xs
xsm
sm
md
lg

เวียงจันทน์กวาดขอทานอีก 300 ยอมรับแก้ไม่ตก ไล่จับมา 10 ปีเดี๋ยวนี้ยังจับ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>เหนื่อยนักก็พักก่อน -- ที่ริมถนนล้านช้าง เป็นภาพเมื่อปี 2555 หรือเมื่อ 5 ปีที่แล้ว -- ปีที่เวียงจันทน์เป็นเจ้าภาพ จัดประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป หรือ ASEM เป็นปีแรกที่จะต้องทำให้ถนนปลอดคนขอทาน ซึ่งกวาดไปได้กว่า 170 คน --  ปีถัดมาจับอีก ปทีนี้ก็ยังไล่จับอยู่เหมือนเดิม. </b>
MGRออนไลน์ -- ปัญหาคนขอทานในเมืองหลวง ซึ่งถืเป็นนึ่งใน "ปรากฏการณ์ย่อท้อทางสังคม 6 ประการ" ยังสร้างความหนักอก ให้แก่หน่วยงานรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง และ ยังไร้วี่แววว่าจะปราบให้หมดไปได้ในเร็ววันนี้ หลายเดือนที่ผ่านมาสามารถจับอีกกว่า 300 คน และ นำส่งสถานสงเคราะห์ แต่ก็ยังขาดปัจจัยหลายอย่างสนับสนุน หนังสือพิมพ์ของกระทรวงป้องกันความสงบ อ้างรายงานของ นางลำพวย สีอักคะจัน หัวหน้าแผนกแรงงานและสวัสดิการสังคมนครหลวง เนื่องในโอกาสประชุมสรุปงานประจำปี ที่จัดขึ้นช่วงกลางเดือน

รายงานดังกล่าวระบุว่า ในย่านใจกลางเมืองที่เศรษฐกิจขยายตัวดี "จะเห็นคนขอทานเดินไป-มา นั่งกระจายกันอยู่ตามย่านชุมชนและย่านตลาด เพื่อรอขอเงินนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ" ขอทานที่พบเห็นนี้ยังรวมทั้งกลุ่มที่ "เป็นบ้าใบ้เสียจิต" ทั้งเพศหญิงเพศชาย ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก และ เมื่อผู้ใจบุญเดินผ่าน เมื่อได้เห็นก็เกิดความสงสาร ให้เงินไป ซึ่งทำให้ปัญหานี้ไม่สิ้นสุด

ที่ผ่านมามีการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาคนขอทานในเมืองหลวง โดยยึดเอาสถานสงเคราะห์เป็นแหล่งรวมศูนย์ ในการแก้ไขปัญหา และ ส่งคนขอทานกลับสู่ภูมิลำเนา หากเป็นไปจากต่างแขวง (จังหวัด)

ปีนี้สามารถนำตัวคนขอทานส่งยังศูนย์สงเคราะห์ได้ทั้งหมด 313 ราย เป็นหญิง 86 ชาย ในจำนวนนี้เป็นผู้ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง เพียง 6 คน เป็นหญิง 5 คน จำนวนที่เหลือ เป็นคนเสียสติ 95 คน เป็นหญิง 3 คน ติดยาเสพติด 17 คน เป็นหญิง 3 คน ติดสุราอีก 15 คน เป็นหญิง 2 คน -- ทั้งหมดนี้ สามารถส่งกลับไปให้ญาติพี่น้องในต่างจังหวัด ได้ 173 คน อีก 140 คน ยังไม่สามารถส่งกลับ เป็นหญิง 41 คน

แต่ปัญหาไม่ได้หมดเพียงเท่านั้น


.
นางลำพวยกล่าวว่า การประสานงานและปฏิบัติาน ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยังไม่สอดคล้องกัน ขาดยารักษาคนขอทานที่ป่วย หรือ หลายกรณีนำส่งโรงพยาบาลแล้ว แต่ไม่มีฝ่ายใด ติดตามดูแลต่อ การจัดทำประวัติยากลำบาก ไม่ได้รับความร่วมมือในการปิดเผยข้อมูลส่วนตัว และ ยังขาดผู้ปกครองดูแล กลุ่มสติไม่สมประกอบโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเด็ก งบประมาณมีจำกัด แต่จำนวนคนขอทานเพิ่มขึ้น

กรณีเป็นขอทานจากต่างแขวงนั้น ยิ่งเป็นปัญหาใหญ่ -- "ເມື່ອຈັດເຕົ້າໂຮມໄດ້ແລ້ວ ເວລາປະສານຫາແຂວງທີ່ກ່ຽວຂ້ອງໃຫ້ມາຮັບເອົາ ແຕ່ຈົນເຖິງປັດຈຸບັນ ຍັງມີຫຼາຍ ແຂວງບໍ່ໃຫ້ການຮ່ວມມື" คือ ตามข้อตกลงนั้น ทางการนครเวียงจันทน์ จะประสานกับแขวงภูมิลำเนาเดิม เพื่อให้รับกลับไป แต่จนถึงวันนี้ ก็ยังมีอีกหลายแขวง ที่ไม่รับขอทานกลับ -- หนังสือพิมพ์ของ "กระทรวงตำรวจ" รายงาน

ทางการนครเวียงจันทน์ พยายามหาทางลดจำนวนคนขอทานอย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลา 10 ปีที่ผ่านมา และ ทำการกวาดล้างจริงจังในปี 2555 ปีที่เมืองหลวงของลาว เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป ซึ่งทางการได้ออกนโยบาย "เก็บคนขอทานให้หมดไปจากท้องถนน"

การปราบปรามต่อเนื่อง ในช่วงปี 2555-2556 เจ้าหน้าที่สามารถจับคนขอทาน ส่งสถานสงเคราะห์ได้ 175 คน เป็นหญิง 64 คน หลังจากสงตัวกลับไปให้ญาติพี่น้องแล้ว ยังเหลืออยู่ในสถานสงเคราะห์ 105 คน เป็นหญิง 36 คน และ คาดว่าภายนอก จะยังเหลืออีกไม่เกิน 100 คน แผนกแรงงานฯ ในยุคนั้น ประกาศจะลงโทษคนที่ไม่เข็ดหลาบ ส่งกลับบ้านแล้วถ้ากลับไปขอทานอีก จับได้อีก จะถูกส่งตัวไปอบรมที่ดอนท้าว-ดอนทาง ซึ่งเป็นเกาะในอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนน้ำงึม (1) แขวงเวียงจันทน์

อย่างไรก็ตาม ปัญหาคนขอทานในเมืองหลวงก็ยังแก้ไม่ตก ยังคงมีให้เห็นอยู่เรื่อยๆ มีจำนวนขึ้นๆลงๆ -- มากขึ้นในช่วงเดือนหน้าแล้ง .หรือ หน้าเทศกาลต่างๆ -- ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องออกไล่จับกันต่อไป.
กำลังโหลดความคิดเห็น