xs
xsm
sm
md
lg

กรีนพีช จัดหนัก “โคคา-โคลา”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

โคคา-โคลา เป็นเสมือนผู้ต้องหารายล่าสุดของกลุ่มเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมโลก Greenpeace เมื่อออกมาวิเคราะห์ปริมาณการใช้ขวดพลาสติกในปีที่แล้วปีเดียวกว่า 1 พันล้านขวด ในขณะที่มีการรีไซเคิลเพียง 7%
ตามรายงานของ Greenpeace ระบุว่าโคคา-โคลา ได้เพิ่มปริมาณขวดพลาสติกกว่า 1 พันล้านใบปีที่แล้ว ทำให้โคคา-โคลาเป็นกิจการที่ผลิตขวดแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งรวมกันมากถึง 110 พันล้านใบต่อปีหรือราว 3,400 ใบต่อวินาที
และที่ผ่านมา โคคา-โคลาไม่ได้เปิดเผยข้อมูลปริมาณขวดพลาสติกที่ป้อนสู่ตลาดในแต่ละปี ในขณะทีกลุ่ม Greenpeace เฝ้าระวังและสอดส่องโคคา-โคลา ตลอดช่วงปี 2015-2016 จึงมั่นใจในตัวเลขดังกล่าวว่าถูกต้อง




อย่างไรก็ตาม โคคา-โคลา ออกมายอมรับว่าปริมาณขวดพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งได้เพิ่มขึ้น 56% ในปี 2016 เทียบกับ 58% ในระยะ 12 เดือนก่อนหน้านั้น แต่ก็เพียงพอที่จะสร้างภูเขาขยะในแต่ละปี
นอกจากนั้น จากตัวเลขของ The Guardian ได้เปิดเผยว่า ในปี 2021 จำนวนขวดพลาสติกเครื่องดื่มทั่วโลกจะเพิ่มมากขึ้นไปถึง 0.5 ล้านล้านใบ ในขณะที่สัดส่วนของขวดที่กลับมาเข้ากระบวนการรีไซเคิลมีเพียงเล็กน้อยมาก ไม่ถึง 50% ของขวดที่จำหน่ายออกไปในปี 2016 ที่ถูกเก็บมาผ่านกระบวนการ ทั้งนี้ มีเพียง 7% เท่านั้นที่กลับมาเป็นขวดพลาสติกใหม่อีกครั้ง ส่วนที่เหลือถูกทิ้งลงพื้นดินและในน้ำ

การสำรวจของ The Ellen MacArthur Foundation มีการประมาณการว่า ระหว่าง 5-13 ล้านตันของพลาสติกที่ทิ้งลงไปในมหาสมุทรแต่ละปี และกระทบต่อทั้งนกทะเล ปลาและสัตว์โลกอื่นๆ โดยคาดว่าในราวปี 2050 มหาสมุทรจะมีพลาสติกที่รวมกันแล้วมีน้ำหนักมากกว่าทั้งหมดในมหาสมุทรด้วยซ้ำ
ที่ผ่านมา โคคา-โคลาพูดและโปรโมตให้เกิดความเข้าใจว่ากำลังก้าวไปสู่ความยั่งยืน แต่หากยังไม่สามารถทำให้กองขยะจากพลาสติกของกิจการลดลงได้ ก็คงไม่มีประโยชน์ในการพูด เพราะโคคา-โคลาไม่ได้สะท้อนถึงความรับผิดชอบต่อปัญหาขยะในมหาสมุทรเท่าที่ควร
สิ่งที่ Greenpeace คาดหวัง โคคา-โคลา จะยอมเปิดเผยรายละเอียดของสิ่งที่ผลิตและออกมาท้าทายว่าข้อมูลที่มีการประมาณการของ Greenpeace นั้นไม่ถูกต้อง และโคคา-โคลา ควรแสดงว่าได้พยายามบริหารขยะมิให้กระทบต่อวงจรของห่วงโซ่อาหารทั้งของปลาและมนุษย์อย่างไรบ้าง
ซึ่งก่อนหน้านั้น โคคา-โคลา ยุโรป พาร์ทเนอร์ส์ ประกาศว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงแนวคิดเกี่ยวกับโครงการรับฝากขวดพลาสติกใหม่ เพื่อให้มั่นใจว่าสัดส่วนของการฝากขวดพลาสติกสู่การรีไซเคิลจะเพิ่มเป็น 57% ของขวดเพททั้งหมด
ปัจจุบัน โคคา-โคลา เปิดธุรกิจและดำเนินกิจการมากกว่า 200 ประเทศ เคยชี้แจงว่าการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณขวดพลาสติกที่ป้อนสู่ตลาดเป็นเรื่องที่มีความอ่อนไหวสูงในผลกระทบเชิงพาณิชย์ แต่ก็จะเพิ่มมาตรการในการนำขวดพลาสติกสู่การรีไซเคิลเป็น 50% ในปี 2020

เนสท์เล่-ยูนิลีเวอร์ ที่ฟิลิปปินส์ โดนมาแล้ว
ในขณะที่โคคา-โคลา ถูกตำหนิเรื่องการบริหารขวดพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งอย่างไร้ความรับผิดชอบ กิจการที่อยู่ในอุตสาหกรรมอื่น อย่างเนสท์เล่และยูนิลีเวอร์ก็พยายามแสดงกิจกรรมให้เห็นถึงการดำเนินการบริหารแพ็กเกจพลาสติก หลังจากเคยถูกตำหนิในเรื่องนี้ไปก่อนหน้า
อย่างเช่น เนสท์เล่ ฟิลิปปินส์ ได้ชื่อว่าเป็นแบรนด์ที่สร้างมลภาวะรายใหญ่ที่สุดในอ่าวมะนิลา จากการประเมินของ Greenpeace โดยมีเป้าหมายทำให้ขยะพลาสติกในแม่น้ำและทะเลเป็นศูนย์ ได้ชี้แจงว่าแพ็กเกจยังมีความจำเป็นเพื่อปกป้องและรักษาความปลอดภัยของตัวสินค้า ทำให้กิจการไม่อาจจะยกเลิกแพ็กเกจได้ แต่หาทางไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า
ส่วนยูนิลีเวอร์ ฟิลิปปินส์ ก็ตามรอยเนสท์เล่ในการสร้างปัญหาจากพลาสติก ตามผลการประเมินของ Greenpeace จึงเป็นกิจการที่มีแผนงานใกล้เคียงกันในการดำเนินกระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในส่วนของแพ็กเกจพลาสติกและขยะพลาสติกที่เกิดขึ้นจากกระบวนการดำเนินงาน
จากข้อมูลที่รวบรวมโดย Break Free From Plastic กิจการที่ต้องรับผิดชอบต่อขยะพลาสติกในอ่าวมะนิลา ในระหว่างการจัดเทศกาลเก็บขยะ 8 วัน ได้แก่ Nestle - 16.74% Unilever - 10.82% PT Torabika 10.17% Universal Robina Corporation - 9.75% Procter & Gamble - 7.19% Nutri Asia 4.74% Monde Nissin - 4.87% Zesto - 4.44% Colgate Palmolive - 4.25% Liwayway - 2.87% Peerless - 1.94% Mondelez - 1.65%
ในมุมมองของ Greenpeace จิตอาสาจำนวนมากต้องออกมารับผิดชอบแทนกิจการเหล่านี้ในการเก็บขยะพลาสติกในช่วงเวลาที่กำหนดให้เป็น 8 วันของการ clean up และไม่อาจเบาใจต่อภาระดังกล่าวได้เลย
กำลังโหลดความคิดเห็น