุ่งมั่นที่จะต่อสู้กับการกีดกันทางการค้า นอกจากนี้ รัฐมนตรีเอเปกได้เน้นย้ำข้อผูกพันต่อการดำเนินงานตาม TFA และรับทราบข้อริเริ่มของเอเปกในการขจัดการอุดหนุนการส่งออกและดำเนินงานเพื่อปรับปรุงคุณภาพการแจ้งเตือนของมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ยกระดับการหารือเกี่ยวกับข้อริเริ่มการเจรจาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การอำนวยความสะดวกด้านการลงทุน การให้บริการด้านกฎระเบียบภายในประเทศ MSMEs และการค้าและการเสริมสร้างโอกาส ด้านเศรษฐกิจของสตรี

(2) การสนับสนุนการขับเคลื่อนเพื่อบรรลุเป้าหมายโบกอร์ รัฐมนตรีเอเปก สนับสนุนการขับเคลื่อนในเรื่องการค้าและการลงทุนที่เสรีและเปิดกว้างในภูมิภาคเอเชียแปชิฟิก และการพัฒนาวิสัยทัศน์เอเปกหลังปี 2563 เพื่อให้เอเปคสามารถรับมือต่อความท้าทายและโอกาสของศตวรรษที่ 21

(3) ในประเด็นสำคัญ 3 ประการของเอเปก ประจำปี 2561 ดังนี้

ในประเด็นที่ 1 : การพัฒนาความเชื่อมโยงและส่งเสริมการบูรณาการทางเศรษฐกิจในภูมิภาค รัฐมนตรีเอเปกเห็นควรให้เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านความเชื่อมโยงทางกายภาพ สถาบัน และประชาชนสู่ประชาชน รวมทั้งการดำเนินการตามปฏิญญาลิมาว่าด้วย FTAAP การขับเคลื่อนการทำงานเพื่อก้าวไปสู่ FTMP ที่มีคุณภาพและครอบคลุม โดยได้รับรองหลักการทั่วไปว่าด้วยมาตรการที่มิใช่ภาษี และหลักการเอเปกว่าด้วยกฎระเบียบภายในของภาคบริการ นอกจากนี้ รัฐมนตรีเอเปกสนับสนุนและส่งเสริมประเด็นที่เกี่ยวข้องด้านต่าง ๆ เช่น ความร่วมมือในด้านสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาการดำเนินการ ด้านสินค้าและการค้าบริการสิ่งแวดล้อมและการเจริญเติบโตสีเขียว นโยบายการลงทุนอย่างยั่งยืนและประเด็นทางการค้าและการลงทุนยุคใหม่ การส่งเสริม MSMEs ในห่วงโซ่มูลค่าโลก และส่งเสริมความร่วมมือด้านมาตรฐานและกฎระเบียบต่างๆ

ประเด็นที่ 2 การส่งเสริมการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนและครอบคลุม รัฐมนตรีเอเปกเห็นพ้องถึงการดำเนินการตามข้อสั่งการของผู้นำเอเปกที่จะมุ่งไปสู่การบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ โดยวาระเรื่องการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนและครอบคลุมของเอเปกเป็นองค์ประกอบ สำคัญในประเด็นต่างๆ ของเอเปก เช่น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สาธารณสุข สตรีและเศรษฐกิจ การเตรียมพร้อมสำหรับเหตุฉุกเฉินและลัยพิบัติ การทำเหมืองแร่ที่ยั่งยืนและครอบคลุม การท่องเที่ยว การทำป่าไม้ พลังงาน เกษตรกรรมและการประมง การคมนาคมขนส่ง MSMEs การสนับสนุนชุมชนที่ด้อยโอกาส ตลอดจนแนวโน้มและความท้าทายจากเศรษฐกิจดิจิทัลและการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ โดยรัฐมนตรีเอเปกยินดีต่อแนวปฏิบัติเอเปกสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการท่องเที่ยวที่ได้รับการรับรองโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวเอเปก

ประเด็นที่ 3 การเสริมสร้างความเข้มแข็งของการเติบใตที่ครอบคลุม โดยผ่านการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง รัฐมนตรีเอเปกเห็นว่าการปฏิรูปเชิงโครงสร้างเป็นกุญแจสำคัญไปสู่การขับเคลื่อน การเติบโตในระบบเศรษฐกิจ โดยการปฏิรูปโครงสร้างจะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยกำจัดอุปสรรคด้านโครงสร้าง และกฎระเบียบที่ขัดขวางต่อการค้าและการลงทุนข้ามชายแดน และส่งเสริมการเติบโตที่สมดุล ครอบคลุม ยั่งยืน มืนวัตกรรม และมั่นคง การปฏิรูปโครงสร้างควรจะก่อให้เกิดตลาดที่เปิดกว้างยิ่งขึ้น ดำเนินการได้ดี โปร่งใส และมีการแข่งขัน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในตลาดเหล่านั้นที่แนบแน่นยิ่งขึ้นจากทุกภาคส่วนของสังคม

นอกจากนี้ รัฐมนตรีเอเปกยินดีต่อแนวปฏิบัติเอเปคว่าด้วยการร่างถ้อยแถลงรัฐมนตรีและปฏิญญาผู้นำเอเปก เพื่อช่วยให้เจ้าภาพในอนาคตสามารถบริหารจัดการ กระบวนการการยกร่างก้อยแถลงและปฏิญญาดังกล่าวต่อไป

มีรายงานว่า ในเอกสารภาคผนวกของร่างก้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีเอเปก ครั้งที่ 30 มี 4 ฉบับ ได้แก่

(1) ภาคผนวก A หลักการทั่วไปว่าด้วยมาตรการที่มิใช่ภาษี เป็นหลักการสำหรับใช้อ้างอิงเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและดำเนินมาตรการที่มิใช่ภาษี ลดขอบเขตของมาตรการที่มิใช่ภาษีที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าที่ไม่มีเหตุผล และเพื่ออำนวยความสะดวกการค้าเสรีและเจดกว้างในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกตามที่ตั้งไว้ในเป้าหมายโบกอร์ โดยมืหลักการ คือ กระบวนการที่จะพัฒนามาตรการที่มิใช่ภาษีควรที่จะโปร่งใส สอดคล้องกับข้อผูกพันและพันธกรณีของสมาขิกเขตเศรษฐกิจในฐานะสมาชิก WTO ไม่ควรที่จะมีข้อจำกัดทางการค้าเกินกว่าความจำเป็น อยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ไม่ควรเลือกปฏิบัติต่อสินค้านำเข้าโดยพลการหรือไม่สมเหตุสมผล ไม่ควรกำหนดอุปสรรคฃึ่งไม่สมเหตุสมผลต่อการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรม และการวิเคราะห์ผลกระทบของกฎหมายเป็นเครื่องมือที่เป็นไปได้ที่จะพิจารณานำมาใช้เพื่อประเมินความสอดคล้องของหลักการที่ระบุข้างต้น

(2) ภาคผนวก B : หลักการเอเปคว่าด้วยกฎระเบียบภายในของภาคบริการ จัดทำขึ้นตามแนวทางของแผนการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคบริการเอเปก ซึ่งผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคได้รับรองเมื่อปี 2559 โดยประกอบด้วยหลักการที่ไม่มืข้อผูกมัดทางกฎหมาย เช่น แนวปฏิบัติโดยทั่วไปของการอนุญาต (authorization) ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดต้านการออกหมายอนุญาตข้อกำหนดต้านคุณสมบัติ หรือมาตรฐานทางเทคนิค นอกจากนี้ หลักการดังกล่าวระบุถึงมาตรการเกี่ยวกับการบริหารจัดการคำขอการให้บริการความโปร่งใส และการจัดทำมาตรการที่สอดคล้องกับความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (GATS) ภายใต้ WTO

(3) ภาคผนวก C : แนวปฏิบัติเอเปคว่าด้วยการร่างถ้อยแถลงรัฐมนตรีและปฏิญญาผู้นำเอเปก จัดทำเพื่อเป็นแนวปฏิบัติสำหรับเจ้าภาพจัดการประชุมในอนาคตและสมาชิกเขตเศรษฐกิจ เพื่อการจัดการกระบวนการร่างและทำงานให้ดีขึ้นและนำไปสู่ผลลัพธ์ที่สำเร็จโดยครอบคลุมประเด็นต่างๆ ได้แก่ ส่งเสริมการใช้ถ้อยคำในถ้อยแถลงที่กระชับและมองไปข้างหน้า สนับสนุนการส่งร่างถ้อยแถลงล่วงหน้าและการกำหนดเวลา สนับสนุนความยืดหยุ่นระหว่างการร่างเอกสารส่งเสริมความโปร่งใส สนับสนุนการหารืออย่างไม่เป็นทางการในประเด็นที่มีความแตกต่าง สนับสนุนให้เขตเศรษฐกิจต่างๆ ให้ความร่วมมือกับประธานเอเปกอย่างเต็มที่ในการร่างถ้อยแถลง และการตั้งเป้าหมายในการออกถ้อยแถลง ตลอดจนระบุหน้าที่ และความรับผิดชอบของประธาน

(4) ภาคผนวก D : แนวปฏิบัติเอเปกสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการท่องเที่ยว เป็นแผนปฏิบัติที่สมาชิกเขตเศรษฐกิจสามารถนำไปใช้บนพื้นฐานของความสมัครใจ โดยครอบคลุมกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ได้แก่ นักลงทุนด้านการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวโดยชุมชน ผู้ประกอบการด้านอาหารและเครื่องดื่ม ผู้ประกอบการด้านที่พัก ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว องค์การนอกภาครัฐ และเศรษฐกิจแบ่งปัน โดยมืหลักการที่สำคัญครอบคลุมในประเด็นต่างๆ ได้แก่ 1) การเดินทางและการท่องเที่ยวที่มีความเคารพและมีความรับผิดชอบ 2) ความครอบคลุมในอุตสาหกรรมการเดินทางและการท่องเที่ยว 3) โอกาสและข้อริเริ่มในความร่วมมือ 4) การเดินทางและการท่องเที่ยวที่ชาญฉลาด และ 5) การบริหารจัดการแนวปฏิบัติ
กำลังโหลดความคิดเห็น