xs
xsm
sm
md
lg

ประชุม CSR Asia Summit 2017 ที่เมืองไทย : การวิเคราะห์และรับมือกับอนาคตเพื่อธุรกิจที่ยั่งยืน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ประเทศไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปี CSR Asia Summit 2017 หรือการประชุมชั้นนำเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมในภูมิภาคเอเชีย จะจัดขึ้นในวันที่ 26 - 27 กันยายน 2560 ณ โรงแรมเดอะอมารี วอเตอร์เกท กรุงเทพฯ โดยมุ่งใช้นวัตกรรมและการบริหารความเสี่ยง ในการกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อให้มั่นใจเรื่องความอยู่รอดในระยะยาว

งานนี้เชิญวิทยากรมากกว่า 80 คน เป็นผู้บริหารระดับสูงสุด (C-suite executives) ทั้งจากองค์กรเอกชนหน่วยงานของรัฐ, สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัยเพื่อกำหนดนโยบายสาธารณะ โดยมีอดิดาส, แคร์, สิงเทล, ซีแอลพีโฮลดิ้ง, โอเชี่ยน รีโคฟเวอรี่ อัลไลแอนซ์, โกลเบิล ไชล์ด ฟอรั่ม, ซีดีแอล, เอช แอนด์ เอ็ม, ไอบีเอ็ม, เชลล์, ยูนิลีเวอร์, ยูนิเซฟ, วีซ่า และ จีอาร์ไอ จะอยู่ในรายชื่อวิทยากร
สำหรับการประชุมในปีนี้จะเน้นเรื่องการวิเคราะห์และรับมือกับอนาคตเพื่อธุรกิจที่ยั่งยืนซึ่งนับเป็นประเด็นสำคัญสำหรับธุรกิจต่างๆ มากมายในโลกยุคปัจจุบันที่ไม่สามารถคาดเดาสถานการณ์ได้ โดยส่วนสำคัญของการอภิปรายจะประกอบด้วยเรื่องนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน ซึ่งเป็นที่มักจะถูกหยิบยกมากล่าวถึงกันอย่างสม่ำเสมอในสังคมไทย รวมทั้งเรื่องความได้เปรียบทางการแข่งขัน

การวิเคราะห์และรับมือกับอนาคตเพื่อธุรกิจที่ยั่งยืนในเอเชีย
โลกกำลังเปลี่ยนไป ประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยเช่นกัน ช่วงเวลาของเศรษฐกิจที่ท้าทาย, สถานการณ์โลกที่ผันผวน, สิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมลง, สังคมที่มีการแบ่งฝ่ายกันมากขึ้น และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ธุรกิจมีความเปราะบางมากขึ้น ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ธุรกิจจะต้องปรับตัวพร้อมรับความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งเราสามารถคาดเดาได้ยาก
การวิเคราะห์และรับมือกับอนาคต คือ กระบวนการในการคาดการณ์ถึงอนาคตและพัฒนาแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อลดผลกระทบด้านลบ ในขณะที่ใช้ประโยชน์จากผลกระทบด้านบวกจากภาวะช็อกและภาวะกดดัน อันเกิดจากสถานการณ์ในอนาคต โดยหัวใจของกลยุทธ์ของการวิเคราะห์และรับมือกับอนาคตคือความมุ่งมั่นในการมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาโลกของเราได้อย่างยั่งยืน
ดร. ริชาร์ด เวลฟอร์ด ประธานและผู้ก่อตั้ง CSR Asia กล่าวว่า “กุญแจของการดำเนินธุรกิจในระยะยาวคือนวัตกรรมและการบริหารความเสี่ยง องค์กรหลายแห่งมีองค์ประกอบในการจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลอยู่แล้ว แต่ส่วนมากยังไม่แข็งแกร่งเท่าที่ควรเนื่องจากยังต้องประสบกับความเสี่ยงที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ หลายๆ กลยุทธ์มักเน้นพิจารณาความเสี่ยงที่ผ่านมา มากกว่าวิเคราะห์คาดการณ์ถึงความเสี่ยงในอนาคต”
เพื่อแก้ปัญหานี้ ดร.ริชาร์ด เวลฟอร์ด ได้ย้ำเตือนให้บริษัทต่าง ๆ ขยายมุมมองในการพิจารณาความเสี่ยงให้กว้างขึ้น และปรับเปลี่ยนจากแนวทางการตั้งรับและปฏิบัติตามกฎไปเป็นการคิดริ่เริ่มและการทำนายอนาคต “เพื่อให้สามารถวิเคราะห์และรับมือกับอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ องค์กรจำเป็นที่ต้องมีวิธีการที่สามารถคาดการณ์ความเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมภิบาล ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการสร้างโครงสร้างด้านนวัตกรรม”
การประชุมสองวัน ภายใต้หัวข้อการวิเคราะห์และรับมือกับอนาคต ประกอบไปด้วยกลุ่มอภิปรายย่อย 20 กลุ่ม โดยครอบคลุมประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศไทยเป็นอย่างมาก การพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการลงทุนในชุมชน การปลดล็อคคุณค่าของความยั่งยืนขององค์กร และการค้ามนุษย์และสิทธิเด็ก ทั้งหมดนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของหัวข้อของการประชุมในปีนี้
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประชุม CSR Asia Summit 2017 สามารถเยี่ยมชมที่
http://www.csr-asia.com/summit2017/index.html
หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ CSR Asia สามารถเยี่ยมชมที่
http://www.csr-asia.com/

สามารถติดตาม CSR Asia ที่ทวิตเตอร์ (Twitter): @CSR_Asia
สามารถติดตาม CSR Asia ที่ลิงค์อิน (Linkedin): https://www.linkedin.com/company/482974

เกี่ยวกับ CSR Asia Summit
CSR Asia Summit คือการประชุมประจำปีระดับชั้นนำทางด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรในเอเชีย ตั้งแต่ พ.ศ. 2550 CSR Asia ได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญและผู้นำทางความคิดด้านความยั่งยืนกว่าร้อยคน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ที่ล้ำยุค

การประชุมสองวันประกอบไปด้วยการบรรยายและการอภิปรายที่ครอบคลุมประเด็นที่เกี่ยวข้องมากมาย และยังคงให้โอกาสในการสร้างเครือข่ายที่ยอดเยี่ยม นอกจากนี้ CSR Asia ยังจัดอบรมหนึ่งวันก่อนการประชุมในหลักสูตรเกี่ยวกับการสร้างศักยภาพแบบทางเลือก

การประชุม CSR Asia Summit มีผู้เข้าร่วมและสนับสนุนจากบริษัทชั้นนำระดับโลกหลายแห่ง, เอ็นจีโอ และสถาบันการศึกษา นอกจากนี้ การประชุมยังจัดขึ้นในประเทศต่างๆ ในเอเชียในแต่ละปี เพื่อให้บริษัทและองค์กรท้องถิ่นมีเวทีในการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับความท้าทายและโอกาสที่เฉพาะเจาะจงสำหรับประเทศนั้นๆ
กำลังโหลดความคิดเห็น