xs
xsm
sm
md
lg

เวียดนามจับมือองค์กรพิทักษ์สัตว์เร่งช่วยเหลือหมีกว่า 1,000 ตัว ถูกขังรีดน้ำดี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>หมีที่ถูกช่วยเหลือจากฟาร์มสกัดน้ำดีผิดกฎหมาย อาศัยอยู่ศูนย์ช่วยเหลือหมีเวียดนาม ใกล้อุทยานแห่งชาติตามด๋าว ในจ.วีงฟุก ห่างจากกรุงฮานอย ทางทิศเหนือราว 70 กิโลเมตร วันที่ 19 ก.ค. -- Agence France-Presse/Robert Schmidt.</font></b>

เอเอฟพี - เวียดนามตกลงที่จะช่วยเหลือหมีมากกว่า 1,000 ตัว จากฟาร์มผิดกฎหมายทั่วประเทศ ความเคลื่อนไหวที่จะยุติการค้ายาแผนโบราณจากน้ำดีของสัตว์

แม้ว่าการทำฟาร์มสกัดน้ำดีจะเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายอยู่แล้วในเวียดนาม แต่ยังมีหมีจำนวนมากถูกจับ และขังกรงในสถานที่ที่ผิดกฎหมาย ที่น้ำดีของพวกมันถูกสกัดออกมาด้วยวิธีที่สร้างความเจ็บปวดให้แก่สัตว์

กรมป่าไม้เวียดนาม และองค์กรพิทักษ์สัตว์ Animal Asia ได้ลงนามข้อตกลงกันในวันนี้ (19) ที่จะช่วยเหลือหมีจากฟาร์มต่างๆ ในความมุ่งมั่นที่จะยุติการค้าดีหมี และปิดสถานที่กักขังสัตว์เหล่านั้นทั้งหมดภายในระยะเวลา 5 ปี

“นี่เป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง” จิล โรบินสัน ซีอีโอ Animal Asia กล่าวในพิธีลงนามในกรุงฮานอย และว่าการตัดสินใจดังกล่าวจะนำไปสู่การยุติการทำฟาร์มสกัดดีหมีในเวียดนามอย่างสิ้นเชิง

ฟาร์มสกัดดีหมีเป็นสิ่งผิดกฎหมายในเวียดนามตั้งแต่ปี 2535 แต่ฟาร์มดีหมีหลายแห่งใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายเลี้ยงหมีเป็นสัตว์เลี้ยง

ปัจจุบัน เวียดนามมีหมีถูกเลี้ยงอยู่ในกรงราว 1,200 ตัว จากฟาร์มหมี 400 แห่งทั่วประเทศ ลดลงจากที่เคยมีมากกว่า 4,000 ตัว ในปี 2548

Animal Asia ประเมินว่าค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือ และสร้างพื้นที่ดูแลให้เป็นที่อยู่อาศัยของหมีอาจสูงถึง 20 ล้านดอลลาร์ และเรียกร้องให้ผู้บริจาค บริษัท และรัฐบาลเข้าช่วยเหลือ

“เราไม่สามารถทำสิ่งนี้ได้ด้วยตัวเอง รัฐบาลจำเป็นที่จะต้องเข้าดูแลรับผิดชอบสัตว์ป่าในประเทศ” ต่วน เบนดิกซ์เซ่น ผู้อำนวยการองค์การ Animal Asia ประจำเวียดนาม กล่าว

เจ้าหน้าที่กล่าวว่า ทุนเป็นอุปสรรคสำคัญในการช่วยเหลือหมี และยุติการค้านี้

“เราเผชิญต่อความยากลำบากในการหาทุนเพื่อป้องกัน และหยุดยั้งการล่าและช่วยเหลือสัตว์ป่า” รองผู้อำนวยการกรมป่าไม้เวียดนาม กล่าว

เบนดิกซ์เซ่น เตือนว่า การทำฟาร์มสกัดดีหมีอาจย้ายไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว หรือกัมพูชา และเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ปฏิบัติตามอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ห้ามค้าหมี และดีหมีข้ามพรมแดน

ข้อตกลงที่มีขึ้นในวันนี้เกิดขึ้นหลังการประกาศในปี 2558 จากสมาคมยาแผนโบราณของเวียดนามว่าจะถอดดีหมีออกจากรายการใบสั่งยาที่ได้รับอนุญาตภายในปี 2563

หมีเหล่านี้มักถูกเลี้ยงไว้ในกรงขนาดเล็ก โดยน้ำดีของพวกมันจะถูกปล่อยให้หยดผ่านรูในถุงน้ำดีหรือผ่านท่อที่สอดเข้าไปในตัวหมี หลายตัวอยู่ในสภาพอดอยาก ขาดน้ำ และได้รับบาดเจ็บ.
.

.

.

.

.
กำลังโหลดความคิดเห็น