xs
xsm
sm
md
lg

กรมอุทยานฯ เข้าช่วยลูกช้างป่า หลังโดนลูกหลงบาดเจ็บจากศึกชิงนาง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ประจวบคีรีขันธ์ - ลูกช้างป่า หลังได้รับบาดเจ็บจากเหตุช้างป่าตัวผู้ต่อสู้แย่งชิงตัวเมีย อุทยานฯ ดูแลใกล้ชิด หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี เผย ล่าสุดกรมอุทยานฯ ส่งทีมผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ประเมินอาการลูกช้างป่า

วันนี้ (20 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้ากรณีเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าหน่วยแพรกตะลุย อุทยานแห่งชาติกุยบุรี พบลูกช้างป่า อายุประมาณ 5-6 ปี ยังไม่สามารถระบุเพศได้ ลักษณะอ้วนท้วนสมบูรณ์ ได้รับบาดเจ็บที่ขาหลังด้านขวา จากเหตุช้างป่าตัวผู้ต่อสู้แย่งชิงตัวเมียภายในโขลงใหญ่รวม 18 ตัว ที่มีพื้นที่หากินอยู่ในบริเวณดังกล่าว

เบื้องต้น คาดว่าลูกช้างป่าน่าจะถูกเหยียบจากเหตุปะทะกันของช้างป่าตัวผู้ จนขาหลังด้านขวาบาดเจ็บไม่สามารถยืนขึ้นได้ ต้องนอนตะแคงอยู่บริเวณร่องเขา หมู่ที่ 6 ต.เขาจ้าว อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ห่างจากแนวเขตอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ประมาณ 1 กิโลเมตร ซึ่ง นายทัศเนศวร์ เพชรคง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี พร้อมด้วยสัตวแพทย์หญิงกชพร พิมพ์สิน นายสัตวแพทย์ประจำสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และทีมสัตวแพทย์ได้เข้าตรวจอาการลูกช้างป่าในเบื้องต้นแล้ว

พบว่า ขาหลังขวาเริ่มบวมอักเสบจนไม่มีแรงพยุงตัวลุกขึ้น จึงได้ทำการฉีดยาแก้ปวด และยาปฏิชีวนะให้ จำนวน 2 เข็ม เพื่อเป็นการบรรเทาอาการได้เพียงเท่านั้น จากนั้นเจ้าหน้าที่ทั้งหมดจำเป็นจะต้องออกจากจุดที่พบลูกช้างป่า มายังพื้นที่ปลอดภัยเป็นการชั่วคราว เนื่องจากเป็นเวลาเริ่มมืดและพบว่าโขลงช้างป่าขนาดใหญ่อีก 17 ตัว ได้ออกหากิน และเดินตรงมายังจุดที่ลูกช้างป่านอนอยู่ โดยเหตุเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา

ล่าสุด วันนี้ (20 ธ.ค.) นายทัศเนศวร์ เพชรคง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี กล่าวว่า หลังจากปรึกษาเรื่องแนวทางการรักษาลูกช้างป่าไปยังผู้บังคับบัญชา ล่าสุด อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้มีคำสั่งให้ส่งทีมผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์ป่าจากกรมอุทยานฯ และผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขาเพชรบุรี ลงพื้นที่ประเมินอาการบาดเจ็บล่าสุด เพื่อวางแนวทางในการรักษาที่เหมาะสม และปลอดภัยแก่ลูกช้างป่ามากที่สุด ซึ่งคาดว่าทีมงานจากส่วนกลางจะเดินทางถึงพื้นที่ในวันนี้

ส่วนบริเวณจุดที่ลูกช้างป่านอนเจ็บอยู่นั้น ได้ให้เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ทำหลังคาเพื่อกันแดด และคอยราดน้ำที่ตัวลูกช้าง เพื่อลดความร้อนจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด และพยายามจะหักยอดอ่อนของหน่อสับปะรดไปวางไว้ใกล้ๆ เพื่อให้ลูกช้างใช้งวงจับเข้าปากกินเป็นอาหาร และคอยหยอดน้ำใส่ปากและงวง เพราะลูกช้างอดอาหารมาวันที่ 2 เกรงจะไม่มีแรงและอ่อนเพลียมากขึ้นได้ ซึ่งจากการสังเกตอาการล่าสุด พบว่า วันนี้ลูกช้างขาหลังด้านขวาเหมือนจะมีแรงมากขึ้น ยังคงตะเกียกตะกายเพื่อพยายามจะลุกขึ้นยืน

ด้าน นายสวัสดิ์ ทวีรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขาเพชรบุรี พร้อมด้วยสัตวแพทย์หญิงสุนิตา วิงวอน นายสัตวแพทย์ประจำกลุ่มงานเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ลงพื้นที่ประเมินอาการบาดเจ็บล่าสุด เพื่อวางแนวทางในการรักษาที่เหมาะสม และปลอดภัยต่อลูกช้างป่ามากที่สุด

จากการตรวจอาการบาดเจ็บของลูกช้างป่า พบว่า ส่วนขาหลังด้านขวายังคงบวม และมีอาการบวมที่บริเวณสะโพกใกล้กับกระดูกสันหลังร่วมด้วย รวมถึงเริ่มพบอาการท้องอืดในลูกช้างซึ่งส่งสัญญาณอันตราย เมื่อประเมินความเสี่ยงแล้วพบว่า เห็นควรเคลื่อนย้ายลูกช้างป่าออกไปรักษาอย่างเร่งด่วนในพื้นที่ที่เหมาะสมและใกล้ที่สุด เพราะมีความเป็นห่วงว่า อาจมีอาการบาดเจ็บภายในที่ไม่ได้ปรากฏเป็นบาดแผล เช่น อาการฟกช้ำภายใน หรือภาวะเครียดในลูกช้าง ที่อาจจะเป็นอันตรายต่อชีวิตลูกช้าง ซึ่งหากโชคดีลูกช้าง จะหายดีได้เพราะยังเป็นช้างเด็ก แต่หากสุดท้ายไม่สามารถเดินได้ตามปกติ แต่ลูกช้างยังมีชีวิตรอด



กำลังโหลดความคิดเห็น