เอ็มจี ร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พัฒนาระบบการรับรองและมาตรฐาน EV Charging Station พร้อมเปิดบริการสถานีชาร์จ MG SUPER CHARGE เพิ่ม หลังติดตั้งสถานีชาร์จที่โชว์รูมเอ็มจีทั่วประเทศแล้วเสร็จ108 แห่ง เดินแผนขยายอย่างต่อเนื่องอีก 500 แห่งภายในปีนี้

จาง ไห่โป กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด และบริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้ประกาศความร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในการร่วมกันส่งเสริมและสร้างสรรค์สังคมยานยนต์ไฟฟ้าให้มีความแพร่หลาย โดยได้ลงนามบันทึกข้อตกลงด้านการพัฒนาระบบการรับรองและมาตรฐานสำหรับ EV Charging Station ผ่านการทดสอบสถานีอัดประจุไฟฟ้าของเอ็มจี หรือ MG SUPER CHARGE เพื่อให้เป็นต้นแบบในการศึกษาวิจัยและใช้งานสถานีชาร์จอย่างเป็นรูปธรรม
ทั้งนี้ความร่วมมือดังกล่าวจะนำไปสู่การกำหนดมาตรฐานที่เป็นหนึ่งเดียวกันให้กับระบบการชาร์จไฟฟ้าของประเทศไทยที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าในการใช้งานรถยนต์พลังงานไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี
“สำหรับความคืบหน้าของแผนงานการขยายสถานีชาร์จของเอ็มจีที่ประกาศไว้ เมื่อปีที่ผ่านมา ล่าสุดได้บรรลุแผนระยะที่ 1 มีการติดตั้งสถานีชาร์จ จำนวน 108 สถานีที่โชว์รูมและศูนย์บริการเอ็มจีเรียบร้อยแล้ว โดยมีความพร้อมเปิดให้บริการแล้ว 67 สถานี ซึ่งราคาค่าบริการในช่วง Off Peak* จะอยู่ที่ 6.5 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง และในช่วงเวลา Peak* จะอยู่ที่ 7.5 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง” จาง ไห่โป กล่าว

ส่วนแผนระยะที่ 2 ในการติดตั้งสถานีชาร์จอีก 500 จุดทั่วประเทศ จะใช้งบลงทุนมูลค่า 500 ล้านบาท ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จภายในปีนี้ เพื่อลดความกังวลเกี่ยวกับสถานีชาร์จ และเพิ่มความมั่นใจในการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าด้วยจำนวนสถานีชาร์จที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
MG SUPER CHARGE ได้รับการออกแบบภายใต้แนวคิดที่ใช้งานง่าย ลูกค้าสามารถใช้เครื่องชาร์จได้ด้วยตัวเอง โดยสามารถตรวจสอบเวลาการทำงานและความพร้อมใช้งานของ MG SUPER CHARGE ค้นหา จอง และเติมเงินก่อนเริ่มชาร์จรถยนต์พลังงานไฟฟ้าได้จากโทรศัพท์มือถือผ่านแอพพลิเคชั่น i-SMART ซึ่งลูกค้าสามารถดาวน์โหลดเวอร์ชั่นใหม่ของ i-SMART ได้แล้วตั้งแต่วันนี้
จาง ไห่โป กล่าวเพิ่มเติมว่า การร่วมมือสวทช. มีเป้าหมายหลักเพื่อรับรองความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานในการใช้งานรถยนต์พลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะมาตรฐานของสถานีชาร์จเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้ามากขึ้นและให้คนไทยรู้ว่ารถยนต์พลังงานไฟฟ้าใช้งานง่ายเพียงใด

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า จากนโยบายของภาครัฐ โดยกระทรวงพลังงานที่มีการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าให้เป็นส่วนหนึ่งในแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2558-2579 (Energy Efficiency Plan: EEP 2015) มีเป้าหมายให้เกิดการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 1.2 ล้านคันภายในปี พ.ศ. 2579
ดังนั้น การร่วมมือกันระหว่าง สวทช. และ เอ็มจี ในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวย่างครั้งสำคัญ ในการยกระดับมาตรฐานให้แก่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next Generation Automotive) ให้มีศักยภาพและมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจของไทย และขับเคลื่อนให้เกิดสังคมยานยนต์ไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
“เราเห็นถึงความตั้งใจของเอ็มจีในการสร้างมาตรฐานใหม่ให้แก่ระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า โดยได้ให้ความสำคัญกับมาตรฐาน ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ EV Charger ทั้งระดับประเทศไทย และระดับสากล โดย สวทช. ได้ร่วมดำเนินการผ่านการทดสอบของศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ PTEC” ดร.ณรงค์ กล่าว
พร้อมกันนี้ สวทช. ยังได้ตั้งเป้าหมายให้เกิดการใช้งานห้องปฏิบัติการทดสอบแบตเตอรี่ และ EV Charger ในประเทศไทย รวมถึงการพัฒนาทักษะองค์ความรู้ของผู้ปฏิบัติงานทดสอบในประเทศ เพื่อสนองนโยบายการสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ให้ครบวงจรอีกด้วย

เหนืออื่นใด ทางเอ็มจียังได้ดำเนินการติดตั้งสถานีชาร์จจำนวน 3 แห่ง ให้กับ สวทช. ซึ่งจะกระจายติดตั้งที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี อาคารวิจัยโยธี ถนนพระราม 6 กรุงเทพฯ และศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC) อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อสนับสนุนการให้บริการผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าได้อย่างครอบคลุม”
สำหรับ เอ็มจี ถือเป็นผู้นำในตลาดยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยด้วยความสำเร็จด้านยอดขายหลังจากการเปิดตัว MG ZS EV ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริโภค รวมถึงการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่อีก 2 รุ่น ได้แก่ MG HS PHEV และ MG EP เมื่อปีที่แล้ว โดยทั้งสองโมเดลได้รับการตอบรับที่ดีเกินความคาดหมายเช่นเดียวกัน
นอกจากนั้นที่ผ่านมา เอ็มจี มีการลงนามความร่วมมือกับ การไฟฟ้านครหลวง (MEA) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) ในการร่วมกันขยายจุดชาร์จไฟเพื่อรองรับปริมาณยานยนต์ไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต
หมายเหตุ
Peak : วันจันทร์ ถึงวันศุกร์ ระหว่างเวลา 08:00 - 22:00
Off Peak : วันจันทร์ ถึงวันศุกร์ ระหว่างเวลา 22:00 - 08:00 และ วันเสาร์ – อาทิตย์ ตลอด 24 ชั่วโมง

จาง ไห่โป กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด และบริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้ประกาศความร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในการร่วมกันส่งเสริมและสร้างสรรค์สังคมยานยนต์ไฟฟ้าให้มีความแพร่หลาย โดยได้ลงนามบันทึกข้อตกลงด้านการพัฒนาระบบการรับรองและมาตรฐานสำหรับ EV Charging Station ผ่านการทดสอบสถานีอัดประจุไฟฟ้าของเอ็มจี หรือ MG SUPER CHARGE เพื่อให้เป็นต้นแบบในการศึกษาวิจัยและใช้งานสถานีชาร์จอย่างเป็นรูปธรรม
ทั้งนี้ความร่วมมือดังกล่าวจะนำไปสู่การกำหนดมาตรฐานที่เป็นหนึ่งเดียวกันให้กับระบบการชาร์จไฟฟ้าของประเทศไทยที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าในการใช้งานรถยนต์พลังงานไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี
“สำหรับความคืบหน้าของแผนงานการขยายสถานีชาร์จของเอ็มจีที่ประกาศไว้ เมื่อปีที่ผ่านมา ล่าสุดได้บรรลุแผนระยะที่ 1 มีการติดตั้งสถานีชาร์จ จำนวน 108 สถานีที่โชว์รูมและศูนย์บริการเอ็มจีเรียบร้อยแล้ว โดยมีความพร้อมเปิดให้บริการแล้ว 67 สถานี ซึ่งราคาค่าบริการในช่วง Off Peak* จะอยู่ที่ 6.5 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง และในช่วงเวลา Peak* จะอยู่ที่ 7.5 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง” จาง ไห่โป กล่าว
ส่วนแผนระยะที่ 2 ในการติดตั้งสถานีชาร์จอีก 500 จุดทั่วประเทศ จะใช้งบลงทุนมูลค่า 500 ล้านบาท ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จภายในปีนี้ เพื่อลดความกังวลเกี่ยวกับสถานีชาร์จ และเพิ่มความมั่นใจในการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าด้วยจำนวนสถานีชาร์จที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
MG SUPER CHARGE ได้รับการออกแบบภายใต้แนวคิดที่ใช้งานง่าย ลูกค้าสามารถใช้เครื่องชาร์จได้ด้วยตัวเอง โดยสามารถตรวจสอบเวลาการทำงานและความพร้อมใช้งานของ MG SUPER CHARGE ค้นหา จอง และเติมเงินก่อนเริ่มชาร์จรถยนต์พลังงานไฟฟ้าได้จากโทรศัพท์มือถือผ่านแอพพลิเคชั่น i-SMART ซึ่งลูกค้าสามารถดาวน์โหลดเวอร์ชั่นใหม่ของ i-SMART ได้แล้วตั้งแต่วันนี้
จาง ไห่โป กล่าวเพิ่มเติมว่า การร่วมมือสวทช. มีเป้าหมายหลักเพื่อรับรองความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานในการใช้งานรถยนต์พลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะมาตรฐานของสถานีชาร์จเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้ามากขึ้นและให้คนไทยรู้ว่ารถยนต์พลังงานไฟฟ้าใช้งานง่ายเพียงใด
ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า จากนโยบายของภาครัฐ โดยกระทรวงพลังงานที่มีการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าให้เป็นส่วนหนึ่งในแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2558-2579 (Energy Efficiency Plan: EEP 2015) มีเป้าหมายให้เกิดการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 1.2 ล้านคันภายในปี พ.ศ. 2579
ดังนั้น การร่วมมือกันระหว่าง สวทช. และ เอ็มจี ในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวย่างครั้งสำคัญ ในการยกระดับมาตรฐานให้แก่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next Generation Automotive) ให้มีศักยภาพและมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจของไทย และขับเคลื่อนให้เกิดสังคมยานยนต์ไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
“เราเห็นถึงความตั้งใจของเอ็มจีในการสร้างมาตรฐานใหม่ให้แก่ระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า โดยได้ให้ความสำคัญกับมาตรฐาน ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ EV Charger ทั้งระดับประเทศไทย และระดับสากล โดย สวทช. ได้ร่วมดำเนินการผ่านการทดสอบของศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ PTEC” ดร.ณรงค์ กล่าว
พร้อมกันนี้ สวทช. ยังได้ตั้งเป้าหมายให้เกิดการใช้งานห้องปฏิบัติการทดสอบแบตเตอรี่ และ EV Charger ในประเทศไทย รวมถึงการพัฒนาทักษะองค์ความรู้ของผู้ปฏิบัติงานทดสอบในประเทศ เพื่อสนองนโยบายการสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ให้ครบวงจรอีกด้วย
เหนืออื่นใด ทางเอ็มจียังได้ดำเนินการติดตั้งสถานีชาร์จจำนวน 3 แห่ง ให้กับ สวทช. ซึ่งจะกระจายติดตั้งที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี อาคารวิจัยโยธี ถนนพระราม 6 กรุงเทพฯ และศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC) อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อสนับสนุนการให้บริการผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าได้อย่างครอบคลุม”
สำหรับ เอ็มจี ถือเป็นผู้นำในตลาดยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยด้วยความสำเร็จด้านยอดขายหลังจากการเปิดตัว MG ZS EV ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริโภค รวมถึงการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่อีก 2 รุ่น ได้แก่ MG HS PHEV และ MG EP เมื่อปีที่แล้ว โดยทั้งสองโมเดลได้รับการตอบรับที่ดีเกินความคาดหมายเช่นเดียวกัน
นอกจากนั้นที่ผ่านมา เอ็มจี มีการลงนามความร่วมมือกับ การไฟฟ้านครหลวง (MEA) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) ในการร่วมกันขยายจุดชาร์จไฟเพื่อรองรับปริมาณยานยนต์ไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต
หมายเหตุ
Peak : วันจันทร์ ถึงวันศุกร์ ระหว่างเวลา 08:00 - 22:00
Off Peak : วันจันทร์ ถึงวันศุกร์ ระหว่างเวลา 22:00 - 08:00 และ วันเสาร์ – อาทิตย์ ตลอด 24 ชั่วโมง