xs
xsm
sm
md
lg

เด็กไทยคว้าแช้มป์ Deloitte Business Challenge บนเวทีอาเซียนเป็นสมัยที่ 2

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ดีลอยท์ ประเทศไทย ประกาศผลโครงการจัดการแข่งขันค้นหาผู้มีความสามารถจัดการความเสี่ยงในอาเซียนของดีลอยท์
(Deloitte ASEAN Risk Intelligence Challenge : RIC) หรือ อาร์ไอซี ที่สิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 28 - 29 ก.ค.2559 ด้วยการนำทีมชนะเลิศเป็นตัวแทนนักศึกษาจาก 5 ประเทศ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ไทย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ร่วมแข่งขันค้นหาสุดยอดทีมคนรุ่นใหม่ที่ชาญฉลาด มีทักษะสามารถรับมือลดความเสี่ยงทางธุรกิจ ผลปรากฏว่า “ทีมอนันดา” ซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษาของไทยจากโครงการปริญญาตรีบริหารธุรกิจ หลักสูตรนานาชาติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สามารถครองตำแหน่งชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล 3,000 ดอลลาร์สิงคโปร์
สมาชิกในทีมประกอบด้วย น.ส.อรวรา ศรีภูริจรรยา, น.ส.ปวิชญา ธนาประชุม, น.ส.ณัฏฐนิช จิระชัยประสิทธิ, และ น.ส.อนุตตรีย์ แก้วเขียว ซึ่งถือเป็นการครองแชมป์ต่อเนื่องของนักศึกษาไทยเป็นปีที่ 2บนเวทีระดับอาเซียน จากปีที่แล้วที่จัดการแข่งขันในประเทศมาเลเซีย
นางสาวปาริชาติ จิรวัชรา พาร์ทเนอร์ด้านการบริหารความเสี่ยง บริษัท ดีลอยท์ ประเทศไทย กล่าวว่า การแข่งขันอาร์ไอซีในปีนี้เปิดโอกาสให้ทีมนักศึกษาเข้าร่วมแข่งขันนำเสนอกรณีศึกษาและขายไอเดียใหม่ๆทางธุรกิจมีการทดสอบทักษะความรู้ทางทฤษฎีและทักษะเชิงปฎิบัติการซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจใหม่ๆท่ามกลางภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป
การแข่งขันครั้งนี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ติดเครื่อง จัดการความเสี่ยง”(Start Up, Risk and You) ซึ่งเป็นแนวคิดเปิดรับผู้ร่วมแข่งขันจากประเทศต่างๆที่มีไอเดียอยากปฏิรูปเพื่อเปลี่ยนแปลงช่วยให้โลกธุรกิจตั้งรับจัดการความเสี่ยงใหม่ๆที่เข้ามาการแข่งขันมุ่งมั่นค้นหาคนรุ่นใหม่ มีทักษะไหวพริบและความฉลาดในการจัดการลดความเสี่ยง ซึ่งเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ในสังคมและในโลกธุรกิจปัจจุบันท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจของภูมิภาคที่เปลี่ยนแปลงไป
ทั้งนี้ผลการแข่งขันอาร์ไอซีเป็นการรวมคะแนนจากการนำเสนอกรณีศึกษาทางธุรกิจคิดเป็น
70% และอีก 30% จากการให้คะแนนของผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพจากดีลอยท์ โดยกรรมการผู้ตัดสินได้ให้ ความเห็นถึงผลการแข่งขันครั้งนี้ว่า การใช้โมบายล์แอพพลิเคชั่นของทีมอนันดาช่วยอำนวยความสะดวก และจัดระเบียบการชุมนุม รวมตัวด้านกีฬา
สามารถเพิ่มหรือลดขนาดการจัดการแข่งขันกีฬาได้
นายพอล วิลเลียม แบรดลีย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คาปริกา อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวถึงทีมอนันดาว่า
มีความเป็นไปได้สูงที่ผลงานของทีมจากไทย สามารถนำไปใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติได้ในภาวะการณ์ปัจจุบัน
ด้าน ดร. แจนสัน แยพ ผู้นำที่ปรึกษาความเสี่ยงในเอเชียแปซิฟิก และเป็นผู้นำนวัตกรรมอาเซียน ของดีลอยท์
ได้ชื่นชมความพยายามกับความสำเร็จที่ได้รับจากการแข่งขันปีนี้ว่าการคาดการณ์ และสาระสำคัญใหม่ๆได้จากการแข่งขัน
เป็นข้อพิสูจน์ชัดเจนถึงความพยายามของดีลอยท์ในการตอกย้ำถึงคาดการณ์ความจำเป็นต้องมีนวัตกรรรม ความยืดหยุ่นขององค์กร
และการไล่ตามให้ทันความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของตลาด
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 27 ก.ค.ผู้เข้าร่วมการแข่งขันจาก 5 ชาติอาเซียนยังได้รับประสบการณ์เข้าร่วมเวิร์คช้อป วางรูปแบบแนวทางความคิด ซึ่งจัดขึ้นโดยทีมงานนวัตกรรมแห่งอาเซียนของดีลอยท์ (Deloitte SEA Innovation Team) และให้โอกาสผู้เข้าแข่งขันรับฟังหลักการกับวิธีวิเคราะห์ต่างๆที่พวกเขาสามารถนำติดตัวกลับไปใช้ได้หลังจบการแข่งขัน
นอกจากนี้ในวันแรกของการแข่งขัน 28 ก.ค.ยังมีการจัดการประชุมประจำปีของฝ่ายที่ปรึกษาความเสี่ยงในอาเซียนของดีลอยท์ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมจากทั่วภูมิภาคกว่า 500 คน ในโอกาสนี้ นายอัลวิน ฟู จาก Grab Singaporeได้ให้มุมมองเชิงลึกแก่ผู้แข่งขันและแนะนำว่าพวกเขาทำอย่างไรให้ธุรกิจเอาชนะความท้าทาย ในขณะที่ตลาดมีแต่ความวุ่นวาย
เป็นการสร้างแรงบันดาลใจครั้งสำคัญให้กับนักศึกษาร่วมแข่งขัน
ส่วนคณะกรรมการผู้ตัดสินในการแข่งขันอาร์ไอซี ประกอบด้วย คน ยิน ทง รองประธาน สภาวิชาชีพบัญชีสิงคโปร์
พอล วิลเลียม แบรดลีย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คาปริกา อินเตอร์เนชั่นแนล อัลวิน ฟู หัวหน้าแผนกพัฒนาธุรกิจ บริษัท แกรบ สิงคโปร์ รอย เปง อำนวยการ สายงานนวัตกรรมทางธุรกิจบริการที่ปรึกษาความเสี่ยงของดีลอยท์ ดร.ซาราห์ เชีย ไล ยิน รศ.ด้านการบริหารจัดการและองค์กรมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์
ห่วงเอกชน! ดีลอยท์ชี้ทางรอดธุรกิจวันนี้ แนะวิธีประเมินการชะลอตัวของเศรษฐกิจ
ห่วงเอกชน! ดีลอยท์ชี้ทางรอดธุรกิจวันนี้ แนะวิธีประเมินการชะลอตัวของเศรษฐกิจ
ดีลอยท์ห่วงภาคเอกชนแนะวิธีประเมินการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ชี้ตัวช่วยบริหารจัดการทางรอดธุรกิจวันนี้ พร้อมตั้งคำถามท้าทายว่า จริงหรือไม่ที่บริษัทกำหนดกลยุทธ์ แผนธุรกิจ และดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ ได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา เผยผลสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารพบส่วนใหญ่มีมุมมองตรงกันว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศจีน การค้าระหว่างประเทศที่เซื่องซึม และการลดลงของราคาพลังงาน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ พร้อมยืนยันความไม่มั่นคงทางการเมืองของไทยเป็นอุปสรรคอันดับหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในประเทศไทย
กำลังโหลดความคิดเห็น