xs
xsm
sm
md
lg

“ศักดิ์สยาม”สั่ง สนข.พัฒนาโครงการ Land Bridge

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



รัฐมนตรีคมนาคม สั่ง สนข.เดินหน้าพัฒนาโครงการ แลนด์บริดจ์ ส่งเสิมการพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ สู่การเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางน้ำของภูมิภาค

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานพิธีลงนามสัญญาจ้างที่ปรึกษา เพื่อศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน (Business Development Model) โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง พัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (Land Bridge ) ระหว่างสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. กับกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บมจ.ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ ,บริษัท ดีเคด คอนซัลแตนท์,บริษัท พีเอสเค คอนซัลแทนส์ ,บมจ. อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป ,บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ และบริษัท ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ วงเงิน 67.8 ล้านบาท ใช้ระยะเวลาศึกษา 30 เดือน เริ่มตั้งแต่ 2 มีนาคม 2564 - 1 กันยายน 2566


นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า ปัจจุบันการขนส่งสินค้าระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศทางด้านมหาสมุทรอินเดีย ต้องเปลี่ยนถ่ายสินค้าทั้งนำเข้าและส่งออกผ่านช่องแคบมะละกา (สิงคโปร์) ซึ่งเส้นทางดังกล่าว เป็นเส้นทางที่อ้อมและมี ระยะไกล การจราจรทางน้ำคับคั่ง มีความหนาแน่นของปริมาณเรือสูงถึง 100,000 ลำ/ปี และคาดว่าในปี 2567 การรองรับปริมาณเรือของช่องแคบมะละกาจะเต็มศักยภาพ โดยคาดการณ์ว่าปี 2593 ปริมาณเรือที่ผ่านจะมีคว าม หนาแน่นเพิ่มขึ้นอีก 4 เท่า จึงได้สั่งการให้ สนข. ดำเนินการว่าจ้างที่ ปรึกษาเพื่อศึกษา ความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการ พัฒนาการลงทุน (Business Development Model) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อพัฒนา ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (Land bridge) ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านคมนาคม

โดยมีขอบเขตการศึกษา ประกอบด้วย 1.ดำเนินการศึกษ าคว าม เหมาะสมทางเศรษฐกิจ การเงิน วิศวกรรม สังคม 2.ออกแบบรายละเอียดเบื้องต้นและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) 3.จัดทำรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ 4.วิเคราะห์จัดทำรูปแบบการพัฒนาและการลงทุน และ 5.สร้างความเข้าใจ พร้อมรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้านตลอดระยะเวลาดำเนินงาน


รูปแบบการพัฒนาแลนด์บริดจ์ จะเชื่อมโยง 2 ท่าเรือ คือ ท่าเรือระนองแห่งใหม่ และท่าเรือชุมพร โดยออกแบบให้เป็นท่าเรือที่ทันสมัย(Smart Port) ควบคุมโดยระบบอัตโนมัติ มีการพัฒนาระบบขนส่งสินค้า เชื่อมโยงท่าเรือทั้ง 2 แห่ง ด้วยทางรถไฟ และทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง คู่ขนานบนเส้นทางเดียวกัน เพื่อลดผลกระทบจากการเวนคืนที่ดินกับภาคประชาชน ประมาณการณ์วงเงินลงทุนเบื้องต้น 1 แสนล้านบาท ให้เอกชนมาร่วมลงทุนกับภาครัฐในรูปแบบ พีพีพี (PPP) เพื่อลดภาระงบประมาณของรัฐบาล

เมื่อโครงการนี้แล้วเสร็จ จะลดระยะเวลาการขนส่งทางเรือได้ถึง 2 วัน ,ช่วยยกระดับประเทสไทย สู่การเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางน้ำของภูมิภาค ,เปิดเส้นทางเดินเรือแห่งใหม่ของมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ,ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ,สร้างงาน สร้างรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน
กำลังโหลดความคิดเห็น