xs
xsm
sm
md
lg

หอการค้าภาคใต้-ชายแดน จ่อชง “บิ๊กตู่” ดันเมกะโปรเจกต์ 2 แสนล้าน ตั้งเป้าจีดีพีอีก 30 ปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 ต่อปี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


หอการค้าภาคใต้-ชายแดน จ่อชง “บิ๊กตู่” ดันเมกะโปรเจกต์ 2 แสนล้าน ตั้งเป้าจีดีพีปี 2579 หรืออีก 30 ปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 ต่อปี ฝันปีแรก 7.2 หมื่นล้าน ชูเชื่อมโยง 2 มหาสมุทร หนุนท่องเที่ยว การค้าลงทุน โดยเฉพาะเสนอเส้นทางสายอัญมณี-วัฒนธรรม เสนอเร่งโครงสร้างพื้นฐาน ขยายถนนเพชรเกษมระนอง-ตรัง ให้เสร็จปี 62 พร้อมหนุนงบโครงการที่ศึกษาเสร็จ รถไฟท่องเที่ยวสุราษฎร์ฯ-ท่านุ่น - ท่าเรือครูซ สมุย-กระบี่ พร้อมเร่งศึกษารถไฟสายใหม่ชุมพร-ระนอง - สะพานสตูล-เปอร์ลิส (ตามะลัง ปูยูบูเก็ต-ปูเต๊ะ) มูลค่า 3 หมื่นล้าน

วันนี้ (27 พ.ย.) มีรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า ในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) จังหวัดภาคใต้และชายแดนใต้ ที่โรงแรมบีพี สิมิหลาบีช อ.เมือง จ.สงขลา ในช่วงเย็นวันนี้ หอการค้าภาคใต้จะเสนอแนวคิดทฤษฎี Big Bang Theory ซึ่งจะเป็นการเสนอทุ่มงบประมาณลงมาในจุดที่สำคัญ (Focus Areas) จนทำให้เกิดการกระจายตัวของการค้าการลงทุน และเกิดการเชื่อมโยงของเศรษฐกิจตลอดห่วงโซคุณค่า โดยจะมีการเชื่อมโยง อนุภูมิภาค (IMT-GT,BIMSTEC, Asean+6, GMS, CLMVT) ทั้งนี้ รายได้ประชากรของภาคใต้ (คน/ปี) ปี 2557 อยู่ที่ 123,684 บาท โดยตั้งเป้าว่า GRP ภาคใต้ จนถึงปี 2579 ต้องเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 ต่อปี (ปีแรก 72,000 ล้านบาท)

“งบลงทุนที่หอการค้าภาคใต้ คาดว่าจะทำให้เกิดโครงการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายใต้ และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นโครงการขนาดใหญ่ วงเงินประมาณ 2 แสนล้านบาท ที่จะเริ่มดำเนินการในปี 2562-2563”

สำหรับโครงการพัฒนาภาคใต้และชายแดนใต้ที่จะเกิดขึ้น ได้แก่ การพัฒนาและขยายโครงข่ายเส้นทางรถไฟจังหวัดชุมพร-จังหวัดระนอง, โครงการขยายท่าเรือระนอง Land Bridge ชุมพร-ระนอง, ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และ สปา ชุมพร-ระนอง, โครงการท่าเทียบเรือสำราญ (ท่าเรือครูซ) สุราษฎร์ธานี, โครงการขยายเส้นทางเพชรเกษมสาย 4 เป็น 4 ช่องจราจร โครงการรถไฟท่องเที่ยวเส้นทางสุราษฎร์ธานี-ท่านุ่น (จ.พังงา), การพัฒนารถไฟสายอันดามัน เพื่อการท่องเที่ยว

โครงการท่าเทียบเรือสำราญ (ท่าเรือครูซ) กระบี่, ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและสปา กระบี่, Smart City จ.ภูเก็ต, โครงการรถไฟทางคู่ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทาง หาดใหญ่-สงขลา, โครงการท่าเรือสงขลา 2, โครงการศึกษาและออกแบบถนนสะพานสตูล-เปอร์ลิส เพื่อสนับสนุนกิจกรรมเศรษฐกิจในภาคใต้ วงเงิน 2-3 หมื่นล้านบาท, โครงการพัฒนารถไฟรางคู่ ปาดังเบซาร์ หาดใหญ่, โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายหาดใหญ่-ชายแดนมาเลเซีย, โครงการท่าเรือนาเกลือ อ.กันตัง, โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายสงขลา-สตูล

โครงการ ICD ทุ่งสง โครงการท่าเทียบเรือประมงให้ได้มาตรฐาน, เขตเศรษฐกิจพิเศษสะเดา จ.สงขลา, โครงการท่าเรือนาเกลือ อ.กันตัง, การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจนราธิวาส สะพานข้ามแม่น้ำโก-ลกแห่งใหม่ พัฒนาท่าอากาศยานนราธิวาส และก่อสร้างท่าอากาศยานเบตง พัฒนาศักยภาพด่านพรมแดนเบตง

มีรายงานว่า สำหรับประเด็นข้อเสนอที่หอการค้าภาคใต้จะเสนอการเชื่อมโยง 2 สมุทร อ่าวไทยและอันดามัน เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวการค้า และการลงทุน โดยเฉพาะโครงข่ายเพื่อการท่องเที่ยว Jewel Route เส้นทางสายอัญมณี และเส้นทางสายวัฒนธรรม

รวมถึงเสนอด้านโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบด้วย (1. เร่งรัดโครงการและจัดสรรงบประมาณต่อเนื่อง เพื่อดำเนินการให้แล้วเสร็จตามแผนงาน ประกอบด้วย 1.1 เร่งรัดการขยายถนน เป็น 4 ช่องจราจร เส้นทางหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม (จ.ระนอง -จ.ตรัง)ให้แล้วเสร็จทั้งระบบ ภายในปี 2562 (2. สนับสนุนงบประมาณโครงการที่ได้ทำการศึกษาแล้วเสร็จ เพื่อให้มีการดำเนินงานตามแผนงาน ประกอบด้วย 2.1 รถไฟท่องเที่ยวเส้นทางสุราษฎร์ธานี-ท่านุ่น (จ.พังงา) 2.2 โครงการท่าเรือครูซ สมุย-กระบี่ (3. เร่งรัดการศึกษาและออกแบบโครงการที่เป็นศักยภาพของพื้นที่ ประกอบด้วย 3.1 รถไฟสายใหม่ชุมพร-ระนอง 3.2 โครงการศึกษาและออกแบบสะพานสตูล -เปอร์ลิส (ตามะลัง ปูยูบูเก็ต-ปูเต๊ะ)

สภาเกษตรกรแห่งชาติภาคใต้ เสนอแก้ “ยางพารา-ปาล์ม-ประมง”ระยะเร่งด่วน!

มีรายงานด้วยว่า สภาเกษตรกรแห่งชาติภาคใต้ และภาคใต้ชายแดนยังจะเสนอแนวทางแก้ปัญหาพืชเศรษฐกิจ 3 ชนิด ประกอบด้วย “ยางพารา” เสนอ ดังนี้ 1. รัฐบาลต้องผลักดันให้เกิดนิคมอุตสาหกรรมยางพาราในภาคใต้โดยด่วน

2. รัฐบาลออกมาตรการหรือประกาศเป็นวาระแห่งชาติเพื่อส่งเสริมให้มีการใช้ ยางพาราในประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้ 1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เสนอนำยางพารามาเป็นส่วนประกอบในการทำถนน Para Rubber Soil Cement ระหว่างหมู่บ้าน/ตำบล ตามผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 2. ถนนสายหลักที่รับผิดชอบโดยกรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท ให้ใช้ยางพาราเป็นส่วนผสม 5-7%

(3. ให้การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ดำเนินการ ดังนี้ 3.1 ยกเลิกบริษัทร่วมทุน จำกัด เพราะไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 3.2 เร่งหาตลาดให้องค์กรเกษตรกรที่มีการแปรรูปยางพาราเพื่อต่อยอดธุรกิจ การค้ายางพารา 3.3 นำยางพาราไปสร้างผลิตภัณฑ์ เช่น ยางรถยนต์ ยางจักรยานยนต์ และให้ส่วนราชการทุกส่วนใช้ผลิตภัณฑ์ ยางพาราที่ผลิตในประเทศก่อนเป็นอันดับแรก พร้อมทั้ง ส่งเสริม และรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปพิจารณาใช้ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศอย่างเป็น รูปธรรม

(4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรชาวสวนยางรายย่อย (มีพื้นที่ปลูก 25 ไร่ลงมา) ได้มีอาชีพเสริมในสวนยาง เช่น ปลูกหญ้า เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชร่วมยางหรืออาชีพอื่นๆ ตามความ ต้องการของตลาด และความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ โดยรัฐบาล สนับสนุนแหล่งเงินทุน ปลอดดอกเบี้ย หรือดอกเบี้ยต่ำในการประกอบอาชีพเสริม

แก้ปัญหาปาล์มน้ำมัน เสนอดังนี้ 1. รัฐบาลควรจะเร่งให้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติปาล์มน้ำมันและน้ำมัน ปาล์มโดยเร่งด่วน 2. เสนอให้เป็นมติ ครม. เพื่อให้การพัฒนาปาล์มน้ำมันเป็นไปตามยุทธศาสตร์การ ปฏิรูปปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มทั้งระบบ ปี 2560-2579 ที่คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) มีมติเห็นชอบเมื่อ วันที่ 26 ตุลาคม 2559 และคณะรัฐมนตรีมีมติ รับทราบแล้วเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2559

3. มาตรการเร่งด่วน 3.1 ให้กระทรวงพาณิชย์อำนวยความสะดวกให้ผู้ส่งออกน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) สามารถส่งออกได้โดยเร็ว เพื่อลดปริมาณน้ำมันคงคลัง (Stock) ให้ลดลงอย่างน้อย 1 แสนตัน 3.2 การจัดระบบซื้อขายปาล์มทะลายสดให้ดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ การปฏิรูปปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มทั้งระบบ ปี 2560 - 2579 3.2.1 ให้โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มประกาศเปอร์เซ็นต์น้ำมันปาล์มดิบที่ ผลิตได้ในวันถัดไปหลังจากการสกัด 3.2.2 ให้โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มประกาศราคาน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) ทุกวันเพื่อจะกำหนดราคาซื้อขายปาล์มทะลายสดอย่างเป็นธรรม 3.2.3 ให้โรงงานรับซื้อปาล์มทะลายที่มีคุณภาพเท่านั้น (ที่เปอร์เซ็นต์น้ำมันไม่ต่ำกว่า 18%) ตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์ที่จะต้องผลิตปาล์มคุณภาพที่เปอร์เซ็นต์น้ำมัน 18-22

แก้ปัญหาประมง ดังนี้ 1. ให้รัฐบาลจัดตั้งศูนย์ฝึกอาชีพให้กับแรงงานไทย แทนแรงงานต่างด้าว ในด้าน ประมง เพื่อความยั่งยืนในอาชีพ โดยสร้างแรงจูงใจให้แก่แรงงานไทย ให้ค่าตอบแทนที่สูงกว่า แรงงานต่างด้าว ทั้งนี้ได้หารือและเป็นที่ยอมรับของสมาคมประมงแห่งประเทศไทยแล้ว 2. เพื่อรักษาระบบนิเวศชายฝั่งอย่างยั่งยืนและสามารถให้ประชาชนที่มีอาชีพ ประมงชายฝั่ง ทำมาหากินได้อย่างยั่งยืน จะต้องพัฒนาระบบการบำบัด น้ำเสียจากชุมชนเมือง ชุมชนริมแม่น้ำ ที่ปล่อยลงสู่แม่น้ำลำคลอง โดยจะต้องผ่านระบบบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยสู่ คลองธรรมชาติ
กำลังโหลดความคิดเห็น