xs
xsm
sm
md
lg

เลขานายกฯ ประเดิมตั้ง “ป.ป.ช.ทำเนียบ” 15 คน เน้นป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน จัดการเรื่องร้องเรียน ส่งเสริมคุ้มครองจริยธรรม สั่งทำรายงานเสนอทุก 2 ปี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เลขาธิการนายกฯ ลงนามประเดิมตั้ง “ป.ป.ช.ประจำทำเนียบรัฐบาล” เน้นงานป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน จัดการเรื่องร้องเรียน รับแจ้งเบาะแส พร้อมส่งเสริมคุ้มครองจริยธรรม สั่งทำรายงานเสนอเลขาฯ ทุก 2 ปี ครอบคลุมหน่วยงานในทำเนียบรัฐบาล เผยคณะกรรมการทั้งหมดข้าราชการพลเรือนในรั้วทำเนียบสนองนโยบายยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูปประเทศ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง

วันนี้ (3 ก.ย.) แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ พล.อ.วิลาศ อรุณศรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ลงนามในคำสั่งสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่ 125/2561 เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบและส่งเสริมคุ้มครองจริยธรรม ภายในสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.) ทั้งนี้ องค์ประกอบของคณะกรรมการทั้งหมดเป็นข้าราชการพลเรือนในสังกด สลน.จำนวน 15 คน ประกอบด้วย หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต เป็นประธานกรรมการ มีหัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม เป็นรองประธานกรรมการ

ทั้งนี้ คณะกรรมการดังกล่าวประกอบไปด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการ หรือผู้แทน, ผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ หรือผู้แทน, ผู้อำนวยการกองงานนายกรัฐมนตรี หรือผู้แทน, ผู้อำนวยการกองประสานงานการเมือง หรือผู้แทน, ผู้อำนวยการกองประสานนโยบายและยุทธศาสตร์ หรือผู้แทน, ผู้อำนวยการกองพิธีการ หรือผู้แทน, ผู้อำนวยการกองสถานที่และรักษาความปลอดภัย หรือผู้แทน, ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือผู้แทน, ผู้อำนวยการสำนักโฆษก หรือผู้แทน, ผู้อำนวยการกลุ่มตรวจสอบภายใน หรือผู้แทน, ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบรืหาร หรือผู้แทน, เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบติการต่อต้านการทุจริต 2 คน เป็นกรรมการและเลขานุการ

สำหรับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ มีหน้าที่เสนอแนะเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันและปราบปราม การทุจริตและประพฤติมิขอบ ให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ยุทธศาสตร์ขาติ แผนปฏิรูปประเทศ และมาตรฐาน ตัวชี้วัดภาคราชการ ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง, ขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงาน รวมทั้งบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดการทุจริต การป้องกันเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน การจัดการเรื่องร้องเรียน การแจ้งเบาะแส เพื่อให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นองค์กรที่โปร่งใส และมีธรรมาภิบาล

“ยังมีหน้าที่ติดตามและเร่งรัดการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการทุจริต และจัดทำรายงานผลการดำเนินงานต้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิขอบในสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เสนอต่อหัวหน้าส่วนราชการอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในทุกระดับ มีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ รวมทั้งส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ ร่วมกับคณะกรรมการจริยธรรมประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี”

นอกจากนี้ยังมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อดำเนินการในเรื่องการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และดำเนินการอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

มีรายงานว่า ที่ผ่านมารัฐบาลกำหนดให้การป้องกับและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบเป็นนโยบาย ที่สำคัญโดยกำหนดในยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูปประเทศ ซึ่งจะต้องดำเนินการและได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน ประกอบกับกฎกระทรวงแบ่งส่วนราขการสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2559 กำหนดให้มีศูนย์ปฏิบัติการต่อด้านการทุจริต เพื่อทำหน้าที่หลักในการบูรณาการและขับเคลื่อนแผนการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และการส่งเสริมคุ้มครองจริยธรรมในสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

โดยเพื่อให้การขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ รวมทั้งการส่งเสริมคุ้มครองจริยธรรมในสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นไปด้วยความเรียบร้อยมีประสิทธิภาพ และเกิดผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงแต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบและส่งเสริมคุ้มครองจริยธรรมภายในสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี


กำลังโหลดความคิดเห็น